(0)
หลวงปู่ทวด วัดพะโค๊ะ เนื้อว่าน พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖





ชื่อพระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดพะโค๊ะ เนื้อว่าน พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖
รายละเอียดหลวงปู่ทวด วัดพะโค๊ะ เนื้อว่าน พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ อีกหนึ่งของดี ที่ทันพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ตั้งใจปลุกเสกให้อย่างเต็มที่ สร้างด้วยเนื้อว่าน และมีส่วนผสมด้วยมวลสารหลวงพ่อทวดรุ่นแรก ๒๔๙๗ เอกลักษณ์ของพระเครื่องของหลวงปู่ทวดวัดพะโคะ ทุกพิมพ์จะเป็นรูปหลวงปู่ทวด นั่งสมาธิ ในมือจะมีลูกแก้วอยู่ในมือ ที่ฐานจะเป็นอักษรไทยตัว “พ ค” ย่อมาจากคำว่า พะโคะ ส่วนด้านหลังจะเป็นรูปเจดีย์และมีรอยเท้าอยู่ด้านล่าง ซึ่งหมายถึงหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระเครื่องหลวงปู่ทวดรุ่นแรก วัดพะโค๊ะ จะเป็นพระเนื้อผงผสมว่านเนื้อเดียว พระส่วนใหญ่ผิวจะมีคราบน้ำว่านปกคลุมอยู่ บางองค์ที่ไม่มีคราบว่านน้ำก็มีบ้างเหมือนกัน องค์ไหนไม่มีคราบน้ำว่านจะมีผิวสีดำ นับเป็นอีกหนึ่งของดี ที่สนน ราคา ยังเบาๆ ทุนพระอาจารย์ทิมปลุกเสก ถ้าหากห้าเนื้อว่านวัดช้างให้ ไม่ได้ ก็สามารถหาวัดพะโค๊ะ ทดแทนขึ้นคอได้อย่างสนิทใจ
วัดพะโค๊ะ ซึ่งเป็นวัดที่ สมเด็จเจ้า พะโค๊ะ หรือ หลวงพ่อทวด เคยพำนักจำพรรษามาก่อน เนื่องจากชาวอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ก็ต้องการมีพระเครื่องในนาม หลวงพ่อทวดมาไว้บูชา ด้วยเหตุ นี้ ท่านอาจารย์เขียว ปุญญผโล ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพะโคะ ซึ่งรักษาการ แทนเจ้าอาวาสใน ขณะนั้นจึงได้ร่วมกับคณะกรรมการ วัดพร้อมชาวบ้านที่นั่นทำการสร้าง พระหลวงพ่อทวด โดยรวบรวมส่วนผสมที่จะนำมาเป็นเนื้อหาในการสร้างพระอาทิ จากบันทึกการสร้างพระขึ้นโดยเริ่มดำเนินการในช่วงเข้าพรรษาเดือน ๘ ของปี พ.ศ. ๒๕๐๖ มีส่วนผสมมวลสารที่สำคัญคือ ๑.ว่าน ๑๐๘ ชนิด ๒. น้ำผึ้งรวง ๓.กล้วยน้ำว้า ๔.น้ำมันตังอิ๊ว ๕.ผงพุทธคุณ ๖.ข้าวเหนียวดำและผสมผงมวลสารพระหลวงพ่อทวด รุ่นแรก ปี ๒๔๙๗ ของวัดช้างให้อีกด้วย โดยการจัดสร้างแม่พิมพ์ด้วยเนื้อหิน จำนวน ๑๒ แม่พิมพ์ มีทั้งพิมพ์แบบ พระซุ้มกอ, พิมพ์ใหญ่, พิมพ์เล็ก ตลอดทั้งแกะ พิมพ์พิเศษขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่กรรมการที่มาช่วยงานเป็น พิมพ์รูปไข่, พิมพ์ใหญ่, พิมพ์เล็ก ที่เรียกกันว่า พิมพ์กรรมการใหญ่และเล็ก โดยมี ปลัดศักดา ไชยาวรรณ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญด้านการแกะ แม่พิมพ์ ซึ่งท่านเคย เป็นผู้ที่แกะแม่พิมพ์พระให้กับ วัดยะหา และ วัดเมือง มาก่อน ซึ่งหลังจากแกะแม่พิมพ์เสร็จแล้ว จึงระดมชาวบ้านมาร่วมกันกดพิมพ์พระ โดยทุกคนต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อน แล้วนุ่งขาวห่มขาว มารับศีลพร้อมทำสมาธิตามขั้นตอนการสร้างพระเครื่องของวัดพะโค๊ะ อีกทั้งการพิมพ์พระครั้งแรกนั้นก็ต้องให้บุคคลที่มีชื่อเป็นมงคลอย่างเช่น นายนำ, นายชัย, นายคง เป็นต้น เป็นผู้กดพิมพ์พระเป็นครั้งแรกภายในวงสายสิญจน์ ครั้งละ ๕-๖ คน ระหว่างนั้นก็จะมีการสวดมนต์ของพระสงฆ์ตลอดการจัดสร้างที่ใช้เวลานับเดือน จึงได้พระมากมายเรียกว่าครบตามจำนวนพระธรรมขันธ์คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ จากนั้นจึงนำเนื้อพระที่เหลือไปกด เป็นพิมพ์กรรมการ ต่อจนเนื้อพระหมดปรากฏว่า พิมพ์นี้กดพิมพ์พระได้น้อยมากเพราะเนื้อที่ผสม มาสร้างพระหมดลงก่อน จึงเป็นเหตุ ให้พิมพ์กรรมการมีค่านิยมสูงกว่าพิมพ์อื่น ๆ หลังการกดพิมพ์ พระเสร็จสิ้นพร้อมเนื้อพระแห้งดีแล้วจึงจัดพิธี พุทธาภิเษกขึ้นโดยมอบให้ ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้ดำเนินการด้านพิธีการด้วยการนิมนต์เกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น หลายรูปมาร่วมพิธี โดยหลวงปู่ทิม วัดช้างให้และ เกจิสายใต้ทำการอัญเชิญบารมีหลวงพ่อทวด มาร่วมในพิธีด้วยเช่น กัน และหลังจากเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษกแล้วจึงนำแจกจ่ายแก่ชาวบ้านทั่วไป โดย เนื้อหาของพระมีหลายสีเช่น ดำ, เทา, น้ำตาล และ น้ำตาลอมแดง
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน3,800 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ก.พ. 2566 - 08:35:43 น.
วันปิดประมูล - 25 ก.พ. 2566 - 22:39:46 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลNaisert (5.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 ก.พ. 2566 - 08:37:01 น.



รูปหาย


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 22 ก.พ. 2566 - 08:37:27 น.



เพิ่มเติม


 
ราคาปัจจุบัน :     3,800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    tulawaburi (64)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM