(0)
ท้าวเวสสุวรรณ วัดมิ่งเมือง เนื้อผงว่าน ปี 2514 จ.น่าน เนื้อผงไม้สักทองหลักเมืองจังหวัดน่านผสมว่าน







ชื่อพระเครื่องท้าวเวสสุวรรณ วัดมิ่งเมือง เนื้อผงว่าน ปี 2514 จ.น่าน เนื้อผงไม้สักทองหลักเมืองจังหวัดน่านผสมว่าน
รายละเอียดเสาพระหลักเมืองน่านสร้างจากไม้สักทอง โดยมีการตัดเฉพาะส่วนกลาง
ของลำต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร ลักษณะเริ่มแรกเป็นเสาทรงกลมหัวเสาเป็นดอกบัวตูม สร้างโดยเจ้าอัตถวรป๎ญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 57 ต่อมามีการบูรณะปฏิสังขรณ์เสาพระหลักเมืองน่านจากดอกบัวตูมกลายเป็นพระพรหม 4 หน้า ฐานเป็นปูนรูปบัวคว่ำบัวหงายกลีบใหญ่ลายปูนป๎้นและมีการลงรักปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในเทวสถานจัตุรมุข ณ วัดมิ่ง
เมือง โดยการนำของหลวงปูุโง่น โสรโย วัดพระบาทเขารวก จังหวัดพิจิตร ลักษณะเฉพาะของเสาพระหลักเมืองน่านนั้น มีความแตกต่างจากเสาหลักเมืองที่อื่นคือ ยอดเป็นรูปพระพรหม 4 หน้า หมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยมีการน าหลักทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว
จิตใจของคนเมืองน่าน

สืบค้นได้ว่า พระเครื่องรางชุดนี้สร้างโดย หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ปลุกเสกโดยหลวงพ่อวัดดอนตัน หลวงพ่อวัดศรีบุญเรือง หลวงปู่ก๋ง และหลวงปู่โง่น พร้อมด้วยพระคณาจารย์เมืองน่านสมัยนั้น นับเป็นของดีเมืองน่านที่น่าบูชาพกพาติดตัว

มีการบันทึกเอาไว้ว่า ในปีพุทธศักราช 2514 ท่าน ดร.สุกิจ จุลละนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ในขณะนั้น ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวน่านร่วมกันสร้างเสาหลักเมืองน่าน และสร้างศาลไทยจัตุรมุขครอบเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ ตามคำแนะนำของหลวงปู่โง่น โดยได้นำเอาเสาหลักเมืองน่านต้นเดิมที่โค่นล้มลงมาเกลาแต่งใหม่และสลักหัวเสาเป็นพระพรหมสี่หน้า

ซึ่งปฐมเหตุ เกิดจากหลวงปู่โง่น ท่านได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดมิ่งเมือง ปรากฏว่าท่านได้สังเกตเห็น “เสาหลักเมืองเดิม” ที่หักโค่นผุพัง แล้วมีคนนำไปพิงไว้ที่กุฏิ หลวงปู่โง่นจึงนำมาพิจารณาดูเปลือกไม้ด้านนอกผุกร่อนแต่เนื้อไม้ข้างในยังดีอยู่จึงให้คนนำไม้ไปเกลาเสียใหม่แล้วแกะเป็นพรหมสี่หน้าแล้วประสานงานกับทางจังหวัด จึงเป็นที่มาของการสร้างเสาหลักเมืองน่านดังกล่าว

ส่วน “เศษไม้เสาหลักเมืองเก่า” ที่ผ่านการเกลา หลวงปู่โง่นมีความคิดเห็นว่า “เป็นของดีของศักดิ์สิทธิ์ไม่ควรทิ้ง” จึงให้ลูกศิษย์นำไปบดและแกะพิมพ์พระมาโดยมีพิมพ์พระเจ้าทองทิพย์, พิมพ์ท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งมวลสารสำคัญในการกดพิมพ์พระ นอกเหนือจากส่วนผสมที่เป็นว่านต่างๆ ก็คือ เนื้อไม้เสาหลักเมืองน่านที่นำไปบดนั่นเอง

ครั้นเมื่อถึงงานสมโภชเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน หลวงปู่โง่นก็นำพระผงเนื้อว่านพิมพ์รูปท่านท้าวเวสสุวัณขึ้นถวาย ‘สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี’ ให้ทรงบรรจุไว้ใต้เสาหลักเมือง เหลือนอกจากนั้นก็แจกให้ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป


โดยเฉพาะทหารที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม รับแล้วไปรบกับผู้ก่อการร้าย ในพื้นที่ห้วยโกร๋นชายแดนไทย-ลาว และที่สมรภูมิเขาค้อ นอกจากฝีมือแล้วก็ยังเป็นเพราะมีกำลังใจส่วนหนึ่งจากท้าวเวสสุวรรณของหลวงปู่โง่น ในคราวนั้นหลวงปู่โง่น ท่านเมตตากล่าวรับรองกับศิษย์ว่า ผู้ใดก็ตามที่พกท้าวเวสสุวรรณของท่านย่อมรอดพ้นจากภัยพิบัติอันตรายทั้งปวง ไม่ว่าจะ คุณไสย คุณคน หรือคุณผี ก็ป้องกันได้ทั้งหมด

ท้าวเวสสุวรรณ วัดมิ่งเมือง ที่ท่านได้เห็นอยู่นี้ พระเครื่องชุดนี้มีพุทธคุณดีทางแคล้วคลาดปลอดภัย กันคุณไสย เป็นท้าวเวสสุวรรณที่น่าบูชาพกพาติดตัว วันก่อนผมมีโอกาสได้ส่องของน้องแมนน่าน พุทธคุณ ส่องดูแล้วเนื้อสวยเข้มจัดจ้านดีแท้ เพราะว่าหลอมรวมด้วยมวลสารสารพัดว่านผสมกับผงไม้หลักเมืองน่านเก่าขลัง ยิ่งได้รับรู้ที่มาว่า รุ่นนี้สร้างแจกทหาร-ตำรวจ ที่สู้รบกับ ผกค. ในสมรภูมิห้วยโกร๋น ชายแดนไทย-ลาวและในสมรภูมิเขาค้อ ยิ่งต้องบอกว่า ประสบการณ์ข้นคลั่ก !

เรียกว่า เป็นพระเครื่องรางสายเหนียวเมืองเหนือที่หากันให้ควั่กจริงๆ ครับ!! ราคาแรงดีไม่มีตก อย่าลืมว่าอะไรที่เกี่ยวข้องกับหลักเมืองมักไม่ธรรมดา ดูอย่างพระผงสุริยันจันทรา จตุคามรามเทพ ปี 2530 ที่ผสมผงจากไม้หลักเมืองนครศรีธรรมราช... เดี๋ยวนี้มีเงินก็ใช่ว่าจะหาเช่าได้ !? เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามท้าวเวสวุวรรณ ผงหลักเมืองน่าน วัดมิ่งเมืองเป็นอันขาด !! เพราะอย่าลืมสิว่า หลวงปู่โงน ท่านคือ อาจารย์ใหญ่ของครูบาบุญชุ่มตัวจริงเสียงจริง วิชาพุทธาคมสายเหนือโลกของท่านไม่ธรรมดานะจะบอกให้ซึ้ง !!!
ราคาเปิดประมูล150 บาท
ราคาปัจจุบัน2,950 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 04 ก.พ. 2567 - 18:51:47 น.
วันปิดประมูล - 05 ก.พ. 2567 - 18:57:28 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลทนายหลวง (1.7K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Numnaglab (526)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM