(0)
@@@@@ เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อคำปัน ปภากโร วัดนาแส่ง ลำปาง ปี 2539 @@@@@






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@@@@@ เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อคำปัน ปภากโร วัดนาแส่ง ลำปาง ปี 2539 @@@@@
รายละเอียดหลวงพ่อคำปัน เกิดที่บ้านแล้น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2467 ตรงกับ ปีชวด โยมบิดาชื่อ อินถา โยมมารดาชื่อ จันทร์แก้ว ในสกุล จันทะไท มีพี่น้อง 5 คน มีผู้ชายคนเดียวคือ หลวงพ่อคำปัน ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตของครอบครัว ช่วยบิดา-มารดาทำการเกษตรจนอายุครบบวช มีจิตใจฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนามาแต่เล็กแต่น้อย จึงบวชเณรอยู่ 5-6 ปี แล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.2487 โดยมี พระครูขัตติยะ วัดสองแคว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุดม วัดป่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระแสง วัดสองแคว เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ปภากโร แปลว่า ผู้มีแสงสว่างไสว เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระครูขัตติยะ วัดสองแคว ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอจนมีความรู้แตกฉานทางธรรม จากนั้นจึงหันไปศึกษาวิปัสสนาจากพระอุปัชฌาย์ แล้วนำความรู้ทั้งสองด้านมาฝึกฝนจิตใจ บำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างเอกอุ จนเห็นแจ้งในอริยมรรค มี องค์แปด ขัดเกลากิเลสตัณหา เห็นทุกข์ในโลกียโลก จึงตั้งใจบวชตลอดชีวิต เพื่อความหลุดพ้น จนเจ้าอาวาสวัดนาแส่งองค์เดิมคือ พระเมืองคำ ลาสิกขาไป ชาวบ้านเห็นในศีลาจารวัตรของ หลวงพ่อคำปัน น่าศรัทธาเลื่อมใส ญาติโยมจึงอาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนาแส่งเป็นต้นมาจนกระทั่งละสังขาร เมื่อ วันที่ 5 พฤษภาคม 2552 ศิริอายุได้ 85 พรรษา

>>>เมื่อปี พ.ศ.2539 อายุหลวงพ่อได้ 6 รอบ บรรดาศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อคำปันจึงร่วมกันสร้างเหรียญรุ่นแรกรูป เหมือนหลวงพ่อ แล้วให้ท่านปลุกเสกเพื่อแจกในงานทำบุญอายุ เป็นเหรียญรูปไข่หน้าตรงครึ่งองค์ ห่มคลุม ด้านล่างเขียนว่า หลวงพ่อคำปัน ปภากโร ด้านหลังเป็น ยันต์นะโมพุทธายะ อยู่ตรงกลาง มีอักขระขอมลานนาสองบรรทัดบนและล่าง มีหนังสือไทยเขียนว่า ครบรอบ 72 ปี วัดนาแส่ง โดยสร้างเป็นเนื้อทองแดง 22,539 เหรียญ พิมพ์หน้าแก่ 20,000 เหรียญพิมพ์ หน้าหนุ่ม(นิยม) 2539 เหรียญ หลังจากหลวงพ่อแจกจ่ายไปแล้ว มีผู้นำไปแขวนคอได้พบประสบการณ์มากมาย เหรียญในวัดที่มีอยู่หมด
ไปอย่างรวดเร็ว

>>>ผู้ใหญ่ประยูร เพิ่มพูล อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 16 หมู่ 6 ต.นาแส่ง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ลูกศิษย์คนหนึ่งของ หลวงพ่อคำปัน แขวนเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อคำปัน ในคอเพียงเหรียญเดียว เดินกลับบ้านประมาณทุ่มหนึ่งผ่านหน้าวัดนาแส่ง พ้นเสาไฟฟ้าหน้าวัดมาไม่ไกล ก็มีคนร้าย 3-4 คนดักอยู่ พอเห็นผู้ใหญ่ประยูรเดินมาถึงก็กระหน่ำยิงด้วยปืนเอ็ม.16 เสียงดังสนั่นหวั่นไหว ชาวบ้านและคนในวัดตื่นตระหนกตกใจกันไปทั้งตำบล ร่างของผู้ใหญ่ประยูรกระเด็นไปนอนอยู่ข้างถนน คนร้ายยิงจนหนำใจแล้วก็หลบหนีไป สิ้นเสียงปืนชาวบ้านก็ออกมาดูเพื่อเก็บศพผู้ใหญ่ประยูร แต่ปรากฏว่าผู้ใหญ่ประยูรไม่เป็นอะไร กระสุนโดนแขนจนเป็นรอยช้ำ สามนัด แขนหัก แต่ไม่มีเลือดออก ชาวบ้านช่วยกันนับปลอกกระสุนในที่เกิดเหตุ นับได้ 36 นัด หลังจากเหตุการณ์นี้แล้ว เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อคำปัน ก็เป็นที่หวงแหนของชาวนาแส่ง เพราะเห็นเหตุการณ์มากับตาทุกคน
>>>นอกจากเหรียญรุ่นแรกแล้ว พระรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงพ่อก็มีประสบการณ์ไม่แพ้กัน มงคลวัตถุทุกรุ่นของท่านล้วนมีพุทธคุณดีทั้งสิ้น แม้กระทั่งวัตถุมงคลที่ วัดแม่ไฮ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ วัดนาแส่ง เคยขออนุญาตหลวงพ่อคำปันสร้างพระเครื่อง รูปเหมือนเนื้อผง หลวงพ่อคำปัน และ พระผงนางพญา ปี พ.ศ.2541 เพื่อให้คนทำบุญสร้างวัดแม่ไฮ ต่อมาปี พ.ศ.2551 ได้สร้าง พระนางพญา เนื้อตะกั่ว ด้านหลังจารยันต์ อีกพิมพ์หนึ่ง พระเครื่องดังกล่าวหลวงพ่อคำปันปลุกเสกให้อย่างดี มีให้คนทำบุญที่วัดแม่ไฮ จนถึงเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เกิดเหตุไฟไหม้กุฏิพระ ซึ่งเก็บพระเครื่องดังกล่าวที่วัดแม่ไฮ ชาวบ้านช่วยกันดับไฟไม่ทัน ไฟไหม้หมดทั้งหลัง หลังจากไฟดับชาวบ้านต้องพบกับความแปลกใจ เพราะในกองเถ้าถ่านมี ภาพหลวงพ่อคำปันไม่ไหม้ไฟ อยู่ในกองเถ้าถ่าน พร้อมด้วย พระพิมพ์สี่เหลี่ยม เนื้อผงรูปเหมือนหลวงพ่อ และพระผงนางพญา ตลอดจนพระนางพญา เนื้อตะกั่ว ทั้งหมดคลุกอยู่กองเถ้าถ่านแต่ไม่มีพระเครื่ององค์ใดไหม้ไฟเลยแม้แต่องค์ เดียว ชาวบ้านจึงแตกตื่นขอเช่าพระเครื่องดังกล่าวไปจนหมด
>>>>เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ จึงเป็นที่นิยม ในพื้นที่สูง

เลี่ยมพลาสติกรักษาผิวไว้ พร้อมบูชาครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 01 ม.ค. 2566 - 23:08:41 น.
วันปิดประมูล - 05 ม.ค. 2566 - 22:52:19 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลApichettb (882)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Chutty (430)

 

Copyright ©G-PRA.COM