(0)
พระบูชารูปเหมือนพระครูประวิตรวิหารการ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว วัดใหม่พิเรนท์ ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระบูชารูปเหมือนพระครูประวิตรวิหารการ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว วัดใหม่พิเรนท์ ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
รายละเอียดพระเกจิชื่อดังย่านฝั่งธนบุรี ท่านเป็นสหธรรมมิกกับหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ และเข้าร่วมพิธีปลุกเศกวัตถุมงคลอันลื่อลั่นเมื่อปี 2511 ขนาดหน้าตัก5นิ้ว เนื้อทองเหลืองรมดำ ก้นอุดปูนขาวพร้อมเจิมด้วยผงพุทธคุณบริเวณใต้ฐาน ฐานหล่อหนามากๆ (ดังภาพ) และมีรอยตะไบหยาบแต่งตามขอบฐานสวยๆครับ....สภาพสวย ผิวหิ้งท่านใดสนใจเชิญครับ

ปล.ภาพถ่ายจากองค์จริงแสงธรรมชาติครับ
ราคาเปิดประมูล1,850 บาท
ราคาปัจจุบัน1,950 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 24 ก.ย. 2553 - 20:33:54 น.
วันปิดประมูล - 27 ก.ย. 2553 - 20:17:20 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnokchaiyo (3.6K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 24 ก.ย. 2553 - 20:35:32 น.
.


วัดใหม่พิเรนทร์ เป็นวัดเล็ก ๆ วัดโบราณวัดหนึ่ง ได้สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๘๔ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๑๑ ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพทำข้าวหลามขาย ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดใหม่บ้านข้าวหลาม”ครั้นต่อมาทางการ ได้ตัดถนนผ่านหน้าวัด (ถนนอิสรภาพ) ทำให้การคมนาคมไปมาสะดวกขึ้นประกอบกับอยู่ใกล้กับสามแยกโพธิ์สามต้น ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “วัดใหม่โพธิ์สามต้น”

ในอดีตนั้น พระพิเรนทรเทพ และญาติพี่น้องในฐานะผู้สร้างและทำให้วัดมีหลักฐานมั่นคงเพื่อเป็นเกียรติประวัติจึงได้ขนานนามวัดตามบรรดาศักดิ์ท่านว่า “วัดใหม่พิเรนทร์”มาจนถึงปัจจุบัน โดย วัดใหม่พิเรนทร์ มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๔๖ ตารางวา อาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับที่ดินเอกชน ความยาว ๗๕.๓๐ เมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับที่ดินเอกชน ความยาว ๑๓๗.๐๐ เมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนอิสรภาพ ความยาว ๑๒๖.๑๐ เมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับลำคลอง ความยาว ๙๓.๙๐ เมตร

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มมีกำแพงคอนกรีตกันเขตวัด หน้าวัดอยู่ทางทิศตะวันออก มีถนนอิสรภาพผ่าน อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถ กว้าง ๘.๘๐ เมตร ยาว ๒๓.๘๐ เมตร แต่เดิมสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ด้านหน้าและด้านหลังเป็นแบบมีกันสาด ได้ทำการซ่อมแซมดัดแปลงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นแบบหลังคาคอนกรีตสองชั้นมีซุ้มประตูด้านหน้า มีกุฏิสงฆ์ ๙ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้นมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบ หอสวดมนต์ เป็นเสาคอนกรีต ฝาและพื้นเป็นไม้สักมี สามจั่ว ศาลาเอนกประสงค์ เป็นตึกสองชั้น ตรีมุข มีช่อฟ้าใบระกาหางหงษ์ ที่นห้าบันจารึกพระพุทธรูปไว้ทั้งสามด้าน นอกจากนี้ยังมี ศาลาการเปรียญ ชื่อศาลาพร้อม ศิริวัฒนกุล หอระฆัง ฌาปนสถาน ศาลาบำเพ็ญกุศล เมรุ สุสาน พระพุทธรูปปูนปั้นแบบสุโขทัย ๒ องค์ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ และห้ามสมุทร รวม ๗ องค์ พระประธาน ๑ องค์ จึงเป็นพระพุทธรูปทั้งหมด ๑๐ องค์

วัดใหม่พิเรนทร์ ถูกสร้างขึ้นมานานแล้วในทางประวัติศาสตร์น่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุทธยาตอนปลาย ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งของพระราชวังเดิม (สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี) มีเรื่องเล่าว่า บริเวณวัดใหม่พิเรนนทร์มีต้นโพธิ์ยืนตระหง่าน เมื่อสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชไทย พ.ศ. ๒๓๑๐ พระองค์ท่านได้ล่องเรือพาทหาร และข้าราชบริภาร ล่องเรือมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งมาทางใต้ และได้มาถึงบริเวณวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) ในรุ่งขึ้น พระองค์ก็อธิฐานจติที่จะตั้งเมืองใหม่บริเวณที่แห่งนี้เพื่อสร้างเมืองก็คือ กรุงธนบุรี บริเวณที่แห่งนี้มีแม่น้ำล้อมรอบคือ แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางด้านทิศตะวันออก คลองบางหลวงอยู่ทางด้านทิศใต้ คลองมอญอยู่ทางด้านทิศเหนือ และคลองบางกอกใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก บริเวณที่แห่งนี้มีวัดที่สร้างมาแล้ว แต่เป็นวัดทรุดโทรม และมีพระภิกษุสามเณรพำนักจำพรรษาน้อย วัดที่ว่านี้มี ๗ วัด คือ

๑. วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)
๒. วัดโมลีโลกยาราม
๓. วัดหงส์รัตนาราม
๔. วัดราชสิทธาราม ๕. วัดนาคกลาง
๖. วัดเครือวัลย์
๗. วัดใหม่บ้านข้าวหลาม (วัดใหม่พิเรนทร์)

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้ง ๗ วัดนี้ถูกสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กันโดยมีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ และประชาชนผู้ศรัธธาในพระพุทธศาสนาสร้างขึ้นมาไว้เป็นที่ปฏิบัติศาสนธรรมตามพุทธประเพณี โดยวัดที่กลาวมาทั้ง ๗ วัดนั้น ปัจจุบันนี้มีวัดที่ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ๖ วัด คือ


๑. วัดอรุณราชวราราม
๒. วัดโมลีโลกยาราม
๓. วัดหงส์รัตนาราม ๔. วัดราชสิทธาราม
๕. วัดนาคกลาง
๖. วัดเครือวัลย์

มีเพียงวัดใหม่พิเรนทร์ เพียงวัดเดียวที่เป็นวัดราษฎร์ มีเรื่องเล่าขานทางประวัติศาสตร์ว่าวัดใหม่พิเรนทร์นี้ บริเวณที่ตั้งรอบ ๆ มีต้นใผ่ขึ้นปกคลุมบริเวณชุมชนรอบวัดและมีคลองเล็ก ๆ ผ่านทางด้านทิศตะวันตกหากจะกล่าวถึงชัยภูมิการตั้งเมืองกรุงธนบุรี ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชพระองค์ท่านตงคิดว่าบริเวณเหล่านี้น่าจะเป็นสถานที่อันเป็นมงคลที่จะสร้างเป็นราชธานี เพราะมีวัดล้อมรอบ และมีคลองล้อมรอบด้วย ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการป้องกัน และรักษาเมืองมิให้อริราชศัตรูเข้ามาทำลายได้ยากยิ่ง

ต่อมา วัดใหม่พิเรนทร์ หรือชื่อเดิมว่า วัดใหม่โพธิ์สามต้น หรือ วัดใหม่บ้านข้าวหลาม ตามีที่ชาวบ้านเรียกกันก็สุดแต่ใครจะเรียก เพราะทั้งสามชื่อก็คือวัดเดียวกันตามหลักฐานการสร้างวัดและบูรณะวัด ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยุคของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระพิเรนทรเทพ (ขำ ณ ราชสีมา) เป็นบุตรของ เจ้าพระยากำแหงสงครามหรือ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ อินทรกำแหง) ในสมัยนั้นท่านดำรงตำแหน่งกรมพระตำรวจหลวง รัชกาลที่ ๓ ท่านได้เดินทางมาสักการะพระราชวังเดิม (วัดอรุณราชวราราม) ได้มาเยี่ยมญาติในบริเวณนี้ และท่านได้เห็นวัดใหม่โพธิ์สามต้น หรือวัดใหม่บ้านข้าวหลาม ที่มีเสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงปรารภกับญาติ ๆและผู้ติดตามว่า จะสร้างวัดแห่งนี้ไว้เป็นที่ให้พระภิภษุ-สามเณร ได้ปฏิบัติศาสนธรรมทางพระพุทธศาสนา หลังจากท่านได้ปฏิสังขรณ์วัดพระพิเรนทร์ (วัดขำเขมการาม) เมื่อพ.ศ. ๒๓๗๙ และได้มาปฏิสังขรณ์วัดใหม่โพธิ์สามต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔

ที่ชื่อว่า วัดใหม่ขี้หมู นั้นเรียกตามภาษาชาวบ้านเท่านั้น ทั้งนี้เพราะว่าเดิมก่อนสร้างวัดก็ดีหรือสร้างวัดแล้วก็ดี เป็นที่ ๆ มีหมูป่าอยู่เป็นจำนวนมาก และหมูเหล่านี้ได้ถ่ายเอาไว้เหม็นทั่วไปหมด ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดใหม่ขี้หมู ทั้งนี้เพราะเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่และแม้ว่าภายหลังจะมีประชาชนมาอยู่มากขึ้น ทำให้หมูป่าสูญพันธุ์ไป แต่ก็มีผู้เอาหมูมาเลี้ยงปล่อยไว้ตามใต้ถุนกุฏิพระเป็นจำนวนมาก หลังน้ำท่วมใหญ่ปี ๒๔๘๕ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีผู้เอาหมูมาเลี้ยงปล่อยไว้ใต้ถุนกุฏิพระเป็นสิบ ๆ ตัว เวลาเข้าไปหาเศษแก้ว ขวดแตกเศษเหล็กขายเหม็นขี้หมูจนไม่อยากเข้าไป

ที่ชื่อว่า วัดใหม่บ้านข้าวหลาม นั้นก็เรียกตามภาษาชาวบ้านเช่นกัน ทั้งนี้เพราะเหตุว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นใหม่ ณ บ้านข้าวหลาม ชาวบ้านจึงนิยมเรียกตามชื่อบ้านเพราะจำง่ายหาง่าย และเรียกจนติดปาก เด็ก ๆ รุ่นเราไม่รู้จัก รู้จักแต่ชื่อวัดใหม่พิเรนทร์ ชาวบ้านรู้จักชื่อวัดใหม่พิเรนทร์ มากขึ้นก่อนปี ๒๕๐๐ เล็กน้อยและคนที่ยังเรียกว่าวัดใหม่บ้านข้าวหลามก็ค่อย ๆ ล้มหายตายจากไปเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน คนวัดใหม่พิเรนทร์ไม่รู้จักชื่อวัดใหม่บ้านข้าวหลาม เช่นเดียวกับวัดชิโนรสาราม กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงสร้างไว้ที่ริมคลองมอญ ก็เรียกว่า วัดใหม่คลองมอญ และถึงแม้ว่าภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ จะพระราชทานชื่อให้ว่าวัดชิโนรสาราม เพื่อถวายพระเกียรติองค์ผู้สร้างวัด แต่ชาวบ้านก็เรียกว่าวัดใหม่คลองมอญอยู่ดี คนรุ่นก่อนเรียกกันจนติดปากเวลาจะเล่นน้ำก็จะชวนกันไปเล่นที่ท่าวัดใหม่คลองมอญเป็นต้น

วัดใหม่พิเรนทร์เป็นชื่อที่เป็นทางการเป็นชื่อที่มีอยู่ในทำเนียบวัดของกรมการศาสนา ส่วนคำว่าใหม่นั้นไม่เป็นที่สงสัยเพราะเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ แต่คำว่า พิเรนทร์ นั้นมีคำถามมากมายทั้งจากผู้อื่นที่ถามมาและเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ที่สร้างวัดนี้คือ พระพิเรนทรเทพ
ถามว่า พระพิเรนทรเทพสร้างขึ้นใหม่ ทำไมไม่ตั้งชื่อวัดใหม่พระพิเรนทร์ ?
ตอบว่า เพราะจำไปซ้ำกับวัดพระพิเรนทร์ ซึ่งพระพิเรนทรเทพท่านที่ ๑ คือ นายสุดใจได้สร้างไว้ก่อนแล้วที่วรจักร
ถามว่า ถ้าอย่างนั้นทำไมไม่ตั้งชื่อว่า วัดใหม่พิเรนทรเทพ หรือ วัดใหม่ทรเทพ ?
ตอบว่า คำว่า พิเรนทรเทพ เป็นราชทินนามคำว่า พระ คือ ยศ หรือ ศักดินา เช่นท่านขุน คุณหลวง คุณพระ พระยา เหล่านี้คือ ยศหรือศักดินาที่ได้เลื่อนขึ้นเมื่อทำความดีความชอบเหมือนร้อยตรีขึ้นเป็นร้อยโท เป็นต้น ส่วนที่ไม่ใช้ทรเทพนั้น เข้าใจว่าคงไม่เป็นที่นิยมกัน ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์มักจะใช้บรรดาศักดิ์คำหน้าราชทินนาม เช่นหลวงพิบูลสงคราม ก็ใช้เรียนกันว่า หลวงพิบูล เฉย ๆ พระบริภัณฑ์ยุทธกิจก็เรียกกันว่า พระบริภัณฑ์
ถามว่า ถ้าอย่างนั้นพระพิเรนทรเทพ จึงตั้งชื่อวัดที่สร้างขึ้นใหม่ว่าวัดใหม่ แล้วเอาราชทินนามคำหน้าใส่ไว้ใช่หรือไม่
ตอบว่า อาจเป็นความประสงค์ของท่านผู้สร้างที่จใช้คำหน้าของบรรดาศักดิ์เท่านั้น เพราะปกติเข้าใจว่าผู้ที่เรียกท่านก็จะเรียกว่า พระพิเรนทร์เท่านั้น

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าผู้ที่สร้างวัดใหม่พิเรนทร์คือ พระพิเรนทรเทพ (ขำ) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ และเป็นพระพิเรนทรเทพท่านที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านพิเรนทรเทพนั้นมีอยู่ ๓ ท่านด้วยกัน คือ

ท่านที่ ๑ พระพิเรนทรเทพ ท่านสุดท้ายในสมัยกรุงศรีอยุทธยาซึ่งมีรับสั่งให้ยกกองทัพไปรักษาเมืองกาญจนบุรี และได้ถูกกองทัพพม่าตีแตกพ่าย เนื่องเพราะมีกำลังน้อยกว่า

ท่านที่ ๒ ชื่อนายสุดใจ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นพระพิเรนทรเทพเมื่อทรงปราบดาภิเษก เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕

ท่านที่ ๓ ชื่อนายขำ ปรากฎชื่อเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีรับสั่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา พระยามหาอำมาตรย์ และพระพิเรนทรเทพไปสักเลกชายฉกรรจ์ ลาวตะวันออกเขมรป่าดง เมื่อพ.ศ. ๒๓๘๐

เมื่อพระพิเรนทรเทพมีศรัทธาที่จะสร้างวัดให้เป็นสมบัติไว้ในพระพุทธศาสนานั้น ต้องดำเนินการเบื้องต้นสองประการก่อนคือ
๑. ต้องจัดหาที่ดินที่เหมาะสมก่อนคือใกล้น้ำ เพราะในสมัยก่อนการสัญจรไปมาใช้ทางน้ำเป็นหลัก
๒. ต้องหาคนที่ไว้เนื้อเชื่อใจ และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไม้ไปเสาะหาแหล่งไม้สักก่อน และไม้สักนั้นจะขึ้นได้ดีต้องเป็นพื้นที่ ๆดินดี น้ำดี อากาศดี ดังนั้นไม้สักจึงมีมากในภาคเหนือคือ ตั้งแต่แต่จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป และในการหาแหล่งไม้ที่เป็นป่าสมบูรณ์จะต้องใกล้ลำน้ำด้วย เพราะจะใช้อาบกิน และปลูกผักสวนคัวเพื่อเป็นเสบียงต้องหาที่สำหรับทำนาปลูกข้าว และต้องใกล้ป่าไผ่สำหรับทำแพบรรทุกไม้ล่องมาด้วย ไม้ที่ต้องใช้สำหรับสร้างวัดใหม่พิเรนทร์ใช้คนทำงานประมาณ ๗๐ คน โดยแบ่งงานดังนี้ ใช้คนคัดเลือกไม้ตัดโค่น ตัดทอน ชักลากรวมหมอน ๑๕ คน ถากเสาและพริกไม้ ๑๕ คน เลื่อยไม้แปรรูป ๓๕ คน ตัดไม้ไผ่ทำแพ ๕ คนในการเลื่อยไม้นั้นต้องใช้เลื่อยโครงเป็นคู่ คู่หนึ่งถ้าไม้ขนาดหน้ากว้าง ๑๐ นิ้ว หน้านิ้วครึ่ง ยาว ๕ เมตร จะได้โดยเฉลี่ยวันละ ๓ แผ่น ดังนั้นจะต้องใช้เวลาทำไม้ถึง ๓ ปี หยุดพักหน้าฝนปีละ ๕ เดือนรวมแล้วต้องใช้เวลาเต็ม ๆ ๒๔ เดือน เป็นอย่างต่ำได้เสาล่องเสาได้ไม้ล่องไม้โดยต้องมีช่างที่มีความรู้ทางช่างไม้ด้วยว่าจะเลื่อยไม้อะไรก่อน ส่วนช่างปลูกสร้างก็ต้องเตรียมวางผังขุดหลุมไสไม้ถากเสา ทั้งหมดที่อธิบายมาพอเป็นสังเขป

เมื่อสร้างวัดโพธิ์สามต้นเสร็จแล้ว ชาวบ้านและญาติมิตรจึงเปลี่ยนชื่อวัดจาก วัดใหม่โพธิ์สามต้น หรือวัดใหม่บ้านข้าวหลาม เป็น วัดใหม่พิเรนทร์ และขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใน ปี พ.ศ. ๒๓๘๔ ปีเดียวกันนั้น เหตุที่ชื่อวัดใหม่พิเรนทร์ ก็เพราะเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พระพิเรนทรเทพ และไม่ได้ให้ซ้ำกับวัดพระพิเรนทร์ จึงใช้คำว่า “ใหม่” นำหน้า จึงเป็นชื่อวัดใหม่พิเรนทร์ ต่อมาพระพิเรนทรเทพ ท่านได้รับราชการมีตำแหน่งหน้าที่เจริญรุ่งเรืองสนองงานของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เคารพบูชายึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนา ท่านจึงได้รับสถาปนา ยศสูงขึ้นตามลำดับ ยศสุดท้ายในฐานันดรศักดิ์ที่ พระยาไชยวิชิตสิทธิ์สาตรา (ขำ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา) จากหลักฐานที่สืบค้นนพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ และหนังสือต่าง ๆ ที่ผู้รู้เขียนตำราอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ไว้


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 24 ก.ย. 2553 - 20:43:22 น.
.


พระบูชารูปเหมือนของท่านพระครูประวิตรวิหารการ (อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 7) นั้นคาดว่าคงสร้างจำนวนไม่มากนักจึงไม่ค่อยได้มีให้เห็นหมุนเวียนในสนามบ่อยนัก พระองค์นี้สภาพสวยซึ้งตาจริงๆครับ สายตรงหรือคนพื้นที่คงทราบดีว่าหายากมาก พระแท้ผมจัดให้ครับท่าน

ด้านหน้ามีแผ่นป้ายเขียนระบุไว้ว่า " พระครูประวิตรวิหารการ เจ้าอาวาสวัดใหม่พิเรนทร์ 23 กรกฏาคม 2534"

--------------------------------------------------------

เพิ่มเติมประวัติลำดับเจ้าอาวาสเสียหน่อยครับจากข้อมูลของวัด (ท่านเป็นเจ้าอาวาสลำดับที่7)

@ เจ้าอาวาสรูปที่ ๑ ชื่อหลวงตาติ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “สมภารติ่ง” สมภารติ่งเป็นคนจังหวัดใหน เป็นสมภารตั้งแต่เมื่อไร และมรณภาพเมื่อไรไม่ปรากฎ

@ เจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ชื่อหลวงตาไป๋ ชาวบ้านเรียกว่า “ สมภารไป๋” พื้นเพเดิมเป็นคนจังหวัดอ่างทอง วัดใหม่พิเรนทร์ผีดุมาก สมภารไป๋ไม่กลัวผี ตี ๔- ตี๕ สมภารไป๋จะลุกขึ้นมาเดินรอบอุโบสถ หลวงตาไป๋ดุมากชอบใช้อาญาวัดเฆี่ยนตีถ้าใครทำไม่ดีชอบลักโขมยหรือเมาเหล้าเอะอะ สมภารไป๋ชอบฉันต้มโคล้งปลาสลิดกับยอดมะขามอ่อนโดยชอบซดน้ำกับยอดมะขาม เสร็จแล้วเอาปลาสลิดตากแดดไว้ต้มอีกทำอยู่อย่างนี้สองสามครั้งจนปลาสลิดจืดจึงฉันปลาสลิด สมภารไป๋เอาหลานชายจากจังหวัดอ่างทองมาเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อนายชื่น ภายหลังเมื่อมีกฎหมายให้ใช้นามสกุล นายชื่นตั้งนามสกุลว่า “ บุญตามชู” สมภารไป๋ได้มอบพระบูชาสมัยเชียงแสนหน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว ไว้ให้นายชื่นองค์หนึ่งปัจจุบันพระพุทธรูปบูชาองค์นี้ได้ตกทอดมาถึงหลานและเหลน นายชื่นเป็นสัปเหร่อคนแรกของวัดใหม่พิเรนทร์ สมภารไป๋ เป็นสมภารตั้งแต่เมื่อไรและมรณภาพเมื่อไรไม่ปรากฏ

@ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ชื่อหลวงตาบุญ ชาวบ้านเรียกว่า “ สมภารบุญ” สมภารบุญเป็นคนจังหวัดใหน และเป็นสมภารตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ สันนิฐานว่ากุฏิด้านตะวันตกที่สร้างค้างไว้จะสร้างเพิ่มเติมเมื่อสมภารบุญเป็นเจ้าอาวาส เพราะลักษณะการสร้างเป็นแบบสมัยใหม่ คือเสาใช้เสาปูนฝาทำแบบซ้อนเหมือนฝาบ้านทั่ว ๆไป พื้นเสมอ มีชานมีฝากั้นประตู – บาน แบบลูกฟักธรรมดา ฝากั้นแบ่งห้องใช้แบบตั้งและเกยกนหลังคาสังกระสีฝ้าเพดานก็แบบสมัยใหม่ทั้งหมด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ผมบวชที่วัดใหม่พิเรนทร์ เมื่อเสร็จกิจจะต้อมานั่งคุยกันที่ชานกุฏินี้ กุฏินี้แบ่งเป็น ๔ ห้อง พระบวชใหม่ที่จำอยู่กุฏินี้มี ๔ รูป คือพระพี่โกเมนตร น้ำลึก พระพี่สุรินทร์ จงมีไชย พระพี่จาอากาศเอกอุดมศักดิ์ อัคนิบุตร และพระวิจารย์ คอนทอง ได้เคยพูดถึงกุฏิหลังนี้ว่าสร้างใหม่ เพราะเป็นแบบสมัยใหม่และไม่ใช่ไม้สักที่สันนิฐานว่าจะสร้างในสมัยสมภารบุญเป็นเจ้าอาวาส เพราะในสมัยสมภารช่วงเป็นเจ้าอาวาสนั้น ไม่เคยก่อสร้างอะไรเลย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. ๒๔๘๕ แล้วเษษแก้วแตกขวดแตกกิโลละ ๕ สตางค์ เศษเหล็กตะปูเก่าโลละ ๑๐ สตางค์เด็ก ๆ รุ่นพี่ผม ๗-๘ ขวบ ต่างไปหาเศษแก้วเศษเหล็กใต้ถุนกุฏิกันทั้งนั้น เห็นมีจั่วเก่าพิงอยู่ ๓ จั่ว มีเสาไม้กองอยู่ ๒ กอง ๆ ละ ๔-๕ ต้น สันนิฐานว่าที่สร้างไม่เสร็จเพราะไม้ไม่พอ สมภารบุญมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙

@ เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ชื่อหลวงตาผล ชาวบ้านไม่ได้เรียนกว่าสมภารเพราะหลวงตาผลรักษาการชั่วคราวเท่านั้น และไม่ยอมเป็นเจ้าอาวาสเพราะชรามากแล้ว

@ เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ชื่อสมภารช่วง เมื่อหลวงตาผลไม่ยอมรับเป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านซึ่งมีนายฉุย แพ่งเฉย นายนาค เขตรทองคำ นายจวน แย้มสคราญ นายอินทร์ แย้มสุวรรณ นายผูก น้อยงาม นายเขียน ยิ้มแย้ม นายเปลื้อง แจ้งกระจ่าง และนายทองย้อย วงศ์สนม เป็นต้น ได้พร้อมใจกันไปอาราธนาพระช่วง จากวัดหงษ์รัตนาราม โดยมีการแห่กันมาอย่างเอิกกะเหริก เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๐ เมื่อพระเดชพระคุณพระครูประวิตรวิหารการ อดีตเจ้าอาวาสมรณภาพได้ ๗ วัน คือวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ พระเดชพระคุณพระมหาเสถียร ฉนฺทโก รักษาการเจ้าอาวาส ได้ใช้ให้ผมและพระอีกหลายรูปร่วมกันเปิดห้องเจ้าอาวาส เพื่อจัดทำบัญ๙ทรัพย์สินของวัดที่มีอยู่ในกุฏิเจ้าอาวาส มีหีบกำปันเหล็กอยู่ใบหนึ่ง ใส่กุญแจไว้ เมื่อตัดกุญแจออกภายในหีบมีเหรียญเงินบาทสมัย ร.๕ อยู่ ๒๔ เหรียญ นาฬิกาแบบมีสายห้อย ๒ เรือน และมีสมุดออมสินอยู่ ๒ เล่ม เล่มที่ ๑ เขียนว่าพระช่วง ม่วงมันดี วัดหงษ์ ฝาก ๓๑ บาท ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ อีกเล่มเขียนว่า พระช่วง ปโชโต วัดใหม่ฯ ฝาก ๕๙ บาท ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐ สมภารช่วงเป็นคนจังหวัดพิษณุโลก มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓

@ เจ้าอาวาสรูปที่ ๖ ชื่อพระมหาบุญมาก เมื่อสมภารช่วงมรณภาพนั้น พระมหาบุญมากรักษาการเจ้าอาวาส จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้ทำการฌาปนกิจสมภารช่วงแล้ว พระมหาบุญมากได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส พระมหาบุญมากได้แต่งตั้งกรรมการวัดขึ้นมาชุดหนึ่ง คือ นายโย เจริญลาภ นายพิมพ์ ฉายะเสวี ปลัดนคร คงคาเขตร ร.อ.ฉัน แย้มงามเหลือง นายพงษ์ ศรีสนิท นายเลื่อน จันทนภัค นายขีด ยิ้มแย้ม โดยมี ร.ท.ขุนสรไกรพิสิทธิ์ เทศมนตรีนครธนบุรีเป็นประธานคณะกรรมการ พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้จัดงานเทศน์หมาชาติเพื่อหารายได้ซ่อมแซมเสาอุโบสถทั้งสองด้านแปดต้น และได้ตกลงทำการก่อนสร้างเมรุเผาศพโดยการหาสมาชิกท่านละ ๕๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนการก่อนสร้าง โดยได้ลงมือก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๕ นั่นเอง พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้จัดงานล้างป่าช้าเผาศพไม่มีญาติเพื่อหารายได้ก่อสร้างเมรุให้แล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๔๙๗ พระมหาบุญมาก ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและได้กลับไปอยู่บ้านเดิมที่จังหวัดพิษณุโลก





@ เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ ชื่อพระมหาป๊อก เปือดขุนทด ภายหลังเปลี่ยนชื่อว่า พระมหาประวิตร อภิวัฒนาวาส ได้รับฉายาว่า จิตฺตคุตฺโต รักษาการเจ้าอาวาสเมื่อพระมหาบุญมากลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส และ พระมหาประวิตรได้รับแต่งตังเป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๗ส่วนคณะกรรมการยังเป็ฯชุดเดิมที่พระมหาบุญมากตั้งไว้และได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาหน้าเมรุพื้นเทคอนกรีตมีรั้วสูงประมาณ ๑ เมตรล้อมรอบ พ.ศ. ๒๔๙๘ คุณนายล้วน มากสินธุ์ ได้บริจาคทรัพย์สร้างศาลาบำเพ็ญกุศลขนาดใหญ่ให้หลังหนึ่งที่ข้างเมรุ พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้ทำการซ่อมแซมอุโบสถครั้งใหญ่ให้หลังหนึ่งพ.ศ. ๒๕๐๓ พระมหาประวิตร จิตฺตคุตฺโต ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าให้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “ พระครูประวิตรวิหารการ” นับเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์

พ.ศ.๒๕๐๔ คุณยายพร้อม ศิริวัฒนกุล ซึ่งเป็นหลานของพระพิเรนทรเทพ ได้ถวายเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาทเพื่อสร้างศาลา และได้สร้างแล้วเสร็จได้ทำการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลานี้เรียกว่า “ศาลาพร้อม” จากนั้นได้ทำการบูรณะปฏิสังขรเสนาสนะเรื่อยมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ทางราชการได้ขยายถนนใหม่ให้ใหญ่ขึ้นชื่อว่าถนนอิสรภาพ ได้ทำการรื้อ เจดีย์ใหญ่หน้าอุโบสถให้ถนนตัดผ่านได้สร้างกำแพงล้อมรอบวัด ได้ถมสระใหญ่ ได้ย้ายศาลาสวนพุ่มแก้ว ได้อนุญาตให้เทศบาลนครธนบุรีรื้อศาลาการเปรียญสร้างโรงเรียนใหม่ รื้อศาลาพระยาวิสูตรโกษาสร้างวิหารน้อยหลวงพ่อเทพมงคลที่ข้างอุโบสถ

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ พระครูประวิตรวิหารการได้วางโครงการวางผังของวัดเสียใหม่ โดยจะสร้างกุฏิสงฆ์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ๒ ชั้น จำนวน ๙ หลัง ได้เชิญชาวบ้านมาร่วมประชุมปรึกษาโดยมีเงินกองทุนอยู่เพียง ๖๐,๐๐๐ บาท และได้รับการคัดค้านในที่ประชุม แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างให้ได้ ได้เรียกลูกศิษย์ลูกหาบางคนมาปรึกษา และขอคำมั่นว่าจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่และในพ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ กุฏิหลังแรก โดยให้พระภิกษุสามเณร ช่วยเหลือออกแรงได้สร้างความศรัทธ่ให้พุทธศาสนิกชนผู้พบเห็ฯเป็นอย่างมากโดยช่วยกันบริจาคทรัพย์จนสามารถสร้างติดต่อเรื่อยมาจนถึงหลังที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้ทำการก่อสร้างกุฏิเจ้าอาวาสตามคำขอร้อง ของบรรดาลูกศิษย์ที่รับใช้ช่วยเหลือ โดยรื้อกุฏิเจ้าอาวาสหลังเก่าออกเพื่อสร้างศาลาเอนกประสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ทำการก่อสร้างหอระฆังโดยการนำของนายเล็ก โพธิประสิทธิ์ และคณะทำการทอดผ้าป่าสามัคคี ส่วนกุฏิสงฆ์ ก็ทำการสร้างติดต่อกันเรื่อยมาจนครบ ๙ หลังและสร้างหอสวดมนต์อีกหลังหนึ่ง

เมื่อสร้างกุฏิสงฆ์สำเร็จตามโครงการสร้างกุฏิเจ้าอาวาสศาลาเอนกประสงค์เสร็จแล้ว ได้วางโครงการสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล และเมรุเผาศพใหม่ โดยมีภรรยาของ พล.ต.ต.สนั่น สอาดพรรค บริจาคเงินสร้างศาลาหลังที่ ๑ จำนวนเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาคุณบัญญัติ จารุจินดา ได้บริจาคเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาทสร้างศาลาหลังที่ ๒ และได้รวบรวมจตุปัจจัยจากการจัดงานเทศกาลประจำปี งานทอดผ้าป่าสามัคคี งานเทศน์มหาชาติ งานทอดกฐินสามัคคีสร้างเมรุใหม่ และสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลหลังที่ ๓ และคุณอารีย์ สุทธิชาติ ได้บริจาคเงินสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลหลังที่ ๔

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พระเดชพระคุณพระครูประวิตรวิหารการ เริ่มมีอาการเจ็บป่วย ลูกศิษย์ ลูกหาที่ใกล้ชิดได้ขอร้องให้ท่านพักผ่อนและหยุดการก่อสร้าง แต่ท่านได้พูดกับบรรดาลูกศิษย์ว่า วัดเราไม่มีสิ่งดึงดูดให้คนมาทำบุญเหมือนวัดบางวัด เช่นวัดท่าพระมีหลวงพ่อเกษร นอกจากหลวงพ่อเทพมงคลเท่านั้น จึงขอสร้างวิหารหลวงพ่อเทพมงคลก่อน จึงจะหยุดการก่อสร้างเพราะเกรงใจญาติโยม แล้วพระครูประวิตรก็ดำเนินการก่อสร้างวิหารหลวงพ่อเทพ ตามความตั้งใจท่าน และในต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๘ อาการป่วยของท่านกำเริบหนังขึ้นต้องเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลธนบุรีพระเดชพระคุณพระครูประวิตรวิหารการ ได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยที่วิหารหลวงพ่อถามยังไม่แล้วเสร็๗ตามความตั้งใจของท่าน

พระเดชพระคุณพระครูประวิตรวิหารการเป็นพระที่เคร่งในวินัย มีใจเมตตา ไม่ค่อยดุหรือว่าใครให้เสียใจคอยดูแลช่วยเหลือลูกศิษย์เมื่อมีความเดือนร้อนมิใช่ใช้งานอย่างเดียว เป็นที่เคารพนับถือของญาติโยมและชาวบ้านทั้งหลาย เวลามีงานวัดและลูกศิษย์ทำงานกันดึกดื่นค่อนคืนท่านจะอยู่เป็นเพื่อนและคอยชงน้ำชากาแฟเลี้ยงลูกศิษย์ พระครูประวิตรวิหารการมีที่ปรึกษา และผู้ช่วยเหลือทีสำคัญ และให้ความเกรงใจยิ่งท่านหนึ่งคือ พระเดชพระคุณพระมหาเสถียร ฉนฺทโก รองเจ้าอาวาส พระมหาเสถียรได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดพระครูประวิตรวิหารการมากกว่า ๔๐ ปี


@ เจ้าอาวาสรูปที่ ๘ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระเดชพระคุณ พระมหาเสถียร ฉนฺทโก เปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อพระเดชพระคุณพระครูประวิตรวิหารการมรณภาพแล้ว พระมหาเสถียร ได้รักษาการเจ้าอาวาส ได้จัดการจัดงานศพเพื่อสนองคุณอดีตเจ้าอาวาสที่ได้เคยอยู่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาช้านานอย่างสมเกียรติ สมแก่ฐานานุรูปของความเป็นพระผู้ใหญ่เมื่อจัดงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระมหาเสถียร ฉนฺทโก ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ได้ดำเนินการก่อสร้างวิหารหลวงพ่อเทพมงคลจนแล้วเสร็จตามความตั้งใจของพระเดชพระคุณอดีตเจ้าอาวาส ได้จัดงานบำเพ็ญกุศลให้อดีตเจ้าอาวาสและมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ยากจนเพื่อเจริญรอยตามอดีตเจ้าอาวาสทุกปี ได้สร้างซุ้มประตูใหญ่ที่ด้านหน้าอุโบสถจำนวนสองซุ้มด้วยกัน ได้ปรับปรุงอุโบสถใหม่อย่างสวยงามมั่นคงแข็งแรง สิ้นค่าใช้จ่ายนับล้านบาท ขณะนี้กำลังเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี ๒๕๔๕ นี้


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 24 ก.ย. 2553 - 20:43:58 น.
.


ผิวหิ้งครับ ^_^


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 24 ก.ย. 2553 - 21:06:13 น.

ปิดเคาะเดียวครับท่าน....ราคานี้รวมค่าจัดส่งด้วย ems ไวไวถึงมือท่านรวดเร็วทันใจขอรับ ^_^


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 26 ก.ย. 2553 - 23:05:45 น.

ขอบคุณเพื่อนๆสมาชิกที่อุดหนุนและไว้วางใจกันมาตลอดครับ ผมจัดส่งพระตามสภาพที่ลงประมูลด้วย ems ทุกรายการถึงมือท่านไวๆ

ปล.รายการนี้ผมขาดทุนไม่ว่ากันครับ รบกวนผู้ชนะการประมูลโอนไวหน่อยนะครับเนื่องจากช่วงนี้ต้อมระดมทุนบ่อยมาก บุกรังพระบ้านขอรับ ^_^


 
ราคาปัจจุบัน :     1,950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    eed_botong (657)

 

Copyright ©G-PRA.COM