(0)
พระพุทธปัญจภาคี








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธปัญจภาคี
รายละเอียดพระพุทธปัญจภาคี วโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี 2539 (พระมงคลบพิตร)

รายละเอียด: เหรียญรูปใข่พระพุทธปัญจภาคี เนื้อทองแดงขัดเงา จัดสร้างขึ้นโดยกองกษาปณ์ ในวโรกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในปี พ.ศ.2540 ในพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกในวันที่ 20 มีนาคม 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงจำนวน 54 รูป ทรงเจริญพระพุทธมนต์ และสวดพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก

ใน1 ชุด ประกอบด้วยเหรียญรูปใข่ 5 เหรียญ ด้านหน้าของทุกเหรียญเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนด้านหลังในแต่ละเหรียญเป็นรูปพระพุทธรูปที่สำคัญและมีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งได้แก่

1.พระพุทธชินราช
2.พระพุทธชินสีห์
3.พระพุทธโสธร
4.พระนิรันตราย
5.พระมงคลบพิตร
เหรียญพระพุทธปัญจภาคีได้เข้าพิธีมหาชัยมังคลาภิเษก ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร พระนามและรายนามพระสงฆ์ที่กราบทูลและนิมนต์ มาร่วมอธิษฐานจิตในพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก ดังนี้
พระเจริญพระพุทธมนต์ เวลาประมาณ 15.00 น.
1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
2. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
3. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม
4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
5. พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
6. พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
7. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม
8. พระธรรมปัญญาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม
9. พระพรหมโมลี วัดยานนาวา
10. พระมหารัชมงคลดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร
พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา (ชุดที่ 1 เวลาประมาณ 15.00 น.)
1. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อพลอย) วัดเทพธิดาราม กทม
. 2. พระมงคลเทพโมลี (ดร.พูลทรัพย์) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม
3. พระราชวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
4. พระโสภณเสมาธิคุณ (หลวงพ่อเฟื่อง) วัดเจ้ามูล กทม.
5. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
6. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี
7. พระอาจารย์มหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ ตาก
8. หลวงปู่จันทา วัดเขาน้อย พิจิตร
9. พระครูกาชาด (บุญทอง เขมทตฺโต) วัดดอนศาลา พัทลุง
10. พระครูอดุลยธรรมกิจ (หลวงพ่อกลั่น) วัดเขาอ้อ พัทลุง
11. หลวงพ่อสังข์ศีลคุณ วัดดอนตรอ นครศรีธรรมราช
12. พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่
13. หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อุดรธานี
14. พระอธิการวิชา วัดศรีมณีวรรณ ชัยนาท
15. หลวงพ่อบุญมา คัมภีรธัมโม วัดหนองปุง สกลนคร
16. พระครูมนูญธรรมมาภิรัต (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ ระยอง
17. พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงพ่อจันทรแรม) วัดเกาะแก้วธุดงค์สถาน บุรีรัมย์
พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา ชุดที่ 2 เวลาประมาณ 18.00 น.
1. พระราชจันกวี วัดไผ่ล้อม จันทบุรี
2. พระอุดมประชานารถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
3. พระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่องลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
4. พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงพ่อลี) วัดเหวลึก สกลนคร
5. พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงพ่อคำพอง) วัดถ้ำกกกู่ อุดรธานี
6. พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
7. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
8. หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี
9. พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว) วัดปรีดาราม นครปฐม
10. พระครูถาวรสังฆสิทธิ์ (หลวงพ่อภา) วัดสองห้อง นครปฐม
11. พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่บ้านดาล สกลนคร
12. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
13. หลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
14. พระครูอรรถธรรมทร (หลวงพ่อเฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี
15. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงปู่รินทร์ รักชโน สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
17. หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิงวิปัสสนา ขอนแก่น
18. พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
19. หลวงปู่พลพินิจ ขันจิธโร สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
พระสงฆ์สวดภาณวารและทิพย์มนต์
1. พระมหาสุธน กวิญโญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม
2. พระปลัดพิทยา ญาณิวโส วัดสุทัศนเทพวราราม
3. พระครูวินิตสุนทรกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูพินิจ กิจจาภิรักษ์ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
พระสวดพุทธาภิเษก
1. พระครูพิทักษ์ถิรธรรม วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
2. พระครูวิบูลวิหารกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระครูสุวัฒนประสิทธิ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูอมรโฆสิต วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

ประวัติพระมงคลบพิตร
พระมงคลบพิตร ตามประวัติในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เจ้าชายสายน้ำผึ้ง สวรรคตในปี พ.ศ.๑๖๐๘ กล่าวถึงพระพุทธรูปองค์ใหญ่ แต่จะเป็นพระมงคลบพิตรหรือไม่ก็ไม่ทราบ นอกจากนั้นยัง กล่าวถึงวัดชีเชียงในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้สร้างในปี พ.ศ.๒๐๘๑ อยู่ในบริเวณที่พระมงคลบพิตรประดิษฐานอยู่แล้ว

ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.๒๑๔๖ โปรดให้ย้ายพระมงคลบพิตรจากตะวันออกมาไว้ทางทิศตะวันตก คือที่อยู่ปัจจุบันนี้

สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่า พระมงคลบพิตรสร้างเมื่อใดนั้นมีข้อสังเกตได้ ๒ อย่างคือ

๑.คงสร้างขึ้นตั่งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประมาณ พ.ศ.๑๙๙๑ กับ พ.ศ.๒๑๔๕ ช้ามาสัก ๑๐๐ ปี เพราะดูลักษณะเป็นแบบสุโขทัยผสมแบบอู่ทอง

๒.คงสร้างขึ้นเมื่อตั้งพระนครศรีอยุธยาแล้ว แต่ว่าก่อนรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมประมาณ ปี พ.ศ.๑๘๙๓ กับ พ.ศ.๒๑๔๕

ในคราวที่ย้ายพระมงคลบพิตร ได้ก่อสร้างพระมณฑปสวมไว้ เพราะว่าของเดิมคงถูกไฟไหม้ เครื่องบนเสียหาย หักถึงพระศอ และได้บูรณะในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ปี พ.ศ.๒๒๘๔ เมื่อเสียกรุง พ.ศ.๒๓๑๐ พระมงคลบพิตร ก็ถูกพม่าเผาทำลายเหมือนกับวัดอื่นทั่วไป ถูกปล่อยให้ทิ้งร้างจนชำรุดทรุดโทรมมาก

พ.ศ.๒๔๖๓ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) ผู้ว่าราชการมณฑลกรุงเก่า ได้บูรณะพระกรขวาและพระเมาฬี

พ.ศ.๒๔๗๔ คุณหญิงอมรเรศร์ สมบัติ ได้ขออนุญาตกรมศิลปกร บูรณะพระมงคลบพิตร ส่วนฐานบัลลังก์

พ.ศ.๒๔๙๘ ฯพณฯ อูนุ นายกรัฐมนตรีพม่า ได้เดินทางมาเยี่ยมชมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมนี้ ได้ปลูกต้นโพธิ์หน้าวิหารพระมงคลพิตร ๑ ต้น และได้บริจากเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท โดยมอบให้กรมศิลปากรออกแบบสร้างวิหารดังที่เห็นในปัจจุบัน พร้อมทั้งบูรณะพระมงคลบพิตร ได้พบพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งฝังอยู่ที่พระพาหา (บ่า) ได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

ต่อมาวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๓ สมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยพิธีมหาพุทธาภิเษกพระมงคลบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท เพื่อบูรณะปิดทองพระมงคลบพิตร เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ บรรษา พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปที่มีพระเกศมาลาเป็นดอกบัว ซึ่งแปลกกว่าพระพงค์อื่นโดยทั่วไป และเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกรุงศรีอยุธยา มีพุทธลักษณะปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๙ เมตร ๕๕ เซนติเมตร สูง ๑๒ เมตร ๕๕ เซนติเมตร
ราคาเปิดประมูล270 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ21 บาท
วันเปิดประมูล - 02 ก.ค. 2555 - 00:54:12 น.
วันปิดประมูล - 12 ก.ค. 2555 - 00:54:12 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpunnarai (14.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     270 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     21 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM