(0)
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง เนื้อแดง กรุวัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลก +++








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระนางพญาพิมพ์เข่าตรง เนื้อแดง กรุวัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลก +++
รายละเอียดคำขวัญประจำจังหวัดพิษณุโลก เมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่างๆ กันในศิลาจารึก ตำนวน นิทานและพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที ฯลฯ โดยที่ตั้งตัวเมืองเก่า คือบริเวณวัดจุฬามณี ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๐ พระมหาธรรมชราชา
ที่ ๑ (พระยาลิไท) โปรดให้ย้ายมาตั้งอยู่บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน โดยยังคงเรียกกันติดปากว่า "เมืองสองแคว" เนื่องจากตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำ
แควน้อยเมืองนี้มีวัดเก่าแก่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะสถาปัตยกรรมอยู่มากมายหลายวัด เช่น วัดราชบูรณะ วัดสำคัญตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลกบริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่าน เยื้องวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) ตรงข้ามกับวัดนางพญา ซึ่งตามประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย รัชสมัย
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) มีประวัติบนแผ่นป้ายไม้ข้อความว่า "วัดราชบูรณะเดิมไม่ปรากฏชื่อ ก่อสร้างมานานประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเศษ ก่อนที่พระ
ยาลิไท ได้มาทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงได้ชื่อว่า "วัดราชบูรณะ"
เดิมนั้นอาณาเขตของวัดราชบูรณะ ติดต่อกับวัดนางพญา เป็นพื้นที่เดียวกันในสมัยก่อน อยู่ในฐานะวัดพี่วัดน้อง ต่อมาในช่วงเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒
กรมทางหลวงได้ตัดถนนพิษณุโลก-หล่มสัก คือ ถนนมิตรภาย ตัดผ่านเนื้อที่ของวัดนางพญา และวัดราชบูรณะเฉียดอุโบสถไปจนต้องรื้อย้ายใบเสมาด้านตะวัน
ออกเฉียงเหนือทำให้เหลือเ นื้อที่เพียง ๑๑ ไร่ ๓ งาน ๕๕ ตารางวา (แต่ก่อนสองวัดนี้ คือวัดราชบูรณะ กับวัดนางพญา มีอุโบสถหลังเดียว ถือว่าเป็นวัดเดียวกัน
อุโบสถของวัดนางพญา ปัจจุบัน สร้างเมื่อปี ๒๕๑๒-๒๕๑๔ สมัย อาจารย์ถนอม เขมจาโร กับ พระครูบวรชินรัตน์ ที่มีพิธีทำพระนางพญา หลังยันต์ดวง ปี
๒๕๑๔ เพื่อสมนาคุณ ผู้มาร่วมทำบุญสร้างอุโบสถ) ที่ว่า วัดราชบูรณะ นี้เป็นต้นกำเนิดพระพิมพ์นางพญา ดังที่ตั้งกระทู้ไว้ ก็ดูด้วยเหตุนี้เป็นอันรู้ครับ)
เกร็ดประวัติความเป็นมาของวัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๑๖/๑๖๙ ถ.บรมไตรโลกนารถ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่ง
ตะวันออกเยื้องกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก ตรงข้ามกับวัดนางพญา มีแม่น้ำน่านไหลผ่านวัดทางด้านทิศตะวันตก และมีถนนพุทธบูชา
ผ่านด้านข้าง ทิศเหนือมีถนนมิตรภาพตัดผ่านด้านหน้าวัดราชบูรณะจนต้องรื้อย้ายใบเสมามุมพระอุโบสถด้านทิศตะในออกเฉียงเหนือ
วัดราชบูรณะ ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างว่า เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยใด เสนอ นิลเดช (๒๕๓๒ : ๕๖) ได้เขียนเรื่องวัดราชบูรณะ ไว้ในหนังสือสองแควเมื่อวานพิษณุโลกวันนี้ว่า “วัดราชบูรณะ เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งเข้าใจว่าคงจะมีอายุถึงสมัยสุโขทัยก็อาจจะเป็นได้ วัดแห่งนี้เดิมมีอาณา
เขตติดต่อกับวัดนางพญา ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ กรมทางหลวงได้ตัดถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก คือ ถนมิตรภาพ ถนนสายนี้ได้ตัดผ่านเข้าไปใน
เนื้อที่วัดนางพญาและวัดราชบูรณะ ถนนมิตรภาพได้ตัดเฉียดพระอุโบสถไปอย่างใกล้ชิด จนต้องรื้อย้ายใบเสมามุมพระอุโบสถด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

วัดราชบูรณะเป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยก่อนรัชสมัยพระยาลิไท แต่ไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน แต่จากการค้นคว้าจากหลักฐานดังต่อ
ไปนี้

ประวัติวัดบนไม้แผ่นป้ายของวัด มีความว่า “วัดราชบูรณะเดิมไม่ปรากฏชื่อ ก่อสร้างมานาน ๑,๐๐๐ ปีเศษ ก่อนที่พระยาลิไทได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์
ดังนั้นวัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดราชบูรณะ” รวมความยาวนานถึงปัจจุบันประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเศษ
พระยาลิไททรงสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาแล้ว ทองยังเหลืออยู่จึงได้หล่อพระเหลือขึ้น และทรงทอดพระเนตรเห็นว่า
วัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้บูรณะขึ้นมาอีกครั้งจึงได้นามว่า “ราชบูรณะ”
วัดราชบูรณะมีโบราณสถานที่สำคัญๆ ที่เหลืออยู่คือ อุโบสถ วิหารหลวงและเจดีย์หลวงที่ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารหลวง เมื่อพิจารณาตามหลักฐานทางโบราณสถานโบราณวัตถุ คือ พระประธานในอุโบสถ และพระประธานในวิหารหลวงแล้ว เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย ตอนปลายจึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า
วัดราชบูรณะ คงจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ พระยาลิไท คงจะทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างหรือบูรณะ ซ่อมแซม
ครั้งใหญ่จึงได้นามว่าวัดราชบูรณเพราะพระมหาธรรมราชาที่ ๑ พระยาลิไท ได้เสด็จครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ๗ ปี คือ ในระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๐๕ ถึง
ปี พ.ศ. ๑๙๑๒ พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุง ซ่อมแซมโบราณสถาน และโบราณวัตถุเมืองในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
สูงที่สุดในกรุงสุโขทัยตอนปลาย วัดราชบูรณะนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างน้อง ๓ สมัย ดังนี้ คือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถซึ่งเสวยราชย์ ณ เมืองพิษณุโลก ๒๕ ปี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๖ ถึง พ.ศ. ๒๐๓๑ และรัชมัยพระบาทสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งเสด็จเสวยราชย์ ณ เมืองพิษณุโลก ๒๑ ปี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๙๑ ถึง ปี พ.ศ. ๒๑๑๒ และในรัชสมัยพระบรมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในปี พ.ศ. ๒๒๙๙
ทำให้วัดราชบูรณะมีสภาพที่แข็งแรง มั่นคงมาตลอดกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นสันนิษฐานว่าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เพราะได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถแล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารแล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพระพุทธประวัติ

จากหลักฐานหอสมุดแห่งชาติ วัดราชบูรณะนั้นมีชื่อปรากฏในแผนที่เมืองพิษณุโลก ฉบับหอสมุดแห่งชาติปี ร.ศ. ๑๑๑ หรือ ปี พ.ศ. ๒๔๓๕
(อุดม บูรณะเขตต์, ๒๕๓๐ : ๕๕)
จากหลักฐานเมื่อ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จวัดราชบูรณะ เก็บความตามที่ควรกล่าวจากกกพระ
ราชหัตถเลขาที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ ๑ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๐ (หวน พินธุพันธ์ ๒๕๑๔ : ๖๔ – ๖๕ ) ตอนหนึ่งว่า
“. . . . . . ต่อจากวัดนางพญานั้นลงไปก็ถึงวัดราชบูรณะ ไม่มีบ้านเรือนคั่นวัดมีพระอุโบสถพระวิหารหลวงตั้งอยู่ใกล้พระเจดีย์ อันอยู่ใกล้ถนนริมน้ำ
พระเจดีย์องค์นี้ถานเป็นแปดเหลี่ยมใหญ่ แต่ชำรุดมีผู้ไปสร้างพระเจดีย์ไม่สิบสองต่อขึ้นข้างบน ทำนองสร้างพระปรางค์ขึ้นบนเนินพระเจดีย์องค์นี้ ถ้าหากว่า
ม่มีรูปแปลก เช่น พระบรมธาตุเมืองชัยนาท ก็จะต้องเลยไปถึงพระเจดีย์มอญ แต่ส่วนพระอุโบสถก็ดี พระวิหารก็ดี เมื่อได้เห็นแห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ก็นับว่า
เห็นทั่วทุกแห่งเพราะทำอย่างเดียวกันทั้งสิ้น ตั้งใจจะเอาอย่างพระวิหารวัดมหาธาตุ พระประธานเล่าก็ตั้งใจ เพราะทำอย่างเดียวกันทั้งสิ้น ตั้งใจจะเอาอย่าง
พระชินราชด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่น่าดู มีธรรมาสน์บุษบกสลักปิดทองอย่างเก่าก็เอาอย่างในวัดมหาธาตุ แต่สู้กันไม่ได้แลออกจะทิ้งให้โทรม มีเสลี่ยงกง
อย่างเก่าเหมือนที่ลพบุรีไม่ผิดกันเลย ที่ลพบุรีเขาว่าสำหรับแห่พระราชาคณะ ซึ่งไปอยู่วัดราชบูรณะ เสลี่ยงนี้ก็อยู่วัดราชบูรณะเหมือนกัน. . . . . .”
จากหนังสือจดหมายระยะทางเมืองพิษณุโลกของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ความว่า “.......ออกจากหมู่บ้านก็เข้าหาวัดราษฎร์บูรณะ
พอถึงหลังโบสถ์ก็ดูดจี๋ ต้องลงจากม้าเข้าทางหลังโบสถ์ บานประตูสลักลายดอก ๔ กลีบ ฝีมือดีแต่เป็นลายตามธรรมเนียม ผนังในโบสถ์เขียนรามเกียรติ์
แต่ไม่สู้เก่านัก และไม่สู้เป็นนัก มีพระประธานใหญ่แต่ไม่เก่ง มีพระเล็กน้อยมาก เสาและเครื่องบนทาดำทาแดง ปิดทองลายฉลุ แต่ไม่ใช่ลายเก่าเป็นปฏิ
สังขรณ์ใหม่ แต่ผนังโบสถ์และตัวไม้เครื่องบนเก่า เป็นเครื่องประดุช่อฟ้าปูน ออกจากโบสถ์พระยาเทพาชวนไปดูศาลาการเปรียญ แต่ไปไม่รอด เพราะอ้าย
ธรรมาสน์นั้นเก่าที่ศาลาข้างโบสถ์มันเหนี่ยวเอาไปดูมัน ธรรมาสน์นั้นเก่ามากทีเดียว ทีก็เป็นซุ้มเกี้ยวยอด พังทิ้งอยู่ข้างล่างเหลือชั้นเดียว ฐานก็แปลกจากที่เคยเห็น คือสิงห์แขวนขานาคต่อ แต่ข้างล่างจะเป็นอย่างไรอีกไม่ทราบ เพราะสูญเสียหมดแล้ว มาแปลกอยู่ที่ไม่มีกระจังบัดตีนยานไอ้หยัก ๆ สำหรับหลัง
ซุ้มประตูแทน เช่นเขียนตัวอย่างไว้ดูนี้ (ทรงวาดรูปประกอบไว้ด้วย) และมีกวางทรงเครื่องหักอยู่ตัวหนึ่งสำหรับเป็นบันไดรองเท้าขึ้นบนธรรมาสน์ ทั้งกวางทั้ง
ธรรมาสน์ลายเก่าเป็นดอกไม้กนกทำนองรุ่นเดียวกับพนักธรรมาสน์ที่เก็บมาแต่วัดในเมืองสมุทรปราการแต่ก่อนนั้น...ดูธรรมาสน์แล้วไปดูการเปรียญ ทีก็เหมือน
โบสถ์ เครื่องประดับฝ้าอิฐ แต่ฝ้าก่อทีหลัง เดิมเป็นเสาไม้ เป็นศาลาโถง ฟาเจียนประถมสมโพธิ แต่ไม่เก่าแลไม่เก่ง มีพระงามพอใช้องค์หนึ่ง หน้าตัก สัก ๒
ศอก.........” บัดนี้ ของดีงามในสายพระเนตรของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ยังอยู่ครบบริบูรณ์แต่ทรุดโทรมมาก การบูรณะควรจะยึดของเดิม
เป็นหลักเพื่ออนุรักษ์เป็นสิ่งล้ำค่าของวัดต่อไป
จากหลักฐานดังกล่าว ทั้งด้านจารึก และเอกสารนั้น สันนิษฐานได้ว่าวัดราชบูรณะเป็นวัดเก่าโบราณ ซึ่งอาจสร้างขึ้น ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และมี
การซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยของพระยาลิไท
ในต้นรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๔ ก็ได้มีการซ่อมแซมขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ได้พิจารณาจากลักษณะของจิตรกรรมฝาผนังที่จัดว่าเป็นรูปแบบในสมัยดังกล่าว

วัดราชบูรณะมีอาณาเขตติดต่อกับวัดนางพญา แต่วัดนางพญาไม่มีพระอุโบสถ ทั้งพระอุโบสถวัดราชบูรณะและวิหารวัดนางพญา มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือเศียรนาคที่ชายคาเป็นนาค ๓ เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม พิจารณาดูตามชื่อแล้ว วัดราชบูรณะน่าจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างอาจจะเป็น
สมัยเดียวกับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จมาครองเมืองพิษณุโลกทรงบูรณะพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ สร้างอุโบสถและวิหารวัดจุฬามณี เนื่อง
จากในรัชกาลนี้ทรงอุปถัมภ์ศาสนามากที่สุดและประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกเป็นเวลานานถึง ๒๕ ปี

....พระ พิมพ์นางพญา เข่าโค้ง และเข่าตรง..วัดราชบูรณะ.. สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระเครื่องที่ฝังไว้สมัยพระครูอนุโยคศาสนกิจ หรืออาจารย์อ่ำ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ ตั้งแต่ ปี 2469

http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=147275
ราคาเปิดประมูล240 บาท
ราคาปัจจุบัน260 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 25 ส.ค. 2555 - 18:30:33 น.
วันปิดประมูล - 30 ส.ค. 2555 - 20:31:52 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลมิสเตอร์เฮ้าส์ (1.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     260 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    thestar (729)

 

Copyright ©G-PRA.COM