(0)
วัดใจ ต้นทุน ให้เอาไปใช้ เหรียญพระแก้วมรกต พ.ศ.2475 (สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี) เนื้ออัลปาก้า บล็อคใน ของดีที่หลายคนมองข้าม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ ต้นทุน ให้เอาไปใช้ เหรียญพระแก้วมรกต พ.ศ.2475 (สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี) เนื้ออัลปาก้า บล็อคใน ของดีที่หลายคนมองข้าม
รายละเอียดวัดใจ ต้นทุน ให้เอาไปใช้ เหรียญพระแก้วมรกต พ.ศ.2475 (สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี) เนื้ออัลปาก้า บล็อคใน ของดีที่หลายคนมองข้าม

เหรียญพระแก้วมรกต พ.ศ.2475 (สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี) เนื้ออัลปาก้า บล็อคใน
เหรียญพระแก้วมรกต ปี 2475 ( เอาไปใช้ ของดี พระคู่บ้านคู่เมือง กับ เกจิยุคเก่า พ.ศ.ลึกๆ )

จากใบประกาศบอกบุญในการปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ.2473 บ่งบอก ให้ทราบว่า การดำเนินการจัดสร้างเหรียญพระแก้วมรกตนั้น มีการดำเนินการ ในช่วงระยะก่อน จะทำการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และได้เปิดให้ประชาชน ได้ร่วมสมทบทุนร่วม บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ.2473 ดังปรากฏข้อความ ในใบประกาศบอกบุญว่า
โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จ และเหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึก ตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้
1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง.......
อย่างไรก็ตามประกาศระเบียบการรับเงินเรี่ยไรการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอรัษฏากรพิพัฒน์ 16 กันยายน พ.ศ.2473 ยังได้กล่าวไว้ว่า
ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ
เหรียญพระแก้วมรกต ที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี เป็นเหรียญปั๊มพิมพ์กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้าเหรียญ ภายในซุ้มเรือนแก้วเป็นรูป พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย และดอกไม้อยู่โดยรอบ
ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปยันต์กงจักร มีอักษรจารึก มรรค 8
ที่ริมขอบเหรียญด้านหลังบางเหรียญ จะมีชื่อผู้ผลิตดังนี้ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร ฮั่งเตียนเซ้ง และ Georges Hantz Geneve U.G.D.
นอกจากนั้นยังมี เหรียญพระแก้วมรกต อีกแบบหนึ่งซึ่งพบเห็นกันน้อยมาก เป็นเหรียญกลม มีหูเชื่อม ลักษณะพิมพ์ด้านหน้า เหมือนกับเหรียญ พระแก้วมรกตที่ได้กล่าวไปแล้ว หากแต่ในส่วนของด้านหลัง จะมีความแปลก ต่างไปจากกัน คือ เป็นข้อความอักษรเรียงกัน 5 บรรทัด ว่า ที่ระฤก ในงานฉลอง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครบรอบ ๑๕๐ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ อักษรมีทั้งแบบตัวนูน และแบบตัวลึกลงไปในเนื้อเหรียญ พบเห็นมี 2 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อเงิน และ ทองแดงกะไหล่ทอง เหรียญพิมพ์นี้
สำหรับ เหรียญพระแก้วมรกต ที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี บล็อกที่สั่งทำจาก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีอักษรบ่งบอกอยู่ที่ด้านหลังเหรียญไว้ว่า Georges Hantz Geneve U.G.D. หรือที่นักสะสมพระเครื่องเรียกกันว่า "บล็อกนอก" เป็นที่นิยมมากที่สุด และมีมูลค่าการสะสมสูงกว่าเหรียญ "บล็อกใน"
ผมวางรายนามคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในยุคนั้นขึ้นใหม่จากที่ตนเองพอจะรู้จักไม่ได้เรียงลำดับครับแต่ ( อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานวัดพระแก้ว )
รายนามคณาจารย์ร่วมปลุกเสก มีดังนี้

- พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิตร
- สมเด็จพระวันรัต ( แพ ตสสเทโว ) วัดสุทัศน์
- หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
- หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
- หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
- หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
- หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม สุมทรสงคราม
- หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
- หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
- หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
- หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
- หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง พิจิตร
- หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
- หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
- หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
- หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
- หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
- หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์
- หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
- หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
- หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
- หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลฯ
- หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี
- เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส
- หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี
- หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี
- หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี
- หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์
- หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี
- หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์
- หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
- หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี
- หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง
- หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี
- หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
- พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์
- หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี
- ฯลฯ
(ในช่วงนั้น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ท่านก็ยังอยู่ ส่วนตัวแล้วคิดว่าอาจจะได้มาร่วมพิธีด้วย เพราะเป็นพิธีของทางการที่ใหญ่มาก จังหวัดอยุธยาก็อยู่ใกล้ๆแค่นี้ สมัยก่อนการสัญจรคงจะใช้เรือเป็นหลัก โปรดใช้วิจารณญาณ) เหรียญพระแก้ว 2475 นี้มีหลายเนื้อและหลากหลายบล็อค เหรียญนี้เป็นอีกบล็อคหนึ่งที่เรียกว่า บล็อกใน สภาพตามรูปครับ ขอบของเหรียญพระแก้ว 2475 นี้ส่วนใหญ่จะค่อนข้างเรียบเป็นแบบที่เค้าเรียกกันว่า ขอบกระบอก หรือ ตีปลอก ขอบเหรียญไม่เป็นเหมือนเหรียญเกจิที่ตัดขอบที่เห็นในปัจจุบันครับ
รับประกันความแท้และตามกฎ ถ้าส่งตรวจออกบัตรรับรองแล้วไม่แท้ คืนเงินเต็ม ตามนี้ครับ
เหรียญเนื้ออัลปาก้า(มีหลายบล็อค)บล็อคนี้ทุกเหรียญ องค์พระด้านหน้าจะมีเส้นโค้งเบาๆบริเวณใต้คางที่คอ ลากโค้งผ่านขึ้นไปถึงบริเวณใต้ติ่งหูซ้ายขององค์พระแล้วค่อยๆแผ่วหายไปตามแนวเส้นโค้ง ลองสังเกตุดูถ้าพอมองเห็น ส่วนใหญ่ต้องมองผ่านกล้อง

(ไม่ค่อยเก่งแต่ชอบเหรียญรุ่นนี้) โดยเฉพาะมีเกจิยุคเก่าอย่างน้อย 2 รูปในจำนวน 10 รูปที่สามารถผ่านการทดสอบพลังจิต ที่จัดขึ้นที่ นครปฐม ไม่แน่ใจว่าจะใช่วัดพระปฐมเจดีย์หรือปล่าว น่าจะประมาณปี 2452 โดยการใช้กระแสจิต ทำให้กบไสไม้เดินหน้าไป และกลับได้ บนท่อนไม้มาวางบนม้า 2 ตัว ที่วางไว้เพื่อทำการทดสอบ โดยมิให้กบไสไม้ตกลงมาจากท่อนไม้นั้น หลังการทดสอบผ่านไป 3 วัน 3 คืน โดยเกจิส่วนใหญ่จากทั่วประเทศที่ได้รับการนิมนต์ไปในพิธีตอนนั้น ทำได้คือ สามารถบังคับให้เดินหน้าไปได้ แต่ไม่สามารถทำให้กลับมาได้ โดยไม่ให้หล่น มีเพียง 10 รูป อย่างที่บอกแล้วในขั้นต้น และได้ทราบมาว่ามีบันทึกรายนามของเกจิที่ผ่านการทดสอบในพิธีนั้นให้ประชาชนได้ชม ไว้ที่วัดที่ทำการทดสอบในพิธีครั้งนั้นด้วย และ เกจิ 10 รูป ไม่ได้เรียงลำดับที่ว่าคือ

หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว * ( ละสังขาร พ.ศ.2478 ) พิธีวัดพระแก้ว 2475
หลวงพ่อทอง วัดคีรีนารถบรรพต เขากบ นครสวร่รค์ * พิธีวัดพระแก้ว 2475
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อยุธยา ( ละสังขาร พ.ศ.2477 )* อาจจะหรือน่าจะ พิธีวัดพระแก้ว 2475
หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี ( ละสังขาร พ.ศ.2453 )
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพ ฝั่งธน ( ละสังขาร พ.ศ.2469 )
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ( ละสังขาร พ.ศ.2466 )
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร ( ละสังขาร พ.ศ.2462 )
หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม ( ละสังขาร พ.ศ.2463 )
หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน สมุทรปราการ ( ละสังขาร พ.ศ.2453 )
หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ ทางใต้ จังหวัดชุมพร

หวังว่าราคาคงไม่แรงเกินไปกับ เกจิระดับแนวหน้าในยุคนั้น กับเหรียญที่ทางการตั้งใจทำเพื่อ "สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี "

( ข้อมูลต่างๆ ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนประการใดต้อง ขอขอบคุณ และ ขออภัย ไว้ด้วยครับ ) ถือซะว่า เล่าสู่กันฟังนะครับ ส่วนเกจิที่ศรัทธานับถือ ก็ตามเก็บกันเอา
แท้ และ รับประกันตามกฎครับ
ราคาเปิดประมูล1,550 บาท
ราคาปัจจุบัน1,650 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 16 ก.ย. 2557 - 14:20:41 น.
วันปิดประมูล - 17 ก.ย. 2557 - 20:22:00 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpolosport (81)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,650 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    สมพรสวนหลวง (420)

 

Copyright ©G-PRA.COM