(0)
(เคาะเดียวแดง) พระพุทธนราวันตบพิธ ฉลอง 72 พรรษา (6รอบ) ปี 2542 ผสมมวลสารสมเด็จจิตรลดา เส้นพระเจ้า(พระเกศาในหลวงรัชกาลที่ 9) จีวรเมื่อครั้งทรงผนวช และ มวลสารจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พร้อมกล่องเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง(เคาะเดียวแดง) พระพุทธนราวันตบพิธ ฉลอง 72 พรรษา (6รอบ) ปี 2542 ผสมมวลสารสมเด็จจิตรลดา เส้นพระเจ้า(พระเกศาในหลวงรัชกาลที่ 9) จีวรเมื่อครั้งทรงผนวช และ มวลสารจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พร้อมกล่องเดิม
รายละเอียดพระสภาพสวยมากไม่ผ่านการใช้ รับประกันแท้

ในวาระอันเป็นมิ่งมงคลสมัยอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงเจริญพระชนมายุ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้จัดสร้างพระพุทธนราวันตบพิธ พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พสกนิกรได้สักการะบูชา โดยนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายสนับสนุนมูลนิธิชัยพัฒนา

พระพิมพ์พระพุทธนราวันตบพิตร เป็นพระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองปางห้ามสมุทร

เนื้อผง ขนาดสูง ๓.๒ เซนติเมตร ด้านหลังประดิษฐาน ตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมายุ ๗๒ พรรษา

เนื้อพระประกอบ ด้วยมวลสารจากสถานที่ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพาน

จากประเทศเนปาลและอินเดีย และจากวัดสำคัญและเก่าแก่หลายแห่งในประเทศศรีลังกา

จีนและญี่ปุ่น รวมทั้ง มวลสารจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และวัดสำคัญๆทั่วประเทศ

ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ที่เคารพบูชาทั่วพระราชอาณาจักร

ที่สำคัญยิ่งก็คือได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯพระราชทานเส้นพระเจ้า(พระเกศา) และจีวร เมื่อครั้งทรงผนวช

และมวลสารส่วนพระองค์ (ผงจิตรลดา) โดยพระราชทานผ่านสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช

อัญเชิญมาผสมอยู่ในเนื้อพระพุทธนราวันตบพิธนี้ด้วย พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

โดยมีพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก พระพุทธนราวันตบพิธ จัดสร้างโดยมูลนิธิชัยพัฒนา

รายละเอียดเพิ่มเติม

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และเสด็จมาประทับ ณ พระปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงสถาปนาพระพุทธปฏิมาประจำพระองค์ไว้ในพระบวรพระพุทธศาสนาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธปฏิมานี้ว่า "พระพุทธนราวันตบพิธ" ได้เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ.พระปั้นหยา เป็นพระราชกุศลสืบไป

องค์พระพุทธนราวันตบพิธ เป็นพระยืนยกพระหัตถ์ทั้งสอง ปางห้ามสมุทร อันเป็นพระประจำพระชนมวาร คือ วันจันทร์ ประทับยืนบนฐานกลมบัวคว่ำบัวหงายบนตั่งแข้งสิงห์เหนือหน้ากระดาน และมีฐานภัทรบิฐ สัญลักษณ์ประจำพระองค์รองอีกชั้นหนึ่ง ความสูงถึงสุดพระรัศมี 36.5 เซนติเมตร ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์พระและฐาน

คณะกรรมการจัดสร้างขณะนั้น คือ พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ องค์มนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นกรรมการดำเนินงาน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา และเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพิมพ์เป็นพระเนื้อผง จากต้นแบบพระพุทธนราวันตบพิธพระพุทธรูปฉลองพระองค์

ประการสำคัญที่สุดได้พระราชทานมวลสารส่วนพระองค์ โดยเฉพาะเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศาของพระองค์) ให้นำมาผสมในเนื้อพระ เพื่อให้พสกนิกรได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ตลอดไป

พระเนื้อผงที่จัดสร้างเป็นพระประทับยืนยกพระหัตถ์สองข้างบนพื้นที่ทำเป็นรูป ซุ้มโค้งแหลม สูง 3.2 เซนติเมตร ด้านหลังประดิษฐานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา

เนื้อหามวลสาร นอกจากเส้นพระเจ้าและมวลสารส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานมวลสารมหามงคลอีกประการหนึ่งคือ พระจีวรที่องค์ครองคราวเสด็จออกผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้รวบรวมมวลสารจากพระธาตุสำคัญทุกปีเกิด จากวัดสำคัญ 143 วัดทั่วประเทศ สถานที่สำคัญอันได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ในอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ก็ได้ทรงพระราชทานมวลสารพุทธมงคลสำคัญมาร่วมสร้างพระพิมพ์พระพุทธนราวันตบ พิธ อีกจำนวนมาก

สำหรับการผสมมวลสารมหามงคลพระราชทานนั้น อาจารย์อนันต์ สวัสดิ์สวนีย์ ซึ่งเป็นนายช่างแห่งกองช่างสิบหมู่ กรมศิลปกร ได้นำมวลสารมหามงคลทั้ง 3 ประการ มาซอยและย่อยให้เป็นผงละเอียดยิบ เพื่อจะได้ผสมมวลสารอย่างอื่นอย่างทั่วถึง เพราะฉะนั้นประชาชนทุกท่านมีสิทธิ์ได้รับมวลสารมหามงคลอย่างถ้วนทั่วกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีมหาพุทธาภิเศก เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2542 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงมอบให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์และจุดเทียนชัย มีพระเถระและพระคณาจารย์ รวม 72 รูปทั่วประเทศ อาทิ

1. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร

2. หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต จ.หนองคาย

3. หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย

4. หลวงพ่อพวง สุวีโร วัดป่าปูลู จ.สกลนคร

5. หลวงพ่อบุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น

6.หลวงปู่หงส์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี จ.สุรินทร์

7. หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม จ.ราชบุรี

8. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา



ฯลฯ
ราคาเปิดประมูล150 บาท
ราคาปัจจุบัน200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 23 ม.ค. 2564 - 15:16:42 น.
วันปิดประมูล - 25 ม.ค. 2564 - 23:29:39 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลSomysom (947)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    nutteep (194)

 

Copyright ©G-PRA.COM