(0)
วัดใจเคาะเดียวแดง พระบูชาแท่นบัลลังก์ วัดวิเชียรธรรมาราม รุ่นแรก จ.ชัยภูมิ ขน าดหน้าตัก5นิ้ว พระคู่บ้านคู่เมือง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจเคาะเดียวแดง พระบูชาแท่นบัลลังก์ วัดวิเชียรธรรมาราม รุ่นแรก จ.ชัยภูมิ ขน าดหน้าตัก5นิ้ว พระคู่บ้านคู่เมือง
รายละเอียดวัดใจเคาะเดียวแดง พระบูชาแท่นบัลลังก์ วัดวิเชียรธรรมาราม รุ่นแรก จ.ชัยภูมิ ขน าดหน้าตัก5นิ้ว พระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดชัยภูมิหายากมากครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 08 มี.ค. 2567 - 17:12:40 น.
วันปิดประมูล - 09 มี.ค. 2567 - 17:57:32 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลTaenoi (1.8K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 08 มี.ค. 2567 - 17:13:08 น.



ข้าง


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 08 มี.ค. 2567 - 17:13:20 น.



ข้าง


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 08 มี.ค. 2567 - 17:13:34 น.



ใต้ฐาน


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 08 มี.ค. 2567 - 17:16:01 น.

หลวงปู่พระแท่นบัลลังก์
ชาวบ้านเล่าเป็นนิทานให้เด็กฟัง ได้มีตำนานของการกำเนิดบ้านแท่นที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ลูกหลานฟังอยู่หลายอย่าง เช่น เชื่อว่าสมัยก่อนเมื่อหลายปีมาแล้ว (ตำนานไม่ได้บอกว่านานแค่ไหน) ได้มี ชีปะขาว หรือ พราหมณ์ชื่อแท่น เป็น ชาวขอม ท่านได้เดินทางมาจากแดนไกล เพื่อแสวงหาทำเลที่สงบเหมาะสม สำหรับสร้างที่อยู่อาศัย สำหรับบำเพ็ญเพียร จนได้มาถึงบริเวณที่เป็น บ้านแท่น ในปัจจุบัน เห็นว่าเป็นสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์ และสงบเงียบ ท่านจึงได้ ตกลงใจที่จะพำนักอาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้ และท่านก็ได้สร้างแท่นบูชาขึ้นมาเพื่อประกอบการบำเพ็ญเพียร หลังจากนั้น ก็มีผู้คนบริเวณใกล้เคียงที่ทราบข่าว และเกิดศรัทราเลื่อมใส ได้เดินทางเข้ามากราบไหว้และรับฟังคำสอนของท่านชีปะขาว ด้วยความศรัทราต่อท่านชีปะขาวนี้ จึงได้ถือโอกาสสร้างบ้านที่อยู่อาศัยเพื่อปรนนิบัติ ท่านชีปะขาว พร้อมกันไปด้วยและชาวบ้านก็ได้เพิ่มจำนวน มากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ หลังจากนั้นท่านชีปะขาว ได้ละสังขารลง ชาวบ้านโศกเศร้าเสียใจมาก หลงเหลือไว้แต่แท่นบูชา ให้เคารพกราบไหว้แทน แต่ชาวบ้านก็ยังพากันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของท่านชีปะขาวที่ได้สั่งสอนไว้ จนต่อมาหมู่บ้านนี้ เจริญขึ้นตามลำดับจนได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านแท่น และเรียกท่านชีปะขาวนั้นว่าปู่แท่น และก็ยังพากันกราบไหว้แท่นบูชาแทนท่านชีปะขาวผู้ล่วงลับไป จวบจนปัจจุบัน
บางตำนานก็บอกว่า ผู้ที่มาตั้งบ้านเรือนในบริเวณเป็นคนแรก คือ พ่อเกิ่ง แม่ทองคำเพราะพื้นที่แถบนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก และตอนหลังก็มีผู้คนเดินทางเข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหมู่บ้าน แล้วได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านแท่นตามแท่นที่ค้นพบในบริเวณนั้น

และอีกตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า บริเวณลานพระแท่นนั้น แต่ก่อนยังมีป่าไม้ขึ้นปรกคลุมหนาทึบทั่วทั้งบริเวณ และ มีสัตว์นา ๆ ชนิด อาศัยอยู่ มากมาย ณ ที่แห่งนี้ชาวบ้านถือว่าลึกลับและมีความศักดิ์สิทธิมาก ชาวบ้านไม่กล้ากล้ำกลายไปทำอะไรใกล้บริเวณนี้เลย เพราะเชื่อกันว่า ถ้าใครทำลบหลู่ หรือล่วงเกิน ก็มักจะเกิดเหตุเพศภัยเป็นอะไรไป ต่าง ๆ นา ๆ และจนถึงขั้นเสียชีวิต
อยู่มาวันหนึ่งมีคนร้าย ที่ก่อคดี หนีมาจากเมือง ภูเขียว ได้เข้าหลบซ่อนตัวอยู่ในเขต บริเวณป่าทึบแห่งนี้ เพราะเป็นป่ารกมีไม้ขึ้นปรกคลุมหนาทึบ และไม่มีคนเข้ามารบกวน ต่อมาเจ้าหน้าที่ปกครองในสมัยนั้น ชื่อ ขุนสาหร่าย ได้ออกตามจับคนร้ายหาอย่างไรก็หาไม่เจอเพราะคนร้ายก็มีวิชากำบังตน จนท่านมาถึง ณ ที่แห่งนี้ ก็มีสี่งลึกลับดลใจให้ท่าน ทราบว่าคนร้ายเข้ามาหลบซ่อนตัวอยู่ในเขต บริเวณป่าทึบแห่งนี้ ท่านขุนสาหร่ายจึงได้ตัดสินใจบุกเข้าไปจับคนร้ายในป่านี้ได้ ในที่สุด และในป่านี้นี่เอง ขุนสาหร่ายก็ได้พบกับแท่นบูชาและพระพุทธรูป สำริด2 องค์ แฝงองค์อยู่ในดงป่าอันหนาทึบและน่ากลัวนี้ พระพุทธรูปที่พบนี้ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 43.5 เซ็นติเมตร หน้าอกกว้าง 20 เซนติเมตร สูงจากฐาน 65 เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลาวสมัยล้านช้าง ส่วนแท่นบูชานั้น สลักมาจากหินทรายเป็นศิลปแบบขอม กว้าง 53 เซนติเมตร สูง 68 เซนติเมตร ยาวช่วงบน 90 เซนติเมตร ช่วงฐาน 108 เซ็นติเมตร ตั้งอยู่ตรงกลาง โดยมีใบเสมาล้อมรอบ ทั้ง 8 ทิศ

เมื่อพบดังนั้น ท่านเห็นว่านี่ คือสิ่งศักดิ์สิทธิ ที่ดลบันดาลให้ท่านทราบว่าคนร้ายหลบอยู่ในป่านี้ดังนั้น ท่านจึงชักชวนให้ ชาวบ้านเข้ามาบูรณะเพื่อจะได้เป็นที่กราบไหว้เคารพบูชาสืบไป ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจ มาบูรณะบริเวณนั้นให้เป็นลานกว้าง สมกับเป็นสถานที่ ที่ศักดิ์สิทธิ์ และได้เรียกบริเวณนั้นว่า ลานพระแท่นบัลลังก์ ซึ่งได้ ตั้งชื่อตามแท่นหินขนาดใหญ่ที่ค้นพบ โดยชาวบ้านเข้าใจว่านั่นคือแท่นบัลลังก์ และพากันขนานนาม พระพุทธรูปสำริดนั้นว่า”พระแท่นบัลลังก์” สำหรับหมู่บ้านแห่งนี้ก็ได้ตั้งชื่อว่า บ้านแท่นตามแท่นหินที่ค้นพบ หลังจากนั้นไม่นานชาวบ้านเห็นว่าพระพุทธรูป และแท่นบัลลังก์เป็นวัตถุที่เก่าแก่ล้ำค่า ควรค่าแก่การเคารพ และ หวงแหน ชาวบ้านจึง ปรึกษากันเห็นสมควร ขออันเชิญองค์พระแท่นพร้อมกับใบเสมาทั้ง 8 ใบ นำไปเก็บรักษาไว้ ที่ วัดโพธิ์กลาง หรือวัดบัลลังก์ ในปัจจุบัน แต่อยู่มาได้ไม่นานก็เกิดเหตุการณ์อาเพศต่าง ๆ ขึ้น มากมาย มีสัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง ลิงลม หมูป่า ไก่ป่าแตกตื่นวิ่งเข้ามาในหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก คนในหมู่บ้านและบ้านใกล้เรือนเคียง เกิดเจ็บป่วยล้มตายเนื่องจาก เกิดเป็นโรคระบาดอย่างรุนแรง เมื่อเกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นดังนั้น ชาวบ้านจึงได้นำความไปปรึกษากับพระครูถาวรศีรวัตร์ เจ้าอาวาสวัดบัวบาน บ้านบัวพักเกวียน ซึ่งเป็น เจ้าคณะอำเภอภูเขียวในสมัยนั้น

เมื่อท่านได้พิจารณาแล้ว ลงความเห็นว่า เหตุการณ์เลวร้ายต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นเพราะไปเคลื่อนย้ายพระแท่นและ ใบเสมา จึงแนะนำชาวบ้านให้พากันกลับไปแก้ไขไห้เป็นดังเดิมโดยด่วน เมื่อชาวบ้านทราบดังนั้นชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันอันเชิญพระแท่นและใบเสมากลับไปไว้ที่เดิม หลังจากนั้นไม่นานเหตุการณ์ต่างๆนานาจึงได้สงบลง อย่างน่าอัศจรรย์ และได้นำความอยู่เย็นเป็นสุข กลับคืนสู่ชาวบ้านดังเดิม ชาวบ้านเห็นว่าจะต้องเป็นเพราะบารมีความศักดิ์สิทธ์ของหลวงปู่พระแท่นอย่างแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนั้นเพื่อเป็นศิริมงคล และ นิมิตหมายอันดีแก่บ้านเมืองตลอดไป ชาวบ้าน จึงพร้อมใจกัน นำดอกไม้ ธูป เทียน ทองคำเปลว ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง น้ำอบ น้ำหอม เทียนเงิน เทียนทอง และผ้าไตร ไปกราบนมัสการ ต่อองค์พระแท่น และแท่นบัลลังก์

หลังจากนั้นเหตุกาลเลวร้ายต่างๆ ก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย ชาวบ้านถือว่าการปฏิบัติต่อ องค์หลวงปู่พระแท่นอย่างนี้นับว่า เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง จึงได้ถือเอาว่าเป็นประเพณีในการจัดงานนมัสการหลวงปู่พระแท่นเสมอมา โดยในงานจะทำพิธีกราบนมัสการพระแท่นบัลลังก์ มีการแสดงชาวบ้าน การแสดง ของมหรสพที่มาร่วมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งงานในช่วงแรกจะมีกำหนด 4 วัน 4 คืน คือ ตั้งแต่วันขึ้น 12 – 15 ค่ำของเดือน 5 แต่มาระยะหลังได้ลดวันจัดงานนมัสการพระแท่นลงเหลือเพียง 3 วัน 2 คืน คือขึ้น13 – 14- 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกๆปี จวบจนปัจจุบัน
ในสมัยก่อนงานนมัสการพระแท่น จะมีการกั้นฝาแผง ที่ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนนำมาบริจาค เพื่อนำมากั้นเป็นรั้วรอบบริเวณงาน เก็บค่าผ่านประตู ก่อนเข้าไปเที่ยวชมมหรสพในบริเวณงาน จนมาถึงปี พ.ศ. 2518 จึงเปิดให้มีการเข้าชมมหรสพฟรีตลอดงาน จนมาถึงปัจจุบัน ในช่วงงานนมัสการพระแท่นในสมัยก่อนยังมีการประกอบพิธีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การหว่านหินแห่(หินกรวด) โดยมีการปลุกเสกหินกรวด แล้วนำมาหว่านตามบ้านเรือน เพื่อขับไล่สี่งอัปมงคลต่างๆ แต่ในปัจจุบันได้เลิกพิธีนี้ไปแล้ว

อนึ่งหลังจากที่ชาวบ้านได้อัญเชิญพระแท่น และใบเสมา กลับมาประดิษฐานไว้ที่เดิมแล้ว ชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างศาลาคลุมไว้เป็นลักษณะศาลา 2 เสามุงหลังคา ธรรมดา ต่อมา นายพัฒน์ นิวาสานนท์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เดินทางมาหาเสียงที่บ้านแท่น ได้บริจาคเงินสร้างศาลาหลังใหม่ขึ้นเป็นจำนวนเงิน 800 บาท โดยให้ช่างก่อสร้าง คือ ประแดงมี ป้อมสุวรรณ นายบุ วงศ์สินไทย และนายล้วน เป็นคนก่อสร้าง
ปี 2501 นายพรมมา ประยูรคำ ให้ลูกหลานชาวบ้านแท่นที่ได้ไปเล่าเรียนทางศิลปะ มาจากกรุงเทพ คือ นายบัณฑิต ประดิษฐ์แท่น นายวสันต์ เขาเขียว จัดสร้างพระพุทธรูปเหมือนพระแท่นบัลลังก์ ทำด้วยคอนกรีตขนาด หน้าตัก กว้าง 21 นิ้ว หน้าอก กว้าง 15 นิ้ว สูง 31 นิ้ว ตั้งอยู่บนแท่น กว้าง 19 นิ้ว ยาว 31 นิ้ว สูง 23 นิ้ว เพื่อให้ลูกหลานกราบไหว้บูชาแทนพระพุทธรูปองค์จริงที่นำกลับไปเก็บรักษาไว้ที่วัดบัลลังก์
พ.ศ.2514 สมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ อาสโพธิ) ได้เดินทางมาเป็นพระประธานในพิธีเฉลิมฉลองตราตั้งวัดวิเชียรธรรมาราม แล้วได้แวะชมบริเวณลานพระแท่นบัลลังก์ ท่านเห็นมณฑปพระแท่นบัลลังก์ที่มุงด้วยสังกะสี ดูแล้วไม่สง่างามสมกับเป็น ศูนย์กลางจิตรใจของชาวอำเภอบ้านแท่น ท่านได้ขอให้นายอำเภอได้จัดหางบประมาณมาจัดสร้างมณฑปขึ้นใหม่ให้สมเกียรติ ก่วานี้

พ.ศ. 2515 นายเฉลิม จิวาลักษณ์ นายอำเภอบ้านแท่นในสมัยนั้นได้ชักชวน ชาวบ้าน จัดงานนมัสพระแท่นขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เพื่อหารายได้จากการเข้าชมบริเวณงาน รวมทั้งรับบริจาคเงิน มาก่อสร้างซุ้มมณฑปขึ้นเป็นแบบจตุรมุข โดยมีเรืออากาศเอก สุเทพ บริสุทธิ์ นาวาอากาศโท อาวุธ ประจำเมือง ลูกหลานชาวบ้านแท่น เป็นคนออกแบบก่อสร้าง และดำเนินการก่อสร้างโดยนายถวิล ลีใส นายทวี แผ่นทอง นายเสมอ เทือกเพีย นายบุญมี ผาดำ นายบัณฑิต ประดิษฐ์แท่น และ ในปีนี้เองท่านนายอำเภอ เฉลิม จิวาลักษณ์ได้ให้คณะครูสตรี ริเริ่มจัดทำต้นกัลปพฤกษ์ หรือสอยดาว จับรางวัล (เป็นกระดาษเขียนหมายเลขรางวัลม้วนแล้วแขวนไว้กับต้นไม้)เพื่อเป็นการหารายได้เพิ่มเติมขึ้นมาอีกทาง โดยมี นางประเทือง สมตัวเป็นหัวหน้า ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมคู่กับงานนมัสการพระแท่น และพัฒนามาเป็น จกไห มาตราบจนปัจจุบัน
ในปี 2516 มีการสมทบทุน สร้างศาลาเอนกประสงค์ ติดกับมณฑปขึ้น
ปี พ.ศ. 2517 พตต. สนั่น บุญปาน สร้างพระทองสัมริดถวาย ในมณฑปจึงมีพระพุทธรูป 2 องค์
ปี 2529 นายทรงชัย อินทรารักษ์ได้สร้างรั้วรอบมณฑปถวาย พระแท่นและในปี 2536 นายทรงชัย อินทรารักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรณ์ในสมัยนั้นได้จัดสรรงบประมาณมาเทลานคอนกรีตรอบมณฑปและบริเวณพื้นที่ไกล้เคียง

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ ทรงพล วรรณพงษ์ สมตัว


 
ราคาปัจจุบัน :     2,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    หนุ่มบ้านไกล (1.5K)

 

Copyright ©G-PRA.COM