(0)
@@วัดใจ20บาท..สุดยอดเครื่องรางแดนสยาม ตะกรุดชุดหลวงพ่อภู วัดดอนรัก จ.อ่างทอง เนื้อตะกั่วน้ำนม สวยสมบูรณ์ครบชุด พุทธคุณของท่านเด่นทางด้านคงกระพันชาตรีครอบจักรวาล ตัวจริงเสียงจริง น่าบูชาสุดๆครับ@@








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@@วัดใจ20บาท..สุดยอดเครื่องรางแดนสยาม ตะกรุดชุดหลวงพ่อภู วัดดอนรัก จ.อ่างทอง เนื้อตะกั่วน้ำนม สวยสมบูรณ์ครบชุด พุทธคุณของท่านเด่นทางด้านคงกระพันชาตรีครอบจักรวาล ตัวจริงเสียงจริง น่าบูชาสุดๆครับ@@
รายละเอียดมาอีกแล้ว>>รายการวัดใจ..20บาทพีๆสมาชิกท่านใดสนใจใส่ราคามาได้เลย


1.อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างนะครับ


2.พระเครื่องที่ลงประมูลในแต่ละรายการนั้นราคาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเพื่อนสมาชิกที่ร่วมประมูล โดยกระผมไม่สามารถที่จะกำหนด หรือเรียกร้องราคาได้ (ถึงขาดทุนผมก็ต้องขาย)หากสมาชิกที่ต้องการเช่าไปเก็บไว้เพื่อออกต่อทำกำไรก็กรุณาตรวจสอบราคากลางให้แน่ใจก่อนที่จะลงราคาประมูลไปนะครับ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องประมูลพระผิดราคา หรือเอาไปแล้วขายไม่ได้ และต้องมีการขอคืนกันตามมาในภายหลัง ดูให้ชอบนะครับจะได้ไม่เสียโอกาศทั้ง2ฝ่าย


3.พระเครื่องหรือเครื่องรางต่างๆที่กระผมเอามาลงทุกรายการยินดีส่งออกบัตรรับรองทุกรายการแต่บางรายการทางสำนักงานไม่มีข้อมูลก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่ผมประกันแท้ตลอดชีพทุกชิ้น


4.รับประกันตามกฎของเว็บ G-PRA ทุกประการ


5.กระผมขอขอบพระคุณพี่ๆ สมาชิกทุกๆท่านที่ยอมรับยูซเซอร์เนมนี้มาโดยตลอด โปรดติดตามพระเครื่อง เครื่องรางและพระกรุดีๆ ที่นำมาประมูล ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ


6.ทุกรายการไม่มีการปิดประมูลให้สมาชิกนอกรอบอย่างแน่นอน ใครให้ราคาไว้สูงสุดก็ได้บูชาไปตามกฎ
ราคาเปิดประมูล20 บาท
ราคาปัจจุบัน1,530 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 08 ต.ค. 2563 - 21:24:37 น.
วันปิดประมูล - 09 ต.ค. 2563 - 21:32:06 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลCABZAA (2.3K)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 09 ต.ค. 2563 - 10:24:01 น.



เพิ่มเติมรูปภาพครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 09 ต.ค. 2563 - 10:36:28 น.



ตะกรุดหลวงพ่อภู วัดดอนรัก
ประสบการณ์นำไปสู่การเล่าขานและกลายเป็นตำนานในที่สุด.....ตะกรุดสำนักแรกที่ได้รู้จักเพราะเมื่อก่อนตอนเป็นเด็กในละแวกแถวบ้านถ้าเอ่ยถึงตะกรุดแล้วก็ต้องยกให้ตะกรุดของหลวงพ่อภู จันทโชติ แห่งวัดดอนรัก อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง เป็นตะกรุดที่ขึ้นชื่อลือชามากที่สุดและนับได้ว่าเป็นตะกรุดที่ฝ่ายบู๊เชื่อถือกันอย่างสนิทใจซึ่งก่อให้เกิดประสบการณ์เล่าขานถึงความเข้มขลังกันอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบัน สำหรับอิทธิคุณแห่งตะกรุดหลวงพ่อภู วัดดอนรัก เท่าที่ร่ำลือตรงกันมากที่สุดก็เห็นจะเป็นในด้านมหาอุดจึงกล่าวได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตะกรุดในตำนานที่นับวันจะหาได้ยากขึ้นทุกที
จากข้อมูลที่เคยได้ยินได้ฟังและสอบถามเกี่ยวกับการเจริญภาวนาของหลวงพ่อภู วัดดอนรัก ทำให้เชื่อว่าท่านมีความชำนาญกสิณน้ำ ทั้งการนั่งในน้ำตอนท่านสรงน้ำหรือแม้กระทั่งการสมาธิในน้ำกับหลวงพ่อเล็ก วัดพร้าว อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเท่าที่สอบถามถึงลักษณะการนั่งในน้ำนี้มิใช่เป็นการนั่งบนผิวน้ำแต่เป็นการนั่งจมลงในน้ำประมาณครึ่งตัว (ข้อมูลส่วนนี้โปรดใช้วิจารณาญาณในการพิจารณาเพราะเกร็ดประวัติที่นำมาเล่าไว้ก็เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงข้อสันนิษฐานว่าท่านน่าจะชำนาญหรือใช้กสิณน้ำลงตะกรุดจึงทำให้ตะกรุดของท่านขึ้นชื่อในด้านหยุดปืนและแคล้วคลาด) สำหรับยันต์ที่ใช้ลงตะกรุดเชื่อว่าตะกรุดของท่านลงด้วยยันต์ตารางสิบหกช่องเดินด้วยคาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์เมื่อถอดยันต์แล้วจะได้ว่า “นะมะ นะอะ นอกอนะกะ กอออ นออะ นะอะ กะอัง” เนื่องจากเท่าที่ได้คลี่ตะกรุดและเทียบสอบทานกับที่คนในพื้นที่ที่เคยคลี่ปรากฏว่าตรงกันและเป็นยันต์แบบเดียวกับที่ลงด้านหลังเหรียญเสมา (รุ่นหลัง) ที่วัดดอนรักได้จัดสร้าง สำหรับตะกรุดบางดอกที่ผ่านการใช้มาน้อยเมื่อนำมาส่องดูจะเห็นรอยตารางด้านในและลายมือของท่านจะจารเส้นเล็กคม
ตะกรุดหลวงพ่อภู วัดดอนรัก ในยุคแรกเป็นตะกรุดทำด้วยตะกั่วทุบในระยะแรกขนาดความยาวและความใหญ่ของดอกตะกรุดไม่มีขนาดแน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณและขนาดของตะกั่วตามแต่จะหาได้หัวท้ายมักจะไม่เท่ากันยังไม่มีมาตรฐานหรือเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในการแยกแยะหากนับรอบม้วนประมาณสามรอบครึ่งเกือบสี่รอบบริเวณตะเข็บส่วนใหญ่จะไม่เป็นเส้นตรงแต่จะมีลักษณะโค้งน้อย ๆ แบบท้องปลิง เมื่อพูดถึงตะกั่วที่จะนำมาทำตะกรุดเท่าที่ทราบมีหลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้ (1) ตะกั่วนม เป็นตะกั่วที่หล่อเป็นไว้เป็นก้อนคล้ายขนมครกหรือมีลักษณะคล้ายนมสาว (2) ตะกั่วถ้ำชา เป็นตะกั่วแผ่นที่ใช้สำหรับกรุรังไม้ที่ใช้บรรจุชาเพื่อป้องกันความชื้น และ (3) ตะกั่วที่รวบรวมมาจากเศษตะกั่วเหลือใช้อาจจะเป็นตะกั่วอวน ตะกั่วหัวลูกปืน เป็นต้น โดยนำตะกั่วตามแต่จะมีมาหลอมเป็นแท่งแล้วใช้ค้อนทุบให้แผ่เป็นแผ่น ดังนั้น แผ่นตะกั่วที่ทำด้วยกรรมวิธีนี้จะไม่เรียบเนียนเสมอกัน ส่วนตะกรุดในยุคต่อมาทำจากแผ่นตะกั่วที่ใช้เครื่องรีดเป็นแผ่นโดยหลอมตะกั่วเป็นแท่งเหมือนเดิมว่ากันว่าจะทำการหลอมตะกั่วแล้วเทใส่กระบอกไม้ไผ่รวกที่ตัดเป็นท่อน ๆ เพื่อให้เป็นแท่งแล้วนำไปผ่านเครื่องรีดซึ่งมีลักษณะคล้ายเครื่องรีดปลาหมึกแต่ลูกโม่จะมีเป็นกระบอกเรียบไม่ได้มีลักษณะเป็นร่องเฟืองแล้วนำมาตัดเป็นแผ่นสำหรับลงตะกรุดต่อไปส่วนความหนามีพอประมาณไม่ถึงกับบางแบบกระดาษหรือแผ่นตะกั่วสำเร็จรูปในปัจจุบันตะกั่วค่อนข้างมีความแข็งตัวเล็กน้อย สำหรับตะกรุดในยุคนี้เท่าที่เคยเจอมีทั้งตะกรุดโทน และตะกรุดชุดซึ่งตะกรุดชุดนี้จะทำการถักเชือกร้อยตะกรุดเข้าชุดเป็นพวงมีทั้ง ตะกรุดชุด 12 ดอก และตะกรุดชุด 13 ดอก (ในส่วนตะกรุดชุด 13 ดอกนี้จะมีอยู่ตะกรุดอยู่ดอกหนึ่งที่ไม่ได้ร้อยเป็นคู่ ๆ จะถูกร้อยแบบเดี่ยว ๆ และมีขนาดใหญ่กว่าดอกอื่นในชุดจึงมักจะทำให้ถูกตัดแยกออกไป) ความยาวมาตรฐานของตะกรุดในยุคนี้จะยาวราวนิ้วมือสี่นิ้วเรียงกัน เมื่อนับจำนวนรอบม้วนจะราวสามรอบครึ่งส่วนแนวตะเข็บโค้งเป็นท้องปลิงน้อย ๆ ไม่เป็นแนวตรงเสียทีเดียว สำหรับตะกรุดของหลวงพ่อภู วัดดอนรัก จะมีทำจากโลหะอื่นด้วยหรือไม่นั้นไม่ขอยืนยันแต่อย่างไรก็ตามท่านได้ทำตะกรุดหนังเสือไว้ด้วยจำนวนหนึ่งสืบเนื่องมาจากมีผู้นำหนังเสือมาขอให้ท่านทำเป็นตะกรุดให้ตะกรุดหนังสือนี้ค่อนข้างยาวกว่าตะกรุดขนาดมาตรฐานและมีการผู้เชือกไว้ด้วยกันสามเปลาะ คือ หัว กลาง และท้าย การผูกไม่ได้ผูกแบบโยงเส้นเชือกแบบตะกรุดหนังเสือหลวงปู่นาค วัดแจ้ง และเมื่อทำเสร็จแล้วทางเจ้าของก็ยังไม่ได้มารับคืนไปจนกระทั่งท่านมรณภาพ


 
ราคาปัจจุบัน :     1,530 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Mahaanan (90)

 

Copyright ©G-PRA.COM