(0)
แขนทะลุ27000ถูกมากๆ*กริ่งในตำนานของชาวแกลง (ระยอง) กริ่งหน้ายักษ์ หลวงพ่อโต วัดเขากะโดน (เขาบ่อทอง) ตอนนี้ของไม่ค่อยมีให้เห็นครับ***






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องแขนทะลุ27000ถูกมากๆ*กริ่งในตำนานของชาวแกลง (ระยอง) กริ่งหน้ายักษ์ หลวงพ่อโต วัดเขากะโดน (เขาบ่อทอง) ตอนนี้ของไม่ค่อยมีให้เห็นครับ***
รายละเอียดถ้าอยู่ระยองไม่มีหลวงพ่อโตก็หาใช่ชาวระยองไม่
กริ่งหน้ายักษ์ หลวงพ่อโตวัดเขากะโดนครับ
“หลวงพ่อโต ดิสโส” แห่ง วัดเขากระโดน อ.แกลง จ.ระยอง นับเป็นเกจิอาจารย์อีกรูปของ จ.ระยอง ที่นอกจากมีชื่อเสียงด้านอาคมขลังโดยทำการศึกษาเล่าเรียนทั้งด้านพระธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระตั้งแต่ขณะยังเป็นสามเณรจากหลายคณาจารย์ กระทั่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี 2438 ก็ตระเวนศึกษาวิชาจากคณาจารย์ต่าง ๆ อีกหลายรูปเพิ่มเติม มีหลวงพ่อเพรชวัดตะปอนใหญ่รวมทั้งออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ อีกหลายปี กระทั่งในปี 2478 จึงกลับมารับใช้พระอาจารย์คือ “หลวงพ่อมุ้ยวัดเขากระโดน” จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจึงเป็นที่เคารพนับถือต่อบรรดาศิษย์และประชาชนทั่วไปตลอดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกนับตั้งแต่ จ.ชลบุรี–ระยอง–จันทบุรี และ ตราด รวมทั้งรับนิมนต์มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกเฉพาะพิธีใหญ่ในกรุงเทพฯก็หลายครั้งรวมทั้งเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2507 สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ ได้จัดพิธีพุทธาภิเษก “พระกริ่งสมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” ก็ได้นิมนต์ “หลวงพ่อโต ดิสโส” มาร่วมพิธีพร้อมกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีก 16 รูปเป็นต้น

ทางด้านวัตถุมงคลที่ “หลวงพ่อโต ดิสโส” สร้างขึ้นเองนั้นสันนิษฐานกันว่าเริ่มสร้างเมื่อประมาณปี 2483 ในคราวที่เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสที่เรียกกันว่า “สงครามอินโดจีน” โดยวัตถุที่สร้างครั้งนั้นประกอบไปด้วย “พระเครื่อง–ตะกรุดโทน–ผ้ายันต์–ผ้าพัดโบก” เพื่อแจกจ่ายให้กับบรรดาทหารและตำรวจที่ออกศึกสงครามป้องกันประเทศ ปรากฏว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลของท่านติดตัว ล้วนแต่ปลอดภัยจากการสู้รบเป็นที่กล่าวขานกันมาส่วน “พระกริ่ง” และ “พระสังกัจจายน์” ที่จะแนะนำท่านผู้อ่านในวันนี้สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 2496–2498 (พระกริ่งและพระสังกัจจายน์ จัดทำพิธีเทหล่อที่วัดเขากระโดน ส่วนพระกริ่งพิมพ์หน้ามงคลและพระสังกัจจายน์พิมพ์หน้าเล็ก ที่สร้างครั้งสุดท้ายทำพิธีเทหล่อที่วัดเขาบ่อทอง) โดยนำ “พระกริ่ง” จากสำนักต่าง ๆ มาเป็นแบบแล้วดัดแปลงพิมพ์เล็กน้อยเพื่อป้องกันการสับสน อีกทั้งพิธีเทหล่อก็จัดขึ้นหลายครั้งจึงทำให้มีหลายพิมพ์เช่น “พิมพ์หน้ายักษ์, หน้าครุฑ, หน้านาง, หน้ามงคล” เป็นต้น ทางด้าน “พระสังกัจจายน์” มีเพียง 2 พิมพ์คือ “หน้าใหญ่” และ “หน้าเล็ก” พร้อมมีการจารอักขระที่ใต้ฐานเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ส่วนค่านิยมของพระสังกัจจายน์นั้นเป็นที่นิยมกันมากในท้องถิ่น “พิมพ์หน้าใหญ่” จะมีค่านิยมสูงกว่า “พิมพ์หน้าเล็ก” ดังจะเห็นได้ว่าในการสร้างวัตถุมงคลของ “หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า” ได้นำพระสังกัจจายน์ของ “หลวงพ่อโต ดิสโส” มาเป็นแบบพร้อมมีการตอกโค้ดเพื่อป้องกันการสับสนด้วยเช่นกัน

“พระกริ่งหลวงพ่อโต” เทหล่อด้วยเนื้อทองผสมอมขาวเล็กน้อยไม่กลับดำ ส่วนใหญ่เมื่อเททองบรรจุกริ่งเรียบร้อยแล้วจะทำการชุบน้ำยาดำ (รมดำ) และการเทหล่อก็ใช้วิธีเทหล่อแบบตันแล้วจึงนำมาเจาะรูที่ใต้ฐานขนาดเล็กกว่าแท่งดินสอเล็กน้อยแล้วจึงบรรจุกริ่งโดยเอกลักษณ์อีกอย่างของ “พระกริ่งหลวงพ่อโต” คือจะมีบัวที่ด้านหลังองค์พระ 1 คู่ ส่วนการจำแนกพิมพ์ระหว่าง “พิมพ์หน้ายักษ์” และ “พิมพ์หน้าครุฑ” มีจุดที่ต้องจดจำไว้คือ


“พิมพ์หน้ายักษ์” ทำการถอดพิมพ์มาจาก “พระกริ่งวัดตรีทศเทพปี 2491” แต่รายละเอียดจะตื้นกว่าตลอดทั้งรูบรรจุเม็ดกริ่งก็จะเล็กกว่าและ “พิมพ์หน้าครุฑ” ถอดพิมพ์มาจาก “พระกริ่งใหญ่วัดเทพศิรินทร์ ปี 2495” เพียงแต่ ด้านหลังพระกริ่งวัดเทพศิรินทร์ จะมีเอกลักษณ์เป็นรูปใบโพธิ์นูนจารึกด้วยยันต์ตัว “อุ” อยู่กลางใบโพธิ์ส่วนพระกริ่งหลวงพ่อโตพิมพ์หน้าครุฑด้านหลังจะเป็น “บัว 1 คู่” ดังกล่าวข้างต้น
(ข้อมูลจากพี่chat1023)
ของหายากมากครับตอนนี้ ผู้สนใจลองเคาะกันดูนะครับ
ราคาเปิดประมูล27,000 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 07 ม.ค. 2551 - 20:51:25 น.
วันปิดประมูล - 17 ม.ค. 2551 - 20:51:25 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเอบ้านกร่ำ (758)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     27,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM