(0)
พระยอดขุนพล หลวงพ่อขันธ์ วัดพระศรีอารย์ รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ ปี 04








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระยอดขุนพล หลวงพ่อขันธ์ วัดพระศรีอารย์ รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ ปี 04
รายละเอียดค่ำคืนหนึ่งหลวงพ่อขันธ์ ท่านได้นิมิตเห็นหลวงปู่ดำ เทพารักษ์ผู้ปกปักรักษา วัดพระศรีอารย์ ในภาพของชีปะขาวขึ้นจากสระน้ำเก่าศักดิ์สิทธิ์ มาหาหลวงพ่อขันธ์พร้อมกับกล่าวว่า ท่านขันธ์ ท่านอย่าลาสิกขาอยู่ช่วยสร้างวัดสร้างพระก่อนหลังจากที่ท่านตัดสินใจว่าจะไม่ลาสิกขา ท่านก็เริ่มสนใจในวิปัสสนากรรมฐาน และคาถาอาคมอย่างจริงจัง อาจารย์ที่ท่านได้ไปศึกษาได้แก่ หลวงพ่อรอด เจ้าอาวาสวัดหลวง ตำบลวังเย็น อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี หลวงพ่อแหยม วัดบ้านเลือก และหลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ ระหว่างที่ท่านศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคันถะธุระตลอดจนวิชาอาคม ท่านก็ได้สะสมว่านต่าง ๆ ตลอดจนมวลสารอันเป็นคุณวิเศษ ตลอดจนผงพุทธคุณของวัดต่างๆ

หลวงพ่อขันธ์ ท่านเป็นพระที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวไม่เกรงกลัวใคร ดังนั้นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของท่านจึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ท่านเป็นพระที่มีจิตเมตตาต่อบุคคลทั่วไปอย่างเสมอภาค โดยไม่คำนึงถึงฐานะของบุคคลนั้น จะร่ำรวย หรือยากจน หรือมียศฐาบันดาศักดิ์สูงส่งเพียงใด ท่านก็ให้การตอนรับอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ใดได้ไปขอพระยอดขุนพลจากท่าน ท่านก็เมตตาให้ ท่านกำชับว่า " ให้เก็บรักษาพระให้ดีพระของข้า ข้าปลุกเสกจนเป็นพระจริงๆ ตกอยู่ใต้ถุนบ้านใครบ้านนั้นอยู่ไม่เป็นสุขแน่ " และท่านยังกล่าวเสริมอีกว่า "แขวนพระของข้าไม่มีตายโหง"

บทความนี้จะกล่าวถึง พระยอดขุนพล ของหลวงพ่อขันธ์ ก่อนอื่นขอกล่าวถึงมวลสารต่างๆที่ใช้ในการสร้างพระครั้งนี้

1. ว่าน 1000 กว่าชนิดจากประเทศมาเลเซีย ว่านและมวลสารและดินและผงของวัดช้างให้(มวลสารที่เหลือจากการสร้างพระหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ รุ่นแรก ปี พ.ศ.2497)

2. ผงและเศษพระวัดสามปลื้มและวัดระฆัง3. มวลสารพุทธคุณของพระเกจิอาจารย์ทางใต้ โดยคุณณรงค์ ชาวอำเภอรอนพิบูล จังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าของเหมืองแร่ทางภาคใต้เป็นผู้นำมาให้

4. ผงพุทธคุณของหลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ข้อเท็จจริงมีว่า หลวงพ่อขันธ์ได้ไปหาหลวงพ่อบุญธรรม ที่วัดพระปฐมเจดีย์ และได้แจ้งวัตถุประสงค์ในการสร้างพระ และได้ขอผงพุทธคุณจากท่านเพื่อไปสร้างพระ อันเป็นการสืบทอดพระศาสนาโดยจะไม่จำหน่ายพระเด็ดขาด แต่หลวงพ่อบุญธรรมก็นิ่งเฉยไม่พูดอะไร จนเวลาผ่านไปหลายชั่วโมง หลวงพ่อขันธ์ก็ขอลากลับโดยเข้าใจว่าหลวงพ่อบุญธรรมไม่อนุญาตให้ผงตามที่ต้องการ เวลาผ่านมาหลายเดือนจนหลวงพ่อขันธ์ลืมเหตุการณ์นี้แล้ว ก็มีชาวพระปฐมเจดีย์มาหาหลวงพ่อขันธ์ที่วัดพระศรีอารย์พร้อมกับกล่าวว่า หลวงพ่อบุญธรรมวานให้เอาพระบูชาซึ่งเป็นพระพุทธรูป(ปางพระศรีอารย์)ให้มาถวายหลวงพ่อขันธ์ ท่านก็รับไว้และแปลกใจว่าเราขอผงพุทธคุณกลับได้พระพุทธรูปแทน หลวงพ่อขันธ์ท่านก็นั่งพิจารณาพระพุทธรูปเสียนานก็สังเกตเห็นใต้ฐานของพระพุทธรูปองค์นั้นมีรอยบรรจุผงพุทธคุณ ท่านจึงใช้ไขควงงัดออกดูก็ปรากฏเห็นผงพุทธคุณเต็มฐานพระบูชา เมื่อรวบรวมผงได้ตามที่ต้องการแล้วหลวงพ่อขันธ์ก็เริ่มลงมือสร้างพระยอดขุนพล โดยสร้างพระเป็นสองวาระ คือ

วาระแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ.2504 สร้างพระประมาณ หลายหมื่น องค์(โดยบรรจุพระลงในโอ่งมังกรขนาดบรรจุ 200 ลิตร หลายใบ)

วาระที่สอง สร้างพระประมาณปี พ.ศ.2523-2524 โดยนำมวลสารที่เหลือจากการสร้างพระในวาระแรกมาสร้างพระ(พระที่สร้างวาระแรกเหลือจำนวนน้อยมาก) หลวงพ่อขันธ์ท่านกล่าวกับศิษย์ใกล้ชิดทีเล่นทีจริงว่า จะสร้างให้ได้ หนึ่งล้านองค์เพื่อนำเงินรายได้มาสร้างพระอุโบสถทองคำร้อยล้าน ระหว่างที่กดพิมพ์พระได้จำนวนร่วมสองหมื่นองค์หลวงพ่อขันธ์ท่านก็มรณภาพเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ก็หยุดกดพิมพ์สร้างพระระยะหนึ่ง ขณะนั้นมวลสารเหลือน้อยแล้ว ต่อมาหลวงพ่อสง่า เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันก็กดพิมพ์สร้างพระต่อจนมวลสารหมด ได้พระทั้งหมดประมาณสองถึงสามหมื่นองค์ ในปีพ.ศ.2543จึงได้จัดพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ์ที่วัดพระศรีอารย์ โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์หลายท่านร่วมปลุกเสก ได้แก่ พลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม และหลวงพ่ออุทัย วัดมฤคทายวัน(วัดเกาะตาพุด) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
พ พระชุดนี้จึงจัดได้ว่าเป็นของดีราคาเบาเลย สำหรับองค์นี้เป็นพระที่สร้างในวาระแรก คือพระชุดที่บรรจุโอ่ง จึงมีคราบตามองค์พระ
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน230 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 26 ก.ย. 2565 - 20:56:09 น.
วันปิดประมูล - 28 ก.ย. 2565 - 02:02:54 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลthip999 (1.5K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     230 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Pakkaphon (1.8K)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM