(0)
...สมเด็จเกตุไชโย..รุ่นประวัติศาตร์.200.ปี...พ.ศ.2531..จ.อ่างทอง..1.ชุดกรรมการ..มี.6.องค์..กล่องเดิมๆ.......








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง...สมเด็จเกตุไชโย..รุ่นประวัติศาตร์.200.ปี...พ.ศ.2531..จ.อ่างทอง..1.ชุดกรรมการ..มี.6.องค์..กล่องเดิมๆ.......
รายละเอียด...สภาพสวยเเบบเก่าเก็บ.....พระชุดนี้มีส่วนผสมของผงฝุ่นของพระพุทธพิมพ์...ที่สมเด็จโตสร้างใว้ที่ วัดเกตุไชโย..........
...รับประกันตามกฏเสมอมาครับ...............
ราคาเปิดประมูล650 บาท
ราคาปัจจุบัน700 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 14 ต.ค. 2553 - 14:12:07 น.
วันปิดประมูล - 19 ต.ค. 2553 - 19:52:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลSai-9ton (7.9K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 14 ต.ค. 2553 - 14:13:46 น.



ประวัติการสร้างพระสมเด็จรุ่นประวัติศาสตร์
หลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์(หลวงพ่อโต) สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังษี)เมื่อร้อยกว่าปีเศษมาแล้ว พระมหาพุทธพิมพ์ได้ลงรัก ปิดทอง แต่กาลเวลาผ่านมาถึงเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗o ท่านมีความประสงค์ที่จะลงรัก ปิดทองใหม่ จึงได้ทำการลอกทองออกจากองค์พระ แต่ปรากฏต่อมาท่านนำไปเรี่ยไร เพื่อนำปัจจัยมาซื้อทองปิดองค์หลวงพ่อ และแล้วท่านได้มรณภาพเสียก่อน นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีผู้ใดจะทำการลงรัก ปิดทองได้ จนมาถึง พ.ศ. ๒๕๓๑ ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน “พระวิสิฐนิมมานการ” (แฉล้ม จนฺทวณฺโณ) ได้ริเริ่มที่จะปิดทองหลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ เหตุการณ์มหัศจรรย์ได้ปรากฏขึ้น คือ หลวงพ่อมหาพุทธพิมพ์ได้ไปเข้าฝัน ดร.เถลิง เหล่าจินดา บอกว่าขณะนี้ยังไม่ได้ปิดทอง
ดังนั้นท่านเจ้าอาวาส กับ ดร.เถลิง เหล่าจินดา พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจึงร่วมกันทำพิธีลงรัก ปิดทอง และก่อนที่จะลงรัก ปิดทอง ต้องกะเทาะ ลอกทองเก่าออกจากองค์หลวงพ่อพุทธพิมพ์ก่อน ขณะที่ทำการกะเทาะองค์อยู่นั้น ท่านเจ้าอาวาสได้นิมิตว่า หลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังษี) มาบอกว่าผงและทองคำ ที่เอาออกมาจากองค์นั้นควรจะนำไปทำพระสมเด็จ (ทองคำนำไปผสมกับพระทองคำ) เพื่อให้ประชาชนนำไปบูชา ท่านเจ้าอาวาสจึงได้ปรึกษากับคณะกรรมการวัด และพร้อมใจกันสร้างพระสมเด็จรุ่นนี้ขึ้นมา ให้ชื่อว่า “สมเด็จรุ่นประวัติศาสตร์” ที่ให้ชื่ออย่างนี้เพราะโอกาสที่จะนำผงจากองค์หลวงพ่อมาทำพระสมเด็จคงไม่มี อีกแล้วในชีวิตของพวกเรานี้ ก่อนที่จะทำการสร้างพระสมเด็จชุดนี้นั้น นายช่างทำพระสมเด็จได้ปรารภกับเจ้าอาวาสว่าถ้าได้พระประสกมาผสมกับผงอีก ก็จะเป็นการเพิ่ม พุ ทธานุภาพของพระสมเด็จชุดนี้ให้มากขึ้นในอดีตประสกของพระมหาพุทธพิมพ์เคยล่วง มาแล้วใน พ.ศ. ๒๕๒๑ จำนวน ๑ อัน และ พ.ศ.๒๕๓๑ ช่างมาสำรวจ ปรากฏว่าชำรุดอีก ๑ อัน เจ้าอาวาสเลยได้ตั้งกัลยาจิตอธิฐานว่า ถ้าจะทำพระสมเด็จชุดนี้สำเร็จแล้วให้หลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ประทานประสก เพิ่มขึ้นอีก ปรากฏว่าเมื่อสำรวจแล้วครั้งสุดท้ายก่อนซ้อมพระมหาพุทธพิมพ์ ประสกชำรุก ๔๗ อัน อาจจะเป็นเพราะแรงอธิษฐานหรือเหตุใดก็ไม่ทราบได้
ฉะนั้น ท่านเจ้าอาวาส และคณะกรรมการวัดจึงได้จักพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒o ตุลาคม ๒๕๓๑ (ขึ้น ๑o ค่ำ เดือน ๑๑ ) โดยอาราธนาพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ จำนวน ๑o๘ รูป มาร่วมพิธี สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ เป็นประทานจุดเทียนชัย


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 14 ต.ค. 2553 - 14:15:03 น.



ประวัติ พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) วัดไชโยวรวิหาร
"พระมหาพุทธพิมพ์" หรือ "หลวงพ่อโต" แห่งวัดไชโยนี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก พระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง
มีพุทธลักษณะ เป็นศิลปะรัตน โกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 8 วา 7 นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม
สมเด็จพระพุฒาจารย์หรือที่เรียกกันติดปากว่าสมเด็จโตนั้น สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่านมาก่อนนี้แล้วสององค์ คือ พระนอนที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืนที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม
เมื่อมาสร้างหลวงพ่อโตที่วัดไชโยนี้ แรกทีเดียวท่านสร้างเป็นพระนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดินแต่ไม่นานก็ทลายลง ท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้ ใช้วิธีเดิมแต่ลดขนาดให้เล็กลงก็สำเร็จเป็นพระปางสมาธิองค์ใหญ่ถือปูนขาว ไม่ปิดทอง
ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."
ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วย
เมื่อพิจารณาแล้วทรงให้รื้อองค์พระ ออกทั้งองค์แล้ววางรากฐานใหม่ ใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภายในแล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิซ้อนพระ หัตถ ตามลักษณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ทำไว้เดิม เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งคือ หลวงพ่อโต วัดไชโยองค์ที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต เป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่ชาวเมืองอ่างทองที่เคารพนับถือ กล่าวกันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับ
น้ำมนต์ของหลวงพ่อก็กล่าวกันว่าศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาแก้ไขโรคเคราะห์ ต่างๆ ได้ ทั้งเล่าลือกันว่าหลวงพ่อมักมาเข้าฝันผู้ที่เคารพบูชาบอกกล่าวเตือนภัยต่างๆ ชาวบ้านแถบนั้นจึงมักมีรูปท่านไว้กราบไหว้บูชาแทบทุกครัวเรือน
วัดไชโยวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อใด ชาวบ้านเรียกวัดไชโย หรือเกษวัดไชโย ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นที่รู้จักเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ฝั่งธนบุรี ดำริให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง
ด้วยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งเจ้าพระยา จึงมองเห็นองค์พระพุทธรูปขาวเด่นแต่ไกลเพราะพอกด้วยปูนขาว ต่อมาในปี พ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะจากวัดราษฎร์ ให้เป็นพระอารามหลวง พระอุโบสถวัดไชโย เป็นอาคารที่อยู่ต่อเนื่องกับวิหารหลวงพ่อโต มีทางเดินเชื่อมไปยังริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการประดับตกแต่งอย่างเป็นระเบียบและสวยงาม


 
ราคาปัจจุบัน :     700 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    noom_bps (122)

 

Copyright ©G-PRA.COM