(0)
เหรียญพระพุทธภัทรนวมบุรินทร์ ปี 2523 เนื้อนวะโลหะ ปลุกเสกโดยพระเกจิผู้ทรงคุณแห่งยุคมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อสุด สายพระกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญพระพุทธภัทรนวมบุรินทร์ ปี 2523 เนื้อนวะโลหะ ปลุกเสกโดยพระเกจิผู้ทรงคุณแห่งยุคมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อสุด สายพระกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น
รายละเอียดเหรียญพระพุทธภัทรนวมบุรินทร์ ได้มีการจัดสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธภัทรนวมบุรินทร์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปบูชาแบบคันธารราฐ ครั้งนั้นคณะกรรมการผู้จัดสร้างได้จัดสร้างพระพุทธรูปปางประทับยืนประทานพรศิลปะ 3 สมัย คือ เชียงแสน สุโขทัย และอู่ทอง มีความสูง 160 ซ.ม. ประดิษฐานบนดอกบัวเดียวกัน เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ที่หน้าบ้านป่าธรรมไตรโสการาม บ้านท่าโสม ต.นาวง (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู) อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นรอยตะเข็บติดต่อของ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย และเลย เป็นวัดป่าในสายกรรมฐาน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

วัตถุประสงค์ในการสร้างพระพุทธรูปปางยืนประทานพร คือ
1.เพื่อถวายเป็นอุเทสิทเจดีย์ไว้เคารพสักการะบูชาในยามระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
2.เพื่อให้เป็นศูนย์ใจชาวพุทธที่อาศัยอยู่บริเวณรอยต่อตะเข็บ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย
3.เพื่อให้เป็นปูชนียวัตถุที่จัดสร้างขึ้นมีคุณค่าทางศาสนาเป็นแห่งแรกของภาคอีสาน
4.เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนมีความยึดมั่นในสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อันจะมีผลทำให้ช่องว่างระหว่างการแทรกซึมของ ผกค.ลดไปได้ทางหนึ่ง (เนื่องจากสมัยนั้นภาคอีสานถูกแทรกซึมด้วย ผกค. หลายจังหวัดด้วยกัน)

พระพุทธรูปปางประทับยืนประทานพรศิลปะ 3 สมัย พระพุทธภัทรนวมบุรินทร์ และเหรียญพระพุทธภัทรนวมบุรินทร์ ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม ในระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2523 รวมตลอด 3 วัน
ในครั้งนั้นมีวัตถุมงคลอื่นได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกันด้วย คือ พระลีลาทุ่งเศรษฐีว่านหน้าเงิน พระลีลาทุ่งเศรษฐีว่านหน้าทอง พระนางพญาว่านหน้าทอง พระนางพญาว่านหน้าเงิน

พิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้น มีสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธฯเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย โดยมีพระเถราจารย์จากทั่วประเทศหลายสิบรูปนั่งปรกในพิธี
พระเถราจารย์ร่วมที่นั่งปรกแผ่เมตตา คืนวันที่ 24 มกราคม 2523 ได้แก่
1.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
2.หลวงพ่อธูป วัดแคนางเลิ้ง
3.หลวงพ่อเสง วัดน้อยนางหงษ์
4.หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิต
5.หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา
6.หลวงพ่อชิด วัดเขาเต่า
7.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
8.หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ
9.หลวงพ่ออุตตะมะ วัดวังค์วิเวการาม
10.หลวงเที่ยง วัดม่วงชุม
11.หลวงพ่อเชื้อ วัดไหม่บำเพ็ญบุญ
12.หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร
13.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว
14.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
15.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
16.หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ
17.หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู
18.พ่อท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม
19.หลวงปู่เย่อร์ วัดอาษาสงคราม
20.หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ
21.หลวงพ่อเณร วัดส้มเสี้ยว
22.หลวงพ่อชม วัดเขาดิน
23.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
24.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี

พระเถราจารย์ร่วมที่นั่งปรกแผ่เมตตา คืนวันที่ 25 มกราคม 2523 ได้แก่
1.หลวงพ่อผิว วัดสง่างาม
2.หลวงนนท์ วัดเหนือวน
3.หลวงพ่อบุญ วัดมะนาว
4.หลวงพ่อจ้วน วัดพระพุทธบาทลูกช้าง
5.หลวงพ่อแฟ้ม วัดป่าอรัญญิกาวาส
6.หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ
7.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
8.หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม
9.หลวงพ่ออ่อน วัดเพื่อบาตร
10.หลวงพ่อผล วัดหนองคณฑี
11.หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ
12.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
13.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
14.พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศน์
15.พระวินัย(ธร) วัดสุทัศน์
16.พระครูสุนทรธรรมวัตร วัดสุทัศน์
17.พระมหาประสิทธิ์ วัดสุทัศน์
18.พราจารย์สมชัย วัดปากน้ำ
19.หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธ์
20.พระอาจารย์แถม วัดปากน้ำ
21.พ่อท่านชู วัดมุมป้อม
22.พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ
23.หลวงพ่อสิงห์ วัดกุญชรวนาราม
24.พระคัมภีร์ วัดชัยภูมิวนาราม
25.พระครูบวรชินรัตน์ วัดนางพญา

พระเถราจารย์ร่วมที่นั่งปรกแผ่เมตตา คืนวันที่ 26 มกราคม 2523 ล้วนเป็นสายพระกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ซึ่งนับเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่รวมพระกรรมฐานพิธีใหญ่พิธีหนึ่ง ได้แก่
1.พระอาจารย์วิริยังค์ วัดธรรมมงคล
2.หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์
3.หลวงพ่อพุธ วัดป่าสละวัน
4.หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม
5.หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก
6.พระอาจารย์สี วัดป่าคลองกุ้ง
7.หลวงปู่จันทร์ศรี วัดโพธิสมพร
8.พระอาจารย์บุญมา วัดศิริสาวัน
9.พระอาจารย์อ่อน วัดป่านิโครธาราม
10.พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดถ้ำกลองเพล
11.หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง
12.พระอาจารย์ท่อน วัดศรีอภัยวัน
13.พระอาจารย์สีธน วัดถ้ำผาปู่
14.หลวงปู่ซามา วัดป่าอัมพวัน
15.พระอาจารย์ผัน วัดถ้ำเอราวัณ
16.พระอาจารย์แว่น วัดป่าสุทธาวาส
17.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยวงค์
18.หลวงปู่บุญ วัดศรีสว่างดินแดน
19.หลวงปู่อ่อนศรี วัดธรรมมิการาม
20.พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่บ้านศาล
21.พระอาจารย์จันดี วัดโนนสะอาด
22.หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต
23.พระธรรมไตรโกลาจารย์ วัดศรีเมือง
24.พระอาจารย์ วัดลุมพินีวัน
25.พระอาจารย์ทองพูล วัดป่าสามัคคีฯ
26.พระอาจารย์จวน วัดภูทอก
27.พระอาจารย์ไพบูลย์ วัดป่ารัตนาราม
28.พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม
29.หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
30.พระสุนธรธรรมภรณ์ วัดศรีธรรมราม

พิธีครั้งนั้นเมื่อประชนทราบข่าว มีพระเถราจารย์มาร่วมพิธีคับคั่งเป็นประวัติการณ์ และเมื่อทราบว่ามีพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียง ที่ตนเองเคารพนับถือมาร่วมพิธีในครั้งนั้นด้วย ต่างก็มารอเฝ้านมัสการพระเถราจารย์เหล่านั้นจนแน่นวัด บางคนก็มาจากต่างจังหวัดมานอนค้างคืนเพื่อรอนมัสการกันเลยทีเดียว และเมื่อเห็นพิธีพุทธาภิเษกจัดได้ดีต่างพากันจองวัตถุมงคลในพิธีเป็นจำนวนมาก เพราะขนาดหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ เมื่อเสร็จพิธีแล้วถึงกับกล่าวว่า พิธีเขายิ่งใหญ่และสำคัญจริงๆ

เหรียญพระพุทธภัทรนวมบุรินทร์ที่จัดสร้างในครั้งนั้น มีด้วยกัน 3 ชนิด
-เหรียญทองคำ 10 เหรียญ
-เหรียญเงิน 99 เหรียญ
-เหรียญนวโลหะ 999 เหรียญ
-เหรียญทองแดง 52,523 เหรียญ

แม้เหรียญทองแดงจะสร้างจำนวนมากและราคาทำบุญในตอนนั้นค่อนข้างถูก มีคนจองล่วงหน้ากันมากคนละหลายๆเหรียญ ครั้นเมื่อเสร็จพิธีก็มีคนเช่ามากเหมือนเดิม บางคนเช่าคนเดียวหลายสิบเหรียญ เพราะทราบกันดีว่าเหรียญทองแดงสร้างจากโลหะศักดิ์สิทธิ์ ทั้งชนวนพระเครื่องเก่าๆหลายสิบรุ่น ตะกรุดและแผ่นยันต์จากเถราจารย์ทั่วประเทศนับเป็นพันดอกพันแผ่น ยังไม่รวมถึงพิธีและเถราจารย์ที่มาร่วมปลุกเสก แค่ชนวนโลหะที่นำมาสร้างเหรียญก็มีคุณค่ายิ่งเป็นที่สุดแล้วครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 20 มี.ค. 2564 - 20:09:37 น.
วันปิดประมูล - 25 มี.ค. 2564 - 17:05:05 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลponrat (4.7K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    EDITH (89)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM