(0)
# หนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง หนาๆ + บัตรรับรอง GPRA







ชื่อพระเครื่อง# หนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง หนาๆ + บัตรรับรอง GPRA
รายละเอียด# หนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง สั่งทำหนาๆ 4.5กรัม องค์นี้ถ้าฟอรม์เต็มกว่านี้ต้องมีหลักแสนครับ พร้อมบัตรรับรอง GPRA เก็บบูชาสบายใจไม่ต้องลุ้น

ประวัติพระมเหศวร

ในการแตกกรุครั้งใหญ่ของพระเครื่อง กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อปีพ.ศ.2456 นั้นได้พบพระเครื่องมากมายหลายชนิด หลายพิมพ์ทรง ซึ่งต่างก็ได้รับความนิยมสูงทั้งสิ้น และที่นักสะสมรู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ “พระผงสุพรรณ” อันเป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคีที่มีชื่อเสียงลือลั่น
นอกจากพระผงสุพรรณอันเลื่องชื่อของวงการแล้ว ในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ยังมีพระอยู่ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพุทธศิลป์แปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ กล่าวคือ เป็นพระพิมพ์ 2 หน้า โดยวางรูปแบบให้พระทั้งสองด้านประทับนั่งกลับหัวสวนทางกัน สมัยก่อนจึงเรียกว่า “พระสวน” ตามลักษณะเด่นของพิมพ์พระ ต่อมาจึงเรียกขานกันว่า “พระมเหศวร”

พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินยอดนิยม วงการพระจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของ “ชุดพระยอดขุนพลเนื้อชิน” แห่งสยามประเทศ เป็นพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่มีจากกรุอื่นๆ นักสะสมต่างยกย่องว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุตม์แคล้วคลาด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนับเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งใน‘พระยอดขุนพล’ และหนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน ของเมืองไทย ซึ่งมีการค้นพบเฉพาะ‘กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ’เท่านั้น
จุดเด่นประการแรกของพระมเหศวรอยู่ที่ “พิมพ์ทรง” ที่ออกจะแปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องยอมรับในภูมิปัญญาไทยสมัยก่อนที่สามารถรังสรรค์ชิ้นงานประติมากรรมด้วยความชาญฉลาด ด้วยปัญหาข้อหนึ่งของพระเนื้อชิน คือส่วนพระศอขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้โดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางคือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างสิ้นเชิงจุดเด่นประการที่สอง คือเรื่อง “ความเข้มขลังด้านพุทธคุณ” เป็นที่เลื่องลือ โดยมีตำนานกล่าวขานกันสืบต่อมาว่า
“ ... หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแถบภาคกลางของไทย เช่น ชัยนาท อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ได้เกิดชุมโจรออกปล้นสะดมชาวบ้านอย่างชุกชุม จนเป็นที่หวาดผวาแก่อาณาประชาราษฎร์ทั่วไป ตกเพลาค่ำคืนต้องคอยระมัดระวังอยู่ยามตามไฟอย่างเข้มงวด ยิ่งตามรอยต่อของทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว จะมีชุมโจรที่น่าเกรงขาม อาทิ เสือฝ้าย และเสือมเหศวร เป็นต้น โดยเฉพาะ "เสือมเหศวร" มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน ยิงฟันไม่เข้า เล่ากันว่าเพราะเสือมเหศวรมีพระเครื่องชั้นดีอยู่องค์หนึ่งที่อาราธนาอยู่บนคอตลอดเวลา เป็นพระเนื้อชิน ประทับนั่งปางมารวิชัย สองหน้า นั่งเอาพระเศียรสวนทางกัน สมัยนั้นเรียกกันว่า "พระสวน" ... สืบต่อมาจึงเอาชื่อของเสือมเหศวรมาเรียกเป็นชื่อพระพิมพ์ว่า "พระมเหศวร"
พระมเหศวรเป็นพระพิมพ์ประเภทเนื้อชินเงินหรือเนื้อชินแข็ง หรือที่เรียกว่า “เนื้อชินกรอบ” มวลสารจะเป็นส่วนผสมของเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง เมื่อผ่านกาลเวลา จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเกิดสนิม ซึ่งจะกัดกร่อนลงไปในเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่ง อย่างเช่น ความชื้น ฯลฯ เราเรียกว่า ‘สนิมขุม’นอกจากนี้จะเกิด‘รอยระเบิดแตกปริ’ตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยจะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ใช้เป็นหลักการพิจารณาสำคัญประการหนึ่ง...
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน21,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 07 ก.ค. 2563 - 23:18:04 น.
วันปิดประมูล - 17 ก.ค. 2563 - 23:18:04 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลบรีสพระช่วย (2.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 07 ก.ค. 2563 - 23:19:00 น.



หนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง สั่งทำหนาๆ 4.5กรัม


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 07 ก.ค. 2563 - 23:19:21 น.



วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยโบราณ เดิมชาวบ้านเรียก วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) ห่างจากเชิงสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณประมาณ ๒๐๐ เมตร มีองค์พระปรางค์เป็นประธาน และมีเจดีย์รายรอบที่มีสภาพปรักหักพังหมด

ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ยังเป็นข้อถกเถียง และโต้แย้งกันอยู่ว่า สร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่ แม้จะปรากฏหลักฐานเป็นแผ่นลานทองจารึกประวัติการสร้าง ที่พบเมื่อครั้งเปิดกรุในปี ๒๔๕๖ แต่ก็ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากแผ่นลานทองสูญหายและชำรุดไปเป็นจำนวนมาก

จากหลักฐานเอกสารแผ่นจารึกต่างๆ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าสร้างในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) และบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑)

กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคี คือ พระผงสุพรรณ และอีกพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล คือ พระมเหศวร

นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์สำคัญๆ อีกหลากหลาย อาทิ พระสุพรรณหลังผาน (หลังพระ) พระสุพรรณยอดโถ พระปทุมมาศ พระกำแพงศอก พระท่ามะปรางค์ พระถ้ำเสือ พระอรัญญิก พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระลีลาพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ

ประวัติที่มาของกรุแตก และพบแผ่นลานทอง ที่เล่าขานกันมาคือ มีชาวจีนคนหนึ่งปลูกผักอยู่ใกล้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดร้าง) วันหนึ่ง ได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ แล้วงไปในกรุ ได้พบแก้วแหวนเงินทองเป็นจำนวนมาก จึงขโมยออกมา แล้วหนีไปเมืองจีน

ต่อมามีคุณลุงอาชีพพายเรือจ้าง ลงไปในกรุเป็นคนที่ ๒ ได้แผ่นลานทอง และพระกำแพงศอกขึ้นมาหลายองค์ แผ่นลานทองเอาไปหลอมได้ทองราว ๒๐-๓๐ บาท นับเป็นการทำลายหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างน่าเสียดายยิ่ง

จากนั้นเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างก็แห่กันไปลงกรุ ขนเอาพระเครื่อง พระบูชา ตลอดจนพระกำแพงศอก ไปเป็นจำนวนมาก กว่าทางราชการจะรู้เรื่อง การขุดกรุล่วงเลยไปถึงประมาณ ๑๐ วัน ผู้ว่าราชการเมือง พระทวีประชาชน (อี้ กรรณสูต) ต่อมาเป็น พระยาสุนทรสงคราม จึงตั้งกรรมการขุดกรุขึ้นมาชุดหนึ่ง ได้พระเครื่องพระบูชาเป็นเล่มเกวียน กับลานทอง ๓-๔ แผ่น ส่งไปให้กรมศิลปากร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงแปลอักษรในลานทอง แล้วส่งสำเนาคำแปลกลับมายังผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณ พระมเหศวร จัดได้ว่า เป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุวัดพระศรีฯ แห่งนี้ เป็นพระเนื้อ ชินเงิน ศิลปะอู่ทอง เช่นเดียวกับ พระผงสุพรรณ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทอง

ความแปลกของพระพิมพ์นี้ซึ่งเรียกได้ว่า มีเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย คือ พระเศียรพระมเหศวรหน้าหนึ่ง กับพระเศียรอีกหน้าหนึ่งจะวางกลับกัน หรือสวนทางกัน

ด้วยเหตุที่พระเศียร ๒ ด้านวางสวนกลับกันไปมา นักพระเครื่องจึงเรียกพระพิมพ์นี้ “พระมเหศวร”

มีบางท่านเข้าใจว่าตั้งชื่อตามชื่อของขุนโจรชื่อดังของเมืองสุพรรณ คือ เสือมเหศวร แต่ข้อเท็จจริงชื่อ พระมเหศวร มีมาก่อนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี ก่อนหน้าที่จะมี เสือมเหศวร เกิดขึ้นในเมืองสุพรรณ ไม่น้อยกว่า ๓๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว

พระมเหศวร มีหลายพิมพ์ทรง แบ่งตามขนาดได้เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่พิเศษ หากแยกลงรายละเอียดก็จะได้อีกหลายสิบพิมพ์

ขณะเดียวกัน หากแบ่งตามพระพักตร์ (ใบหน้า) ก็จะได้อีกหลากหลาย อาทิ หน้าอู่ทอง หน้าพระเศียรขนนก หน้าพระเนตรโปน ฯลฯ

พระมเหศวร นอกจากจะมีพิมพ์พระเศียรสวนกลับกันคนละหน้าแล้ว ยังมี พิมพ์สวนเดี่ยว คือเป็นพระหน้าเดียว ด้านหลังเรียบ บางองค์ด้านหลังมีลายผ้า

นอกจากนี้ ยังมีพระพิมพ์ ๒ หน้า โดยมีพระเศียรไปทางด้านเดียวกัน เรียกว่า พิมพ์สวนตรง เหมือนกับพระพิมพ์ ๒ หน้าทั่วๆ ไป

บางองค์ด้านหน้าเป็นองค์พระ ด้านหลังเป็นซุ้มระฆัง หรือเป็นพระนาคปรกก็มี จัดเป็นพระพิมพ์พิเศษที่หาได้ยากกว่าปกติ

พุทธลักษณะพระมเหศวร หากพิจารณาและวิเคราะห์จากรูปลักษณ์แล้ว พระมเหศวรมีสัณฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยม ตรงกลางของด้านข้าง ทำเป็นรอยเว้าโค้งเข้าหาองค์พระ เป็นลักษณะการออกแบบแม่พิมพ์ที่มีมาแต่เดิม นับเป็นความอัจฉริยภาพของช่างโบราณ ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้แตกต่างกันออกไปเดิมๆ ได้อย่างงดงามลงตัว

เมื่อดูจากด้านหน้าขององค์พระ บริเวณข้างพระเศียร อันปรากฏเส้นรัศมี หรือที่บางท่านเรียกว่า "เส้นม่าน" มีลักษณะคล้ายปีก หากเมื่อพลิกด้านหลังตรงบริเวณนี้จะเป็นบริเวณส่วนของพระเพลา และฐานของพระอีกด้าน เป็นการวางรูปลักษณ์ได้สัดส่วนลงตัวพอดีของพระทั้งสองด้าน

นับเป็นจินตนาการงานศิลป์ชั้นบรมครูอย่างแท้จริง ในการออกแบบพิมพ์ทรงองค์พระได้อย่างงดงามยิ่ง โดยไม่เหมือนกันพระพิมพ์อื่นๆ ที่พบเห็นกันมาก่อน

เส้นรัศมี นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ พระมเหศวร ที่มักจะปรากฏให้เห็นเป็นเส้นขีดๆ บริเวณข้างพระเศียรทั้งซ้ายและขวา สองขีดบ้าง สามขีดบ้าง และบางครั้งถึงขั้นระบุว่า ต้องมีจำนวนเท่านั้นเท่านี้เส้น ยึดถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวของแต่ละแบบพิมพ์

การกำหนดกฎเกณฑ์เช่นนั้น อาจจะมีการเข้าใจผิด และคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เนื่องจากจำนวนเส้นรัศมีใน พระมเหศวร ของแต่ละพิมพ์นั้น มีทั้งสองขีด และสามขีด ไม่แน่นอนตายตัว
ในจำนวนพระที่มีขีดรัศมีนั้น ลักษณะของขีดและตำแหน่งที่ปรากฏ แม้จะพอประมาณได้ว่า อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างออกไปเช่นกัน รวมไปถึงพระบางองค์ที่ไม่มีเส้นรัศมีเลยก็มี แต่ก็เป็นพระแท้เช่นกัน

พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินเงิน ซึ่งเป็นโลหะผสมจากเนื้อตะกั่ว ดีบุก เงิน และปรอท บางองค์ที่แก่ดีบุกองค์พระจะออกผิวพรรณสีขาวคล้ายสีเงิน บางองค์ที่แก่ตะกั่ว องค์พระจะออกสีเทาดำ และบางองค์ที่มีส่วนผสมของตะกั่วค่อนข้างสูง จะปรากฏสนิมแดง (แดงส้ม) ของตะกั่วอยู่ประปรายทั่วองค์พระทั้ง ๒ ด้าน

พระมเหศวร เป็นพระยอดนิยมอีกพิมพ์หนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี แม้ว่าช่วงที่พระพิมพ์นี้ขึ้นจากกรุใหม่ๆ สู่สนามพระเครื่อง ได้รับความนิยมน้อยกว่า พระสุพรรณหลังผาน ก็ตาม แต่เนื่องจาก พระสุพรรณหลังผาน มีจำนวนพระขึ้นจากกรุน้อยกว่า ทำให้พบเห็นได้ยากกว่า

ขณะเดียวกัน พระมเหศวร มีจำนวนพระมากกว่า และแพร่หลายในวงกว้างกว่า จึงทำให้ พระมเหศวร ได้รับความนิยมมากกว่า จนได้รับการยกย่องให้เป็น ๑ ใน ๕ ของ ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล เนื้อชิน อันประกอบด้วย พระร่วงหลังรางปืน (หลังลายผ้า) พระหูยาน พระท่ากระดาน พระชินราชใบเสมา และ พระมเหศวร

พระพุทธคุณ เยี่ยมยอดด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดมหาอุด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าสุดยอดที่สุด ความนิยมของพระมเหศวรจัดอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการพระเครื่องประเภทเนื้อชินยอดขุนพล

ขนาดองค์พระ พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ใหญ่พิเศษ (หน้าใหญ่) กว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๗๕ ซม. พิมพ์กลางและพิมพ์เล็กมีขนาดและรูปทรงย่อมลงมาเล็กน้อย แทบจะดูไม่แตกต่างกันมากนัก

พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ (พิเศษ) องค์สวยๆ ระดับแชมป์ ราคาซื้อขายกันอยู่ที่หลักล้านมานานแล้ว พิมพ์อื่นๆ ราคาลดหลั่นลงมาตามสภาพองค์พระ และพระทุกพิมพ์นับวันจะทวีค่าราคาเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เพราะ พระแท้พระสวย หายาก ในขณะที่ พระปลอม มีมากกว่า และระบาดมานานแล้ว

ผู้สนใจเช่าหาจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ให้ดีที่สุด


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 07 ก.ค. 2563 - 23:19:48 น.



เบญจภาคี เนื้อชิน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ จ.สุพรรณบุรี เลี่ยมทอง สั่งทำหนาๆ 4.5กรัม องค์นี้แก่เนื้อชินเงิน เปลือกผิวส่วนอีกด้านข้างหลังชำรุดเปลือกผิวต่อกาวเอาไว้นิดนึง พระไม่มีหักเดิมหนาๆ ตามรูป ถ้าฟอรม์เต็มกว่านี้ต้องมีหลักแสนครับ ปิดไม่แพงพิจารณาให้ชอบเชิญครับจะได้ไม่เสียเวลาทั้ง 2ฝ่าย พร้อมบัตรรับรอง GPRA เก็บบูชาสบายใจไม่ต้องลุ้น

...เลี่ยมทองหนาๆสวยๆแต่งตัวเรียบร้อยพร้อมใช้อาราธนาติดตัวเอาไว้พึ่งพาพุทธคุณสุดยอดครับ ราคานี้บอกได้คำเดียวว่าสุดคุ้ม... แขวนเดี่ยวไม่ต้องอายใคร ครับ..


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 07 ก.ค. 2563 - 23:20:06 น.



พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินยอดนิยม วงการพระจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของ “ชุดพระยอดขุนพลเนื้อชิน” แห่งสยามประเทศ เป็นพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่มีจากกรุอื่นๆ นักสะสมต่างยกย่องว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุตม์แคล้วคลาด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี


ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พระมเหศวร เป็นพระพิมพ์ที่แปลกกว่าพระพิมพ์ใดๆ ที่ปรากฏมา จุดเด่นคือ เป็นพระพิมพ์ 2 หน้า มีพระสององค์อยู่ด้านหน้า และด้านหลัง โดยวางรูปแบบให้พระทั้งสองด้านประทับนั่งกลับหัวสวนทางกัน อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในสมัยก่อนว่า “พระสวน” แต่ชื่อนี้จะเรียกกันมานานแค่ไหน และเปลี่ยนมาเรียกชื่อ “พระมเหศวร” เมื่อใดก็ไม่ทราบชัด สาเหตุที่ชื่อ “พระสวน” กลายมาเป็น “พระมเหศวร” นั้นอาจเป็นไปได้ว่าชื่อ มเหศวร หมายถึง พระอิศวร ซึ่งเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่มีฤทธิ์อำนาจกว่าใครทั้งปวงจึงเป็นชื่อที่มีมงคลยิ่งต่อการนำมาเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ เพราะเป็นพระที่ยิ่งใหญ่ในพลังอิทธิปาฏิหาริย์เหมือนดังอำนาจของพระอิศวรนั่นเอง
พุทธลักษณะ พระมเหศวร

พระมเหศวร มีลักษณะพิมพ์ทรงเป็นเหมือนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เว้าตรงกลางทั้งสองด้าน มีองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยอยู่ทั้งสองด้าน แต่ประทับนั่งหันพระเศียรสวนกลับทางกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระเครื่องได้ระบุไว้ว่า พระมเหศวร เป็นพระในศิลปะอู่ทองตอนปลาย กล่าวคือ พระเกศยาวเป็นเปลว มีไรพระศก ชายจีวร หรือเส้นสังฆาฏิยาว ปลายตัดเป็นเส้นตรง ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ฐานหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน พระพักตร์เคร่งขรึมแสดงออกถึงตบะอันแก่กล้าน่าเกรงขาม พระเนตรโปนออกมาทั้งสองข้างกลมมน ด้านซ้ายลาดต่ำกว่าด้านขวา พระหัตถ์ซ้ายค่อนข้างใหญ่ สัณฐานคล้ายกล้ามปู ปรากฏเส้นพระอังสา และสังฆาฏิเป็นเส้นกลมแข็งทื่อชัดเจน

บริเวณสองข้างพระเศียรมีลักษณะเป็นปีกยื่นออกมา ปรากฏเส้นขีดนูนสั้นๆ ด้านข้างองค์พระใกล้กับพระเศียร ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเป็นเส้นอะไร มีอยู่หลายแบบด้วยกัน เช่น ด้านซ้ายมี 2 ขีด ด้านขวามี 3 ขีดก็มี ด้านละ 2-3 ขีดก็มี ข้างละเท่าๆ กันก็มี ขีดดังกล่าวเข้าใจว่าเกิดจากลักษณะแม่พิมพ์ หรืออาจเกิดจากการใช้เทคนิคอะไรบางอย่างก็ได้

นอกจากพิมพ์ทรงของพระมเหศวรจะโดดเด่นกว่าใครแล้ว ลักษณะดังกล่าวยังถือเป็นการออกแบบที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง ซึ่งมีผลในแง่ของความแข็งแรงในองค์พระ เพราะปกติแล้วพระเครื่องทั่วไปมักมีส่วนที่บอบบางที่สุดคือ ส่วนพระศอ ซึ่งหากถูกกดทับแรงๆ พระศอมักแตกหัก แต่พระมเหศวรกลับไม่มีปัญหาดังกล่าว เพราะส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่ง เมื่อนั่งสวนทางกันจึงไปอยู่ในตำแหน่งที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง ทำให้ลบล้างส่วนที่เปราะบางออกไปอย่างสิ้นเชิง

การที่ทำเป็นองค์พระทั้งสองด้าน สันนิษฐานว่าแม่พิมพ์ของพระมเหศวร จะมีลักษณะแบบเบ้าประกบ มีเดือยอยู่กลางองค์ระหว่างองค์พระ เพราะในพระบางองค์ยังมีรอยก้านชนวนให้เห็นอยู่


เนื้อพระมเหศวร

เป็นพระประเภทเนื้อชิน มีทั้งชินเงิน และชินตะกั่ว ถ้าเป็นเนื้อชินเงินซึ่งแก่ดีบุก และปรอท เนื้อจะแข็ง และออกเป็นสีเงินยวง ในองค์ที่สมบูรณ์ผิวพระจะมีคราบปรอท และคราบไขสีน้ำตาลแทรกแซมกันอยู่ ทำให้ดูเหมือนผิวปรอทสีทองงามจับตายิ่งนัก แต่ถ้าผ่านการใช้สัมผัสก็จะเกิดสนิมสีดำ บางองค์เกิดสนิมขุม และรอยปริแตก ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระเนื้อชินเงินที่ผ่านกาลเวลามานาน


 
ราคาปัจจุบัน :     21,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM