(0)
วัดใจ พระนาคปรก เนื้อขมิ้นเสก พิมพ์ห้าเหลี่ยม หลวงปู่เพิ่ม หลังจาร สภาพสวย+ เลี่ยมทองหนาๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ พระนาคปรก เนื้อขมิ้นเสก พิมพ์ห้าเหลี่ยม หลวงปู่เพิ่ม หลังจาร สภาพสวย+ เลี่ยมทองหนาๆ
รายละเอียดพระสวยแชป์ คมชัด เนื้อฉ่ำครับ อีกรุ่นประสบการณ์ เช่า 1 ได้ถึง 2 เนื้อขมิ้นหลวงปู่บุญปลุกเสกมาตลอดจนท่านมรณะภาพ จากนั้นหลวงปูเพิ่มได้นำมาสร้างพร้อมกับจารไว้ด้านหลัง แถมองค์นี้ยังสภาพสมบูรณ์ ฟร์อมดี เนื้อฉ่ำๆนิยมเลยครับ พร้อมทองงานสั่งทำยกซุ้มหนาๆ ทำมาเกือบหมื่น รับประกันตามกฏ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน22,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 06 ม.ค. 2557 - 21:32:34 น.
วันปิดประมูล - 07 ม.ค. 2557 - 21:42:37 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลมหามณีจินดา (6K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 06 ม.ค. 2557 - 21:32:55 น.



ความเป็นมาของ พระผงขมิ้นเสก นี้ อ.สุธน ศรีหิรัญ ศิษย์วัดกลางบางแก้วและเป็นผู้เขียนเรื่อง หลวงปู่บุญ-หลวงปู่เพิ่ม ได้อย่างเจาะลึกที่สุด บอกว่า ขมิ้นเสก นี้ หลวงปู่บุญ ได้เอาหัวขมิ้นมาลงอักขระและปลุกเสกเป็นครั้งคราวไป โดยทำครั้งละไม่มากนัก เมื่อเสกเสร็จแล้วก็เอาใส่ในโถเคลือบ ท่านว่าจะเอาไว้สร้าง "พระขมิ้นเสก" แต่ไม่ทันได้สร้าง หลวงปู่บุญ ก็ได้มรณภาพไปเสียก่อน หลวงปู่เพิ่ม จึงได้สืบสานงานนี้ต่อ โดยเอาหัวขมิ้นมาลงอักขระและปลุกเสก อีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้ได้ปริมาณที่มากพอจะสร้างพระได้หลายๆ องค์ จึงได้ดำเนินการสร้าง พระขมิ้นเสก พิมพ์ต่างๆ นี้เมื่อ ปี ๒๕๐๔ โดยมี พระปลัดใบ คุณวีโร พระลูกศิษย์เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง บดผง พิมพ์เป็นพระ ซึ่งตอนนี้เองที่ อ.สุธน ได้มีส่วนช่วยงาน พระปลัดใบ ในการสร้างพระรุ่นนี้ด้วย จึงทำให้ทราบถึงความเป็นมาของพระรุ่นนี้อย่างละเอียด

หากมองจากมุมนี้จะเห็นได้ว่า พระขมิ้นเสก ทั้งหมดนี้เป็นพระที่น่าใช้มาก เพราะได้ผ่านพิธีปลุกเสกโดย ๒ พระเกจิอาจารย์ ผู้โด่งดังแห่งลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี ย่อมมี อานุภาพ ๒ เท่าตัว

พระผงขมิ้นเสก ถือว่าเป็นพระผงรุ่นที่ 2 ของหลวงปู่เพิ่ม

การสร้างพระรุ่นนี้ผู้เขียนได้มีส่วนเห็นในขณะที่ยังเป็นนักเรียนอยู่วัดกลางบางแก้วเรื่องพระผงขมิ้นเสกนี้ ผู้เขียนขอเขียนแบบเล่าสู้กันฟังมากกว่ารูปแบบอื่น เพราะเรื่องนี้ผู้เขียนได้รู้ๆได้เห็นมากับตาตนเอง และได้ยินได้ฟังมาจาก หลวงปู่เพิ่ม ผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นเมื่อคราวที่ผู้เขียนได้บวชอยู่ที่วัดกลางบางแก้ว โดยมี หลวงปู่เพิ่ม เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้เอง หลวงปู่เพิ่ม ได้เมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า.... เมื่อครั้งที่หลวงปู่บุญยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้เอาหัวขมิ้นมาลงอักขระและปลุกเสกบ่อย ๆ ครั้งละไม่มากนัก เมื่อลงอักขระและปลุกเสกเสร็จแล้ว ก็เอาหัวขมิ้นนั้นใส่เอาไว้ในโถเคลือบ ท่านว่าจะเอาไว้สร้าง พระขมิ้นเสก

หลวงปู่บุญท่านจะลงอักขระขมิ้นและปลุกเสกเอาขมิ้นใส่โถไว้นานเท่าใด หลวงปู่เพิ่มเล่าว่า จำไม่ได้แน่นอน แต่ขมิ้นในโถเคลือบใบใหญ่นั้นยังไม่ทันจะได้นำมาบดสร้างพระเครื่อง หลวงปู่บุญก็มรณะภาพไปเสียก่อน ขมิ้นที่อยู่ในโถนั้นก็ยังคงอยู่ตลอดมา วันหนึ่งหลวงปู่เพิ่มท่านได้ไปเห็นขมิ้นในโถนั้นเข้าก็ย้อนระลึกถึงเรื่องราวในอดีตว่า เคยเห็นหลวงปู่บุญเสกขมิ้นในโถเป็นประจำ จึงได้นำเอาโถขมิ้นใบนั้นมาไว้ที่กุฏิและพบว่าขมิ้นส่วนใหญ่นั้นแห้งไปแล้วมีอยู่สักครึ่งขวดโหล

หลวงปู่เพิ่มท่านจึงได้เอาหัวขมิ้นสดมาลงอักขระและปลุกเสกบ้าง ตามกรรมวิธีของหลวงปู่บุญซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมมาจากหลวงปู่บุญโดยตลอด หลวงปู่เพิ่มได้ลงอักขระและเสกหัวขมิ้นครั้งละ 5 หัวบ้าง 10 หัวบ้างแล้วก็เอาหัวขมิ้นนั้นมาใส่ไว้ในโถเคลือบใบนั้นเหมือนกันตั้งใจว่า เมื่อขมิ้นเต็มโถแล้วก็จะเอาขมิ้นนั้นมาบดเป็นผง สร้างพระเครื่องขมิ้นเสกขึ้น หลวงปู่เพิ่มได้ลงอักขระและปลุกเสกหัวขมิ้นมาเรื่อย ๆ จนในที่สุด หัวขมิ้นก็เต็มโถใบใหญ่นั้น

ตอนตำผงนั้น ใส่หัวขมิ้นเสกแล้วเป็นหลัก แล้วก็เอาผงขาวนวลที่ว่าเป็นของหลวงปู่บุญใส่ผสมลงไปในครก พร้อมกับลูกอมหลวงปู่บุญและผงแร่ตำรวม ๆ กันไปอย่างนี้ตลอดเวลา บางวันขณะที่ตำผงกันอยู่นั้น หลวงปู่เพิ่มท่านก็เดินมาดู แล้วท่านก็เอาผงบ้าง ลูกอมบ้างใส่เพิ่มลงไปในครกที่ตำกัน ท่านบอกว่าลูกอมนั้นให้ใส่ให้หมด ไม่ต้องเหลือไว้... ( ภายหลังต่อมา พระปลัดใบท่านได้เล่าเพิ่มเติมว่า นอกจากผงขมิ้นเสก และผงหลวงปู่บุญ ผงแร่ แล้วก็ยังมีพระของเก่าที่หักแล้ว เช่น พระสมเด็จ พระผงสุพรรณ ตำรวมไปด้วยจำนวนมากมาย หลวงปู่เพิ่มไปได้พระสมเด็จ พระผงสุพรรณหัก ๆ เหล่านี้มาจากไหน ไม่มีใครทราบ) การตำผงต่าง ๆ นั้น ตำกันอยู่นานทีเดียวจึงหมดผง แล้วจึงกดพิมพ์เป็นองค์พระออกมา พระที่พิมพ์เสร็จแล้ว ก็เอามาเรียงกันไว้ในถาด พอเต็มถาดก็ยกเข้าไปไว้ในกุฏิหลวงปู่เพิ่ม ท่านก็จะปลุกเสกของท่านเรื่อยไป

องค์พระที่เริ่มแห้งดีแล้วหลวงปู่เพิ่มท่านก็จะลงอักขระไว้หลังองค์ด้วยเหล็กจาร ท่านลงด้วยตัวท่านเองทุกองค์ไป พระบางองค์ท่านจะลงตัวเฑาะว์มหาอุด บ้างลงเสร็จแล้วก็ปลุกเสกกันต่อไปอีกปลุกเสกกันเรื่อย ๆ มา หลวงปู่เพิ่มท่านตั้งใจว่า พระชุดนี้ท่านจะแจกตอนงานฌาปนกิจศพท่าน หลังจากท่านได้มรณภาพไปแล้ว แต่ทว่าในระหว่างที่หลวงปู่ท่านได้ปลุกเสกมาเรื่อย ๆ นั้น ในระยะหลัง ๆ มานี้ท่านก็ได้หยิบเอาพระมาแจกแก่คนที่ไปหาท่านบ้างครั้งละ 1 - 2 องค์ หรือแจกกับพระที่มาลาสิกขากับท่านก็จะได้รับแจกกันไปคนละองค์สององค์ หลวงปู่มักจะบอกกับคนรับพระนี้ว่า เก็บไว้ให้ดีนะจ๊ะ ท่านพูดของท่านอยู่อย่างนี้เสมอ ๆ ทำให้ผู้รับพระจากท่านเกิดความหวงแหนกันมาก

พระชุดนี้มีทั้งหมด 5 พิมพ์ด้วยกันคือ

1.พิมพ์พระประทาน ปางมารวิชัย ฐานผ้าทิพย์
2.พิมพ์สมเด็จ ฐาน 5 ชั้น
3.พิมพ์นาคปรก กรอบสี่เหลี่ยม
4.พิมพ์นาคปรก กรอบมนแบบซุ้มกอ
5.พิมพ์ชัยวัฒน์ ฐานบัว(หลวงปู่เพิ่มเรียก พระยอดธง)

ดังที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนแรกว่าพระชุดนี้ท่านได้เตรียมการสร้างไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จน กระทั่งปลุกเสกมาโดยตลอด จนท่านได้มรณภาพใน
ปี พ.ศ. 2526 รวมเวลาการสร้างและการปลุกเสกนานถึง 22 ปีทีเดียว ลบเวลาการเตรียมงานเสีย 1 ปีเหลือ 21 ปีก็แล้วกัน พระที่ใช้เวลาการ
ปลุกเสกอันยาวนานถึง 21 ปีนั้น ท่านผู้อ่านลองคิดเอาเองเถอะว่าควรค่าแก่การนำมาสักการบูชาหรือไม่ เพียงไร ? ยิ่งได้มาคำนึงถึง
บรรดามวลสารต่าง ๆ ที่นำมาสร้างพระด้วยแล้ว ก็ยิ่งศรัทธาแสวงหาขมิ้นเสกของหลวงปู่บุญ ลูกอมหลวงปู่บุญผงพุทธคุณหลวงปู่บุญ ผงแร่หลวง
ปู่บุญ ที่ล้วนแต่เป็นของดีอันล้ำเลิศด้วยคุณค่ายิ่งแล้วก็ยังมีขมิ้นเสกของหลวงปู่เพิ่ม พระสมเด็จ พระสุพรรณของเก่าแก่ที่หักนำมาผสมเข้าไปด้วยก็
น่าศรัทธาเลื่อมใสอย่างที่สุดแล้ว เท่านั้นยังไม่พอ...หลวงปู่เพิ่มยังได้แผ่เมตตาปลุกเสกให้อีกเป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง 21 ปี เพียงเท่านี้ก็คงจะ
ไม่ต้องพรรณนาอะไรให้มากความยาวยืดออกไปอีกก็ได้แล้วครับ

ที่มา : http://www.wkk.ac.th/monk3/data27.php


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 06 ม.ค. 2557 - 21:33:06 น.



.


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 06 ม.ค. 2557 - 21:33:23 น.



.


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 06 ม.ค. 2557 - 21:33:38 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     22,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    malakul (573)

 

Copyright ©G-PRA.COM