(0)
พระหล่อ ระฆังหลังฆ้อน ยุคแรก น้ำทองสวยเดิมครับ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระหล่อ ระฆังหลังฆ้อน ยุคแรก น้ำทองสวยเดิมครับ
รายละเอียดระฆังหลังฆ้อน ยุคแรก น้ำทองสวยเดิมครับพร้อมใช้ครับ ค่าทอง 3,900 บาท (รับประกัน ตามกฎ ครับ) ตะไบหลังสวยเดิม

ระฆังหลังฆ้อน(เขาว่าใช้แทนได้ ประภามณฑลหลวงปู่ศุข หรือ รูปหล่อหลวงพ่อเดิมได้แบบ สนิทใจ ครับ)
เหรียญหล่อวัดระฆังหลังฆ้อนนี้ถือกำเนิดโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)ว่ากันว่าท่านไดหล่อสร้างขึ้นโดยนำเอาชนวนที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชที่รัชกาลที่ 5ได้หล่อเพื่อประดิษฐานไว้ที่วัดเบญจมบพิตรนั่นเองผสมกับโลหะชนวนเก่าๆ แผ่นยันต์จากเกจิอาจารย์จำนวนมาก

พุทธลักษณะเป็นพระรูปทรงสี่เหลี่ยมดังภาพ ขนาดเล็กกำลังเหมาะกว้าง1.3 ซ.ม.สูงประมาณ 2 ซ.ม.

ทำไมเรียกหลังฆ้อน เขาว่ากันว่า ตอนเทออกมาจะมีลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวยาวๆติดกันลงมาแล้วให้ช่างทำการตัดองค์พระออกจากกัน และ ใช้ฆ้อนตอกให้พระหักออกจากกันและตะไบแต่งในภายหลังนะครับ ทำให้มีรอยยุบ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "หลังฆ้อนครับ"

พระวัดระฆังหลังฆ้อนเป็นพระที่มีราคายังไม่แพงนัก เป็นของดีราคาถูก แต่พุทธคุณเชื่อขนมกินได้ เขาว่ากันว่า เหนียวขนาดลงน้ำปลิงไม่กัด แล้วกัน นี่เป็นคำร่ำลือติดปากมาช้านานครับ

พระที่มาร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้น มีจำนวนถึง 60 รูป ได้แก่
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก,
หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง,
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่,
หลวงพ่อพ่วง วัดกก,
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์,
หลวงพ่อชู วัดนาคปรก,
หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม(ใต้),
หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ,
หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม,
หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม,
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้,
หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม,
หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก,
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว,
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน,
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ),
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม,
หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน,
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ,
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, ...

(จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี 2513 ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน บันทึกไว้ ที่หลงเหลืออยู่มีดังต่อไปนี้)
พิธีกรรม เนื่องด้วยการสร้างพระเนื้อทองเหลืองนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่าง ๆ ในพระนครฯ ธนบุรี และต่างจังหวัด มากท่านด้วยกันได้ทำการลงเลขยันต์แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำการปลุกเศกทองเหลืองที่จะหลอมเทเป็นองค์พระตามแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้ สถานที่ทำพิธีในพระอุโบสถนั้น พิธีกรรมนั้นใหญ่โตแข็งแรงมาก เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่ง ๆ จากแกนชนวน และเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆ ลักษณะของแท่งพระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณเกือบ 3 เซนติเมตรครึ่ง ความยาวประมาณเกือบ 5 เซนติเมตรครึ่ง ความหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ และใช้ฆ้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ ระฆังหลังฆ้อน โดยบางองค์อาจจะมีรอยฆ้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี
ราคาเปิดประมูล1,999 บาท
ราคาปัจจุบัน8,799 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ200 บาท
วันเปิดประมูล - 23 เม.ย. 2552 - 15:28:12 น.
วันปิดประมูล - 26 เม.ย. 2552 - 18:29:06 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลไก่ทองคํา (558)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 25 เม.ย. 2552 - 11:46:24 น.

อีกไม่ไกล จริง ๆ ครับ องค์สวยกว่าในรูปครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     8,799 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     200 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    igolfnaja (353)

 

Copyright ©G-PRA.COM