(0)
พระหลวงปู่ทวด สก เนื้อว่าน พระนามาภิไธย พ.ศ.2544 เคาะเดียว








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระหลวงปู่ทวด สก เนื้อว่าน พระนามาภิไธย พ.ศ.2544 เคาะเดียว
รายละเอียดสภาพสวย ไม่พ่านการใช้ พร้อมกล่องเดิมๆ
พิธีกรรมการจัดสร้าง
ประกอบพิธีมังคลาภิเษกมวลสารเททองหล่อชนวนและบวงสรวงการจัดสร้าง ณ.อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง
ในวันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2544 โดยมี
สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธาน
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ นั่งปรก ร่วมด้วยเกจิอาจารย์
หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จังหวัดอยุธยา
หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว
พระอาจารย์อิฏฐิ์ วัดจุฬามณี
หลวงพ่อสิริ วัดตาล
หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา
หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดเม้าสุขา
หลวงพ่อขาว วัดเขาชะโงก
หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
หลวงพ่อทอง วัดจักรวรรดิ์
หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า
เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร
หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ
เจ้าคุณเย็นเชี้ยว เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่)
ฯลฯ
ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญ 3 วาระ
•ครั้งที่ 1 พิธีมังคลาภิเษก ชนวนมวลสาร ณ.พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง
•ครั้งที่ 2 พิธีปลุกเสก ณ.พระอุโบสถ วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี
•ครั้งที่ 3 พิธีมังคลาภิเษก ณ.พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง
ในปี 2544 ถือได้ว่าเป็นครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การสร้างพระหลวงพ่อทวด ในโครงการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดถวายเป็นพระราชกุศล“สร้างพระให้แม่” แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ในปี พ.ศ. 2547 โดยได้ร่วมใจกันเริ่มสมทบทุนและหารายได้มาเพื่อจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ขนาดหน้าตัก 9.9 เมตร เพื่อประดิษฐาน ที่วัดห้วยมงคล ต.ทับใต้ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และในการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดครั้งนี้ ได้ทรงมีพระเมตตาพระกรุณาธิคุณพระราชทานพระราชานุญาติให้อัญเชิญ อักษรพระนามาภิไธย สก. เพื่อประดิษฐานที่พระหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ และที่วัตถุมงคลหลวงพ่อทวดรูปแบบต่างๆเพื่อมอบตอบแทนสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนในการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดขนาดหน้าตัก 9.9 เมตร และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ
มวลสารและชนวน
•ดอกไม้บูชาพระของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
•พระผงกรุวัดสามปลื้ม และพระว่านจำปาสัก
•สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประทานมวลสารมหามงคลเส้นเกษาและแผ่นยันต์มาร่วมในการจัดสร้าง
•ชนวนอื่นๆ เช่นแผ่นยันต์จากพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศกว่า 500 แผ่น
•ชนวนโลหะหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ปี 2512
•ชนวนโลหะจากหลวงพ่อทวดทุกรุ่นที่ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช จัดสร้าง
•ก้านชนวนจากหลวงพ่อทวดรุ่นเลขใต้ฐาน ปี 2505
•ชนวนพระหลวงพ่อทวดของอาจารย์นอง วัดทรายขาว จ.ปัตตานี ทุกรุ่น
•และชนวนอื่นๆอีกมากมาย ฯลฯ
มวลสารพระเนื้อว่าน
พระเนื่อว่านนี้ ผสมมวลสารว่าน 108 ชนิดที่เป็นมงคล อาทิหัวว่านพญาช้างเผือก ซึ่งเป็นว่านที่มีอานุภาพใช้ทาง
เมตตามหานิยม และประกอบพิธีพลีว่าน เพื่อนำมาใช้จัดสร้างพระหลวงพ่อทวด ส่วนดินกากยายักษ์นั้น นำมาจากวัดลำพญา จังหวัดยะลา
ซึ่งเป็นบ่อดินที่ใช้ สร้างพระหลวงพ่อทวดตั้งแต่ปี 2497
มวลสารพระเนื้อว่านคลุกรัก
พระเนื่อว่านนี้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะ ผสมมวลสารว่าน 108 ชนิด กับยางของต้นรัก เหมือนกับการสร้างพระในสมัยโบราณ
เนื้อพระที่ออกมาจะมีความหนึบนุ่ม คงทนถาวร พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านคลุกรักนี้เคยมีการจัดสร้างครั้งแรกเมื่อปี 2534 โดยอาจารย์นอง
วัดทรายขาว สำหรับการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าคลุกรักในครั้งนี้ปี 2544 ได้ใช้สูตรเดิมทุกประการ คุณวิเศษดีทางเมตตามหานิยม
มวลสารพระสมเด็จบางขุนพรหม ก้นกรุ
ทางโครงการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวด ได้รับก้อนเนื้อผงสมเด็จพระบางขุนพรหม ขนาดใหญ่สูงประมาณ 1 ฟุตเศษ ซึ่งได้รับมอบ
มาจากครั้งเปิดกรุพระสมเด็จบางขุนพรหมอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2500 ซึ่งในการเปิดครั้งนั้นได้พบพระสมเด็จบางขุนพรหมจำนวนมาก
มีทั้งองค์สมบูรณ์และที่แตกชำรุดมากมาย และที่พื้นก้นกรุนั้นมีก้อนมวลสารเนื้อของพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ใช้รองก้นกรุอยู่จำนวนมาก
ด้วยความร้อนและความชื้นนี้ทำให้เนื้อผงนี้จับกันเป็นก้อนมีคราบกรุจับเช่นเดียวกันกับพระสมเด็จองค์ที่สมบูรณ์ทุกประการ ในครั้งกาลนั้น
ก้อนมวลสารเนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหมเหล่านี้ได้ถูกนำขึ้นมาด้วยแต่ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจนัก จึงได้มีการแบ่งกันไปในหมู่ผู้ที่ร่วมเปิดกรุ
และหนึ่งในผู้ร่วมเปิดกรุได้มีจิตศรัทธานำมามอบให้กับประธานโครงการหลังจากที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีราวกับว่ารอวันเวลาอันสำคัญยิ่ง
เพื่อเป็นส่วนผสมในการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่านและเนื้อว่านคลุกรัก หลังพระนามาภิไธย สก. อันเป็นมงคลสูงสุดหาที่เปรียบมิได้
ราคาเปิดประมูล330 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 17 ม.ค. 2565 - 13:20:40 น.
วันปิดประมูล - 26 ม.ค. 2565 - 13:13:33 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลแกล้วกล้า (586)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     350 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Sansa (400)

 

Copyright ©G-PRA.COM