(0)
พระกริ่งผงพรายบัวผุด








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งผงพรายบัวผุด
รายละเอียดเมื่อหลวงปู่ทิม อิสริโก มรณภาพไปแล้ว ๑๖ ปี เหรียญเจริญพร, ปรกองค์จ้อย, และพระกริ่งชินบัญชร ก็ดังขึ้นเรื่อยๆ พระกริ่งชินบัญชรเช่าหาบูชากันองค์ละหมื่นกว่าบาทขึ้นไป นายช่างทิวา ลิ้มศิวะวงศ์ ช่างบริษัทปูนซีเมนต์ที่เขียนเรื่องพระกริ่งวัดสุทัศน์เป็นตอนๆอยู่ในขณะนี้มาบุกบูชาพระกริ่งก้นอุดผงพรายหมายเลข ๑๐๑ องค์สุดท้ายจากผมไปถึงองค์ละ ๒๕,๐๐๐ บาทราคาเทียบเท่ากับพระกริ่งรุ่นเก่าที่โด่งดัง จึงเป็นที่กล่าวขานกันในวงการ พอดีพระอาจารย์เชย เจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ต้องการสร้างหอสมุดและโรงเรียนอีกหลายแห่งในอำเภอบ้านค่าย ได้มาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิหลวงปู่ทิม พวกผมเห็นว่า เมื่อพระกริ่งชินบัญชรดังมาถึงขนาดนี้จึงควรจะสร้างขึ้นมาอีกครั้งเพื่อหาเงินมาดำเนินการในเรื่องที่ขอมา

จึงได้สร้างพระกริ่งชินบัญชรรุ่นมหาโสฬสขึ้น ถือเป็นรุ่นที่ ๒ เพียงแต่หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อวิเวียร วัดดวงแข, หลวงพ่อหวัด, และหลวงพ่อชม ที่นั่งปรกรอบเตาทั้ง ๔ ทิศ และหลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอที่มาถึงตอนเททองพอดี ทุกองค์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “หลวงพ่อทิม มาเดินทักษิณาวัตร แล้ววูบหายเข้าไปในพระกริ่งองค์ใหญ่ที่เททองหล่อพร้อมกันในวันนั้น” เท่านั้นแหล่ะครับคนจองหมดอย่างมหัศจรรย์ หลังเททองหล่อพระกริ่งชินบัญชรมหาโสฬสไปแล้วเพียง ๒ วัน คุณประชา ตรีพาสัย นายทุนใหญ่ซึ่งรับปากว่า ถ้างานนี้ขาดทุนเท่าไหร่ จะออกให้เอง โทรมาบอกผมแต่เช้าว่า หลวงปู่ทิมมาบอก “สร้างอะไรสร้างได้ ทำไมไม่ทำเอกลักษณ์ของวัดด้วย” ผมไม่แน่ใจ คุณประชายืนยันว่าจริง และไม่ได้โกหก พวกเราจึงเอาเนื้อโลหะชนวนมาสร้างพระขุนแผนทั้งพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กขึ้นมาอีก ๑,๖๐๐ ชุด ทุกครั้งที่ผมสร้างพระเพื่อหาเงินมาสร้างถาวรวัตถุในวัดละหารไร่ ก็สร้างพระขุนแผนขึ้นมาทุกครั้ง เพราะเป็นเอกลักษณ์ของวัดตามที่หลวงปู่ทิมมาบอก แต่งานเททองหล่อพระพุทธนิมิตพิชิตมารในวันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคมนี้ ไม่ได้ทำพระขุนแผน ไม่ลืมแต่ของเก่าที่ทำไว้แล้วยังเหลืออยู่ ประกอบกับลูกศิษย์ผมเอาแบบพระพุทธนิมิตมาสร้างพระขุนแผนหลังยันต์จินดามณี, พุทธนิมิตหลวงปู่ทิม แต่เป็นพิมพ์เล็ก ขึ้นมาถวายในงานนี้


จนเมื่อเช้ามืดวันอังคารที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา เมื่อผมทำวัตรนั่งสมาธิเสร็จ ก็มีเด็กชายอายุประมาณ ๔-๕ขวบ ปรากฎให้เห็นมานั่งยกมือไหว้ แล้วบอกว่า พ่อทำไมไม่ทำพระผงพรายด้วย...ทำซิ ผมจึงเอาเรื่องนี้มาคิดและตกลงใจที่จะสร้าง “แหวนพรายกุมาร” โดยมีรูปกุมารเล็กๆอยู่ที่หัวแหวน คุณฉลวย เหรียญทอง ช่างศิลป์มติชนก็ออกแบบมาให้ ถูกใจมากแต่โรงงานบอกทำไม่ทัน ๑๖ ตุลาคมนี้ ผมนึกได้ว่าได้สั่งให้ช่างขุน ถอดพิมพ์พระกริ่งชินบัญชรโดยย่อส่วนให้เล็กลง ๓๐% เพื่อเหมาะกับการใช้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย เตรียมทำไว้แจกในงานไหว้ครู วันแรงงานแห่งชาติ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ซึ่งตรงกับผมมีอายุครบ ๖ รอบ ๗๒ ปี เลยเปลี่ยนใจสั่งให้ช่างขุนรีบติดช่อเข้าดินฝรั่งแต่ให้เททองแบบโบราณอย่างเร่งด่วน และก็เททองหล่อเสร็จไปแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กันยายนนี้ แล้วนำเข้าพิธีปลุกเสกพระกริ่งปรโมของหลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ เมื่อวันอังคารที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ เพราะพิธีนี้นอกจากหลวงพ่อเริ่มจะต้องมา แล้วหลวงปู่ทิม ของผมก็ต้องลงมาด้วย เพราะท่านเป็นเกลอกัน พระกริ่งพรายบัวผุด และแหวนพรายกุมาร จึงจุติขึ้น ณ โอกาสนี้
พระกริ่งพรายบัวผุด ทำตามแบบ พระกริ่งก้นอุดผงพรายกุมารที่หลวงปู่ทิม ทำขึ้นเพื่อให้เป็นของสุดยอดและเอกลักษณ์ของวัดละหารไร่ แม้จะเอาชันโรงอันลือลั่นของหลวงปู่เอี่ยมมาอุด หลวงปู่ทิมท่านก็ไม่เอา “ใช้ผงพรายของเราดีกว่า ถ้าใช้แล้วเป็นอะไรขึ้นมา เขาจะได้โทษเราแต่ฝ่ายเดียว ไม่ต้องให้เขามาเสียชื่อด้วย” และก็ด้วยวจีนี้ เซียนใหญ่เจ้ากรมพระหลวงปู่ทิม ได้ไปบูชาพระกริ่งอุดผงพรายกุมารหลายเลข ๕๖ จากภรรยาคุณมาโนช เหล่าขวัญสถิตย์ ที่ผมให้ไปฟรี ๑๐ องค์ ในราคา ๖๐๐,๐๐๐ บาท แล้วพระกริ่งพรายบัวผุดที่สำเร็จในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ (วันที่หลวงปู่ทิม มรณภาพจากพวกเราไปครบ ๓๔ ปี) แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน แต่พุทธคุณไม่หนีกันเพราะหลวงปู่ทิม ท่านต้องลงมาทำให้อย่างแน่นอนตามที่เคยรับปากกับผมและคุณประชาไว้ “ไม่ว่านี่จะอยู่ที่ไหน พรจะทำอะไรก็จะลงมาทำให้”
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน4,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 23 ต.ค. 2553 - 19:18:23 น.
วันปิดประมูล - 25 ต.ค. 2553 - 08:00:26 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสุขสงบ (8.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 23 ต.ค. 2553 - 19:19:23 น.



1


 
ราคาปัจจุบัน :     4,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    savatdee (44)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM