(0)
เหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์หลวงพ่ออด ปี2518 เนื้อทองดงลมดำเดิมๆ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์หลวงพ่ออด ปี2518 เนื้อทองดงลมดำเดิมๆ
รายละเอียด(รายการนี้ข้าม5000ไม่ออกบัตรลดให้600)
""เหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์""

สุดยอดประสบการณ์-พุทธคุณขลังตั้งแต่ปลุกเสก

ลองของ”หลวงพ่อกวย”...จ่อยิงจังๆปืนด้าน 3 แชะ!!

“เหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์” เป็นชุดเหรียญพระเกจิชื่อดังที่ได้รับความนิยมตลอดมาตั้งแต่เริ่มสร้างจนกระทั่งทุกองค์มรณภาพไปแล้ว เนื่องเพราะเป็นชุดเหรียญที่รวม”พระดี-เกจิดัง”ไว้มากถึง 9 ท่าน ซึ่งเป็นเลขมงคล อีกทั้งมีพิธีปลุกเสกใหญ่ โดยสุดยอดคณาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น ที่สำคัญ เป็นชุดเหรียญที่ดีครบเครื่องเรื่องพุทธคุณ มีประสบการณ์เห็นกันจะจะมากมายในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและผู้ที่บูชาเก็บไว้

“จตุรพิธพรชัย” คือ พรที่จะทำให้เกิดความสวัสดีมีชัย 4 ประการ เป็นพรที่พระสงฆ์ให้แก่ชาวบ้านเป็นปกติหลังจากทำบุญแล้ว พร 4 ประการนี้ คือ 1. อายุ คือ ให้มีอายุยืน มีชีวิตที่ดี 2. วรรณะ คือ ให้มีความสวยงาม มีชื่อเสียงเกียรติยศ 3. สุขะ คือ ให้มีความสุขกายสบายใจมีความสะดวก 4. พละ คือ ให้มีกำลังกายกำลังใจกำลังทรัพย์ มีพวกพ้องบริวาร

พร 4 ประการนี้เป็นพรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จึงถือว่าศักดิ์สิทธิ์ แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัดต่อเพิ่มเติม พระสงฆ์ใช้มาเป็นพันปีแล้ว

เหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์ คือการจัดสร้างเหรียญพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณทางเวทมนต์คาถา 9 รูปพร้อมๆกัน แล้วจัดพิธีพุทธาภิเษกที่วัดรัตนชัย เมืองกรุงเก่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2518
ความเป็นมาในการจัดสร้าง “นายเรียน นุ่มดี” อดีตผู้บัญชาการเรือนจำกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านผู้นี้เป็นผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างใกล้ชิด สมัยที่ท่านเป็นผู้บัญชาการเรือนจำเมืองกรุงเก่าได้ใฝ่ในการพระศาสนาตามวัดวาอารามต่าง ๆ มาโดยตลอด ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตท่านที่จะเกษียณอายุราชการและกลับ ไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดที่ อ. เดิมบางนางบวช จ. สุพรรณบุรี แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดที่ใกล้บ้านเกิด มีเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมเนื่องจากไม่ได้รับการบูรณะมานาน

ดังนั้นนายเรียนจึงมีความตั้งใจจะหารายได้ส่วนหนึ่งไปปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ให้สวยงาม จึงได้นำความเบื้องต้นเข้ากราบเรียนขอความแนะนำจาก หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ในเรื่องการจัดสร้างเหรียญจตุรพิธพรชัยฯ และพระพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการพระศาสนา หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคลตลอดจนการนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีนี้อย่างละเอียด

วัตถุประสงค์ เพื่อจัดจำหน่ายแด่สาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นฯเพื่อนำเงินรายได้ไปก่อสร้างวิหารจตุรพิธพรชัย และอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ที่วัดเขาใหญ่เป็นสำคัญ

วัตถุมงคลที่จัดสร้างประกอบด้วย พระสมเด็จ 9 ชั้น เนื้อผง, พระแก้วมรกต 3 ฤดู เนื้อผง,พระสามสมัยเนื้อผง พิมพ์เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง พระภควัมบดี ( พระปิดตามหาลาภ ) พระสมเด็จหลังรูปเหมือนสมเด็จโต พระพุทธศรีมณฑป อ่างทอง ปี 2517 ( ตกสำรวจ )

ที่นับว่าโดดเด่นเป็นที่เล่นหาอย่างแพร่หลายก็คือ เหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์ หมายถึง การจัดสร้างเหรียญพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ 9 รูป คือ

1. หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ อายุ 125 ปี วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
2. พระครูประสาธน์วิทยาคม ( หลวงพ่อนอ ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
3. พระครูสันทัศธรรมคุณ ( หลวงพ่อออด ) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
4. พระรักขิตวันมุนี ( หลวงพ่อถิร ) วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.ลพบุรี
5. พระครูประสาทวรคุณ ( หลวงพ่อพริ้ง ) อ.เมือง จ.ลพบุรี
6. พระครูกวย ( หลวงพ่อกวย ) วัดโฆสิตาราม อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท
7. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
8. พระราชสุวรรณโสภณ (โกย ) วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
9. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี

เหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์ จำนวนสร้างองค์ละ 5,599 เหรียญ รวมจำนวนเหรียญทั้งสิ้น 53,991เหรียญ มีแค่ 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน ( มีเฉพาะบางพระอาจารย์ ) เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เนื้อเงิน และรมดำ เป็นเหรียญรูปไข่ ขนาดกว้างประมาณ 2.4 ซ.ม. สูง 3.3 ซ.ม.

ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อแต่ละอาจารย์ประทับนั่งครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ ที่สังฆาฎิมีเลข ๙ ไทย และมีหนังสือไทย จารึกนามพระอาจารย์เจ้าผู้เป็นเจ้าของเหรียญแต่ละองค์

ด้านหลังเป็นอักขระยันต์ประจำองค์ของแต่ละอาจารย์ โดยรอบอักขระยันต์มีหนังสือ ไทยความว่า “ อายุ วรรณะ สุขะ พละ” ทุกเหรียญ ริมขอบเหรียญโดยรอบ มีตัวหนังสือไทยความว่า “ เหรียญจตุรพิธพรชัยที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์ วัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี ”

การจัดสร้างเหรียญจตุรพิธพรชัยครั้งนั้น นายเรียน นุ่มดี ผู้เป็นประธานดำเนินงาน ได้มีวิริยะอุตสาหะอย่างเอกอุ เป็นผู้เสียสละทั้งกำลังทุนทรัพย์และกำลังกาย มิได้เห็นแก่ความเหนื่อยยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอาราธนาพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงวิทยาคมขลังตามวัดใน ต่างจังหวัดซึ่งเป็นผู้เลื่องลือกิตติคุณในสมัยนั้นมาร่วมพิธีพุทธาภิเษก มีการประชุมปรึกษาและกลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน

เมื่อเห็นว่ายังไม่เป็นที่มั่นใจก็ได้นำข้อขัดข้องเข้ากราบ เรียนหลวงปู่ดู่ครั้งแล้วครั้งเล่า จนเป็นที่แน่ใจจึงได้ลงมือดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆโดยเริ่มต้นจากการสร้างเหรียญจตุรพิธพรชัยให้ครบทั้ง 9 อาจารย์ ตลอดทั้งพระพิมพ์แบบต่างๆให้ครบตามจำนวน เสร็จแล้วต้องนำเหรียญของแต่ละอาจารย์ไปขอความเมตตาให้ท่านช่วยปลุกเสกเดี่ยวตามวัดต่างๆ ถึง 9 วัด เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนจึงไปรับเหรียญคืนเพื่อจัดพิธีพุทธาภิเษกที่วัดรัตนชัยต่อไป
พิธีพุทธาภิเษกในวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ จ.ศ. 1337เวลา 15.09 น. โหรประกอบพิธีบูชาฤกษ์ เวลา 16.03 น. – 16.21 น. มหามงคลฤกษ์ ประกอบพิธีจุดเทียนชัย เวลา 16.30 น. พระสงฆ์เถระ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ( ในพระอุโบสถวัดรัตน ชัย) เวลา 19.09 น. พระพิธีธรรม 4 รูปเจริญพระคาถาพุทธาภิเษก พระคณาจารย์ 16 รูป เข้าประจำอาสนะปรก

เกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ 1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ 2. พระ ครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา 3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี 6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา 7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพ 8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา 10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุร13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)
ครูบาอาจารย์หลายรูปรวมถึงหลวงพ่อกวยกล่าวกับศิษย์ของท่านว่า "พิธีนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก"
พิธีนี้หลวงปู่ดู่ท่านให้นายเรียนนิมนต์ “หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค” มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ขณะนั้นท่านอายุ 126ปีเข้าไปแล้ว ท่านจึงมอบหมายให้พระอาจารย์สมบูรณ์ ศิษย์ก้นกุฎิและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นไปร่วมพิธีในนามของท่าน แต่จะว่าไปแล้วเรื่องที่คนคิดไม่ถึงก็คือ หลวงปู่สีท่านก็ได้เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกเช่นเดียวกัน เพราะท่านถือว่าท่านรับนิมนต์หลวงปู่ดู่ไว้แล้ว

ว่ากันว่า นอกจากหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังมีอีกรูปหนึ่งที่เดินญาณมาร่วมพิธีเหมือนกัน ซึ่งก็คือ “หลวงปู่ดู่ วัดสะแก” เพราะท่านรับปากนายเรียนว่าจะช่วยปลุกเสกอย่างเต็มที่

มหาพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลจตุรพิธพรชัย ที่วัดรัตนชัย เมื่อปี พ.ศ. 2518 นั้น หลวงพ่อกวยท่านพบอภินิหารของพระคณาจารย์ผู้ร่วมพิธีปลุกเสกหลายรูปด้วยกัน เมื่อท่านเดินทางกลับมาถึงวัดโฆสิตาราม ได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังว่า พระวัดกลาง อ.ท่าเรือฯ (หมายถึงหลวงพ่อนอ) มีคุณวิเศษในทาง มหาอุดเป็นเลิศ พระวัดบ้านช้าง อ.วังน้อยฯ (หมายถึงหลวงพ่อออด) มีความเข้มขลังทางคงกระพันชาตรี เวลาปลุกเสก ตัวเฑาะว์จะหลุดลอยออกมาจากในปาก พระวัดโบสถ์ ลพบุรี (หมายถึงหลวงพ่อพริ้ง) มีดีทางแคล้วคลาด กำบังภัยอย่างยอดเยี่ยม

สำหรับเหรียญจตุรพิธพรชัยหลวงพ่อกวย หลังจากพุทธาภิเษกเสร็จมีนักเลงท้องถิ่นในพื้นที่พูดคุยกันว่า "จะขลังแค่ไหน.." ปรากฎว่าคำพูดนี้ได้ยินไปถึงนายเรียน จึงนำความนี้เข้าปรึกษาครูบาอาจารย์ในพระอุโบสถว่า "จะทำอย่างไรดี.." เพราะเป็นที่ทราบกันว่าสมัยนั้นการลองของประเภทจะๆ นิยมกันมาก เช่น เอาปืนยิง เพราะต้องการทดสอบพุทธคุณในวัตถุมงคลนั้นๆ ว่าดีจริงเพียงใด ถ้าสมมติว่า "ยิงออกหรือเหรียญโดนยิงทะลุ" ทุกอย่างที่ทำมาเป็นอันจบกัน ซึ่งในเวลานั้นครูบาอาจารย์ที่พรรษาน้อยไม่กล้าออกความเห็นจึงสงบนิ่งเพื่อให้ท่านที่พรรษาสูงกว่าปรึกษาและตัดสินใจกัน

ระหว่างนั้นหลวงพ่อกวย ท่านได้ขออนุญาตครูบาอาจารย์ทุกรูปว่า "กระผมอาสา.." หลังจากนั้นท่านจึงนำเหรียญรูปเหมือนของท่านติดตัวไปด้วยหนึ่งเหรียญออกไปนอกพระอุโบสถ แล้วพูดขึ้นว่า "ใครจะเอาไปลองบ้าง" ปรากฎว่านักเลงคนหนึ่งขออาสาเป็นผู้ทดสอบ และได้นำเหรียญดังกล่าวไปยิงที่หลังพระอุโบสถ ปรากฎว่า "แชะ ๆ ๆ.." และได้นำเหรียญมาคืนหลวงพ่อกวยท่านพร้อมขอขมาท่าน พอชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ประจักษ์ในพุทธคุณและเริ่มบอกปากต่อปากไปในวงกว้าง ส่วนหลวงพ่อกวยท่านจึงกลับเข้าไปในพระอุโบสถพร้อมกับกล่าวว่า "เรียบร้อย.."

ด้วยความเข้มขลังด้วยประสบการณ์ จึงทำให้เหรียญจตุรพิธพรชัยเป็นเหรียญยอดนิยมในหมู่นักสะสมเหรียญคณาจารย์ตลอดมา ราคาเช่าหาสูงขึ้นทุกที่ เพราะเชื่อว่าเปี่ยมด้วยบารมีของพระดี-เกจิดังทั้ง 9 องค์แบบเต็มๆ แถมยังมีพระผู้ทรงวิทยาอาคมระดับประเทศร่วมปลุกเสกด้วย

เหรียญชุดนี้จึงถือว่าครบเครื่องเรื่องพุทธคุณ และนับวันราคาเช่าหามีแต่จะสูงขึ้น ใครสะสมได้ครบชุดบอกได้เลยว่า “สุดยอด”
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ก.พ. 2564 - 18:59:31 น.
วันปิดประมูล - 11 ก.พ. 2564 - 19:00:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลgeeman (700)(3)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pawaris (2.6K)

 

Copyright ©G-PRA.COM