(0)
พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร. วัดชิโนรส ปี 2512 หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะ ร่วมเสก








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร. วัดชิโนรส ปี 2512 หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะ ร่วมเสก
รายละเอียดพระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร. วัดชิโนรส ปี 2512
หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ ผิวพรรณวรรณะองค์นี้จัดว่าเก่าแท้ดูง่าย (พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์ ที่อัญเชิญมาสร้าง ในพิธีนี้พบอีกพิมพ์คือพิมพ์พระประจำปีนักษัติริย์ แต่พิมพ์กริ่งนี้จัดว่าหายากมาก)
พระชุดนี้เป็นพระพิธีดีที่สุดพิธีหนึ่งของวงการพระเครื่องเมืองไทย มาตรฐานนิยมทั่วไป ตอนนี้หลายร้านเริ่มไล่ปรับราคาขึ้นมาสูงๆ เนื่องจากหาของกันไม่เจอแล้วครับ ถ้าชอบ เก็บก่อนแพงนะครับ
ประวัติ พระชุดนี้ จัดสร้างโดย พระปลัดมานพ วัดชิโนรสาราม กรุงเทพฯ ได้จัดสร้างเมื่อปี 2512 พิธีพุทธาภิเษก 22 - 31 ส.ค.2512 จัดเป็นชุดพระเครื่องที่มีรูปแบบสวยงาม พิธีใหญ่ มีพระเกจิดังๆ ร่วมงานเพียบ อาทิ
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง
อาจารย์นำ วัดดอนศาลา
หลวงพ่อมิ่ง วัดกก ธนบุรี
หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อดี วัดพระรูป
เป็นต้น
พระชุดนี้ เกจิอาจารย์ที่ร่วมงานถึงกับออกปากว่าเป็นของดี ที่น่าใช้
และทำให้ศิษย์สายหลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง สะสมกัน เนื่องจาก
หลวงปู่สุข ธมมโชโต ได้นำกลับมาทำการปลุกเสกเดี่ยวให้อีกครั้งใน
วันที่ 1 ก.ย.2512 (บางส่วน)
สำหรับท่านที่ชื่นชอบสะสมวัตถุมงคล หลวงพ่อกวย พระผงรุ่นนี้น่าใช้มากเพราะ หลวงพ่อท่านนั่งปรกปลุกเสกให้ตลอดทั้งคืนในงานพิธีจนถึงเช้า (ว่ากันว่าท่านลุกจากพิธีเป็นรูปสุดท้าย) ถือว่าอัดพลังใส่เต็มกำลังเลยครับ สายตรงไม่ควรพลาด
พระเจ้าเก้าตื้อ
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญและเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวเชียงใหม่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง พระญาเมืองแก้ว (เรียกในตำนานว่า พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์แห่งเมือง เชียงใหม่ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2038 – 2068 ) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047
"พระเจ้าเก้าตื้อ" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
คำว่าเก้าตื้อนี้มีความหมาย : เก้าตื้อ หมายถึงทองหนัก 9 ตื้อ คำว่า "ตื้อ" เป็นหน่วยน้ำหนักทองที่เรียกในสมัยโบราณ … ตื้อเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ 1 ตื้อ เท่ากับ พันชั่ง หรือ ทองคำ 1,000 กิโลกรัม ดังนั้น 9 ตื้อก็เป็นนำหนักทอง 9,000 กิโลกรัม หรือ 9 ตัน …
ดังนั้น "พระเจ้าเก้าตื้อ" จึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยทองคำหนักมากมายทีเดียว และเป็นพระพุทธรูปหล่อ ที่ใหญ่โตและงดงามที่สุด พระเจ้าเก้าตื้อชาวล้านนาร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์รวมศรัทธาที่แสดงถึงความ เป็นปึกแผ่นของบ้านเมืองในสมัยนั้น
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 14 เม.ย. 2566 - 19:44:41 น.
วันปิดประมูล - 17 เม.ย. 2566 - 17:33:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลChocalate (1.4K)(2)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ขุมทรัพย์99 (357)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM