(0)
พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ A เนื้อโลหะผสมออกเหลือง ปี 2505 หล่อวัดช้างให้ จ.ปัตตานี








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ A เนื้อโลหะผสมออกเหลือง ปี 2505 หล่อวัดช้างให้ จ.ปัตตานี
รายละเอียดพระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ A เนื้อโลหะผสมออกเหลือง ปี 2505 หล่อวัดช้างให้ จ.ปัตตานี ((รับประกันตามกฎ G-pra ทุกประการครับ))
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน90,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 14 มิ.ย. 2555 - 16:51:23 น.
วันปิดประมูล - 16 มิ.ย. 2555 - 19:40:43 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลMacpra (3.2K)(16)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 14 มิ.ย. 2555 - 16:51:50 น.



#1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 14 มิ.ย. 2555 - 16:52:23 น.



#2


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 14 มิ.ย. 2555 - 19:01:34 น.

พระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีดพิมพ์ใหญ่ ปี 2505 ในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการพระเครื่องพระบูชานั้นมีทั้งเนื้อทองคำ นวโลหะ(องค์พระจะบางกว่าเนื้ออื่นๆ) เนื้อเมฆพัด และเนื้อโลหะผสมทั้ง 2 วรรณะ คือวรรณะแดงและวรรณะเหลือง ผู้เขียนเคยได้คุยกับกูรูหรือปราชญ์ผู้รู้ทางด้านพระหลวงพ่อทวด ซึ่งท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า...
เคยได้คุยกับกูรูหรือปราชญ์ผู้รู้ทางด้านพระหลวงพ่อทวดท่านหนึ่งคือ คุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร(แต๊ก สงขลา) ซึ่งท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้เคยให้พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านพิมพ์ใหญ่ที่มีความสวยงาม(พิมพ์ที่มีเม็ดตา ซึ่งในภายหลังเรียกว่าพิมพ์กรรการ) แก่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ(องค์ชายกลาง) 1 องค์ และต่อมาได้เกิดปาฏิหาริย์กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ ทำให้พระองค์ชายกลางเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในองค์สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และอยากที่จะสนองคุณหลวงพ่อทวดโดยการสร้างพระหลวงพ่อทวดขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง
จึงได้มาแจ้งความจำนงต่ออาจารย์ทิม ธมฺมธโร ท่านอาจารย์ทิมฯได้ทำพิธีขออนุญาตต่อดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิของสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เพื่อขออนุญาตจัดสร้างพระฯ ดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิของสมเด็จหลวงพ่อทวดได้บอกว่า “ ครั้งแรกที่สร้างด้วยดินและว่าน ลูกหลานนำไปใช้แล้วแตกหักเสียหาย ท่านเสียใจ หากมีกำลังทรัพย์พอ ครั้งนี้ให้สร้างด้วยโลหะ ” ดังนั้นพระองค์ชายกลางจึงขอรับเป็นประธานอุปถัมภ์ในการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดในครั้งนี้
พระองค์ชายกลางจึงได้ให้ช่างทำการแกะแม่พิมพ์ขึ้นให้เหมือนกับพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านพิมพ์ใหญ่(พิมพ์กรรมการ) องค์ที่พระองค์ชายกลางได้ประสบกับปาฏิหาริย์ นี่เป็นที่มาของพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดอันโด่งดังทั่วฟ้าเมืองไทย
พระหลวงพ่อทวดเตารีดพิมพ์ใหญ่ มีทั้งเนื้อแดง ที่สร้างโดยโรงงานหล่อแถววัดคอกหมู และเนื้อเหลืองหรือที่ชาวปักใต้เรียกว่า เนื้อโลหะผสม ที่ออกจากวัดช้างไห้ จะสังเกตได้ง่าย ๆ วรรณะเนื้อแดง พิมพ์ทรงจะสวยกว่า เพราะช่าง โรงหล่อมีความชำนาญ แต่วรรณะเหลืองที่ออกจากวัดช้างไห้ที่มีจำนวนน้อยกว่ามาก บรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านแถวนั้น เมื่อทราบว่ามีการหล่อพระ บ้างก็ถอดสร้อยนาค สร้อยทอง ขัน ทัพพี ที่เป็นทองเหลือง หรือของใช้อื่นในบ้าน ฯลฯ ใส่ลงไปในเบ้าหลอม ซึ่งมีมวลสารหลากหลาย บางองค์ที่แก่เงินจัดหรือแก่ทอง เมื่อโดนสภาพอากาศ เนื้อจะออกดำ เมื่อทิ้งไว้นานเนื้อก็จะคล้ำกลับดำ ซึ่งทางใต้เรียกกันมานานแล้วว่า "เนื้อกลับ" ซึ่งน้อยองค์นักที่จะมีเนื้อเช่นนี้ แลดูสวยคลาสสิคเป็นธรรมชาติมาก ยิ่งองค์ที่มีสภาพเดิม คราบขี้เบ้าเกาะจับยึดแน่น และรูพรุนตามด ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระหล่อแบบโบราณ ซึ่งเป็นเสนห์ชวนส่องขึ้นกล้องเป็นที่สุดครับ
ขออนุญาตนำบทความ ข้อเขียนของกูรู ปราชญผู้รู้จริง ของทางใต้ ที่ได้ถ่ายทอดไว้ นำมาเป็นวิทยาทานความรู้ด้วยน่ะครับ ขออนุญาตครับ....... ทำไม!!!ค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ เนื้อวรรณะแดงกับเนื้อวรรณะเหลืองถึงไม่เท่ากัน??? โดย...วิจิตร ปิยะศิริโสฬส ( แพะ สงขลา ) พระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีดพิมพ์ใหญ่ ในปัจจุบันนี้ ซึ่งวงการพระฯยอมรับมีทั้งเนื้อทองคำ นวะโลหะ(องค์พระจะบางกว่าเนื้ออื่นๆ) และโลหะผสมมี 2 วรรณะ คือ พระฯเนื้อวรรณะแดงหล่อโดยโรงหล่อแถววัดคอกหมู และพระฯเนื้อวรรณะเหลืองหล่อที่วัด ในวันนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ “พระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีดพิมพ์ใหญ่ เนื้อโลหะผสมที่มีเนื้อ 2 วรรณะก่อน คือพระฯเนื้อวรรณะแดงและวรรณะเหลือง” เนื่องจากมีการจัดสร้างขึ้น 2 สถาน ที่ เนื้อวรรณะแดงนั้นทางวัดได้จ้างโรงหล่อแถววัดคอกหมูสร้างให้ ส่วนเนื้อวรรณะเหลืองทางวัดจัดสร้างขึ้นเอง โดยมีการหล่อพระฯขึ้นที่วัดช้างให้ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวการสร้างพระฯ คนที่มีความศรัทธาได้ถอดสร้อยคอทองคำบ้าง สร้อยคอนากบ้าง สร้อยคอเงินบ้าง และนำขัน,ช้อน,ทัพพีที่เป็นทองเหลือง หรือของใช้ในบ้านที่เป็นโลหะมีค่ามาใส่ลงไปในเบ้าหลอมโลหะของทางวัดในวัน หล่อพระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีด จึงทำให้พระฯที่หล่อมาได้ มีเนื้อโลหะผสมที่มีความหลากหลายมาก เช่นแก่ทองบ้าง แก่ทองเหลืองบ้าง บางองค์มีทองเป็นจ้ำๆในองค์พระฯ องค์ที่แก่เงิน(ในที่นี้หมายความว่ามีเนื้อเงินผสมมากกว่าองค์อื่นๆ)จะมีสี ออกดำ พระฯรุ่นนี้เมื่อทิ้งไว้นานก็จะมีเนื้อกลับดำคล้ำ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “เตารีดเนื้อกลับ” บางองค์เป็นทองคำทั้งองค์ (นัยว่ามีแค่ 2 องค์ ข้อมูลจาก คุณ ภิยวัฒน์ วัฒนายากร ที่ได้สัมภาษณ์คุณมานพ คณานุรักษ์ ลูกชายคนโตของนายอนันต์ คณานุรักษ์ และนายอนันต์ คณานุรักษ์เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน 2497 อันโด่งดังทั่วฟ้าเมืองไทย) “ทำไมค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ เนื้อวรรณะแดงกับเนื้อวรรณะเหลืองถึงไม่เท่ากัน???” ผู้ เขียนได้รวบรวมมาจากการได้พูดคุยกับกูรูหรือปราชญ์ทางด้านหลวงพ่อทวด ได้แก่ คุณสมศักดิ์ วาณิชย์สุวรรณ(โกหมิ่น หาดใหญ่) และ คุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร(แต๊ก สงขลา) ดังสรุปมาได้ดังนี้ ในสมัยก่อนเซียนภาคกลางซึ่งหมายถึงกทม.และปริมณฑลไม่เล่นพระฯกระแสเนื้อเหลือง เขาว่า “ เป็นของปลอม ” เขา เล่นแต่พระฯกระแสเนื้อแดง ทำให้ความคิดนี้ติดยึดอยู่ถึงปัจจุบันนี้ แม้ว่าในภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่า มีการหล่อพระฯที่วัดจริงและมีกระแสเนื้อเหลือง ก็ไม่ได้ทำให้พระฯกระแสเนื้อเหลืองมีราคาสูงขึ้นมากนัก พระ หลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด องค์ที่วัดสร้าง(กระแสเนื้อเหลือง) ช่างหล่อพระฯได้ไม่ค่อยสวยงาม ไม่ค่อยเรียบร้อย (องค์ที่สวยก็มี แต่มีน้อยมากและทางภาคใต้เขาเล่นเนื้อเหลืองแพงกว่าเนื้อแดงเพราะถือว่า สร้างที่วัด) พระฯบางองค์เล็กลีบบ้าง เบี้ยวบ้าง หล่อไม่เต็มบ้าง พื้นผิวหรือองค์พระฯเป็นหลุมเป็นบ่อก็มาก พูดง่ายๆคือฟอร์มพระฯไม่ค่อยสวยงาม ทำให้ราคาพระฯกระแสเนื้อเหลืองฯสู้พระฯกระแสเนื้อแดงไม่ได้ ผู้เขียนขอสันนิษฐานว่า “เพราะ ต้องถอดแบบเป็นหุ่นเทียนตั้งไว้เป็นจำนวนมาก การหล่อพระฯแต่ละครั้งต้องใช้เวลามาก ดังนั้นเมื่ออากาศร้อนทำให้หุ่นเทียนละลายไปบ้าง พระฯที่หล่อออกมาได้จึงไม่ค่อยสวยงาม” อีกทั้งพระฯกระแสเนื้อเหลืองที่สร้างที่วัดมีจำนวนน้อยกว่าพระฯกระแสเนื้อแดงมาก ทำให้มีการหมุนเวียนในตลาดมีน้อย เมื่อ มีการเปลี่ยนมือน้อยครั้ง ราคาก็ไม่ขึ้น นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระฯกระแสเนื้อเหลืองราคาไม่ค่อยขึ้น (คนที่มีพระฯกระแสเนื้อเหลือง ค่อนข้างจะหวงพระฯไม่ค่อยปล่อยต่อ) ส่วน พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดที่สร้างออกจากโรงหล่อแถววัดคอกหมู(กระแสเนื้อแดง) ช่างมีความชำนาญมากกว่า ในโรงหล่อมีมาตรฐานกว่าที่วัด มีหลังคาคลุมมิดชิด มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี ทำให้หุ่นเทียนไม่ละลาย อีกทั้งเป็นอาชีพของเขา ย่อมจะหล่อพระฯได้ดีกว่าและสวยงามกว่า ฟอร์มพระฯกระแสเนื้อแดงจึงไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก และ พระฯที่โรงหล่อแถววัดคอกหมูสร้างมีจำนวนมากกว่า ทำให้ในตลาดพระ มีพระฯเนื้อแดงให้เซียนได้เล่นเยอะกว่า มีการเปลี่ยนมือผู้ครอบครองพระฯบ่อยครั้งกว่า ราคาก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย พระฯ กระแสเนื้อแดง ที่สร้างจากโรงหล่อแถววัดคอกหมูใช่ว่าจะมีแต่พระฯองค์สวยๆ เมื่อสร้างจำนวนมากก็ต้องมีองค์ที่ไม่สวยติดมาด้วยเป็นทวีคูณ แต่ทางวัดช้างให้เลือกเอาแต่องค์ที่สวยงามออกมาแจกจ่ายให้ผู้ศรัทธานำไปบูชา สุดท้ายก็เหลือแต่องค์ที่ไม่สวย ทางวัดช้างให้และช่างผู้หล่อพระฯเกิดความเสียดายเนื้อโลหะเนื่องจากหล่อแบบ โบราณมาด้วยความยากลำบาก ช่างจึงใช้ภูมิปัญญาที่เคยใช้แก้ไขมาแล้วในอดีต (เช่นพระชัยวัฒน์ ของสมเด็จพระสังฆราชแพ พ.ศ.2482) โดยแกะบล็อกใหม่ แล้วนำพระฯองค์ที่ไม่สวยทั้งหลายมาปั๊ม จึงเป็นที่มาของคำว่า “พิมพ์ใหญ่ปั๊มซ้ำ” นี่ก็คือสาเหตุที่พวกเรา จึงเจอพระฯกระแสเนื้อแดง ส่วนมากมีแต่องค์สวยๆ ราคาพระฯกระแสเนื้อแดงจึงแพง ในความคิดเห็นของผู้เขียนนั้น “พระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีดไม่ว่าจะเป็นกระแสเนื้อใด ถ้ามีรูปแบบของพระฯ(Shape)หรือฟอร์มของพระฯสวยสมบูรณ์กว่า พระฯองค์นั้นต้องแพงกว่า” ถ้าผู้เขียนไปพบพระฯทั้งกระแสเนื้อเหลืองและเนื้อแดง หากให้เลือกแล้วก็ขอเลือกพระฯองค์ที่สวยและฟอร์มพระฯสมบูรณ์ ผู้ เขียนขอให้ท่านผู้อ่านได้เอาไปพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง และค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป อย่าเชื่อในสิ่งที่เขาว่า ให้เชื่อในสิ่งที่ตนเองคิดโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล หากข้อความข้างบนนี้มีประโยชน์อยู่บ้าง ผู้เขียนขอยกความดีทั้งหมดให้กับบิดา-มารดาของผู้เขียนและกูรูหรือปราชญ์ผู้ รู้อย่างลึกซึ้งทางด้านหลวงพ่อทวดทั้งสามท่านคือ คุณสมศักดิ์ วาณิชย์สุวรรณ(โกหมิ่น หาดใหญ่) คุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร(แต๊ก สงขลา) หากมีสิ่งใดผิดพลาดผู้เขียนขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียวและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา ขออำนาจแห่งองค์สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดโปรดดลบันดาลให้ท่านผู้อ่านทุกๆท่านสมความปรารถนาในสิ่งที่หวังทุกประการด้วยเทอญ ด้วยความปรารถนาดีจาก แพะ สงขลา 5 กรกฎาคม 2552 พิมพ์ แล้วในหนังสือศึกษาและสะสมฉบับที่ 96 เดือนสิงหาคม 2552
พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดพิมพ์ใหญ่อีกพิมพ์หนึ่งที่มีเนื้อโลหะผสมวรรณะเหลือง นั่นก็คือ “ พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่ เนื้อโลหะผสม พิมพ์เมฆพัด ” ซึ่งเป็นพิมพ์ที่หาชมได้ยากและมีน้อยมาก อีกทั้งคุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร(แต๊ก สงขลา)ได้บอกกับผู้เขียนว่าจากประสบการณ์ของท่านเคยเจอพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่ เนื้อโลหะผสม พิมพ์เมฆพัดนี้แค่ 3 องค์เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหายากมากจริงๆ และเมื่อประมาณกลางปี 2552 ผู้เขียนได้พบกับคุณชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง เห็นในคอท่านแขวนพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่ เนื้อโลหะผสม พิมพ์เมฆพัด ผู้เขียนมีความสนใจมากจึงได้สอบถามว่าจะให้บูชาในราคาเท่าไหร่ แต่คุณชัยนฤทธิ์ปฏิเสธกับผู้เขียนว่า “ จะขอเอาไว้ใช้บูชา ” จึงทำให้ผู้เขียนยิ่งมีความสนใจอยากที่จะศึกษาพระหลวงพ่อทวด หลังเตารีดใหญ่รุ่นนี้เป็นทวีคูณ เพราะผู้รู้อย่างคุณชัยนฤทธิ์ยังหวงแหนต้องการเก็บไว้บูชาเอง
ผู้เขียนได้เดินทางไปวัดช้างให้เมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายน 2552 ได้ไปสักการะรูปหล่อหลวงพ่อทวดองค์ที่อยู่ในวิหาร ผู้เขียนได้เห็นรูปถ่ายพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่ พิมพ์เมฆพัด แต่ตัวหนังสือใต้รูปภาพเขียนว่า “ พิมพ์เฉลิมพล ” เมื่อผู้เขียนกลับมา จึงได้เริ่มศึกษาค้นคว้า ปรากฏว่าพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่ พิมพ์เมฆพัดนี้มีด้วยกัน 3 เนื้อ(เป็นพิมพ์เข่ามีตุ่มทั้งหมด) คือ เนื้อนวโลหะ เนื้อเมฆพัด และเนื้อโลหะผสมวรรณะเหลือง ส่วนเนื้อโลหะผสมวรรณะแดงยังไม่ปรากฏว่ามีใครพบเห็น อีกทั้งผู้เขียนได้รับการบอกเล่าจากท่านผู้อาวุโสในวงการพระเครื่องพระบูชาในภาคใต้ว่า “ ในสมัยก่อนนั้นทางวัดช้างให้ได้กำหนดราคาให้เช่าบูชา พระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีดใหญ่ เนื้อเมฆพัดราคาสูงกว่าเนื้อโลหะผสมด้วยซ้ำไป ” นั่นแสดงว่าต้องมีอะไรพิเศษเป็นแน่ถึงทำให้ราคาสูงกว่า
เมื่อผู้เขียนศึกษาลงในรายละเอียดของพิมพ์เมฆพัดนี้ ปรากฏว่า เป็นพิมพ์ที่มีรายละเอียดมากกว่าพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่ทั้งหมด เช่น เส้นหน้าผาก ร่องแก้ม ปากค่อนข้างแบะกว้าง เส้นไหปลาร้า ริ้วจีวรลึกคมชัดเจน โดยเฉพาะริ้วจีวรที่อยู่ระหว่างสังฆาฏิและไหล่ขวาองค์พระฯจะมีลักษณะเป็นลูกคลื่นเป็นลอนๆ(จีวรเป็นริ้วๆ บั้งๆ)มีความลึกและอ่อนช้อยสวยงาม ริ้วจีวรเช่นนี้ไม่มีปรากฏให้เห็นในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่พิมพ์อื่นๆ อีกทั้งผู้อาวุโสได้บอกว่า พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่ พิมพ์เมฆพัด เนื้อนวโลหะและเนื้อโลหะผสมวรรณะเหลืองนี้มีน้อยมาก คนที่มีก็หวงไม่ยอมให้ผู้อื่นเช่าบูชา
เมื่อมาดูรอยเจียรด้านข้างด้านหลังและด้านฐานพระ รวมทั้งความเก่าของเนื้อโลหะแล้ว คนที่เล่นพระหลวงพ่อทวด ทุกคนลงความเห็นว่าแท้แน่นอนแต่หายากมากๆ มีผู้รู้บางท่านตั้งข้อสันนิษฐานว่า “ พระองค์ชายกลางท่านคงจะสร้างไว้เป็นการส่วนตัวหรือเปล่า? ” ถึงทำให้พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดใหญ่ พิมพ์เมฆพัด เนื้อนวโลหะและเนื้อโลหะผสมนี้ มีปรากฏในวงการพระเครื่องพระบูชาไทยน้อย
อีกทั้งพระฯพิมพ์นี้สวยงดงามและมีรายละเอียดมากกว่าพิมพ์ใหญ่อื่นๆดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งยังมีลักษณะคล้ายพระเนื้อว่านพิมพ์กรรมการปี๒๔๙๗ มากๆ จึงทำให้เป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้ว่าทำไมถึงมีปรากฏน้อยในวงการพระเครื่องพระบูชาไทย

ขอขอบพระคุณข้อมูล จาก http://www.zoonphra.com/shop/catalog.php?storeno=c004&idp=279

หากผมล่วงเกินหรือกระทำการใดที่ไม่เหมาะไม่ควรนั้น ผมมิได้มีเจตนาที่ไม่ดีใด ๆ ทั้งสิ้นแต่เป็นเพราะอาจจรู้เท่าไม่ถึงการ กระผมจึงกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย กราบขอบพระคุณครับ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา ขอบารมีหลวงปู่ทวดคุ้มครอง สาธุ


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 15 มิ.ย. 2555 - 12:09:49 น.



เนื้อนี้ หายากมากเพราะจำนวนน้อยกว่า ส่วนมากคนที่มีหวงแหนเก็บไว้ไม่ยอมปล่อย จึงไม่ค่อยพบเจอครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     90,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ธนาวิศว์ (684)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM