(0)
***พระตรีมูรติ กรุงเทพหมานคร***








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง***พระตรีมูรติ กรุงเทพหมานคร***
รายละเอียด"พระตรีมูรติ"
มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งจักรวาล ประทานความสมหวังทุกประการ

"พระตรีมูรติ" นั้นเป็นถึงเทพเจ้าที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะมีศักดิ์สูงสุดในศาสนาพราหมณ์
เนื่องจากเป็นการรวมกันของมหาเทพที่ยิ่งใหญ่ถึง 3 พระองค์ด้วยกัน คือ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ
ลำพังมหาเทพทั้ง 3 นี้ แต่ละพระองค์ ก็ประทานพรแก่ผู้ทำความดีได้ ทุกประการ อยู่แล้ว
การที่ทั้ง 3 ท่านได้มารวมพระวรกายกันเป็นหนึ่งเดียว ก็ยิ่งมีอานุภาพประทานพรได้กว้างและลึกยิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจผิดพากันกล่าวกันว่า "พระตรีมูรติ" เป็นเพียงเทพเจ้าผู้ประทานความสมหวังในด้าน "ความรัก" เท่านั้นถือเป็นการไม่ให้เกียรติ และเป็นการลบหลู่ ดูถูกเทวานุภาพของ "พระตรีมูรติ" เลยทีเดียว แท้จริงแล้วพระองค์มีพลังมากมายกว่าที่หลายๆคนคาดคิด หากขอพรด้วยความตั้งมั่นและประพฤติตนเป็นคนดีแล้ว พระตรีมูรติ ผู้ยิ่งใหญ่ สามารถให้พรผู้ศรัทธาได้มากกว่าที่จะคาดถึงได้

พระผงรุ่นนี้เป็นพระผงสำคัญรุ่นหนึ่งของประเทศไทย ทางกทม.นำมวลสารจากการจัดสร้างวัตถุมงคล 90 พรรษาสมเด็จย่า, 60 พรรษาราชินี, 72 พรรษาในหลวง และ 72 พรรษาราชินี สร้างพระเสาชิงช้าร่วมกับมวลสารเสาชิงช้าทั้งเก่าและใหม่ โดยมีพระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศ จำนวน 81 รูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ ลานคนเมือง เดือนกรกฎาคมนี้

เมื่อเวลา 14.19 น. นายรัฐพล มีธนาถาวร รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเสาชิงช้าเพื่อขอพลีมวลสารนำมาจัดสร้างวัตถุมงคลในงานฉลองเสาชิงช้า โดยมีพระราชครูศิวาจารย์ ประกอบพิธีพราหมณ์บวงสรวง ณ โรงไม้ อู่บกพหลโยธิน จ.พระนครศรีอยุธยา

นายรัฐพล กล่าวว่า ตามที่ กทม.ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้าอันเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติจนแล้วเสร็จ และเตรียมการจัดงานฉลองเสาชิงช้าอย่างเป็นทางการ คณะกรรมการอำนวยการบูรณะเสาชิงช้า ได้มีมติให้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกในงานฉลองเสาชิงช้าใหม่ คือ “พระเสาชิงช้า” เพื่อให้ประชาชนเช่าไว้บูชา โดยจัดทำใน 2 รูปแบบ แบบแรก ด้านหน้าเป็น “พระศรีศากยมุนี” ด้านหลังเป็นรูปเสาชิงช้าและพระวิหารวัดสุทัศนฯ มี 3 แบบพิมพ์ คือ ทรงสี่เหลี่ยม วงกลม และรูปไข่ ส่วนแบบที่ 2 ด้านหน้าเป็น “พระตรีมูรติ” ด้านหลังเป็นรูปเสาชิงช้าและพระวิหารวัดสุทัศนฯ

ทั้งนี้ เหตุที่ใช้รูปพระศรีศากยมุนีในการจัดสร้างวัตถุมงคล เนื่องจากพระศรีศากยมุนีถือเป็นพระประจำ กทม. ซึ่งรัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมายาวนาน ปัจจุบันเป็นพระประธานที่ประดิษฐานอยู่อุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ส่วนการจัดสร้างพระตรีมูรตินั้นเหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ผู้คนมีความคิดแปลกแยกหลากหลาย

บ้านเมืองต้องการความรักความสมานฉันท์ พระตรีมูรติจึงเป็นการรวมตัวกันของพลังทั้งสามที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดไว้ในรูปหรือร่างเดียวกัน เชื่อกันว่าพระตรีมูรติจะเสด็จจากสวรรค์มายังโลกมนุษย์ในวันอังคารและวันพฤหัส เพื่อทรงรับฟังคำสวดภาวนาและการขอพรจากผู้ที่สักการะ ปัจจุบันพระตรีมูรติเป็นที่นิยมบูชาในหมู่หนุ่มสาวในฐานะเทพแห่งความรัก

นายรัฐพล กล่าวอีกว่า และเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของพระเสาชิงช้าซึ่งเป็นพระผง จึงกำหนดให้นำมวลสารที่สำคัญในการจัดสร้างประกอบด้วย มูลสารของเนื้อไม้เสาชิงช้าทั้งเก่าและใหม่ที่บดละเอียด นำมาเป็นส่วนผสมหลัก มวลสารจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 9 วัด และมวลสารจากการจัดสร้างวัตถุมงคลในวโรกาสที่สำคัญ ได้แก่ 90 พรรษาสมเด็จย่า, 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ, 72 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ 72 พรรษาพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ โดยพระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศ จำนวน 81 รูป จะร่วมปลุกเสก ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2550 ณ ลานคนเมือง เสาชิงช้า


เป็นพระผงและเครื่องรางแห่งความสมหวังทุกประการครับ บูชาแล้วจะมีรักมั่นคงสมบูรณ์พูนสุข องค์นี้เป็นพระตรีมูรติ เนื้อแดง เนื้อเสาชิงช้าเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1 ที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกมาโดยตลอด นำมาผสมกับมวลสารมงคลมากมาย เป็นพระผงเนื้อดีอีกรุ่นหนึ่งครับ ขนาองค์พระเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 เซนติเมตรครับ

ปล.ปิดประมูลต่ำกว่า 500 บาทจัดส่งแบบ ปณ ลงทะเบียนธรรมดานะครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน130 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ30 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ก.พ. 2567 - 20:29:49 น.
วันปิดประมูล - 27 ก.พ. 2567 - 23:43:35 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลraimon (8.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 ก.พ. 2567 - 20:30:13 น.



ด้านหลังกล่องครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     130 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     30 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ตั้มฟิวเจอร์ (2.2K)

 

Copyright ©G-PRA.COM