(0)
เหรียญครบรอบ 80 ปี ทองแดงผิวไฟ หลวงพ่อจรัญ หลังพระพรหม วัดอัมพวัน จ.สิงหืบุรี สวยมาก






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญครบรอบ 80 ปี ทองแดงผิวไฟ หลวงพ่อจรัญ หลังพระพรหม วัดอัมพวัน จ.สิงหืบุรี สวยมาก
รายละเอียดเป็นพิมพิ์ที่สวยมากครับ สภาพเดิมๆ พิธีดี ที่เห็นเป็นเงาขาวๆหน้าหลัง เป็นแสงสท้อนจากกรอบพระครับ องค์จริงสวยครับ

รับประกันตามกฏ
ราคาเปิดประมูล850 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ก.ย. 2551 - 21:44:27 น.
วันปิดประมูล - 30 ก.ย. 2551 - 23:57:25 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล120000 (2.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 30 ก.ย. 2551 - 23:28:14 น.

ขอเชิญศิษยานุศิษย์ร่วมเฉลิมฉลอง ๘๐ ปี ชาตกาล
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
*เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
*เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
จังหวัดสิงห์บุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี (นายประภาศ บุญยินดี)
ประธานจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม และเหรียญพระพรหม เพื่อหาทุนสร้างรูปหล่อพระพรหม เทพเจ้าประจำเมืองพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

หลวงพ่อจรัญปลุกเสกพระน้อยมาก ท่านที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อจรัญควรหาไว้บูชา เท่าที่ทราบมา ก่อนหน้านี้ในปี 2531 ท่านเคยร่วมปลุกเสกเพียงหนึ่งครั้ง และในครั้งนี้ ปีพ.ศ. 2551 ระยะห่างเป็น 20 ปี ท่านให้จัดสร้างเหรียญทองคำ 81 องค์ (หมดตั้งแต่วัน แรก ได้เฉพาะคณะกรรมการเท่านั้น) และเหรียญทองแดงปัดเงา รูปเหมือนหลวงพ่อฯ ให้เช่าบูชาเพื่อ หาปัจจัยในการสร้าง"พระพรหม" เทพเจ้าประจำหัวเมืองพรหมบุรี
กำหนดการ
*พุทธาภิเษก วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2550 เวลา 13.59 น.
ณ อุโบสถวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
*พิธีเททองปฐมฤกษ์ หล่อรูปพระพรหม ณ วัดอัมพวัน
วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2551 เวลา 13.59 น.

ประวัติพระธรรมสิงหบุราจารย์
(จรัญ ฐิตธมฺโม)
นามเดิม จรัญ จรรยารักษ์ เกิด เดือน ๔ ปีมะโรง (๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๑) ณ ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี อายุ ๗๙ ปี (๕๙ พรรษา)
วิทยฐานะ นักธรรมโท มัธยมศึกษาปีที่ ๔

อุปสมบท เมื่อ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ ณ วัดพรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยมีพระพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนครเป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาคม เป็นอนุศาสนาจารย์

ตำแหน่ง และหน้าที่การปกครอง
พ.ศ. ๒๕๐๐ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน
พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นพระปลัด ฐานะนุกรมของเจ้าครูสุนทรธรรมประพุทธ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๒๕ เลื่อนสมศักดิ์เป็น "พระครู" เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปัจจุบัน ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
ความเป็นมาในการจัดสร้างเหรียญรูปเหมือน พระธรรมสิง
พระธรรมสิงหบุราจารย์
(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี

นายประภาส บุญยินดี ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ได้รับคำปรารภจากมหาชน และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสิงห์บุรีว่า จังหวัดสิงห์บุรีเป็นเมืองเก่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีเมืองสำคัญ ๒ เมือง คือ เมืองพรหมบุรี และเมืองอินทร์บุรี เป็นเมืองหลานหลวง
นามอันเป็นมงคลของเมืองพรหมบุรี ที่มีพระพรหมเป็นเทพเจ้าประจำเมือง และเมืองอินทร์บุรี ที่มีพระอิทร์เป็นเทพเจ้าประจำเมือง ควรที่จะมีรูปเคารพของพระอินทร์ และพระพรหม ประดิษฐานเป็นมิ่งมงคลแก่ภูมิสถาน สมดั่งปณิธานของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี จึงได้รับความเมตตาจากพระธรรมสิงหบุราจารย์เพื่อสืบสานปณิธานของหลวงพ่อ ในการสร้าง "พระพรหม" และอาคารเทวาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อประดิษฐานไว้ในอาณาเขตอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และได้รับเมตตาให้จัดสร้างเหรียญทองคำและเหรียญทองแดงปัดเงา รูปเหมือนหลวงพ่อฯ เพื่อให้เช่าบูชา หาทุนสร้าง "พระพรหม" เทพเจ้าประจำหัวเมืองพรหมบุรี
ตำนานเมืองพรหมบุรี
อำเภอพรหรมบุรี ตามหลักฐานที่ปรากฏมีมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ โดยมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นใน แต่ก่อนนั้นจะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ สันนิฐานกันว่าเป็นเมืองที่พระเจ้าพรหม (พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก) ผู้ครองเมืองไชยปราการ (ฝาง) ได้โปรดให้สร้างขึ้น ขนานนามว่า "เมืองพรหมบุรี" ตั้งอยู่ใต้วัดอัมพวัน หมู่ที่ ๕ ตำบลพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี ในปัจจุบัน สมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น "เมืองพรหมบุรี" คงมีฐานะเป็นเมืองตลอดมา ในกฎมณเฑียรบาลเป็นเมืองสำหรับหลานหลวงครอง ในกฎหมายลักษณะลักพา บทหนึ่งเรียกว่า "พระหรหมนคร" แต่ในทางการปกครองได้ถูกจัดให้เป็นหัวเมืองจัตวา มีเจ้าเมืองปกครองตลอดมา ได้มีการย้ายที่ตั้งจากใต้วัดอัมพวันไปอยู่ที่ปากบางหมื่นหาญ (อยู่เหนือตลาดปากบาง หมู่ที่ ๒ ตำบลพรหมบุรี ปัจจุบัน) ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งเมืองไปตั้งที่จวนหัวป่า เหนือวัดพรหมเทพาวาส ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดการปกครองเป็นรูปมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล โดยรวมเอาพรหมบุรีเข้าไว้ใน "มณฑลกรุงเก่า" ด้วย
ในรัชกาลที่ ๖ ได้เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็น "มณฑลอยุธยา" ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ เมืองพรหมบุรี จึงได้ถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี เรียกว่า อำเภอพรหมบุรี โดยได้ทำการสร้างที่ว่าการอำเภอที่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ตั้งโรงเรียนพรหมวิทยาคาร หมู่ที่ ๓ ต.พรหมบุรี ในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ นายอำเภอพรหมบุรีสมัยนั้น ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่เหนือวัดกุฎีทอง หมู่ที่ ๓ อำเภอบางน้ำเชี่ยว จนถึงปัจจุบัน


พระพรหม
ประดิษฐาน ณ ศูนย์บริการการท่องเที่ยว และจำหน่ายสินค้า OTOP
หน้าวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี ริมถนนสายเอเชีย จังหวัดสิงห์บุรี


เหรียญทองคำ {หมดแล้ว}
ค่าเช่าบูชา 19,999 บาท


เหรียญทองแดง (แบบบุรุษ)
ขนาด 3.5 เซนติเมตร
สร้างจำนวน 25,000 องค์


เหรียญทองแดง (แบบสตรี)
ขนาด 2 เซนติเมตร
สร้างจำนวน 25,000 องค์



[ยังไม่มีรูปภาพ]
แหวน
สร้างจำนวน 2,000 วง



[ยังไม่มีรูปภาพ]
ล็อคเก็ต
สร้างจำนวน 3,000 องค์


 
ราคาปัจจุบัน :     1,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    suphalak (4.2K)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM