(0)
พระเปิม โซนเข้มสีก้ามปูเผา-อมแดง องค์ล่ำ กรุเก่า(วัดจามเทวี) วัดพระธาตุหริภุญชัย เนื้อดิน จ.ลำพูน บัตรรับรอง G-Pra









ชื่อพระเครื่อง พระเปิม โซนเข้มสีก้ามปูเผา-อมแดง องค์ล่ำ กรุเก่า(วัดจามเทวี) วัดพระธาตุหริภุญชัย เนื้อดิน จ.ลำพูน บัตรรับรอง G-Pra
รายละเอียด พระเปิม โซนเข้มสีก้ามปูเผา-อมแดง องค์ล่ำ กรุเก่า(วัดจามเทวี) วัดพระธาตุหริภุญชัย เนื้อดิน จ.ลำพูน บัตรรับรอง G-Pra

องค์นี้ อายุสร้างเป็นพันปี เนื้อจัด ดูง่าย โซนเนื้อเข้มก้ามปูเผา-อมแดงหายาก (เนื้อเขียวแพง เนื้อแดงหายาก) กรุเก่า(วัดจามเทวี) วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน. พุทธคุณของพระเปิมนั้นเป็นพระที่มีพุทธคุณสูงเด่นทางเมตตาสูง พุทธคุณสูงส่งในด้านคงกระพันชาตรีเป็นที่ปรากฏเช่นเดียวกับพระคง โดยเฉพาะเรื่องอาวุธหนัก เรื่องตีรันฟันแทง นอกจากนี้ยังเด่นในด้านมหาอุดอีกด้วยครับผม น่าบูชาและสะสมมากครับ
ราคาเปิดประมูล 500 บาท
ราคาปัจจุบัน 11,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
วันเปิดประมูล ศ. - 05 เม.ย. 2567 - 14:46:11 น.
วันปิดประมูล อ. - 16 เม.ย. 2567 - 14:33:21 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล เอฟอาปาเช่ (560)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 ศ. - 05 เม.ย. 2567 - 14:46:54 น.



สวัสดี ครับวันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุ พระเก่าของ จ.ลำพูน กัน ซึ่งในสมัยที่พระนางจามเทวี กำลังสร้างบ้านแปงเมืองลำพูนนั้น ได้สร้างวัดสี่มุมเมืองเพื่อจตุรพุทธปราการและสร้างพระเครื่องบรรจุไว้ครับ
พระเปิมเป็นพระเนื้อดินที่สร้างมาในยุคสมัยเดียวกับพระรอด พระคง พระบาง พระเลี่ยง ฯลฯ ครับ มูลเหตุการสร้างก็ต้องเล่าเรื่องเมืองหริภุญชัย และพระนางจามเทวีแบบคร่าวๆ ครับ คืออย่างนี้ครับ จากพงศาวดารโยนก จามเทวีวงศ์ ชินกาลมลินี และตำนานมูลศาสนา พอจะสรุปได้ดังนี้ว่า มีพระฤๅษี 5 ตน คือพระสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี พระ สุพรหมฤๅษี พระนารทะฤๅษี ซึ่งเป็นคณาจารย์ของหริภุญชัย และเป็นผู้สร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน นอกจากนี้ ยังมีพระ อนุสิษฏฤๅษี ซึ่งพำนักอยู่ ณ เขาลตางค์ (เขาหลวงเมืองสวรรคโลก) พระฤๅษีตนนี้ไม่ได้มีส่วนในการสร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน แต่ได้มอบกาบ ฝาหอยมาเป็นผังในการสร้างเมืองหริภุญชัย ได้ปรึกษากันในการสร้างเมืองหริภุญชัย

เมื่อสร้างเมืองหริภุญชัยเสร็จแล้ว จึงให้นายควิยะบุรุษ ไปเป็นทูตทูลขอพระนาง จามเทวีพระราชธิดาพระเจ้ากรุงละวะปุระ (ลพบุรี) อันเป็นกุลสตรีที่ประเสริฐ เจริญด้วยศีลและปรีชาฉลาดมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองหริภุญชัย โดยพระนางจามเทวีได้ทูล ขอ พระราชทานพระไตรปิฎก สมณะ ชีพราหมณา จารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ โหราจารย์ แพทย์ สถาปัตยกร วิศวกร นักประติมากรรม และเศรษฐวาณิช อย่างละ 500 พร้อมด้วยเครื่องราชูปโภค บริวาร หมู่โยธาพลากร พร้อมด้วยพาหนะครบถ้วนเดินทางมายังเมืองหริภุญชัย
เมื่อพระนางทรงมาถึงเมืองหริภุญชัย พระฤๅษีทั้ง 4 ตนก็ได้ป่าวร้องให้ชาวเมืองออกมารับเสด็จพระนางเข้าเมือง และพอถึง ปี พ.ศ.1223 พระนางจามเวทีจึงทรงให้สร้างจตุรพุทธปราการขึ้นเป็นพระอารามสำคัญทั้ง 4 ประจำจตุรทิศแห่งพระนคร เพื่อปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพร ปราศจากภัยพิบัติ ดังนี้

อาพัทธาราม (วัดพระคง) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศเหนือ พระกรุสำคัญที่พบคือ พระคงและพระบาง

อรัญญิกรัมมการาม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการปกป้องฝ่ายทิศตะวันออก พบ พระกรุที่สำคัญคือพระเปิมและพระบาง ฯลฯ

มหาสัตตาราม (วัดประตูลี้) เป็นพุทธปราการคุ้มครองด้านทิศใต้ พบกรุที่สำคัญคือพระเลี่ยง ฯลฯ

มหาวนาราม (วัดมหาวัน) เป็นพุทธปราการอารักขาทางฝ่ายทิศตะวันตก พบ พระกรุที่สำคัญคือพระรอด

พระอารามทั้งสี่นี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดสี่มุมเมือง"

พระเปิมเป็นพระที่ขุดพบที่วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของร.ร. เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทราย ปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก

การขุดหาพระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้ว ในครั้งแรกๆ ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วย การขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระเจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป

ในสมัยนั้นการพบพระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่าแป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอดหมายถึง เล็ก พระเลี่ยง ก็คือเลี่ยม หมายถึงแหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง หมายถึงหนามั่นคงแข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น

พระเปิมเป็นพระกรุเก่าแก่ มีพุทธคุณดีครบทุกด้านครับ เด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในสังคมวงการพระเครื่องนั้นนิยมพระเปิมเช่นกัน และปัจจุบันเป็นพระที่หาพระแท้ๆ ยากพอสมควรครับ และผมได้นำรูปพระเปิมมาให้ท่านได้ชมกันหนึ่งรูปครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทน์


 
ราคาปัจจุบัน :     11,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Negba (27)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  ลูกพ่อ88 (180) 2,000 บาท ศ. - 05 เม.ย. 2567 - 14:56:28 น.
  visa1 (2.9K) 2,500 บาท ศ. - 05 เม.ย. 2567 - 16:39:44 น.
  โต๊งเหน่ง001 (1K) 2,900 บาท ศ. - 05 เม.ย. 2567 - 18:05:48 น.
  ตามฝันสุดขอบฟ้า (393) 5,500 บาท ศ. - 05 เม.ย. 2567 - 19:11:22 น.
  aodant (3.9K) 6,000 บาท ศ. - 05 เม.ย. 2567 - 19:34:20 น.
  sanchai1977 (236)(2) 7,000 บาท ส. - 06 เม.ย. 2567 - 07:37:29 น.
  Sculpter (189) 7,100 บาท ส. - 06 เม.ย. 2567 - 18:07:12 น.
  ตุ้ยขอนแก่น (1.3K) 7,200 บาท ส. - 06 เม.ย. 2567 - 21:30:23 น.
  กิตช่างไม้ (1.2K) 7,300 บาท ส. - 06 เม.ย. 2567 - 23:24:23 น.
  PlE_InNo (374) 7,400 บาท อา. - 07 เม.ย. 2567 - 23:41:19 น.
  โต๊งเหน่ง001 (1K) 7,500 บาท จ. - 08 เม.ย. 2567 - 09:14:42 น.
  ตุ้ยขอนแก่น (1.3K) 8,000 บาท จ. - 08 เม.ย. 2567 - 19:04:15 น.
  PlE_InNo (374) 8,100 บาท อ. - 09 เม.ย. 2567 - 01:56:08 น.
  โต๊งเหน่ง001 (1K) 8,200 บาท อ. - 09 เม.ย. 2567 - 07:28:01 น.
  Viewpra (8) 8,900 บาท อ. - 09 เม.ย. 2567 - 14:46:07 น.
  PlE_InNo (374) 9,000 บาท พฤ. - 11 เม.ย. 2567 - 00:33:13 น.
  ส่งภูธร (53) 10,500 บาท พฤ. - 11 เม.ย. 2567 - 13:09:26 น.
  ส่งภูธร (53) 10,900 บาท พฤ. - 11 เม.ย. 2567 - 13:09:44 น.
  Negba (27) 11,000 บาท จ. - 15 เม.ย. 2567 - 14:30:54 น.
  Negba (27) 11,500 บาท จ. - 15 เม.ย. 2567 - 14:33:21 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM