(0)
พระพุทธชินราช รุ่นพระมาลาเบี่ยง จัดสร้างเมื่อปี 2520 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ร่วมเสก






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธชินราช รุ่นพระมาลาเบี่ยง จัดสร้างเมื่อปี 2520 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ร่วมเสก
รายละเอียดเคาะเดียว
จัดเป็นของดีราคาไม่แรง เนื่องจากเป็นพระร่วมพิธีพุทธาภิเษก พิธีเดียวกันกับ รูปจำลองพระพุทธชินราช ขนาดบูชา พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และ เหรียญรูปทรงพระมาลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปแจกจ่ายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และบรรดาอาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่มีอยู่ทั่วแผ่นดินไทยในยุคนั้น และอีกส่วนหนึ่งสำหรับให้ประชาชนทั่วไปเช่าบูชากัน

สืบเนื่องจากพระราชรัตนมุนี (ทองปลิง โสรโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก และเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ร่วมกับข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร และประชาชน ดำริที่จะมีการจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อจัดหาทุนหล่อพระพุทธชินราช ขนาดใหญ่ หน้าตัก 29 นิ้ว จำนวนประมาณถึง 120 องค์ แจกจ่ายให้วัดในท้องถิ่นห่างไกล โดยมีช่างหล่อพระพุทธชินราชระดับตำนานอย่าง “ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ “ แห่งโรงหล่อพระบูรณะไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้ปั้นหุ่นจากนั้นจึงได้มีการดำเนินงานประกอบพิธีเททองหล่อพระก่อนในปี 2519 โดยพระธรรมราชานุวัตร วัดสุวรรณาราม เป็นประธานสงฆ์ พระครูประสาทธรรมวัตร หรือหลวงตาละมัย (แจ่ม) วัดอรัญญิก เป็นเจ้าพิธี และพระครูประภาสธรรมาภรณ์ หรือหลวงพ่อลำยอง (หลวงพ่อแขก) เป็นผู้ช่วยเจ้าพิธี มี หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี ครูบาสายทอง วัดท่าไม้แดง ตาก หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน พิจิตร หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง สุโขทัย หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ชลบุรี ฯ ร่วมนั่งปรกขณะเททอง ซึ่งถือได้ว่าวัตถุมงคลชุด"พระมาลาเบี่ยง"นี้ ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกเป็นครั้งแรก

ส่วนพิธีมหาพุทธาภิเษกในครั้งหลังนั้น ถือมงคลฤกษ์ในวันยุทธหัตถี ในวันที่25 มกราคม พ.ศ 2520 เป็นวันประกอบพิธี ณ พระวิหารพระพุทธชินราช พิษณุโลก ซึงในพิธีครั้งหลังนี้มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นเข้าร่วมพิธีมากมายถึง 125 รูป อาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร, หลวงพ่อวัดเกตุมฯ สมุทรสาคร, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม ฯ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันร่วมในพิธีพุทธาภิเษกตลอดวันตลอดคืน

พระผงรุ่นนี้มีจำนวน 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ซุ้มชินราช พิมพ์สี่เหลี่ยมใหญ่ และพิมพ์เล็กตัดชิด หรือพิมพ์สามเหลี่ยม ด้านหลังของทุกพิมพ์ด้านบนเป็นรูปอกเลาประจำองค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช ส่วนด้านล่างเป็นรูปพระมาลาเบี่ยง ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วางสถิตย์เหนือพานพระศรี นอกเหนือจากตราสัญญลักษณ์ดังกล่าวแล้วเฉพาะพิมพ์ซุ้มชินราช จะมีอักขระขอม หัวใจธาตุ 4 อ่านได้ความว่า นะ มะ พะ ทะ อยู่อีกด้วย ส่วนหมายเลขกำกับองค์พระมักจะใช้หมึกปั๊มตรายางประทับ ตามส่วนต่าง ๆ มีทั้งด้านหน้า และใต้ฐานก็พบ
ราคาเปิดประมูล230 บาท
ราคาปัจจุบัน250 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 18 ก.ย. 2566 - 16:45:15 น.
วันปิดประมูล - 19 ก.ย. 2566 - 22:49:07 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลlastman (8.5K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     250 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    somsanook3838 (1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM