(0)
ชินราช หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด อยุธยา..








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องชินราช หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด อยุธยา..
รายละเอียดหลวงปู่ยิ้ม นี่ระดับปรมาจารย์นะครับ... พระยุคเก่า พระดีแน่นอนครับ ผมคิดว่าในอนาคต อาจจะเหมือน พระหลวงพ่อปาน ที่เมื่อ 30 กว่าปีก่อน คือ พระของแถม ของเซียนพระที่ให้ลูกค้า ไม่ค่อยมีราคา..แต่ตอนนี้ คงแถมไม่ได้แล้ว..สนใจ พิจารณาดีแล้ว ค่อยเคาะนะครับ โควิด ส่งไป ส่งมา อันตรายครับ...สนใจดีแล้ว เริ่มได้เลยครับ...
----------------------------------------------------------------
ไว้อ่านเล่นๆ
พระเนื้อดินพิมพ์พระพุทธชินราช หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด อ.เสนา จ.อยุธยา จัดสร้างราวปี ๒๔๗๕ มีเอกลักษณ์เฉพาะ. พิมพ์คมชัดลึก แห้ง เก่าได้อายุดี เก่าพอๆกับพระกรุบางกรุเลยครับ หลังกาบกระดาน ดูง่ายๆ ขอบปาดตัดธรรมชาติ หลวงปู่ยิ้ม ท่านเป็นพระยุคเดียวกันกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก-หลวงพ่อปาน วัดบ้างนมโค-หลวงพ่อขันวัดนกกระจาบ ถือว่าหลวงปู่ร่ำเรียนศึกษาครูบาอาจารย์สายเดียวกันครับ หลวงปู่ยิ้ม สร้างพระเนื้อดินไว้หลายพิมพ์ พระเนื้อดินที่ดังที่มีประสบการณ์ของหลวงปู่ ยิ้ม จะเป็นพิมพ์งบน้ำอ้อยเพราะสร้างจำนวนค่อนข้างมาก ส่วนพิมพ์พระพุทธชินราช สภาพสมบูรณ์ๆ จะพบค่อนข้างน้อยอีกเช่นกัน เรื่องประสบการณ์ของพระเนื้อดินของหลวงปู่เชื่อถือได้ พุทธคุณสูง ทั้งเมตตา และ แคล้วคลาดครับ ขึ้นคอได้ ไม่อายใครแน่ๆ ******************************************************************************************************************************************************************************************************** ปัจจุบันนี้มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดในนั้นท่านได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้กี่พิมพ์ทรงกันแน่ นอก จากพระงบน้ำอ้อยที่ดังไปทั่วสารทิศแล้วจนพระเนื้อดินพิมพ์งบน้ำอ้อยใครๆเห็นที่ไหนก็ต้องบอกว่าเป็นของหลวงปู่ยิ้ม ไปเสียทั้งหมด มีเพียงไม่กี่คนในละแวกคุ้งน้ำเจ้าเจ็ดที่เก็บรวบรวมพระเนื้อดินหลวงปู่ยิ้ม ไว้ได้ครบทุกพิมพ์ ซึ่งความนิยมของผู้สะสมที่มีไม่มากนี้ อาจทำให้มรดกทางศิลป์พระเครื่องในอดีตของหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นสูญหายไปได้บางพิมพ์และอาจมีการนำพระพิมพ์อื่นๆซึ่งไม่ใช่ของหลวงปู่ ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน ถูกยัดให้เป็นพระเครื่องหลวงปู่ยิ้มได้โดยนักเล่นพระบางกลุ่ม ในการสร้างพระเนื้อดินเผา ของหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดในนั้น บันทึกไว้ว่าได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เจตนาเพื่อเป็นการสืบทอดและต่ออายุพระศาสนา ความตั้งใจของท่านนั้นจะสร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดัง ที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงมีพระของหลวงปู่ยิ้มจำนวนมากมาย และหลากหลายพิมพ์แตกต่างกันออกไป ตามแต่จะหาช่างทำพิมพ์พระมาแกะพิมพ์พระให้ได้ การทำพิมพ์พระนั้น จะได้ช่างชาวบ้าน ในละแวกบ้านเจ้าเจ็ด และละแวกใกล้เคียงเช่น บ้านหนองลำเจียก มาแกะพิมพ์ให้ การแกะแม่พิมพ์ แกะจากหินลับมีด ( ลักษณะหินลับมีด โกนของพระ ) โดยมีลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้แกะให้ และให้พระ, เณร, ลูกศิษย์ ใกล้ชิด และเด็กวัดฯ ช่วยกันผสม กดพิมพ์- แกะพิมพ์ และเผาตามพิธีการของท่าน ซึ่งกล่าวกัน ว่าท่าน ได้แรงบัลดาลใจมาจาก การสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา พระกรุ สมัยต่างๆ และจากพระโบราณจารต่างๆ และพระเครื่องของท่านบางพิมพ์สร้างล้อพิมพ์ของวัดบางนมโค, มีบางท่านเล่าว่าพระพิมพ์ทรงสัตว์ของหลวงปู่ยิ้มนั้นช่าง ที่แกะแม่พิมพ์ของวัดเจ้าเจ็ดได้ขอต่อวิชา จากช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดบางนมโค โดยค่าครูสำหรับการต่อวิชาแกะแม่พิมพ์เป็นเงิน ๑บาทในสมัยนั้นฯ การแกะพิมพ์พระแต่ละ พิมพ์เป็นฝีมือช่างชาวบ้าน ซึ่งมีฝีมือและความสวยงามทางพุทธศิลป์ที่แตกต่างออกไปตามความชำนาญของช่างใน ยุคนั้น นับได้ว่าชาวบ้านยุคนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในการ ถ่ายทอด ความสวยงามทางพุทธศิลป์ ไว้ให้รุ่นลูกหลาน ได้เชยชมอย่างสวยงามและลงตัวเป็นอย่างดี ซึ่งพิมพ์พระของหลวงปู่ยิ้มจะมีลักษณะเป็นฝา หลังจากแกะพิมพ์พระได้แล้ว หลวงปู่จะให้ชาวบ้านนำดินขุยปู และดินนวล ในทุ่งนาที่ขุดลงไปลึกเพื่อให้ได้ดินที่ละเอียดโดยมีข้าวก้นบาตร และเถ้าขี้ธูปที่บูชาพระประธานในโบสถ์ ผง วิเศษที่ท่านลบ และสรรพสิ่งอันเป็นมงคลที่ท่านรวบ รวมมา และท่านได้ใช้มูลดินของกรุงศรีอยุธยา ท่านยังสร้างพระพิมพ์เนื้อดินซึ่งเกิดจากแม่ธาตุทั้งสี่ มาประชุมหรือผสมรวมกัน คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ นำ บดและนวด และนำมากดใส่ลงในแม่พิมพ์พระที่มีลักษณะเป็นฝา และได้นำด้านหลังที่มีเนื้อดินไปวางโปะลงบนแผ่นไม้กระดานที่ได้เตรียมไว้ แล้วจึงถอดพิมพ์พระออกมาที่ละองค์ หลังจากนั้นก็จะทำการใช้ มีดบาง เปลือกหอยกาบ หรือช้อน ตามแต่จะหาได้ นำมาตัดแต่งตามตามขอบขององค์พระโดยรอบให้มีลักษณะสวยงาม บางองค์ก็ไม่ได้ตัดออกก็จะพบเนื้อดินเกินออกมา ซึ่งในการสร้างสมัยนั้นได้สร้างจำนวนมากและพระเครื่องยุคนั้นก็มิได้มีค่า มากมายอะไรการทำจึงทำแบบไม่ค่อยพิถีพิถันมากนักแต่จะทำให้ได้จำนวนมากๆ ไว้ก่อนดังนั้นของสวยๆจึงมีน้อยนัก หลังจากตกแต่งพระแล้วก็จะยกไม้กระดานที่เรียงรายวางพระเนื้อดินเหนียวอยู่ นั้น ไปตากแดดให้แห้งสนิทเสียแล้วจึงค่อยแกะออกจากไม้กระดาน ซึ่งด้านหลังพระของหลวงปู่ยิ้มจึงมีรอยเสี้ยนไม้กระดานเป็นที่สังเกตให้เห็น ได้ แล้วจึงนำมาใส่ไว้ในบาตรพอประมาณ จึงนำไปสุมไฟด้วยแกลบจนเนื้อดินพระแข็งสุกแดงได้ที่แล้วจึงลาไฟออกมารวบรวม ไว้ แล้วทำพิธีปลุกเสกในพระอุโบสถ หลวงปู่ยิ้มจะทำบายศรีราชวัตร ฉัตรธง ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว อาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พระอริยะสาวกทุกพระองค์ ตลอดจนพระพรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย โดยหลวงปู่ยิ้ม ได้ปลุก เสกเดี่ยวครบไตรมาส แล้วจึงนำบรรจุลงกรุเจดีย์รอบๆวัด และเก็บไว้บนหลังคาโบสถ์ บางส่วนที่เหลือก็แจกจ่ายให้กับชาวบ้านในละแวกคุ้งน้ำบ้านเจ้าเจ็ดและละแวก ใกล้เคียงนำไปติดตัวบูชาเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจให้ประพฤติดีละเว้นความชั่ว ทั้งปวง หรือใครมากราบไหว้หลวงปู่ก็เมตตาแจกให้ทุกคนไป พระที่หลวงปู่นำไปใส่กรุไว้นั้น หากหลวงปู่ทำวัตรเช้าแล้วหลวงปู่จะออกมาจากโบสถ์และจะเดินไปยืนสวดพระคาถา ที่หน้าเจดีย์ใหญ่น้อยที่ได้บรรจุพระของหลวงปู่ไว้ทุกครั้งเสมือนได้ว่าหลวง ปู่ได้ทำการปลุกเสกทุกวันหลังจากหลวงปู่ทำวัตรเช้าเสร็จ จำนวนพระพิมพ์ต่างๆ ที่หลวงยิ้มท่านสร้างใว้มีดังนี้ 1. พระงบน้ำอ้อย พิมพ์ใหญ่ พระพุทธเจ้า 10 พระองค์ ขนาด 3.5 - 4.0 มิลลิเมตร (มี เส้น และไม่มีเส้น) 2. พระ งบน้ำอ้อย พิมพ์กลาง พระพุทธเจ้า 10 พระองค์ พิมพ์มีเส้น และไม่มีเส้น ขนาด 2.8 -3.2 มิลลิเมตร 3. พระงบน้ำอ้อย พิมพ์เล็ก พระพุทธเจ้า 10 พระองค์ และพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ขนาด 2.5 -2.8 มิลลิเมตร 4. พระพุทธชินราช พิมพ์ใหญ่ปีกกว้าง 5. พระ พุทธชินราชเล็ก 6. พระ พุทธชินราช 5 เหลี่ยม 7. พระ สมเด็จ พิมพ์ขัดสมาธิเพชร มี 2 พิมพ์ 8. พระ สมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ 7 ชั้น 9. พระ สมเด็จพิมพ์ติดแผง (สมเด็จแผง) 2 พิมพ์ 10. พระ สมเด็จพิมพ์ฐานเลข 7 11. พระ โคนสมอ 12. พระ ขุนแผนพิมพ์ใหญ่ 13. พระ ขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว 14. พระ ชินราชใบพุทรา ปางสะดุ้งมาร 15. พระ ร่วง พิมพ์ใหญ่ กลาง และพิมพ์เล็ก 16. พระ ลีลาข้างจุด 17. พระ พิมพ์หลวงพ่อโต 18. พระ กลีบบัว 19. พระ นางพญาฐานบัว พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก 20. พระนางพญาแขนอ่อน 21. พระ พิมพ์หยดน้ำ 22. พระ พิมพ์ขี่ลิง พิมพ์ขี่ลิงใหญ่ พิมพ์ขี่ลิงหันขาว และหันซ้าย 23. นางกวัก 24. สมเด็จปรกโพธิ์ 5 ชั้น
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน220 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ60 บาท
วันเปิดประมูล - 13 ส.ค. 2564 - 19:37:50 น.
วันปิดประมูล - 15 ส.ค. 2564 - 01:17:03 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลraydy (2.1K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     220 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     60 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    rungroj (918)

 

Copyright ©G-PRA.COM