(0)
ชินราชอินโดจีน2485 พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง มีโค๊ต มีบัตรG







ชื่อพระเครื่องชินราชอินโดจีน2485 พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง มีโค๊ต มีบัตรG
รายละเอียดพระพุทธชินราช วัดสุทัศน์เทพวราราม ปี ๒๔๘๕ พระเครื่องแห่งยุคอินโดจีน เมื่อปี พ. ศ.๒๔๘๓ สมาคมพุทธศาสนาในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ ๒ สมาคม คือ พุทธธรรมสมาคม และ สมาคมยุวพุทธ ซึ่งในปีนั้นทาง พุทธธรรมสมาคม ได้ ดำริที่จะจัดสร้างพระพุทธชินราชจำลองขึ้น ซึ่งมีขนาดหน้าตักประมาณ ๑๑ นิ้ว และส่งไปในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา เพราะถือว่าพระพุทธชินราช เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมานมนาน และทางสมาคมยังมีดำริให้สร้างพระเครื่อง รูปพระพุทธชินราช ขนาดเล็ก เป็นรูปหล่อขึ้นอีก จำนวนประมาณ ๘๔ , ๐๐๐ ซึ่งเท่ากับคำภีร์พระธรรมขันธ์

ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้เริ่มมีการเทหล่อพระพุทธชินราชได้ในบางส่วน ก็ต้องหยุดชะงักลง เพราะได้เกิดสงครามอินโดจีนขึ้น จนกระทั่งสงครามอินโดจีน ได้สงบลง ทั้ง ๒ สมาคม ได้ตกลงใจรวมกันจัดตั้งขึ้นใหม่เป็น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย และ นำเอา ตราธรรมจักร มาเป็นเครื่องหมายของสมาคมเป็นต้นมา และแต่งตั้ง พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ทางพุทธสมาคมก็ให้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราชทั้งพระบูชา และพระเครื่องขึ้นอีกครั้ง

ซึ่งทางด้านพิธีกรรมในการจัดสร้าง และปลุกเสกนั้น วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นผู้ดำเนินการ โดยมี พระเดช พระคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติธฺสเทวมหาเถระ) เป็นประธานดำเนินการสร้าง และ มีท่านเจ้าคุณมงคลราชมุนี (ท่านเจ้าคุณศรีฯสนธิ์) เป็นแม่งานในการสร้างพระพุทธชินราช ในส่วนที่เป็นพระเครื่องนั้น สมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านได้นำเอาชนวน พระกริ่งที่ท่านได้สร้างก่อน หน้านี้มาตลอด หลอมลงในเบ้าผสมเป็นจำนวนมาก ฤกษ์การเททองรูปหล่อ พระพุทธชินราชนี้ มีขึ้น เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕ พอดี ทำให้คนรุ่นก่อนๆ มักเรียกพระพุทธชินราชรุ่นนี้ว่า พระพุทธชินราช เสาร์ ๕

เมื่อหล่อพระเสร็จแล้ว ได้จัดให้มีพิธีปลุกเสกขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งมีพระคณาจารย์ ที่แก่กล้าวิชายอดเยี่ยมแห่งยุคทั้งนั้น จำนวนถึง ๑๐๘ รูป ซึ่งแต่ละองค์ที่มาปลุกเสก เมื่อเอ่ยถึงนามของอาจารย์ แต่ละท่านแล้ว ต่างต้องยอมรับในความเป็นสุดยอดจริง ๆ ซึ่งพิธีปลุกเสกของพระรุ่นนี้ จัดว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่าได้

รูปหล่อพระพุทธชินราชอินโดจีน รุ่นนี้เป็น เนื้อโลหะผสม และ ขึ้นหุ่นเทียนแบบ เบ้าประกบหน้าหลัง และเทหล่อด้วยการหุ้มดินไทยแบบโบราณ ถูกต้องตาม ตำราของวัดสุทัศน์ฯ ทุกประการ

พระพุทธชินราชอินโดจีน เป็นพระเครื่องที่มีการจัดสร้างค่อนข้างมาก มีการเท

หล่อด้วยกันหลายพิมพ์ ใช้ช่างเทหล่อ ช่างแต่ง ช่างเกลา หลายคน

พระพุทธชินราช ปี ๒๔๘๕ รุ่นอินโดจีน พิมพ์หลัก ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมีดังนี้ คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น พิมพ์ต้อบัวขีด และพิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง แต่ละ พิมพ์ก็ยังมีแบบพิมพ์ แยกย่อยออกไปอีกหลายแบบ ใต้ฐานขององค์พระ ส่วนใหญ่จะตะไบแต่งทุกองค์ แล้วตอกโค๊ด อกเหลา กับโค๊ดธรรมจักรเอาไว้ บางองค์หล่อเป็นโค๊ด อกเหลานูน ก็มี แต่ที่ไม่ตอกโค๊ดอะไรเอาไว้เลยก็มี ไม่น้อยเช่นกัน พิมพ์ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จากวงการพระเครื่อง ได้แก่ พิมพ์สังฆาฏิยาวหน้านาง (พิมพ์ A ) องค์ที่อยู่ในสภาพเดิม ๆ ผิวสวย โค๊ดเต็ม มีการซื้อขายกันถึงแสนบาทกันมาแล้วหลายองค์ เล่ากันว่า ราคา ค่าจองเช่าจากวัดในสมัยนั้น ค่าเช่าเพียงองค์ละ ๑ บาท องค์ไหนหล่อได้สวยงามเป็นพิเศษ ก็เพิ่มเป็น ๑.๕๐ บาทก็มี ถ้าต้องการแต่งเกลาผิว เก็บเม็ดเนื้อเกินที่หล่อติดมาตามผิวพระด้วย ก็ต้องเพิ่มอีก ๑ บาท รวมเป็นองค์ละ ๒ บาท พระพุทธชินราชองค์ที่มี การตกแต่งเกลาผิวเอาไว้ ส่วนใหญ่ ช่างจะรมดำผิวพระให้ด้วยเกือบทุกองค์
ราคาเปิดประมูล6,000 บาท
ราคาปัจจุบัน8,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ1,000 บาท
วันเปิดประมูล - 08 พ.ค. 2553 - 22:13:55 น.
วันปิดประมูล - 10 พ.ค. 2553 - 14:18:56 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเกื้อหนุน (1.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 08 พ.ค. 2553 - 22:14:12 น.
.


111


 
ราคาปัจจุบัน :     8,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     1,000 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    monchai02 (7.1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM