(0)
พระกริ่ง+พระชัยวัฒน์ ปวเรศ รุ่น 2 วัดบวรนิเวศฯ ปี 2530 ไม่มีกล่อง






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่ง+พระชัยวัฒน์ ปวเรศ รุ่น 2 วัดบวรนิเวศฯ ปี 2530 ไม่มีกล่อง
รายละเอียดปรับลดราคาเฉพาะครั้งนี้ ขอระดมทุนไปเก็บของหลักๆใหญ่ๆหน่อยครับ
ครั้งที่แล้วราคาประมูลได้ 29000 ครั้งนี้ลดลงให้อีกครับ ในยามเศรษฐกิจแบบนี้ ราคานี้คุ้มมาก หายากครับราคานี้ ยินดีออกบัตร เปิดคู่ครับ

พระกริ่ง+พระชัยวัฒน์ ปวเรศ รุ่น 2 วัดบวรนิเวศฯ ปี 2530 พระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เสด็จเททอง ใต้ฐานพระกริ่งบรรจุสิ่งที่เป็นมงคลสูงสุด คือ เส้นพระเจ้า (เส้นผม) และผงสมเด็จจิตรลดา ประกอบพีธีพุทธาภิเษกถึง 3 ครั้ง

มวลสาร ทองชนวน โลหะต่างๆ และแผ่นยันต์หล่อพระ
พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วย ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญและหายากตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่โบราณ เมื่อได้อายุตามควรแล้วผิวองค์พระกริ่งจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า *** เนื้อกลับดำ ***
ทองชนวนหล่อพระประกอบด้วย
- ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหล่อพระพุทธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศ
- ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ( ที่ยังคงเหลืออยู่ )
- ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์เทพวราราม
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทองชนวนอื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาไทยและคณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากวัดต่างๆ ของประเทศประกอบด้วยพระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป
จำนวนพระ พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 ที่จัดสร้าง
ตามโครงารสร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 วัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดให้สร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ จำนวน 25000 ชุด แต่ เนื่องจากำหนดให้ช่างเททองหล่อพระกริ่งทุกองค์ในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงทำการเททองหล่อพระตามกรรมวิธีแบบโบราณของไทย ซึ่งเป้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดต่อการเททองหล่อพระในกำหนดพิธี ดังนั้น ช่างจึงต้องทำหุ่นองค์พระเพิ่มขึ้นเผื่อเสียไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อจะได้ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในพิธี การเททองหล่อพระครั้งนี้ได้พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ เป็นองค์พระครบทุกองค์ตามจำนวนหุ่นพระที่เตรียมไว้ปรากฏเป็นอัศจรรย์ประการหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ พระที่เห็นสมควรคงไว้เป็นช่อ มีดังนี้
พระกริ่งปวเรศ จำนวน 15 ช่อ
พระชัยวัฒน์ปวเรศ จำนวน 32 ช่อ
พิธีเททองหล่อพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30
พระบาทสมเด็๗พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นพ้นล้นหาที่สุดมืได้ โปรดเกล้าฯ ทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ .2528 เป็นปฐมมหามงคลฤกษ์ของพิธีเททองหล่อพระ ทองชนวนจากปฐมพิธีนี้จักเป็นชนวนในการหล่อพระสืบต่อไป ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรเป็นประธานพิธีการเททองหล่อพระ ณ วัดบวรนิเวศวิหารทั้งหมดก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก
พิธีพุทธาภิเษก
การประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง- พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประกอบพิธีรวม 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 พิธีพุทธาภิเษกในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมาร ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิฐานจิต
ครั้งที่ 2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ - พฤหัสบดีที่ 21-22 พฤษภาคม 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี
ครั้งที่ 3 พิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง- พรัชัยวัฒน์ ปวเรศ วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2530 ณ พระอุโบสวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร ประกอบพิธีอธิษฐานจิต พิธีครั้งนี้นับเป็นพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 ที่เป็นทางการครั้งแรก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ราคาเปิดประมูล20,000 บาท
ราคาปัจจุบัน27,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ500 บาท
วันเปิดประมูล - 18 ก.ค. 2565 - 21:22:46 น.
วันปิดประมูล - 19 ก.ค. 2565 - 22:03:05 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsarikoses (138)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     27,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     500 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    dacool (613)

 

Copyright ©G-PRA.COM