(0)
ู^_^ แบ่งๆกันไปใช้ครับ เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อมุม วัดนาสัก เนื้อทองแดง ^_^








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องู^_^ แบ่งๆกันไปใช้ครับ เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อมุม วัดนาสัก เนื้อทองแดง ^_^
รายละเอียดวัดนาสัก
ตั้งอยู่ ม.1 ต.นาสัก อ.สวี จ.ชุมพร วัดนาสัก เป็นวัดประจำตำบล และมีหลวงพ่อที่ชาวบ้านนับถือ 3 องค์ คือ หลวงพ่อสร หลวงพ่อศรีคง หลวงพ่อมุม ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดนาสัก คือ พระครูเมตตา ธรรมจารี

หลวงพ่อมุมมีนามเดิมว่า มุม จันทร์ประสูติ เกิดเมื่อ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ปี จอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ที่ตำบลปากมะยิง ใกล้กับวัดปากกิ้ว จ.นครศรีธรรมราช บิดาชื่อ นายเฟื่อง มารดาชื่อนางใหม่ ท่านเป็นลูกโทน ฐานะทางบ้านนับว่าเป็นผู้มีอันจะกินเพราะมีที่นาเป็นร้อยไร่ พอท่านมีอายุได้ ๑๑ ปี บิดาก็ถึงแก่กรรม ทำให้ท่านเกิดความสลดใจและเศร้าใจเป็นอย่างมาก ท่านอยู่กับมารดาจนมีอายุได้ ๑๘ ปี คืนหนึ่งท่านฝันเห็นบิดา ท่านก็มาคิดว่าท่านไม่เคยทดแทนบุญคุณบิดาเลย จึงคิดบวชทดแทนบุญคุณซึ่งมารดาก็ให้การสนับสนุน

ท่านจึงบวชเณรที่วัดท่าโพธิ์ จ. นครศรีธรรมราช โดยมี พระรัตนธัชมุนี ศรีธรรมราช (ม่วง) หรือเจ้าคุณวัดท่าโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ เมื่อบวชเณรแล้วท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดปากกิ้ว

หลังจากบวชเณรได้ ๑ ปี มารดาของท่านก็เสียชีวิตไปอีก ทำให้ท่านเล็งเห็นว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ การบวชทำให้ท่านมีความสุขยิ่งกว่าทางโลกและเป็นการทดแทนบุญคุณบิดา-มารดา ด้วยท่านจึงตัดสินใจบวชไม่สึก ส่วนทรัพย์สมบัติที่ดินท่านก็ไม่ไยดี เป็นของนอกกาย ให้ญาติๆแบ่งกันไปหมด

พอท่านมีอายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ออกบวชเป็นพระภิกษุโดยมีอุปัชฌาย์รูปเดิมเป็นผู้บวชให้รับนามฉายา ว่า โฆสโก ซึ่งแปลว่า “ผู้มีเสียงก้อง” หมายถึงมีธรรมอันกว้างใหญ่ไพศาลถ้วนทั่วนั่นเอง ท่านจำพรรษาอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๘

*** ท่านได้ออกไปศึกษาหาความรู้ทางปริยัติธรรมเพิ่มเติมที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยมาเรือมากับพระภิกษุอีกสองรูปคือ***

1 หลวงพ่อโอภาสี

2 พระอาจารย์วิจิตรกรณีย์ (หลวงปู่ยิ่ง) ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อมุม รูปหนึ่งด้วย

พ.ศ. ๒๔๗๘ เมื่อศึกษาจบในลำดับหนึ่ง ท่านได้ธุดงค์มากับหลวงปู่ยิ่ง และจำพรรษาที่วัดโพธิ์เกษตร อ.สวี จ.ชุมพร ส่วนหลวงพ่อโอภาสี ท่านได้แยกไปจำพรรษาที่อาศรมบางมด ธนบุรี

พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านนา อ.เมือง จ.ชุมพร และเป็นเจ้าอาวาสจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๐

พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านออกธุดงค์จำพรรษาอยู่ที่วัดกาญจนาราม อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี และธุดงค์ต่อไปถึงนครศรีธรรมราช แล้วย้อนกลับมาชุมพร

พ.ศ. ๒๔๙๓ จำพรรษาที่วัดนาสัก ขณะนั้นเป็นวัดนาสักเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์ หลวงพ่อเลื่อน วัดสามแก้วได้ให้นายภู่ เกตุสถิตย์ กรรมการวัดนิมนต์หลวงพ่อมุม มาเป็นเจ้าอาวาสแทนหลวงพ่อสอนที่มรณภาพ อยู่ที่วัดนาสัก อ.สวี จ.ชุมพร จนกระทั้งมรณภาพ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒

ก่อนที่ท่านจะมรณภาพช่วงระยะเวลาหนึ่ง ได้มีการสร้างรูปเหมือนบูชาขนาดองค์จริงของหลวงพ่อมุมที่สำนักสงฆ์คนฑี ตั้งอยู่หมู่ 3 ต.บ้านนา อ.เมือง ชุมพร โดยมี พระอาจารย์ธรรม เป็นผู้จัดสร้างได้นิมนต์หลวงพ่อมุม ไปเจิมองค์รูปเหมือน หลวงพ่อมุมท่านได้กล่าวว่า ทำรูปเราไม่ได้ขอเราเลย อีกไม่นานหรอกเราก็คงต้องไป และท่านได้แจ้งให้พระลูกศิษย์คือหลวงพ่อบุญรอด ภาวโร วัดแก้วประชาราม (ทุ่งรี) ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี ให้ทราบว่าท่านจะกลับแล้ว หลวงพ่อบุญรอด จึงได้สั่งหล่อรูปเหมือนขนาดองค์จริงมาไว้ที่วัดนาสัก เป็นองค์ประดิษฐานอยู่ที่วัดจนถึงปัจจุบันให้กับหลวงพ่อมุม

ขณะที่หลวงพ่อมุมอยู่โรงพยาบาลชุมพร โยมผู้อุปถากท่านคือตาอิง (กรรมการวัด) ท่านได้บอกให้ตาอิง เอาน้ำมารดตัวท่าน (ท่านกำลังสละทิ้งธาตุ) ท่านบอกตาอิงว่าจะไปแล้ว เวลาที่ไปคือเวลาที่หยุด ต่อมาไม่นานท่านก็ละสังขาร ตาอิงจึงดูที่นาฬิกาเห็นว่า มันหยุดเดิน จึงถามแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งเวลาหรือ แพทย์ให้พยาบาลไปดูเวลาในห้องแพทย์ นาฬิกาที่มีอยู่ทุกเรือนก็หยุดหมด แม้แต่เมื่อนำร่างหลวงพ่อมุมมาถึงที่วัด นาฬิกาของวัดนาสักก็หยุดและรวมถึงเมื่อตาอิงแจ้งข่าวให้ทางวัดโพธิเกษตรทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อมุมนาฬิกาของวัดก็หยุดด้วยเช่นกัน

หลวงพ่อมุม มรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น.

นับพรรษาได้ ๗๑ พรรษา สิริอายุ ๙๑ พรรษา ปัจจุบันทางวัดได้เก็บร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว เพื่อให้ผู้ที่ศิษยานุศิษย์ได้มากราบไหว้ ซึ่งได้กำหนดให้ทุกวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปีเป็นวันทำบุญอุทิศให้หลวงพ่อมุม

คาถาอาราธนาวัตถุมงคลของหลวงพ่อมุม โฆสโก
อิติปิโส ภควา พุทธัง ธรรมมัง สังฆัง อาราธนานัง อธิฐามิ

หลวงพ่อไม่ได้พูดสอนอะไรมากหรอก แค่ทำให้เราดู เป็นอยู่อย่างสมณะผู้เรียบง่าย ไม่ยึดถือยศศักดิ์ใดๆ รู้จักทดแทนคุณบิดามารดา มีน้อยใช่น้อย มีมากแบ่งปัน เสียสละรู้จักการให้ จากไปทิ้งธรรมสังขาร ให้ลูกหลานได้สังวร


ประวัติวัด, เกจิ
ไปนมัสการหลวงพ่อมุม โฆสโก วัดนาสัก อำเภอ สวี จังหวัดชุมพร โดยทิดเท่ง
อังคาร ที่ 27 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2553


ไปนมัสการหลวงพ่อมุม โฆสโก วัดนาสัก อำเภอ สวี จังหวัดชุมพร โดยทิดเท่ง

ก่อนที่จะได้ไปถึงจังหวัดชุมพรทางภาคใต้ หลายคนคงจะเข้าใจเหมือนเราว่าในยุคปัจจุบันนี้ที่นั่นคงจะมีแต่พระคุณเจ้าหลวงพ่อสงฆ์วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยเท่านั้นที่ลือชา แต่พอไปถึงจังหวัดชุมพรเข้าจริงๆจึงได้ทราบจากคนที่ชุมพรอีกว่า ยังมีหลวงพ่อที่มีเครื่องรางของขลัง และมีความประพฤติในธรรมที่ควรแก่การศรัทธาอีกหลายองค์ เช่น หลวงพ่อมุม เจ้าอาวาสวัดนาสักเป็นต้น

เราสนใจท่านองค์นี้เพราะอะไร
ขนาดวัดนาสักที่ว่านี้ ไกลออกไปจากตัวเมืองชุมพรเข้าไปในป่าไกลกว่าอาจารย์บางองค์ คนก็ยังศรัทธาอุตส่าห์ไปนมัสการท่านไม่ได้ขาด ท่านเป็นพระนักวิปัสสนากรรมฐาน ไปไกลจากเสียง จอแจกวนใจ สงบดี พลังใจพลังจิตของท่านตั้งมั่น เครื่องรางของท่านจึงขลัง

วัดของท่านอยู่ออกไปจากตัวเมืองชุมพร ไปทางอำเภอหลังสวนแดนผลไม่มากแห่งหนึ่งในสายใต้ จากตลาดชุมพรไปทางถนนลาดยางจนถึงทางแยกที่จะเข้าไปที่วัดท่านก็สบายดี ราว ๒๐ กิโลเมตร ตั้งแต่ทางแยกตรงนั้นกว่าจะถึงวัดท่านอีก ๗ กิโลเมตรนี่ซิ มันลำบาก ถ้าแรงศรัทธาไม่ดีก็ไม่มีใครไปเป็นแน่ เพราะเป็นทางวิบาก เป็นหลุมเป็นบ่อเรียกกันว่าทางธรรมชาติแท้ๆ ว่างั้นเถอะ มันเกิดเป็นทางขึ้นมาได้ เพราะควายเดินบ้าง คนเดินบ้างเป็นร้อยๆ ปี ข่มขืนจนกระทั่งเป็นทางขึ้นมาด้วยความจำยอมท่ามกลางความเปล่าเปลี่ยววังเวงนี้ ขนาดรถจิ๊ปแลนด์โรเวอร์ที่เราเอาเข้าไปต้องโครงเครงเหมือนเรือโต้คลื่น หัวสั่นหัวคลอน พยัคหน้าพยัคตาเหมือนทักทายกันตลอดเวลา เผลอๆ รถเอียงวูบคะมำเหมือนจะกัดหน้าคนตรงกันข้ามเสียอย่างนั้นแหละก็มี

แกงจืดวุ้นเส้นและต้มยำกุ้งที่นำไปถวายท่าน พอถึงวัดน้ำหายหมดกลายเป็นวุ้นเส้นแกงจืดแห้ง กุ้งต้มยำเหลือแต่กุ้งกับข่า ตะไคร้กลายเป็นกุ้งจิ้มน้ำปลาไป ใครเห็นเข้าก็นึกว่าเราทำกับข้าวสูตรใหม่ถวายพระ

ทางเปลี่ยวและทางวิบากอย่างนั้น คนก็ไม่ขาดไม่มีใครกลัวโจรจับเรียกค่าไถ่ในยุคสมัยนี้เลย และก็แปลกอีกอย่าหนึ่งก็คือระหว่างที่ใครจะเข้าไปหาท่านก็ตาม ถ้าพบคนชาวสวนหรือคนแถวนั้น ถ้าเขาทราบว่าเราไปหาหลวงพ่อมุม รู้สึกว่าเขาเป็นกันเองและแสดงความยินดีกับเรา นับว่าหลวงพ่อได้แผ่เมตตาจิตจนเป็นที่อุ่นใจต่อบุคคลที่เข้าไปหาท่านเหลือเกิน หลวงพ่อมุมเป็นพระที่พูดน้อยมีความเคร่งและสำรวมตลอดเวลา ถามคำท่านพูดคำ บางทีท่านก็หยุดพูดนานๆ จนเราเกรงใจท่านไม่กล้าเซ้าซี้ถามมากๆ เพราะดีไมดีท่านเห็นเราเป็นปีศาจช่างพูดเก็บเราใส่หม้อเอายันต์ปิดละก็จะยุ่งกันใหญ่ เราจึงใช้วิธีถามพระลูกวัดและคนแก่คนเฒ่าที่นั้นจึงพอที่จะได้อะไรๆมาเล่าสู่กันฟังได้บ้าง

บนกุฏิที่ท่านจำวัตรนั้น ท่านก็ใช้เป็นที่รับรองแขกของท่าน ท่านจะมีสมบัติอะไรๆ ก็เห็นพุงเห็นใส่กันเลย เราเห็นความเป็นอยู่ของท่านไม่สมศักดิ์ศรีเหมือนสมภารวัดอื่นๆ ดังที่เราได้เห็นมา ก็เกิดความสังเวชใจนักมุ้งเก่าๆ อาสนะผ้ารองนอนเก่าๆ กาน้ำร้อนเก่าๆ ไม่ใช่เก่าแบบวัตถุลายครามมีค่านะ เก่าแบบที่เขาทิ้งกองขยะแล้วเก็บมาซ่อมมาปะใช้นั่นแหละ คนเอาของดีๆ มาถวายให้ท่านใช้ ท่านก็ว่าของๆ ท่านยังใช้ได้เจอใครขัดสนทุเรศกว่าท่าน ท่านก็ให้เขาต่อไปอีก เมื่อถามท่านว่าไม่เกรงคนที่เขาถวายมาเสียใจหรือ ท่านก็ว่าคนที่เขาถวายมาก็ต้องการได้บุญ แล้วท่านให้คนที่ควรยิ่งกว่าให้ท่านแล้ว จะไม่ได้บุญมากกว่าหรือ

เครื่องวิทยุก็ไม่ได้ยินเสียงในวัดของท่าน ท่านว่าไม่เหมาะสมกับความสงบในวัด กว่าจะหมุนคลื่นไปเจอรายการที่มีประโยชน์ ก็เจอรายการที่มีกิเลสมากกว่า ฉะนั้นเพลงเธอกินอะไรสวย หรือลั่นทมไม่มาสักทีพวกน้องพี่พากันสนเท่ห์ ฯลฯ แบบนี้พระของท่านในวัดจึงไม่ได้ยินกัน

เวลาสูบบุหรี่ใบจากท่านก็ตีเหล็กไฟจุดเราเข้าวัดมาหลายสิบวัดแล้วในยุคนี้ก็ไม่เคยพบ พอมาเจอท่านสมภารวัดนี้ตีเหล็กไฟจุดบุหรี่จึงงงๆ จะเขียนอธิบายถึงวิธีตีเหล็กไฟ ก็อธิบายลำบากเหลือเกิน คือใช่แผ่นเหล็กแบนเล็กยาวๆ ขนาดเท่ากลักไม่ขีด ตีเฉี่ยวๆกับก้อนหินเล็กอีกมือหนึ่ง ซึ่งมีนุ่นหรือสำลีรองจับอยู่จนติดจึงจะจุดบุหรี่กว่าจะติดนี่ตีเฉี่ยวๆ หลายที ถ้าไม่ชำนาญหรือพลาดมันก็จะเฉี่ยวจนมือไม้ฉีกเลือดไหลบาดเจ็บไปด้วยน่าเสียวไส้ ไม้ขีดก็มีคนมาถวายเป็นห่อๆ ท่านก็ไม่หยิบมาจุดสูบ คุณครรชิต ตันกุล รองประธานสภาเทศบาลเมืองชุมพรซึ่งไปด้วย ทำท่าจะถวายรอนสันอย่างดี ลูกศิษย์ก็ชิงบอกก่อนว่ามีคนถวายมาให้ท่านใช้นักต่อนักแล้ว แต่ท่านให้คนที่ท่านพ่อใจต่อไปอีก ท่านชอบตีเหล็กไฟของท่านอย่างนี้เพราะในระยะที่กว่ามันจะติดจนจุดบุหรี่ได้นั้น ก็ราวๆ 5 นาที ท่านก็ว่ามันเป็นเวลาที่ท่านได้คิดอะไรต่ออะไรของท่านได้อีก

ความเป็นอยู่ของท่านทุกอย่าง แสดงว่าท่านอยู่อย่างใฝ่ธรรมะมีความเป็นอยู่อย่างพระ ไม่เกินความจำเป็น ท่านว่าบวชเป็นพระไม่ใช่เพื่อมาหาความสบายทางกาย คอยแต่กินคอยแต่สะสมของชาวบ้านที่เขามาถวาย เขาจะเรียกว่าปีศาจในผ้าเหลือง หลวงพ่อมุม ฉายาท่าน “โฆสโก” ท่านเกิดที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชไกลจากชุมพรไปทางใต้อีกท่านเกิดที่ ที่ตำบลปากมะยิงใกล้ๆ กับวัดปากกิ่ว ท่านเกิดปีจอ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ปี จอ พ.ศ. ๒๔๔๐ พอถามถึงโยมบิดาท่านก็เงียบ ถามถึงโยมมารดาท่านก็เอาเหล็กไฟมาตีจุดบุหรี่สูบ เราก็บังเกิดความเกรงใจไมถามซ้ำ พอบุหรี่ติดท่านก็พ้นควันอย่างสบายอารมณ์ ท่านก็บอกว่าท่านเป็นลูกโทน ไม่มีใครเกิดมาเป็นพี่น้องแย่งความรักจากบิดามารดาของท่านได้อีก ฐานะตระกูลของท่านก็นับว่ามีอันจะกินเพราะมีที่นานับร้อยไร่ พอท่านอายุได้ ๑๑ ปีโยมบิดาก็ตายจาก ท่านบอกว่าท่านสลดใจ และเสียใจ เศร้าใจอย่างบอกไม่ถูก อยู่กับโยมมารดาจนอายุ ๑๘ ปี ไม่เดือดร้อนเรื่องความเป็นอยู่แต่ขาดบิดามันวังเวงบอกไม่ถูกเหมือนกัน

คืนหนึ่งฝันเห็นบิดา ก็มาคิดว่าเราไม่เคยทดแทนบุญคุณบิดาเลย ถ้าจะทดแทนด้วยการบวชคงจะทำให้บิดามีวิญญาณด้วยความสุข เมื่อแม่ทราบก็สนับสนุน และปลื้มใจในตัวของท่านจนน้ำตาไหล นำท่านมามอบกับท่านเจ้าคุณวัดท่าโพธิ์ที่นครศรีธรรมราชนั่นแหละบวชเณรให้ท่านในปีอายุ ๑๘ ปีนั่นเอง

เจ้าคุณวัดท่าโพธิ์ คือพระรัตนธัชมุนี ศรีธรรมราช (ม่วง) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นสหายอันสนิทของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) นับว่าหลวงพ่อมุมพอเริ่มบวชก็ได้ท่านอุปัชฌาย์อันสำคัญแห่งยุคองค์หนึ่งของภาคใต้ทีเดียว พอท่านบวชเณรได้ ๑ ปี มารดาของท่านก็ตายจากไปอีก ท่านไม่มีพี่น้องร่วมอุทร ก็เหมือนอยู่คนเดียวในโลกเที่ยงแท้ ไม่มีความสงบในทางฆราวาสธรรมเท่านั้นที่จะก่อความสดใสในดวงจิต และคิดว่าบิดามารดาทุกคนเมื่อมีลูกดีก็จะมีความสุข ถ้าท่านบวชอยู่อย่างนี้ก็นับว่าท่านทำตัวเป็นลูกที่ดี บิดามารดาท่านก็คงจะมีความสุขหมดห่วงเหมือนกัน ท่านคิดดังนี้แล้วจึงตัดสินใจบวชไม่สึก

เราฟังตอนนี้แล้วใจหาย เป็นห่วงที่นานับร้อยไร่ของท่านจึงนมัสการถามท่านว่า “แล้วที่นาของท่านล่ะ” ท่านหันมาสบตากับเรา “อัตมาเป็นอะไรล่ะ จะได้มีที่นา” อย่างนี้ก็แสดงว่าท่านไม่ใยดีกับสมบัติ ญาติพี่น้องเอาไปหมดแล้ว นึกน้อยใจในโชควาสนาของตัวเรา ถ้าได้เกิดเป็นน้องชายท่าน ป่านนี้คงเป็นเศรษฐีชาวนาไปแล้ว ไม่รู้ว่าเปรต สส.พรรคไหนมาดลใจเราให้แย้งว่า “ผมเคยเห็นบางองค์มีเงินส่วนตัวฝากธนาคารแน่ะหลวงพ่อ” “ถ้าบวชเป็นพระแล้ว ยังคิดมีใจสะสมสมบัติเป็นของตนก็ไม่ใช่พระคุณไปเจอแพะเข้าแล้ว” ท่านว่า พอท่านครบอายุบวชพระ ท่านเจ้าคุณวัดท่าโพธิ์ฯ นั่นแหละเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ท่านอีกท่านมุ่งหน้าแสวงหาธรรมของท่านเรื่อยไป ไปเรียนวิปัสสนาและทางไสยศาสตร์หลายสำนัก จนเครื่องรางของขลังของท่านเป็นที่พึ่งของคนทั่วๆ ไปได้ “ใครบ้างครับที่เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อ” เราอยากรู้จึงถาม “ท่านอาจารย์ที่ให้วิชาไม่ต้องประกาศให้ใครรู้” ท่านว่าในขณะที่ท่านไปอยู่วัดไหนท่านก็สร้างความเจริญที่นั่น ไม่ว่าจะโรงเรียนหรือโรงธรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมท่านช่วยสร้างทั้งนั้น ตะกรุดและหน้าผากเสือของท่านก็เริ่มดัง ดังในทางแคล้วคลาดและอำนาจตบะ ท่านไปอยู่ที่ไหนผู้คนก็หลั่งไหลไปหาท่าน จนไม่เป็นอันกินอันนอนท่านก็ไปของท่านเรื่อยๆ จนก่อนที่ญี่ปุ่นจะบุกภาคใต้ของเมืองไทยปี ๒๔๘๔ ท่านก็เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

ชาวบ้านทราบว่าท่านเป็นผู้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ก็อีตอนนี้ คือก่อนที่ญี่ปุ่นจะบุกขึ้นชุมพรราว ๓-๔ วัน ท่านก็ขนเครื่องรางของขลังที่ท่านเสกเป่าเก็บเอาไว้มาแจกอย่าไม่อั้นตามหมู่บ้านบริเวณตำบลที่อยู่แจกไปปากก็บอกเรื่อยไปว่า “เก็บไว้ป้องกันตัวนะ คนต่างชาติมันจะมารบเมืองเรา” แล้วก็เป็นความจริงดังท่านว่า เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้ามา ขณะนี้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดนาสัก ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ อยู่เสียลึกเข้าไปในป่าดังกล่าวแล้วเพราะท่านต้องการความเงียบสงบอย่างแท้จริง และวัดนี้ตามที่คนอายุ ๙๐ กว่าปีที่อยู่ตำบลนี้ ซึ่งได้รับคำบอกเล่าจากคนรุ่นก่อนที่มีอายุเกือบร้อยปีเล่าต่อๆ มาว่า วัดนาสักนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ สร้างในสมัยที่พม่ายกกองทัพเข้ามาทางเมืองระนอง คนตำบลนี้ก็ก็รวมคนขึ้นต่อต้านโดยมีพวกทหารซึ่งท่านเจ้าเมืองส่งมาควบคุมช่วยเหลือจึงได้สร้างวัดนี้ข้นมาเพื่อให้อาจารย์เครื่องรางของขลังอยู่ เป็นที่อบอุ่นและเป็นกำลังใจแก่คนสู้ข้าศึกต่อไป
ท่านบวชตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี จนขณะนี้อายุ ๗๘ ปี แล้วท่านบวชมากี่พรรษาและบวชมากี่ปีก็คิดกันเอง ผมมันอ่อนวิชาคณิตศาสตร์ขี้เกียจคิดแก่แต่วิชาทัศนาจรศาสตร์เท่านั้น ถึงเวลาฉันเพล จึงทราบว่าท่านมีลูกวัดขณะนี้ ๙ รูป ลูกศิษย์สำหรับล้างถ้วยล้างบาตร ๒-๓ คน ท่านฉันรวมกับทุกรูปที่หอฉัน เรามันหิวตอนรถเขย่ามาแล้ว ก็พากันคอยชิงเปรตที่หอฉันด้วย จะซื้อกินที่ไหนก็ไม่มีแล้วในป่าเช่นนี้ จึงทราบว่าท่านฉันคาวเพียงมื้อเช้า ตอนเพลแบบนี้ฉันผลไม้หรือบางทีก็ไม่ฉันเลย

บนหอฉันนี้เองที่เราได้มีโอกาสคุยกับชาวชุมพรที่มานมัสการท่านเหมือนเรา ได้กรุณาเล่าถึงอภินิหารเครื่องรางของขลังที่หลวงพ่อมอบให้สานุศิษย์ให้เราฟังว่า ลูกศิษย์ของท่านคนหนึ่ง ชื่อ พ.ต.ต.สมพล เพ่งพิศ เป็นตำรวจฝ่ายปราบปรามอยู่ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ ๖-๗ ปีมาแล้ว ได้หน้าผากเสือของดีจากท่านไป วันหนึ่ง พ.ต.ต.สมพล ต้องไปปราบเสือร้ายชื่อสมบูรณ์ ไม่ทราบนามสกุล ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอสวี จ.ชุมพร ซึ่งปล้นฆ่านับเป็นสิบศพ พอแกรู้ว่าเสือร้ายไปกบดานกับเมียมันที่บ้านแกก็พาลูกน้อง ๓-๔ คน ไปทันที พอถึงบ้านในตอนกลางวันแจ้งๆ นั้นเอง แกก็วางแผนให้ลูกน้องล้อมบ้านเข้าจุดละ ๑ คน เพราะตำรวจน้อยบริเวณบ้านกว้างไม่ต้องมีเพื่อนคอยช่วยเหลือกันล่ะ ตัวใครตัวมันรักษาตัวกันเอาเอง พอวางแผนนัดหมายกัน แล้วต่างคนต่างก็แฝงตัวกันล้อมเข้าไป พ.ต.ต.สมพล เข้าทางเนินดินทิศตะวันออกของบ้าน โดยไม่ได้คาดฝันมาก่อน พอเตรียมตัวจะเข้าล้อมตามแผนทางด้านหลัง อ้ายเสือมันก็โผล่มาพบกับแกโดยบังเอิญทันที ต่างคนต่างจ้องกันตาแจ๋วในระยะ ๔-๕ วา ตะลึงงันด้วยความไม่แน่ใจ อ้ายเสือมันตั้งสติได้ก่อน ปืนอยู่ในมือมัน กันก็ซัดตูมเข้าให้ พ.ต.ต.สมพล ก็หงายหลังมือตีนกางกลิ้งลงไป อ้ายเสือก็หันหลังวิ่ง พอแกรู้ว่าแกไม่ถูกลูกปืนระยะนี้ ก็เหลือเชื่อ แกก็พรวดพราดลุกขึ้นวิ่งไล่กวดไปทันที พอเงื้อปืนจะซัดอ้ายเสือบ้างมันก็กระโดดลงต่ำ ไม่รู้อ้ายเสือทำอีท่าไหนหัวไปทิ่มตอไม้ใหญ่ชักตาตั้งกองอยู่ที่ตรงนั้นเอง แกต้องให้ตำรวจหามมาตายที่โรงพยาบาลชุมพร

การปราบเสือร้ายโดยไม่ต้องเสียกระสุนปืน และจบเกมด้วยความปลอดภัยอย่างรวดเร็วคราวนี้ เป็นที่กล่าวขวัญของคนแถวนั้นอยู่นานจน พ.ต.ต.สมพล จะกลายเป็นดารายอดนิยมไป แต่เจ้าตัวบอกว่าเป็นเพราะหน้าผากเสือของหลวงพ่อมุมช่วยแท้ๆ ลูกศิษย์หลายคนได้ตะกรุดท่านเป็นทหารไปเวียดนาม มีจดหมายเล่าให้ฟังถึงเรื่องความปลอดภัยอย่างมหัศจรรย์ ของขลังของท่านมีข้อห้ามไว้ว่า ห้ามนำไปสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้าน ห้ามเป็นชู้กับเมียเขา มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิต บางคนอยู่เฉยๆ ฟ้าผ่าตายก็มี ถ้าเอาของท่านไปผิดศีลผิดธรรมอย่างนั้น

ของขลังท่านดีสำหรับตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองและท่านก็ไม่นิยมที่จะเอาตะกรุดหรือหน้าผากเสือให้ประชาชนเพราะกลัวจะเอาไปใช้ในทางไม่ดี เพราะปรากฏว่าเอาไปเป็นโจรแล้วกว่าตำรวจจะปราบได้ลำบากเหลือเกิน หลวงพ่อมุม เจ้าอาวาสวัดนาสัก จังหวัดชุมพร เป็นพระอีกองค์หนึ่งที่ประพฤติธรรม ควรแก่การศรัทธา อยู่ในป่าที่สงบหลีกเลี่ยงจากเรื่องเศร้าหมอง จนบังเกิดพลังจิตอันแน่วแน่ เครื่องรางของขลังของท่านจึงเป็นที่พึ่งแก่คนได้จนเป็นที่เลื่องลือ
เราจะหาโอกาสไปนมัสการท่านอีก

จากหนังสือลานโพธิ์
ฉบับที่ ๓๗, ๑๐ ก.พ.๑๘

ขอขอบคุณ : เอกวิทย์ วรรณุรักษ์ : ผู้เรียบเรียง


สำหรับเหรียญที่นำมาลงเป็นเหรียญรุ่นแรกเนื้อทองแดง ออกวัดบ้านนา ปี พ.ศ.2519 สภาพยังสวย รับประกันความแท้ตลอดชีวิต ความพอใจตามกฏ แบ่งๆกันไปใช้ครับ ขอบคุณทุกท่านที่แวะเยี่ยมชมครับ
ราคาเปิดประมูล989 บาท
ราคาปัจจุบัน1,979 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 03 ส.ค. 2554 - 00:54:41 น.
วันปิดประมูล - 04 ส.ค. 2554 - 01:33:35 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtechnolog (4.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 03 ส.ค. 2554 - 00:55:31 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     1,979 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    phon265 (821)

 

Copyright ©G-PRA.COM