(0)
พระกริ่งชินบัญชร ญสส.เพชรกลับ เนื้อนวะก้นทองแดง หลวงปู่บัว พุทธาภิเษกเดี่ยวในวัดพระแก้ว 2576 3 โค๊ต มีไม่เกิน 50 องค์จากจำนวนสร้าง 2998 องค์








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งชินบัญชร ญสส.เพชรกลับ เนื้อนวะก้นทองแดง หลวงปู่บัว พุทธาภิเษกเดี่ยวในวัดพระแก้ว 2576 3 โค๊ต มีไม่เกิน 50 องค์จากจำนวนสร้าง 2998 องค์
รายละเอียดจารึกตำนานประวัติศาสตร์รุ่นแรกของพระกริ่งชินบัญชร ญสส.เพชรกลับ
1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระอนุญาตให้จัดสร้างและให้อัญเชิญ พระนามย่อ ญสส.ประดิษฐาน ณ พระกริ่งชินบัญชร ญสส.เพชรกลับทุกชนิด
2. สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต)ประทานมวลสารที่สำคัญและเกศาเพื่อบรรจุในพระกริ่งชินบัญชร ญสส.เพชรกลับ
3. พระครูสังฆกิจบูรพา (หลวงปู่บัว ถามโก)เททองหล่อชุดพระกริ่งชินบัญชร ญสส.เพชรกลับด้วยตัวท่านเอง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ในปีเสือ เดือนสิงห์ กระทิงวัน ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓
4. พระกริ่งชินบัญชรเพชรกลับ ญสส.เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวของวัดศรีบูรพาราม ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
โดยมีพระธรรมเจดีย์ เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เป็นประธานจุดเทียนชัย พระสรภาณโกศล วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นเจ้าพิธีพุทธาภิเษก และหลวงปู่บัว ถามโก นั่งปรกอธิษฐานจิต ปลุกเสกเดี่ยวและเป็นองค์ดับเทียนชัย
นับได้ว่าเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ มีความศักดิ์สิทธิ์และเข้มแข็งอลังการที่จะต้องได้รับการกล่าวขานโด่งดังไปตลอดกาล
5. พระกริ่งชินบัญชร เพชรกลับ ญสส.ที่จัดสร้างขึ้นชิ้นนี้ นายช่างสมร รัชชนะธรรม ผู้เสกสรรค์พระกริ่งชินบัญชรหลวงปู่ทิม อิสริโก แห่งวัดระหารไร่ จังหวัดระยอง ปี ๒๕๑๗ อันโด่งดัง เป็นผู้ออกแบบพระกริ่งชินบัญชร เพชรกลับ ญสส.
หลวงปู่บัว ปี ๒๕๕๓ โดยพุทธลักษณะกลับพระหัตถ์พระตกเข่าอีกด้าน รวมทั้งการนั่งขัดสมาธิเพชรก็จะนั่งกลับกัน ทั้งพระชัยวัฒน์ พระสังกัจจายน์และพระปิดตามหาลาภ เป็นไปตามคณะจัดสร้างตั้งใจให้เป็นเคล็ดที่เรียกว่า "เพชรกลับ"
เพื่อดลบันดาลให้ "กลับร้ายกลายเป็นดี"ผู้ที่นำไปบูชา "ยากจนกลับรวย กลับกลายเป็นเศรษฐี มั่งมีกันทั่วหน้า"
6. หากท่านเป็นคนหนึ่งที่สนใจพระกริ่ง พระกริ่งชุดนี้เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าเก็บไว้บูชา เพราะโอกาสที่จะมีการพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวัดพระแก้วมีน้อยมาก อนาคตพระกริ่งชุดนี้ย่อมเป็นที่ต้องการของผู้คนมากมาย
7. สรุปพระกริ่งเนื้อนวะก้นทองแดงมี 3ชนิด ชนิดแรก เป็นแบบที่เชื่อมฐานทองแดงด้วยตะกั่วเป็นชนิดที่มีมากที่สุดในจำนวนสร้าง 2998 องค์ ชนิดที่สอง เป็นแบบเชื่อมฐานทองแดงด้วยน้ำประสานทอง (ชนิดนี้ผิวของพระจะออกสีน้ำตาลอมแดง
เพราะต้องใช้ความร้อนก่อนจะเชื่อมด้วยน้ำประสานทอง เป็นวิธีการเดียวกับการเชื่อมเนื้อนวะก้นทองคำ และปล่อยไว้ประมาณ 2-3ปี ผิวจะเปลี่ยนเป็นสีดำเปลือกมังคุด) ชนิดนี้มีอยู่ประมาณ 400องค์
ชนิดที่สาม เป็นแบบเชื่อมฐานทองแดงด้วยตะกั่วแต่ตอกโค๊ด 3โค๊ด ตอกที่ด้านหลัง 2โค๊ด ที่ฐานอีก 1 โค๊ด ชนิดมีไม่เกิน 50 องค์(ปกติจะมีเพียง 2โค๊ดด้านหลัง 1โค๊ด ฐานอีก 1โค๊ด ไม่รวม ประนามย่อ ญสส.)
ราคาเปิดประมูล2,000 บาท
ราคาปัจจุบัน3,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 01 พ.ค. 2554 - 14:24:46 น.
วันปิดประมูล - 10 พ.ค. 2554 - 20:52:50 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลSJTSP (3.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 01 พ.ค. 2554 - 14:25:39 น.



ภาพวันพุทธภิเษก


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 01 พ.ค. 2554 - 14:26:20 น.



ภาพวันพุทธภิเษกในวัดพระแก้ว


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 09 พ.ค. 2554 - 22:21:34 น.

น่าเก็บมากๆ เป็นชนิดที่มีน้อยที่สุด คณะกรรมการจัดสร้างยืนยันว่าไม่เกิน 50 องค์เท่านั้น


 
ราคาปัจจุบัน :     3,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    chironew (811)

 

Copyright ©G-PRA.COM