(0)
สมเด็จนางพญาจิตรลดา หลัง สก. ออกโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2535 พิมพ์เล็ก เนื้อโลหะผสม แก่เงิน กล่องเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จนางพญาจิตรลดา หลัง สก. ออกโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2535 พิมพ์เล็ก เนื้อโลหะผสม แก่เงิน กล่องเดิม
รายละเอียดเหรียญสมเด็จนางพญาจิตรลดา สก. เริ่มหายากแล้วครับ มวลสารและพิธีก็สุดยอดแห่งการสร้าง พ.ศ. 2535 ในหลวงทรงเสด็จเททองด้วย สร้างในมงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบสมเด็จพระราชินีนาถ จัดสร้างตามแบบพิธีโบราณ จำนวน 15 ครั้ง สุดยอดของสุดยอดครับ
ประวัติการจัดสร้าง :สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดสร้างขึ้น เนื่องในมหามงคลวโรกาส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535
พระสมเด็จนางพญาจิตรลดา จัดสร้างเป็นพระเครื่องเนื้อทองคำและเนื้อโลหะผสม ลักษณะพระสมเด็จนางพญาจิตรลดานี้ จะมีลักษณะทรวดทรงคล้ายพระนางพญาพิษณุโลก และพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ เน้นความงดงามของพระวรกาย และเส้นลวดลายในองค์พระ
การจัดสร้างมีเนื้อทองคำหนักหนึ่งบาท หนักสองสลึงและหนักหนึ่งสลึง อย่างละ 6,999 องค์ เนื้อโลหะผสมขนาดใหญ่และเล็ก จำนวน 200,000 องค์
พิธีลงทอง จารแผ่นยันต์และพุทธาภิเษกแผ่นยันต์เมื่อ พุธที่ 8 ม.ค.2535 ณ อุโบสถวัดนางพญา พิษณุโลก พระคณาจารย์ร่วมแผ่เมตตาจิตนั่งปรกบริกรรมรวม 97 รูป
สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างได้มาจากการลงแผ่นยันต์ ทอง นาก เงิน ทองแดง อย่างละ 108 แผ่น รวมทั้ง นะปถะมัง ดวงประสูติและดวงตรัสรู้ และนำแผ่นยันต์ที่ ถวายแก่พระคณาจารย์รวม 73 จังหวัดๆละ 9 วัด รวม 5,913 แผ่น นอกจากนี้ยังมีชนวนทองคำและชนวนนวโลหะของพระสมเด็จย่า90 พรรษาเมื่อปี 2533 มาร่วมด้วย หลังจากพิธีพุทธาภิเษกแล้วคณะกรรมการได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงพระสุหร่าย และอธิษฐานจิตแล้ว จะนำไปหล่อหลอมต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯทรงเททอง ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2535 เวลาฤกษ์ 15.59น.ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองคำและเงินอย่างละ 6 แผ่นร่วมในการสร้างพระดังนี้ฯลฯ
"เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุ ประสงค์ คณะกรรมการดำเนินโครงการ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธคุณ พร้อมทั้งงดงามสมบูรณ์ตามยุคสมัย โดยได้กำหนดให้มีพิธีพุทธาภิเษกมวลสารชนวนโลหะที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคล พิธีเททองและพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง"
พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทองและจารแผ่นพระยันต์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญ 15 วัด รวม 16 ครั้ง
เริ่มต้นครั้งที่ 1 ณ พระอุโบสถวัดชนะสงคราม
ครั้งที่ 2 วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ครั้งที่ 3 วัดใหญ่ชัยมงคล
ครั้งที่ 4 วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ครั้งที่ 5 วัดมังกรกมลาวาส
ครั้งที่ 6 วัดบวรนิเวศวิหาร
ครั้งที่ 7 วัดสุทัศนเทพวราราม
ครั้งที่ 8 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ครั้งที่ 9 วัดระฆังโฆสิตาราม
ครั้งที่ 10 วัดห้วยมงคล
ครั้งที่ 11 เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ครั้งที่ 12 วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
ครั้งที่ 13 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ครั้งที่ 14 วัดนางพญา
และครั้งที่ 15 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
และครั้งที่ 15 นี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรัชมงคลประชานาถ และพระกริ่งจักรตรี และพระราชทานทองคำส่วนพระองค์ร่วมในพิธีด้วย
ขนาดของเหรียญ สูง 2.2 ซม. ฐานกว้าง 1.7 ซม.

***ขอบคุณเจ้าของข้อมูลมา ณ ที่นี้ สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

- สุดยอดทั้งประสบการณ์และหายาก
- รับประกันแท้ และตามกฏ
- เดิมๆ ไม่ล้าง
- ตรงตามภาพ
- สภาพสวย พุทธคุณมากมายคงเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง
ราคาเปิดประมูล190 บาท
ราคาปัจจุบัน200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 23 ก.ค. 2566 - 17:36:28 น.
วันปิดประมูล - 26 ก.ค. 2566 - 22:12:35 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลphaisan (3.8K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 23 ก.ค. 2566 - 17:36:50 น.



...


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 23 ก.ค. 2566 - 17:37:19 น.



...


 
ราคาปัจจุบัน :     200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Scottruth (336)

 

Copyright ©G-PRA.COM