(0)
พระบูชา (ภปร.) รุ่นแรกวัดบวร หน้าตัก5นิ้ว พิมพ์นิยม (บล๊อคหนังไก่) ปี2508 + บัตรรับรอง G-PRA







ชื่อพระเครื่องพระบูชา (ภปร.) รุ่นแรกวัดบวร หน้าตัก5นิ้ว พิมพ์นิยม (บล๊อคหนังไก่) ปี2508 + บัตรรับรอง G-PRA
รายละเอียดพระบูชา (ภปร.) รุ่นแรกวัดบวร หน้าตัก5นิ้ว พิมพ์นิยม (บล๊อคหนังไก่) ปี2508 + บัตรรับรอง GPRA (หมายเลของค์พระ15935)

“ พระคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ” พระบูชาที่ทุกบ้านควรมีติดไว้บูชาครับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.9) และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อม พระบรมโอรสาธิราช(ร.10) เสด็จเททองหล่อ และ ทรงเป็นประธานในพิธีในโบสถ วัดบวรนิเวศวรวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508

พระบูชา ภปร. ปี 2508 รุ่นแรก พิมพ์หนังไก่
หน้าตัก 5นิ้ว วัดบวรนิเวศวิหารสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรทรงอธิฐานจิตปลุกเสก ด้วยพระองค์เองพร้อมทั้งพระเกจิสมัยนั้นๆ ในหลวงรัชกาลที่9ทรงเททอง

วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ในครั้งนี้
1.พระพุทธรูป ภปร.ขนาด 9 นิ้วรมดำ
2.พระพุทธรูป ภปร.ขนาด 5 นิ้วรมดำ
3.พระกริ่ง ภปร.สัมฤทธิ์ รมดำ

ปรากฏว่ามีผู้สั่งจองกันอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ
ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว มีผู้สั่งจองจำนวน 4,247 องค์
ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว มีผู้สั่งจองจำนวน 21,449 องค์
รวมแล้ว 25,696 องค์)

พระบูชาภ.ป.ร เป็นพระบูชาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมอบหมายให้ นาย ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายช่างศิลป กรมศิลปากร เป็นผู้ปั้นหุ่นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยปางประทานพรที่มีความวิจิตรงดงามขึ้น โดยทรงควบคุมการปั้นหุ่นให้อยู่ในพระบรมาชวินิจฉัยโดยตลอด และพระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาติให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร ประดับไว้บนผ้าทิพย์ด้านหน้าพระพุทธบัลลังก์ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานภาษิต สำหรับจารึกไว้ที่ฐานด้านหน้า เพื่อความเป็นสัญญลักษณ์ของชาติว่า " คนชาติไทยจะรักษาความเป็นไทอยู่ได้ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี " และในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินีนาถ ได้เสด็จพระพระราชดำเนินมาเททองหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ฉะนั้นพระบูชาภ.ป.ร จึงถือได้ว่ามีสัญญลักษณ์ ของ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ครบบริบูรณ์ พระพุทธรูปนี้จึงมีคุณค่าทั้งด้านปฏิมากรรม ด้านประวัติศาสตร์ และ ด้านคุณธรรมแห่งจิตใจอย่างสูงสุด เหมาะสำหรับบูชาเป็นพระประธานประจำบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต และ ครอบครัว
**ประวัติพระพุทธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2508 พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ เดิมคณะกรรมการจะจัดสร้างตามแบบพระพุทธรูป ภ.ป.ร. รุ่น พระกฐินต้น วัดเทวสังฆาราม ทุกประการ แต่เมื่อคณะกรรมการได้นำพระพุทธรูป ที่ออกแบบสร้างแล้วขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ทรงพระมหากรุณาธิคุณฯ แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบให้ถูกต้องเหมาะสมกับพระพุทธลักษณะยิ่งขึ้น ด้วยพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์เอง พระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย แก้ไขพุทธลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงไปทางพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังได้พระราชทานภาษิต สำหรับจารึกไว้ที่ฐานด้านหน้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาติว่า ทยฺยชาติยา สามคฺคิย สติสญฺชานเนน โภชิสิย รกฺขนฺติ แปลว่า คนชาติไทย จะรักษาความเป็นไท อยู่ได้ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี ส่วนที่ฐานด้านหลังจารึกใจความว่า เสด็จพระราชดำเนินในพิธีหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 โดยมอบหมายให้ศาสตราจารย์ ไทฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายช่างศิลป์กรมศิลปากร ปั้นหุ่นขึ้นใหม่ ได้ทรงควบคุมการปั้นหุ่น ให้อยู่ในพระบรมราชวินิจฉัยโดยตลอด
ฉะนั้น พระพุทธรูป ภ.ป.ร. รุ่นนี้ จึงสมบูรณ์แบบครบถ้วน รวมเอาสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เข้าไว้ด้วยกันอย่างบริบูรณ์ มีคุณค่าทั้งทางศิลปะประติมากรรม ประวัติศาสตร์ และคุณค่าแห่งจิตใจ
พิธีกรรม
การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ครั้งนี้เป็นเวลา 3 วันโดยในหนังสือ จาตุรงคมงคล ของวัดบวรนิเวศ ได้บันทึกพิธีกรรมไว้ว่า

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เวลา 16.20 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเข้าสูพระอุโบสถ ทรงประเคนผ้าไตรแด่ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ พร้อมพระสงฆ์ที่มาในพิธีพุทธาภิเษกทั้งหมดแล้ว เฉพาะสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 10 รูป ที่เจริญพุทธมนต์ออกไปครองผ้า แล้วกลับมานั่งยังอาสนะพร้อมแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะประธานพระสงฆ์ถวายศีลจบ พระราชครูวามเทพมุนีถวายน้ำเทพมนต์แล้วพระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และลงคาถาในแผ่นโลหะที่จะผสมหล่อพระพุทธรูปจบแล้ว
ได้เวลาพระฤกษ์ (17.16 – 17.41 น.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนทอง ทรงตั้งสัตยธิษฐาน ถวายเทียนทองนั้นแต่สมเด็จพระราชาคณะผู้เป็นประประธานสงฆ์จุดเทียนชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตรบัณเฑาะว์และดุริยางค์ พระสงฆ์เจริญคารา จุดเทียนชัยจบแล้วถวายอนุโมธนาถวายดิเรก (ไม่ออกจากพระอุโบสถ คงนั่งอยู่ตามเดิม) เจ้าพนักงานนิมนต์พระราชาคณะที่นั่งปรกขึ้นนั่งยังอาสนะหน้าตู้เทียนชัย และพรสงฆ์ที่จะสวดภาณวารขึ้นนั่นยังเตียงมณฑล พร้อมแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชาธรรมที่มณฑลพระสวดภาณวาร เสด็จพระราชดำเนินกลับ พระสงฆ์สวดภาณวารต่อไปคณาจารย์นั่งปรกทำการปลุกเสกโลหะต่าง ๆ ตลอดคืน พระราชครูวามเทพมุนีประกอบพิธีบูชากุมภ์ประพรมน้ำเทพมนต์ปลุกเสกโลหะต่าง ๆ

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้เสด็จฯ พระภาวนาจารย์และพระเกจิอาจารย์ หมุนเวียนกันนั่งปลุกเสกโลหะ ที่จะใช้หล่อพระ และถ่ายรูปพร้อมกันเป็นที่ระลึก โดยมีพิธีปลุกเสกตลอดคืนเช่นกันกับวันแรก

วันอาทิตย่ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯไปยังปะรำพิธีมณฑลหน้าตึกมนุษย์นาควิทยาทาน โรงเรียนวัดบวรนิเวศฯ ทรงจุดธูปเทียนสักการบูชาพระรัตนตรับเสร็จแล้ว จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประธานการสร้าง อ่านรายงานกราบบังคมทูลการสร้างพระพุทธรูป – พระกริ่ง ภ.ป.ร.
จากนั้นได้เวลาพระฤกษ์ 16 นาฬิกา 13 นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯไปยังเบ้าหล่อพระแล้วทรงหย่อนทองสำหรับหล่อพระพุทธรูป มีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ในเตาแรกไปจนครบ 32 เตา พระสงฆ์ในวิหารและกับพระคณาจารย์ที่นั่งอยู่รอบพิธีมณฑลทั้ง 8 ทิศ เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานประโคมฆ้องชัยสังข์แตรดุริยางค์ พระราชครูวามเทพมุนีรดน้ำสังข์ที่เบ้าภายหลังหล่อพระทุกเบ้าตามลำดับ เสร็จแล้วเสด็จฯไปประกอบพิธียังพระเจดีย์หลังพระอุโบสถ พระพุทธชินสีห์ต่อไป

วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. วัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ. 2508 เพื่อนำรายได้ได้ทูลเกล้าฯถวายเพื่อบูรณะพระอุโบสถวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่กับพระพุทธชินราช และเป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ประทับขณะทรงผนวช ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดเทวสังฆาราม การญจนบุรี อันเป็นพระอารามที่เริ่มดำริสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ส่วนหนึ่งพระราชทานแด่องค์การสาธารณกุศลตามพระราชอัธาศัย
ปรากฏว่ามีผู้สั่งจองกันอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ที่โด่งดัง คือ ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว มีผู้สั่งจอง 4,247 องค์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว มีผู้สั่งจองถึง 21,449 องค์ รวมแล้วเป็นจำนวนถึง 25,696 องค์ นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปบูชาครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้าง คือ นำรายได้ทูลเกล้าฯถวายเพื่อบูรณะพระอุโบสถวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่กับพระพุทธชินราช และเป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ประทับขณะทรงผนวช ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี อันเป็นพระอารามที่เริ่มดำริสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ส่วนหนึ่งพระราชทานแด่องค์การสาธารณกุศลตามพระราชอัธยาศัย
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน28,900 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ต.ค. 2566 - 01:53:06 น.
วันปิดประมูล - 22 ต.ค. 2566 - 14:45:37 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmidori (5.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 15 ต.ค. 2566 - 01:53:59 น.



พระบูชา (ภปร.) รุ่นแรกวัดบวร หน้าตัก5นิ้ว (บล๊อคหนังไก่) พิมพ์นิยม
ตรงรุ่น ตรงปี2508 + บัตรรับรอง GPRA (หมายเลขประจำองค์พระ15935)


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 15 ต.ค. 2566 - 01:54:18 น.



พระบูชา (ภปร.) รุ่นแรกวัดบวร หน้าตัก5นิ้ว พิมพ์นิยม (บล๊อคหนังไก่) ปี2508 + บัตรรับรอง GPRA


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 15 ต.ค. 2566 - 01:54:35 น.



พระบูชา (ภปร.) รุ่นแรกวัดบวร หน้าตัก5นิ้ว (บล๊อคหนังไก่) พิมพ์นิยม ตรงรุ่น ตรงปี2508 + บัตรรับรอง G-PRA (หมายเลของค์พระ15935)


 
ราคาปัจจุบัน :     28,900 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    bestboy (848)

 

Copyright ©G-PRA.COM