บารมีครู
โทรศัพท์ : 0890888850 อีเมล : toyai123@hotmail.com,,
ยูสเซอร์เนมของเจ้าของชมรม : บารมีครู

  กริ่งสะดุ้งกลับ ปี 2544


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

 

ประเภท   พระกริ่ง
พระชัยวัฒน์
ชื่อพระ   กริ่งสะดุ้งกลับ ปี 2544
ราคาขายแล้ว บาท.
สถานะ   ( 0 )
ชมรม   บารมีครู
วันที่แก้ไข   8 ก.ค. 2561 17:56:18
รายละเอียด
เป็นพระกริ่งที่หายากอีกรุ่นหนึ่ง เพราะสร้างจำนวนน้อยที่สุดในประเภทพระกริ่งด้วยกัน คือ เนื้อนวโลหะ สร้างเพียง ๗๙ องค์ และ เนื้อชนวน สร้างเพียง ๒๕ องค์เท่านั้น เหตุที่สร้างน้อย เพราะใช้ชนวนที่เป็นเนื้อนวโลหะ และชนวนต่างๆ ทั้งสายวัดสุทัศน์และพระเกจิชื่อดังของผู้จัดสร้างที่มีอยู่ในขณะนั้นล้วนๆ ในการเททองหล่อแบบโบราณ โดยฝีมือช่างหริ ช่างหล่อพระกริ่งฝีมือระดับแนวหน้าของเมืองไทย โดยถอดแบบมาจากพระกริ่งสะดุ้งกลับ วัดสุทัศน์ฯ ปี ๒๕๓๙ อีกทั้งยังเป็นการเทพระกริ่งแบบทิ้งทวนของช่างหริ ที่จะได้ฝากฝีมือ และผลงานเอาไว้ในวงการพระเครื่อง ผลงานจึงออกมาสมบูรณ์แบบแทบจะหาที่ติไม่ได้เลย เนื้อโลหะที่นำมาใช้เป็นชนวนในการหล่อพระกริ่งสะดุ้งกลับ เนื้อนวโลหะ คือ เนื้อชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ฯ กทม. ซึ่งเป็นเนื้อชนวนนวโลหะเต็มสูตรที่อยู่ก้นเบ้าของพระกริ่งรุ่นต่างๆ น้ำหนักรวมกันถึง ๔-๕ กิโลกรัม ผสมกับเนื้อชนวนต่างๆ ที่ผู้สร้างเก็บรวบรวมมานานหลายปี คือ ชนวนพระรุ่นต่างๆ ของหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม, หลวงปู่คำ วัดหนองแก ประจวบคีรีขันธ์, พ่อท่านคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร, หลวงพ่อเพชร วัดบ้านกรับ กาญจนบุรี และ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เทพระกริ่งได้เพียง ๗๙ องค์ วรรณะสีผิวออกแดง องค์ที่ผ่านการสัมผัสบ่อยๆ และถูกอากาศเป็นประจำ จะกลับดำเร็วกว่าปกติ ใต้ฐานตอกโค๊ด และหมายเลขกำกับทุกองค์ อีกเนื้อหนึ่ง คือ เนื้อก้านชนวนหล่อพระบรมรูปจำลอง รัชกาลที่ ๕ ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปี ๒๕๔๐ ผสมกับ ก้านชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ยอดเพชร ปี ๒๕๔๓ ของหลวงพ่ออุ้น ซึ่งเทพระกริ่งได้เพียง ๒๕ องค์ ถือว่าน้อยมาก วรรณะสีผิวออกเหลืองอมแดง ด้านหลังองค์พระตอกโค๊ดรูป "พระเกี้ยว" เพื่อแยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างเนื้อทั้งสองแบบ และใต้ฐานตอกโค๊ด และหมายเลขกำกับทุกองค์ หลวงพ่ออุ้นได้ทำการปลุกเสกเดี่ยวพระกริ่งรุ่นนี้ ในคืนเพ็ญเดือน ๑๒ หรือ วันลอยกระทง ตามประเพณีของวัดสุทัศน์ฯ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งในปีนั้นตรงกับวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยมีวัตถุมงคลที่เข้าปลุกเสกร่วมอีก ๓ รายการ คือ เหรียญหล่อพระสมเด็จขี่เสือ เนื้อสัมฤทธิ์เดช, เสือหล่อ เนื้อสัมฤทธิ์เดช และ เหรียญพระพรหม ซึ่งโบราณาจารย์ทั้งหลายมีความเชื่อกันว่า หากวัตถุมงคลใดสร้าง หรือปลุกเสกในคืนวันลอยกระทง ซึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่สำคัญวันหนึ่งของไทย จะทำให้วัตถุมงคลนั้นๆ เข้มขลัง มีพลังพุทธคุณเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ไม่ต่างกับสร้างหรือการปลุกเสกในวันเสาร์ห้าเลยทีเดียว ดังนั้น วัดสุทัศน์ฯ จึงได้ทำการเทพระกริ่งในวันลอยกระทง ถือเป็นประเพณีแทบทุกปี มาแต่ครั้งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ พระกริ่งสะดุ้งกลับ มีพุทธลักษณะต่างจากพระกริ่งทั่วไปคือ องค์พระประทับนั่งสมาธิปางมารวิชัยก็จริง แต่แทนที่จะวางพระหัตถ์ขวาไว้ที่พระชานุ (เข่า) แล้ววางพระหัตถ์ซ้ายไว้ที่พระเพลา (ตัก) แต่กลับตรงกันข้าม หรือวางกลับด้านกัน กล่าวคือ วางพระหัตถ์ซ้ายไว้ที่พระชานุ (เข่า) แล้ววางพระหัตถ์ขวาไว้ที่พระเพลา (เข่า) ซึ่งลักษณะอาการเช่นนี้ วงการพระเรียกว่า "สะดุ้งกลับ" โดยมีภาพต้นแบบมาจากท่านั่งสะดุ้งกลับของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และพระพิมพ์สะดุ้งกลับของท่าน การที่สร้างพระพิมพ์สะดุ้งกลับขึ้นมา ก็เพราะถือคติที่ว่า "ให้กลับร้ายกลายเป็นดี" หรือ "ผ่อนหนักให้เป็นเบา" นั่นเอง เป็นการกลับพลิกดวงชะตาชีวิตที่ตกต่ำให้กลับมาเจริญรุ่งเรือง และยังหมายถึง การปกป้องคุ้มครองภัยจากการเดินทางไปในที่ต่างๆ คือ ไปและกลับมาอย่างปลอดภัย แม้จะไปสู้รบในศึกสงครามก็ตาม ในยามปกติก็ยังส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ เจริญในลาภยศ หน้าที่การงานยิ่งๆ ขึ้นไป
  ยอดจอง 0  คน สมัครสมาชิก

 


Copyright ©G-PRA.COM