(0)
สมเด็จนางพญา สก พิมพ์ ใหญ่ ปี 2519 (รุ่นฟ้าผ่า หลวงปู่โต๊ะปลุกเสก 7 วัน) กล่องเดิม..เตาะเดียว








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จนางพญา สก พิมพ์ ใหญ่ ปี 2519 (รุ่นฟ้าผ่า หลวงปู่โต๊ะปลุกเสก 7 วัน) กล่องเดิม..เตาะเดียว
รายละเอียดรับประกันแท้และความพึงพอใจตามกฎเว็ปจีพระทุกประการ
***พระสมัยพ่อสะสมได้เท่าไหนเอาเท่านั้นครับผม***
พระเก่าเก็บบนหิ้งของที่บ้าน กล่องเดิมไม่ผ่านการใช้งาน รับประกันตามกฏครับ

สมาชิกผู้ชนะประมูล หลังโอนเงินแล้ว รบกวนแจ้งวันเวลาที่โอนเงิน ในmailboxด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ

เมื่อ พ.ศ. 2518 วัดบวรนิเวศวิหารรื้อกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถทั้งของวัดบวรฯ เอง และของคณะรังษี (ซึ่งเดิมก็คือวัดบวรรังษี หากภายหลังได้ยุบรวมมาเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร) แล้วนำกระเบื้องลงมากองไว้ วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธี ที่วัดบวรฯ ทอดพระเนตรเห็นกระเบื้องเก่าอายุนับร้อยปี ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาเนิ่นนาน อบอวนด้วยกระแสพุทธมนต์ที่พระภิกษุทำวัตรเช้า-เย็น ซึมซับพิธีพุทธาภิเษกมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันพิธี ที่สำคัญ คือพระองค์ก็ทรงผนวชภายใต้ร่มเงาของกระเบื้องชุดนี้ก่อนที่จะถูกรื้อลงมา จึงมีพระราชดำรัสว่า “กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง 3 พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”

ด้วยพระราชดำรัสนี้เอง ทำให้คณะพระภิกษุและกรรมการวัดบวรฯ จึงได้คิดสร้างพระผงสมเด็จนางพญาขึ้นรับสนองเสมือนหนึ่งเป็นพระบรมราชโองการ แล้วดำเนินการจัดสร้างทันที ด้วยการนำผงพระราชทานและผงศักดิ์สิทธิ์ 199 ชนิด มาผสมกับกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถดังกล่าว และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธย “ส.ก.” มาประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก.

ได้ทราบจากคนเก่าแก่ ในวัดมกุฏกษัตริยารามว่า เมื่อสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก.สำเร็จทั้ง 2 พิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีพุทธา ภิเษก เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วมีพระราชดำริว่าควรจะมีพระเครื่องอีก พิมพ์หนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบพิมพ์พระสมเด็จอุณาโลมพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ให้นำไปจัดสร้างเพิ่มเติม คณะกรรมการจึงได้นำมวลสารส่วนที่เหลืออยู่ผสมเข้ากับผงกระเบื้องหลังคาพระ อุโบสถทั้งสองของวัดบวรฯ สร้างเป็นพระสมเด็จอุณาโลมขึ้น

#พิธีพุทธาภิเษก....

เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯ เมื่อวันที่ 5-11 ก.ค. 2519

รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสกและเจริญพุทธมนต์พระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตลดา - นางพญา สก. 2519

1. วันจันทร์ 5 ก.ค. 2519 เวลา 17.00 น.

พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ

2. พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

4. หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา

5. พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย

6. พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย

7. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี

พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป

1. สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม

2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา

3. สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ

4. พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ

5. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม

6. พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม

7. พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ

8. พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม

9. พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์

10. พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม

2. วันอังคาร 6 ก.ค. 2519

พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี

3. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร

4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย

5. หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด

6. พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี

7. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

3. วันพุธ 7 ก.ค. 2519

พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร

3. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย

5. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์

6. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด

7. หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ

8. หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี

9. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต

10. หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด

4. วันพฤหัสบดี 8 ก.ค. 2519

พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

3. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด

4. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต

5. พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์

6. หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี

7. หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช

8. หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย

9. พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย

5. วันศุกร์ 9 ก.ค. 2519

พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

3. หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา

4. หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ

5. หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ

6. พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี

7. หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี

6. วันเสาร์ 10 ก.ค. 2519

พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ

2. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

3. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม

4. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

5. หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

6. หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง

7. หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

7. วันอาทิตย์ 11 ก.ค. 2519

#พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

ตอนกลางวัน (เวลา 13.00 - 1600 น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม. นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว 4 ชั่วโมงเต็ม

ตอนค่ำ 1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ

2. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

3. หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

4. พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.

5. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี

6. หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.

7. พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กท

ในวันที่ 12 ก.ค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมและสุหร่าย สมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรฯ

รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป

1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม

2. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส

3. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ

4. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ

5. พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์

6. พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ

7. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม

8. พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม

9. พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส

10 พระเทพกวี วัดบวรฯ

**เสกพิธีแรก 7 วัน 7 คืน หลวงปู่โต๊ะมาทุกวันเสกเต็มที่ทุกวัน เห็นว่าท่านเมตตานั่งปรกให้วันละประมาณ 4 ชั่วโมง 4 ชม. ดังว่านั้นท่านนั่งรวดเดียว

**ตำนานสมเด็จนางพญา สก. ชื่อรุ่นฟ้าผ่า

เล่าสู่กันฟังครับ...พระนางพญา สก. ปี 2519
นั้นมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า นางพญา สก.รุ่นฟ้าผ่า
เหตุมาจากเคยมีบรรณาธิการข่าวต่างประเทศหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งถูกฟ้าผ่าตรงๆลงมาที่ตัวพอดี สร้อยที่ห้อยพระหลอมละลาย แต่เค้านั้นรอดตายดังปาฏิหาริย์ ช่วงนั้นเป็นข่าวโด่งดังมาก จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่นฟ้าผ่า นอกจากนี้มีประสบการณ์สูงมาก โดยเฉพาะด้านโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง นอกจากนั้นยังมีคนถูกรถยนต์ชนแต่ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด..
ราคาเปิดประมูล180 บาท
ราคาปัจจุบัน200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ม.ค. 2567 - 12:02:09 น.
วันปิดประมูล - 13 ม.ค. 2567 - 19:56:25 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลoldamulet (1.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    แก้วจอมขวัญ (761)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM