(0)
พิเศษ มีหนังสือพิมพ์ติดเดิมที่ด้านหลัง **** พระผงบรรจุกรุ วัดชนะสงคราม ปี 2491 ปางรำพึง *** วันศุกร์






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพิเศษ มีหนังสือพิมพ์ติดเดิมที่ด้านหลัง **** พระผงบรรจุกรุ วัดชนะสงคราม ปี 2491 ปางรำพึง *** วันศุกร์
รายละเอียด**
.....พิเศษ มีหนังสือพิมพ์ติดเดิมที่ด้านหลัง แบบนี้ หายาก เนื่องจากตอนที่แตกกรุมา ได้นำพระมาวางลงบนหนังสือพิมพ์เพื่อผึงลม แบบนี้มีน้อยหายากค่ะ

******************* พระคัดสวย เลี่ยมเก่าจากวัด ด้านหลังเป็นรอยที่เจ้าของเดิม ติดกาวโชว์ไว้ค่ะ***
***พระ เครื่องของวัดชนะสงคราม ที่จะกล่าวถึงนี้ ได้จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2491 โดยท่านพระครูอุดมชัย (ทองม้วน ป.ธ.5) ได้ขอผงต่างๆ จากคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณชื่อดังทั่วประเทศ ผงอันเป็นส่วนหักป่นของกรุต่างๆ และดอกไม้นานาชนิด ที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระประธานในพระอุโบสถ รวมทั้งผงและส่วนหักป่นกรุวัดชนะสงคราม (วังหน้า) ที่ได้สะสมไว้ พระสงฆ์และสามเณรได้ช่วยกันสร้าง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นคนผสมผง โขลกหรือพิมพ์ก็ตาม ห้ามพูดตลกคะนอง ใช้วาจาไม่สุภาพ ให้ตั้งจิตเป็นสมาธิ อธิษฐานขอบารมีตั้งใจสร้างเป็นพุทธบูชา น้ำซึ่งเป็นส่วนผสมการพิมพ์พระก็ใช้เฉพาะน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งเราถือกันว่าเป็นน้ำมนต์ร้อยปี อยู่ในพระอุโบสถตรงหน้าองค์พระประธาน รวมทั้งน้ำพระพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวัง และน้ำพระพุทธมนต์จากวัดต่างๆ นำมาคลุกเคล้ากับผงแล้วสร้างพระพิมพ์ชุดนี้ ครั้นสร้างเสร็จได้จัดพิธีพุทธภิเศกตลอดไตรมาส โดยได้อาราธนาพระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคุณเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในยุค นั้น จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศรวม 108 รูป เช่น ลพ.จง ลป.โอภาสี ลพ.รุ่ง ลป.โต๊ะ ลพ.สด ลป.เผือก ลพ.พรหม วัดช่องแคฯลฯ
สำหรับพระประจำวันนั้น เปิดกรุประมาณปีพ.ศ. 2510 กว่าๆ และมีนายทหารที่เป็นลูกศิษย์นับถือหลวงพ่อพรหมมากท่านหนึ่งนำไปขอบารมีให้ ท่านปลุกเสกให้อีกครั้งเพื่อนำไปแจกกับผู้ที่นับถือใกล้ชิดกันไว้บูชา หลวงพ่อท่านก็เมตตาปลุกเสกให้ และนายทหารท่านนั้นได้นำตรายางของวัดปั๊มไว้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อให้รู้ว่าพระชุดนี้หลวงพ่อพรหมได้เมตตาปลุกเสกให้แล้วเท่านั้น
พระ ประจำวันของวัดชนะสงครามนี้เป็นพระที่น่าบูชามากด้วยมวรสาร และพิธีที่บริสุทธิ์ จึงสมแล้วที่จะมีคุณค่าคู่ควรแก่การบูชา ในด้านพุทธคุณนั้นเรียกว่าครอบจักรวาล เคยมีตำรวจของ สน.ชนะสงคราม ถูกคนร้ายแทงในขณะปฏิบัติงาน แต่ไม่เข้า โดยตำรวจนายนั้นมีเพียงพระกรุวัดชนะสงคราม ติดตัวเพียงองค์เดียว พระผงประจำวัน หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ปี2515 ปลุกเสกพร้อมสมเด็จหลังตรายาง ปี2515 โดยประทับตราเดียวกัน เดิมเป็นพระลงกรุวัดชนะสงคราม แตกกรุราวปี2510 เศษๆ ลูกศิษย์ขอมาบางส่วนให้หลวงพ่อพรหมปลุกเสก( ส่วนที่ไม่ได้ประทับตรา จะเป็นของวัดชนะสงคราม ราคาถูกกว่า ) ดังนั้น จึงเป็นพระผงประจำวันแบบที่ปั๊มตรายางด้านหลังและไม่ได้ประทับตรายางคือพระ สร้างจากวัดชื่อดีมีมงคลคือวัดชนะสงคราม ปลุกเสกโดยยอดเกจิยุคอินโดจีนในปี2495 และยังปลุกเสกซ้ำโดยหลวงพ่อพรหมวัดช่องแคซ้ำอีก จึงถือได้ว่าครบทุกด้านจริงๆครับ

พิมพ์ทรงมีทั้งหมด 10 พิมพ์ดังนี้

เป็น พระประจำวันเกิดตั้งแต่วันอาทิตย์จนถึงวันเสาร์ 7 พิมพ์และยังมีพิมพ์ป่าเลไลยก์ พิมพ์พระฉิมและพิมพ์พุทธกวัก รวมเป็น 10 พิมพ์ส่วนพิมพ์ที่ได้รับความนิยมคือพิมพ์ปางนาคปรก พิมพ์ปางสมาธิ พิมพ์พระฉิม และพิมพ์พุทธกวัก





*** ปางรำพึง วัดชนะสงคราม เนื้อผง สภาพสวยสมบูรณ์หายาก ฟอร์มดี พิมพ์คมชัด เนื้อมวลสารจัด สำหรับองค์นี้เป็นพระที่มีคราบกรุน้อยมากดูสะอาดหมดจดงดงามคลาสสิค เป็นพิมพ์เสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์ โดยเฉพาะที่เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณด้านโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง ทำธุรกิจการค้า เอาชนะศัตรูหมู่พาลที่มาคิดร้ายต่อเราได้อย่างดีเยี่ยม วันอื่นก็บูชาได้เช่นกัน
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 04 ก.พ. 2556 - 13:33:21 น.
วันปิดประมูล - 07 ก.พ. 2556 - 00:36:22 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลนาจา8 (5.4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 04 ก.พ. 2556 - 13:33:50 น.



๖. วันศุกร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางรำพึง
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองประทับยืนชิดติดกัน

ประวัติและความสำคัญ
เมื่อตปุสสะและภัลลิกะ ๒ พาณิชกราบทูลลาไปแล้ว พระพุทธองค์เสด็จกลับจากร่มไม้ราชายตนะ ไปประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชลปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง และทรงรำพึงถึงธรรม ที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นธรรมประณีตละเอียดสุขุมคัมภีรภาพ ยากที่บุคคลจะรู้ได้ ทำให้ท้อแท้พระทัยถึงกับทรงดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวาระจิตของพระพุทธองค์ จึงร้องประกาศชวนเทพยดาทั้งหลาย พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ยังที่ประทับ ฯ ควงไม้อชปาลนิโครธ ถวายอภิวาทแล้วกราบ ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ขอให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน เพื่อบุคคลผู้มีธุลีในนัยน์ตาน้อย ทั้งมีอุปนิสสัยอันจะเป็นพุทธสาวก จะได้ตรัสรู้ธรรมบ้าง พระพุทธองค์ทรงรำพึงถึงธรรมเนียม ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า ได้ตรัสรู้แล้วย่อมทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนทั้งหลาย ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาล เพื่อประโยชน์สุขแก่ปัจฉิมชนผู้เกิดมาภายหลัง แล้วจึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในอันแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ในโลก แล้วพระพุทธองค์ ทรงพิจารณาอีกว่า จะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบถึงอุปนิสัยของบุคคลทั้งหลาย ในโลกนี้ย่อมมีต่าง ๆ กัน คือ ทั้งประณีต ปานกลางและหยาบ ที่มีนิสัยดีมีกิเลสน้อยเบาบาง มีบารมีที่ดีสั่งสมอบรมมาแล้ว ซึ่งพอจะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มีอยู่ ผู้มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิปัญญากล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี บุคคลจึงเปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ำเจริญในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำ บางเหล่าอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าขึ้นพ้นน้ำแล้วในดอกบัว ๓ เหล่านั้น ดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้นคอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่จักบาน ณ เช้าวันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบาน ณ วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ ยังอยู่ภายในน้ำ จักบานในวันต่อ ๆ ไป ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิดฉันใด เวนัยสัตว์ที่จะตรัสรู้ธรรมก็มีต่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นผู้ที่พึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย และอาจจะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้โดยฉับพลัน ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นเป็นประมาณปานกลาง เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพพาค จนมีอุปนิสสัยแก่กล้าดังกล่าว แต่ยังอ่อน ก็ยังควรได้รับการแนะนำในธรรมเบื้องต่ำต่อไปก่อนเพื่อบำรุงอุปนิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้ พระธรรมเทศนาของพระองค์คงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คน ทุกหมู่เหล่า เว้นแต่จำพวกปทปรมะ ซึ่งมิใช่เวไนย คือ ไม่รับการแนะนำ ซึ่งเปรียบด้วยดอกบัวอ่อน อันจะเป็นภักษาหารของปลาและเต่าต่อไป ครั้นพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะรับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้ว ก็ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนไวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้นแล เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง

คาถาสวดบูชา
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุ สัมมะเต อะมะนุสเนหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิ
สะการิภิ ปะริสานัญจะ ตัสสันนัง มะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสหิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 04 ก.พ. 2556 - 13:34:03 น.

วันศุกร์ (ธาตุนํ้ำ) ปางรําพึง เอามือทาบหน้าอกทั้งสองข้าง คือมือขวามาทาบหน้าอกซ้ายแล้วรําพึงว่า การกระทําทุกอย่างที่เป็นสุขล้วนแล้วแต่เกิดจากใจทั้งสิ้น
มือซ้ายมาทาบที่หน้าอกข้างขวา คือใจที่อยู่กับกาย ถ้ารู้จักพอกายก็เป็นสุขทั้งสิ้น นี่คือจุดยืนของมนุษย์
ที่มา : ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นานพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ใต้ต้นไทร ก็ได้ทรงรําพึงถึงพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นว่า เป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง
ยากแก่การเข้าใจจึงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนําออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกัน
จึงทรงพระดําริที่จะแสดงธรรมตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆ จึงเรียกว่า “ปางรําพึง”

พระพุทธรูปวันเสาร์ (ปางนาคปรก) คือจุดสุดท้ายของมนุษย์ต้องมีความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) มีองค์ ๗ หมายถึง นาค ๗ เศียร(ปัญญา)
ที่รักษาจิต คือ(พระพุทธ) ทุกชีวิตต้องมี


 
ราคาปัจจุบัน :     600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    victoryadd (290)(6)

 

Copyright ©G-PRA.COM