ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์“ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร”



(N)


พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์“ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร”

สถาปนาขึ้นด้วยกุศลเจตนาเพื่อบูชามหาปณิธานแห่งพระมหาโพธิ์สัตว์ผู้มีใจเมตตาต่อเหล่าสรรพสัตว์โดยไม่มีประมาณ และเทิดทูนพระคุณแม่ ด้านหน้าเป็นองค์พระอวโลกิเตศวรกวนอิมพร้อมสาวก ล้อมรอบด้วยเทพโป้ยเซียน ด้านหลังจารึกหัวใจปรัชญาปารมิตารหฤทัยสูตร พระผงจันทร์ลอยอวโลกิเตศวรกวนอิมมหาโพธิสัตว์รุ่น“ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร”สร้างจากมวลสารมงคลแห่งเกาะผู่ถ่อซาน มณฑลเจ๋อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนี้
๑.ผงธูป,น้ำมันจันทน์อธิษฐาน วัดปู้เขิ่นชวี่(กวนอิมไม่ยอมไป)
๒.ผงธูป,น้ำมันจันทน์อธิษฐาน วัดป่าไผ่ม่วง (จื่อจู๋หลินซื่อ) โดยในบริเวณรอบวัดจะปลูกต้นไผ่ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือมีลำต้นเป็นสีม่วงซึ่งสามารถปลูกได้ที่เดียวคืนบนเกาะผู่ถ่อซานเท่านั้น
๓.ผงธูป,น้ำมันจันทน์อธิษฐาน กวนอิมทะเลใต้(หนานไห่กวนอิม) องค์ใหญ่ที่สุดแห่งเกาะผู่ถ่อซาน
๔.ผงธูป,น้ำมันจันทน์อธิษฐาน วัดฝาอวี้(วัดธรรมพิรุณ)
๕.ทราย,น้ำทะเลหนานไห่ เกาะผู่ถ่อซาน ชายหาดทะเลจีนใต้ใกล้ๆกับวัดธรรมพิรุณฝาอวี้ เพื่อเป็นมวลสารสำคัญอีกประการหนึ่งในการครั้งนี้ เจ้าแม่กวนอิมมวลสารผู่ถ่อซานที่สร้างขึ้นนี้ นอกจากจะมีรูปเจ้าแม่กวนอิมอยู่อย่างเด่นชัดแล้ว ข้างๆยังมีรูปของ “๘ เซียน”แวดล้อมอยู่ทั้งสองด้าน(ถอดจากเหรียญตำหนักโชคชัย๔) สอดคล้องต้องกันกับตำนานหลวงปู่โต๊ะกับเจ้าแม่กวนอิม ตามความเชื่อของชาวจีน เทพเจ้าทั้ง ๘ องค์นี้จะอยู่ด้วยกันเสมอ ขาดองค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ได้ เพราะเป็นเทพที่มีหน้าที่คุ้มครองและช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก


พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ “ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร” หลังสถาปนาเป็นองค์พระแล้ว
-ได้รับการอธิษฐานเดี่ยวจากหลวงปู่วงศ์ วัดป่าคำพระองค์ หนองคาย,
-นำเข้าพิธีไหว้ครูพระเวท- ครูกรรมฐาน – ครูยา วัดอ้อน้อย(อารามธรรมอิสระ) กำแพงแสน นครปฐม โดยหลวงปู่พุทธอิสระเบื้องหน้าองค์พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นการไหว้ครูพระเวทฯปีสุดท้าย ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔
-นำเข้าพิธีพระกริ่งเศรษฐีล้มลุกรุ่นพิเศษ โดยคณาจารย์ภาคเหนือกว่า ๖๓ รูป ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔,
-พิธีพระกริ่งนเรศวรรบพิเศษ ณ วัดป่าดาราภิรมย์ โดย พระเถระภาคเหนือ อาทิหลวงปู่ทอง ,พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญวิเวก เชียงใหม่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
-อธิษฐานจิตเดี่ยวโดยหลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ เชียงใหม่ พระเถระผู้มีฟันใสเป็นแก้ว,
-อธิษฐานจิตเดี่ยวโดยหลวงปู่ครูบาดวงดี บ้านฟ่อน เชียงใหม่,
-อธิษฐานจิตเดี่ยวโดยหลวงปู่ครูบาตั๋น สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น เชียงใหม่
-นำไปขอบารมีท่านพระอาจารย์จี้กง จีจินเกาะ แผ่บารมีสู่องค์พระแม่กวนอิมทุกองค์ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔ , และ
-นำเข้าพิธีมหามงคลขอบารมีเหล่าพระมหาโพธิ์สัตว์ วาระเทศกาลถือศีลกินเจ ณ วัดโพธิ์แมนคุณาราม ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ทั้งเจตนา,มวลสาร, การปลุกเสกทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน









ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
คำอ่าน
( ซิมเกง ) มอ ฮอ ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ ซิม เกง . กวน จือ ไจ ผู่ สัก . ฮัง ชิม ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ ซือ . เจียว เกียน อู วัน ไก คง . ตู อีไช คู หงุก . เส ลี จือ . เสก ปุก อี คง . คง ปุก อี เสก . เสก เจียก ซือ คง . คง เจียก ซือ เสก . เซา เซียง ฮัง เสก . หยิด ฝุก ยู่ ซือ . เส ลี จือ . ซือ จู ฝับ คง เซียง . ปุก เซง ปุก มิก . ปุก เกียว ปุก เจง . ปุก เจง ปุก กำ . ซือ กู คง จง บู เสก . บู เซา เซียง ฮัง เสก . บู งัน ยือ พี เสก เซง อี . บู เสก เซง เฮียง มี ฉก ฝับ . บู งัน ไก . ไน จี บู อี เสก ไก . บู บู เมง . หยิด บู บู เมง จิน . ไน จี บู เลา ซือ . หยิด บู เลา ซือ จิน . บู คู จิบ หมิก เตา . บู ตี หยิด บู เตก . อี บู ซอ เต็ก กู . ผู่ ที สัก ตอ . อี ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ กู . ซิม บู ควง ไง . บู ควง ไง กู . บู เยา คง ปู . ยิน ลี ติน เตา มง เซียง . กิว เกง นิบ พัน . ชาม ซือ จู ฟู . อี ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ กู . เตก ออ เนา ตอ ลอ ซำ เมียว ซาม ผู่ ที . กู จือ ปอ แย ปอ ลอ มิก ตอ . ซือ ไต เซง เจา . ซือ ไต เมง เจา . ซือ บู เซียง เจา . ซือ บู ตัง ตัง เจา . แนน ชี อี ไช คู . จิน สิด ปุก ฮี . กู ส่วย ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ เจา . เจียก ส่วย เจา หวัก . กิด ตี กิด ตี . ปอ ลอ กิด ตี . ปอ ลอ เจง กิด ตี . ผู่ ที สัก พอ ฮอ .
ความเป็นมา
เค้ามูลปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร จากวันนี้ย้อนไปกว่า ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว ณ. เชิงเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครานั้นองค์พระศากยนีพุทธเจ้ากำลังทรงเข้าสู่สมาธิที่ชื่อว่า " คัมภีราวสมาธิ " ท่ามกลางบรรดาพระโพธิสัตว์และพระอรหันตสาวกจำนวนมากอยู่นั้น เป็นขณะเดียวกันกับที่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ได้ดำริขึ้นว่า ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นความว่างอยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังนั้น พระอรหันตสาวกองค์หนึ่ง ซึ่งนามว่า " ท่านสารีบุตร " จึงได้ปรารภขอให้องค์พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ได้แสดงธรรมเรื่อง " ความว่าง-สุญญตา " ให้แก่บรรดาพุทธบริษัทที่ชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีกำเนิดแห่งพระสูตรที่ชื่อว่า " ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร " หรือ " ปอแยปอลอมิกตอซิมเกง " ในภาษาจีนขึ้น ซึ่งหมายความว่า " พระสูตรที่ว่าด้วยปัญญาเป็นส่วนสำคัญที่จะพาไปให้ถึงฝั่ง ( พระนิพพาน ) " พระสูตรนี้ได้รับการถ่ายทอดออกเป็นภาษาจีนราว พ. ศ. ๑๒๐๖ โดยท่านเฮียงจั่ง ( พระถังซำจั๋ง ) โดยอาศัยต้นฉบับจากภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาหลักที่พุทธศาสนามหายานยึดเป็นหลักอยู่นั่นเอง โดยปกติพระสูตรนี้คนทั่วๆไปมักนิยมเรียกกันว่า " สูตรหัวใจ " หรือ " ซิมเกง " ในภาษาจีน พระสูตรนี้มีขนาดสั้นมีอักษรเพียง ๒๖๘ คำ ทั้งๆที่โดยความจริงตามคำบอกเล่าของท่านกุมารชีพแล้วระบุว่าพระสูตรนี้มีความยาวถึง ๖๐๐ บรรพ เขียนออกเป็นหนังสือได้ถึงจำนวน ๒๔ เล่ม เป็นพระสูตรที่จัดอยู่ในหมวดปรัชญา พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ( พระแม่กวนอิม ) เมื่อทรงได้บำเพ็ญปัญญาบารมีจนถึงโลกุตรธรรมอันลึกซึ้งแล้ว ก็พิจารณาเห็นว่าที่แท้จริงแล้ว ขันธ์ ๕ นั้นเป็นสูญ ( สุญญตาหรืออนัตตาหรือความว่าง )และเมื่อสามารถมองเห็นว่า ขันต์ ๕ เป็นสูญแล้ว จักช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ท่านสารีบุตร !






ใจความเป็นภาษาไทย
รูปไม่ต่างไปจากความสูญ ความสูญไม่ต่างไปจากรูป รูปคือความสูญ ความสูญคือรูปนั่นเอง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นความสูญเช่นเดียวกัน ท่านสารีบุตร ! ธรรมทั้งปวงมีความสูญเป็นลักษณะไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้ เพราะฉะนั้นแหละ ! ในความสูญจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ไม่มีตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ
( อายตะภายใน ๖ อย่าง ) ไม่มีรูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัสและธรรมารมณ์ ( อายตะภายนอก ๖ อย่าง ) ไม่มีวิญญาณ ( ความรู้สึกรับรู้ได้ ) ในอายตะภายในทั้ง ๖ ด้วย (จักษุวิญญาณ-โสตวิญญาณ-ฆานวิญญาณ-ชิวหาวิญญาณ -กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ) ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชาและอวิชชา จนถึงไม่มีความแก่-ความตาย และไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่ความตาย ไม่มีทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ไม่มีญาณ ( ปัญญา ) ไม่มีการบรรลุถึงซึ่งปัญญา และไม่มีอะไรต้องบรรลุอยู่ต่อไป พระโพธิสัตว์ ! เมื่อได้ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว เป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีจิตที่ปราศจากอุปสรรคขวางกั้นทั้งมวล ไม่มีความขลาดกลัว หรือวิตกกังวลใดๆเหลืออยู่ต่อไปแล้ว จึงเป็นผู้มีความเห็นถูกต้องชอบธรรม ( สัมมาทิฐิ ) และกระทำกิจทั้งปวงอย่างถูกต้องโดยเสมอ ในที่สุดก็บรรลุถึงพระนิพพาน บรรดาปวงพระพุทธเจ้าทุกๆองค์ทั้งอดีตกาล ปัจจุบันกาลและอนาคตกาล ล้วนต่างได้เคยบำเพ็ญปัญญาบารมีมาด้วยกันทุกๆพระองค์ และเมื่อได้บำเพ็ญคุณธรรมนี้แล้วจึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดังนั้นควรได้ทราบว่า ปัญญาบารมีนี้เป็นมนต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์ที่ไม่อาจมีมนต์บทใดมาเทียบเคียงได้ เป็นมนต์ที่สามารถขจัดทุกข์ภัยทั้งปวง และนำพาไปสู่แดนนิพพานได้แน่นอน จึงไม่ควรจะมีความกังขาใดๆต่อไปเลย ดังนั้นควรหมั่นสวดภาวนามนต์บทนี้ ด้วยเหตุนี้แล..... จงไป-ไป-ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ไปสู่ความเป็นผู้ตรัสรู้ ไปสู่ความสงบสันติเบิกบานเกษมศานต์เถิด

หมายเหตุ คำว่า " กวนจือไจผู่สัก " คือ พระนามอีกพระนามหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือ พระแม่กวนอิมฯ เป็นชื่อที่ท่านสมณะถังซำจั๋ง ตั้งและเขียนขึ้นไว้เป็นครั้งแรกในคำแปลภาคภาษาจีน ของปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร มีความหมายว่า " ผู้มีกายและใจเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวงทั้งสิ้น "

ศีล หมายถึง ข้อกำหนดรู้สิ่งดีและชั่ว เพื่อให้ กาย วาจา และใจ พ้นจากการกระทำที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หรือเป็นกำแพงปิดกั้นให้ กาย วาจา ใจ พ้นจากความชั่วทั้งปวง
ศีล ๕ คือ ศีลที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ฆราวาสที่อยู่ในการครองเรือนประพฤติปฏิบัติ และรักษาศีล ๕ ข้อ ดังนี้
(๑) ควรรู้จักคุณค่า และรักษาสิ่งมีชีวิตทั้งปวง โดยละจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือเบียดเบียนซึ่งชีวิตเลือดเนื้อ หรือสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย
(๒) ไม่พึงปรารถนาในทรัพย์สินที่มิใช่ของตน โดยการกระทำใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น ไม่ว่าจะเป็นโดยการลักทรัพย์ หรือหยิบฉวยทรัพย์สินของผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากผู้มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินนั้นๆ
(๓) ไม่หมกมุ่นในกามคุณ หรือความใคร่ทั้งปวง โดยละจากการทำผิดลูกเมีย หรือคู่ชีวิต ตลอดจนบุตรธิดาผู้อื่น และไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการผิดต่อศีลธรรม
(๔) เป็นผู้มีสัจจะ และรักษาความจริง โดยละจากการพูดเท็จ หรือพูดเหลวไหล เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อถือ หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง หรือผู้อื่น
(๕) รู้จักรักษาสติ และควบคุมอารมณ์ของตนเอง โดยละจากการเสพติดของมึนเมา สิ่งมอมเมา หรือสิ่งที่จะเป็นเหตุให้ขาดสติทั้งปวง โดยให้ยึดหลักของการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทั้ง กาย วาจา และใจ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะยากลำบากมากสำหรับฆราวาส หรือปุถุชนธรรมดาทั่วไป พระพุทธองค์จึงได้สอนให้มีสติปัฏฐานสี่ คือ มีสติรักษา กาย วาจา และใจของตนอยู่เสมอ เปรียบเสมือนต้นไม้ที่มีรากแก้วลึกลงสู่พื้นดิน เป็นฐานของความมั่นคง ย่อมไม่คลอนแคลน หรือหวั่นไหวต่อสิ่งที่จะมากระทบ

บทสวดพระมหาโพธิสัตว์เจ้ากวนอิม
(บทสั้น) “ นัม โม กวน ซี อิม ผ่อ สัก ”

(บทเร่งด่วน) “ นัม โม อัป ปา มิ ฮง ”

(ศีลแห่งความเมตตา) ในปีหนึ่งๆ ที่ผ่านไปนั้นเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องตกเป็นอาหารของมนุษย์เราอย่างนับไม่ถ้วน นั่นคือการเบียดเบียนเข่นฆ่าผู้ที่อ่อนแอกว่า โดยถือคตินิยมว่าเนื้อสัตว์เป็นอาหารที่มีรสชาติอันโอชะของปวงมนุษย์ ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับว่ามนุษย์เราทุกๆ ผู้เป็นผู้ที่มีป่าช้าอยู่ในตัวเองทุกผู้ เพราะมีซากสัตว์ตกลงสู่กระเพาะของเราอย่างมากมาย ซึ่งนับว่าเป็นป่าช้าที่กว้างใหญ่ไพศาลยิ่งกว่ามหาสมุทรที่ถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็มและไม่มีขอบเขตจำกัด ทั้งๆ ที่การเบียดเบียนสัตว์นี้เป็นเรื่องของการก่อหนี้กรรมทั้งสิ้น เพราะหากยิ่งกินเนื้อสัตว์มากเท่าใดก็ยิ่งเพิ่มการประกอบกรรมมากขึ้น และจะเป็นเหตุให้เหล่าดวงวิญญาณของสรรพสัตว์ทั้งหลายมีความอาฆาตแค้นสะสมมากขึ้นเท่านั้น
มนุษย์เราทุกคนจึงควรที่จะทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงเรื่องการเบียดเบียนและเรื่องจิตวิญญาณ เพราะมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีจิตวิญญาณเช่นเดียวกัน ต่างกันแต่ว่ามนุษย์นั้นแสดงออกให้เห็นถึงความโลภ โกรธ หลง อย่างเด่นชัด และเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกยกย่องจากเหล่ามนุษย์ด้วยกันเองว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ กล่าวคือมีสติปัญญา มีความรู้และความเฉลียวฉลาดที่จะสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการกระทำของแต่ละผู้ได้ ส่วนสัตว์ทั้งหลายนั้นถูกเรียกว่าสัตว์เดรัจฉานเพราะ ขาดสติปัญญาในการพิจารณา ซึ่งเป็นข้อแตกต่างสำคัญที่ไม่เหมือนมนุษย์นั่นเอง
มนุษย์มีสมองในการที่จะพิจารณาเลือกการกระทำของตนเองได้ ซึ่งจิตวิญญาณของเหล่าสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายก็มีความต้องการเลือกการกระทำเช่นเดียวกัน แต่ไม่มีโอกาสที่จะทำได้ และต้องปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมที่ได้กระทำไว้ตามกรรมของตน ในขณะที่มนุษย์เราทั้งหลายมีโอกาสจะประกอบกรรมดีหรือกรรมชั่วที่สามารถทำให้จิตวิญญาณได้ขึ้นสวรรค์ ลงนรก หรือหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ ซึ่งเท่ากับว่ามนุษย์เป็นผู้มีโอกาสเลือกการกระทำของตน
ฉะนั้นมนุษย์จึงควรที่จะรักษาความประเสริฐและรักษาโอกาสของตนไว้โดยการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และไม่เบียดเบียนสัตว์ เพราะการเบียดเบียนสัตว์นั้นเป็นการสร้างความอาฆาตพยาบาท ซึ่งมีผลผูกพันไปถึงครอบครัวและลูกหลานของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายอีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะมนุษย์เราไปพรากเขาจากครอบครัวที่มีสื่อสัมพันธ์ในด้านความรักและการสืบสายเลือดเช่นเดียวกับมนุษย์
มนุษย์เราบางผู้อาจจะคิดว่าในเมื่อเรามิได้เป็นผู้ลงมือกระทำการเบียดเบียนชีวิตด้วยตัวเราเอง เราเพียงแต่เป็นผู้ไปซื้อเนื้อสัตว์มาประกอบเป็นอาหารเท่านั้นเราจะมีบาปด้วยหรือ ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ก็จงใช้สติปัญญาพิจารณาอย่างเป็นธรรมดูเถิดว่าการที่ผู้อื่นประกอบกรรมในการฆ่าสัตว์นั้น เขาก็ย่อมหวังที่จะทำการค้าโดยหวังผลกำไรจากการที่เราไปซื้อเนื้อสัตว์นั้นๆ เพราะฉะนั้นการที่เราไปซื้อเนื้อสัตว์ก็เท่ากับเราเป็นผู้ส่งเสริมให้มีการฆ่าสัตว์นั่นเอง หากแม้นเป็นกรณีที่ตัวเราจะอ้างว่าการซื้อเนื้อมาบริโภคโดยที่มิได้ลักขโมยมานั้นจะเป็นบาปด้วยหรือ ก็ขอให้เราได้พิจารณาต่อไปด้วยใจเป็นธรรมและมีความเป็นกลางอย่างแท้จริง โดยตรองให้ลึกซึ้งเถิดว่าเรานั้นเป็นผู้ที่ส่งเสริมการกระทำบาปให้เกิดขึ้นโดยทางอ้อมหรือไม่ หรือเราเปรียบเสมือนเป็นผู้สั่งฆ่าหรือไม่ เพราะผู้ที่กระทำการฆ่าก็เปรียบเสมือนกับเพชฌฆาตที่เป็นลูกจ้างของผู้สั่งฆ่านั่นเอง ฉะนั้นผู้ที่เป็นเพชฌฆาตย่อมจะมีความผิดที่ต้องได้รับโทษอย่างมหันต์ และผู้ที่สั่งฆ่าก็ย่อมจะต้องมีความผิดด้วยเช่นเดียวกัน
จงตรองดูเถิดว่าจิตวิญญาณของสัตว์ทั้งหลายก็มีความอาฆาตแค้น มีความผูกพันอยู่กับครอบครัวหรือสิ่งที่ตนรักและหวงแหน ก็ย่อมที่จะต้องตามล้างตามผลาญเพื่อชดใช้หนี้กรรมสืบต่อกันไป ดังนั้นถึงแม้ว่ามนุษย์เราจะหลงติดอยู่ในรสชาดของเนื้อสัตว์ว่าเป็นอาหารอันโอชะและสามารถบำรุงร่างกายของมนุษย์ให้มีความเจริญเติบโตเพื่อให้เกิดมีพลังในการประกอบสัมมาอาชีพก็ตาม แต่มนุษย์เราพิจารณากันบ้างหรือไม่ว่าพืชผักที่มีอยู่มากมายเหลือคณานับอันเป็นสิ่งที่ไม่มีจิตวิญญาณ และไม่มีจิตอาฆาตแค้นก็เป็นอาหารที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลในการบำรุงร่างกายให้เจริญเติบโตได้เช่นเดียวกัน
ฉะนั้นมนุษย์เราจะนำพืชผักเหล่านี้มาเป็นอาหารเพื่อจะเป็นการทดแทนอาหารที่ทำขึ้นจากเนื้อสัตว์ไม่ได้เชียวหรือ เพราะการละจากการบริโภคเนื้อสัตว์ก็เป็นการหยุดก่อหนี้กรรม และหยุดการสะสมนำซากสัตว์เข้าสู่ป่าช้าในร่างกายของเรา หากมนุษย์เราสามารถละจากการบริโภคเนื้อสัตว์ได้มากเท่าใดก็ยิ่งเป็นกุศลต่อตัวเราเองที่ไม่เบียดเบียนสัตว์มากเท่านั้น


www.mahalap34 .com


ขอเชิญชวนร่วมทำบุญ ผ้าป่าสามัคคี สร้างตึกอุบัติเหตุโรงพยาบาล ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ หลวงพ่อสมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2555 เวลา 9.30น. หากไม่สะดวกเดินทางไปร่วมงาน สามารถร่วมบุญได้โดยโอนเข้า บัญชี .กสิกรไทย ส.แยกโคกตูม ชื่อบัญชี พระสมบูรณ์ กันตสีโล เลขที่ 393-2-48664-3


หรือแจ้งติดต่อได้ที่ mahalap@hotmail.com จะรวบรวมและนำถวายพระอาจารย์สมบูรณ์ โดยตรง.
ธีระ 0818-55-2112

โดยคุณ mahalap (5.1K)  [ศ. 23 ธ.ค. 2554 - 14:18 น.]



โดยคุณ mahalap (5.1K)  [ศ. 23 ธ.ค. 2554 - 14:21 น.] #2000489 (1/2)


(N)


ขอเชิญชวนร่วมทำบุญ ผ้าป่าสามัคคี สร้างตึกอุบัติเหตุโรงพยาบาล ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ หลวงพ่อสมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2555 เวลา 9.30น. หากไม่สะดวกเดินทางไปร่วมงาน สามารถร่วมบุญได้โดยโอนเข้า บัญชี .กสิกรไทย ส.แยกโคกตูม ชื่อบัญชี พระสมบูรณ์ กันตสีโล เลขที่ 393-2-48664-3


หรือแจ้งติดต่อได้ที่ mahalap@hotmail.com จะรวบรวมและนำถวายพระอาจารย์สมบูรณ์ โดยตรง.
ธีระ 0818-55-2112

โดยคุณ mahalap (5.1K)  [ศ. 23 ธ.ค. 2554 - 14:30 น.] #2000495 (2/2)


(N)


สมาชิกท่านใดต้องการร่วมทำบุญรวมกันได้ที่
ธนาคาร ชื่อบัญชี ประเภทบัญชี สาขา เลขที่บัญชี
ธนาคารกรุงเทพ
ธีระ ปัญญาเสริมสุข ออมทรัพย์ วิภาวดีรังสิต 196-0-12212-3

ธนาคารกรุงไทย
ธีระ ปัญญาเสริมสุข ออมทรัพย์ บิ๊กซี สะพานควาย 980-1-52095-7

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ธีระ ปัญญาเสริมสุข ออมทรัพย์ แจ้งวัฒนะ14 189-1-45418-4

ธนาคารกสิกรไทย
ธีระ ปัญญาเสริมสุข ออมทรัพย์ สุทธิสาร 069-2-57278-5

ธนาคารทหารไทย
ธีระ ปัญญาเสริมสุข ออมทรัพย์ สะพานควาย 193-2-13977-5

ธนาคารไทยพาณิชย์
ธีระ ปัญญาเสริมสุข ออมทรัพย์ บิ๊กซี สะพานควาย 033-2-28487-5

ธนาคารธนชาติ
ธีระ ปัญญาเสริมสุข ออมทรัพย์ ย่อยโรงพยาบาลวิชัยยุทธ 062-2-00381-6

โอนแล้วรวบกวนช่วยแจ้งรายละเอียด ชื่อ-ที่อยู่ ด้วยครับ(จะส่งพระของขวัญปีใหม่ พระโพธิสัตต์ไปมอบให้ถึงบ้าน ครับ) จะทำรายชื่อและยอดบัญชี เพื่อแจ้งและนำส่งมอบพระอาจารย์สมบูรณ์ ร่วมกันทำบุญสร้างตึกอุบัติเหตุโรงพยาบาลอำเภอ ชาติตระการ จ.พิษณุโลก

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM