(0)
รับประกันแท้100 %พระแท้ พระดี พิธีใหญ่ เก่าเก็บนานกว่า 15 ปี พระสมเด็จบางขุนพรหม ย้อนยุค 2547 ที่ "สมเด็จโต" เสก พิธี ณ.วัดบางขุนพรหม(พระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นย้อนยุค 2547 พิมพ์ใหญ่เกศเอียงเแช่น้ำมนต์)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องรับประกันแท้100 %พระแท้ พระดี พิธีใหญ่ เก่าเก็บนานกว่า 15 ปี พระสมเด็จบางขุนพรหม ย้อนยุค 2547 ที่ "สมเด็จโต" เสก พิธี ณ.วัดบางขุนพรหม(พระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นย้อนยุค 2547 พิมพ์ใหญ่เกศเอียงเแช่น้ำมนต์)
รายละเอียด"
การสร้างพระสมเด็จผสมผงบางขุนพรหมรุ่นย้อนยุค พ.ศ 2547 มวลสารเก่าพระสมเด็จบางขุนพรหมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)ท่านสร้างพระพิมพ์ด้วยพระผงเนื้อขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเนื้อพระสมเด็จโดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน)หรือปูนเปลือกหอยผสมผสาน ด้วยวัตถุมงคลอาถรรพ์ อื่น ๆ มีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการ ลบสูตรสนธิจากคัมภีร์ พุทธาคม เช่นผงปถมัง ผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงโสฬสมงคล นะ 108 ตลอดจนผงวิเศษ อื่น ๆอีกมากมายซึ่งท่านได้พิจารณาเห็นว่าทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์อันหนึ่งการสำเร็จผงตามคัมภีร์ทางพุทธาคมต่าง ๆ นั้น จะเริ่มต้นด้วยการเตรียมดินสอพองมาบดตำและกรองด้วยผ้าขาวบางจนดีแล้วนำเอามาผสมกับวัตถุอาถรรพ์ต่าง ๆ เมื่อนำเอามาบดตำ กล่องจูนดีแล้วจึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่าง ๆ เหล่านั้นมาผสมผสานกับดินสอพอง(ดินขาว) แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้งแล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตามคัมภีร์บังคับบนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำมาจากไม้ต้นมะละกอเสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้าง พระสมเด็จที่เราเรียกว่า ผงวิเศษหรือผงพุทธคุณนั่นเอง นอกจากนั้นยังสันนิษฐานกันว่า ท่านยังเอาข้าวก้นบาตร อาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ ถ้าทำไหนอร่อย ท่านจะไม่ฉัน จะถ่ายออกมาแล้วตากให้แห้ง เพื่อนำไปบดตำ สร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้าง พระอาหารของชาวรามัญ และจากการซ่อมพระสมเด็จ เคยพบจีวรสีเหลืองชิ้นเล็ก ๆ สันนิษฐานกันว่า น่าจะเป็นชิ้นส่วนของผ้าห่ม พระประธาน หรือพระพุทธรูปที่สำคัญๆ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเคยพบก้านธูปและก้านไม้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นไม้ ไก่ กุก ซึ่งเป็นวัตถุอาถรรพ์ ทางสร้างเสน่ห์นิยม และยังมีส่วนผสมที่ไม่มีใครทราบอีกหลายสิ่งหลายประการด้วยกัน ส่วนตัวประสานหรือตัวยึดเกาะ นั้น ที่เราทราบกันอย่างเด่นชัด ก็คือน้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้งกล้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเยื่อกระดาษได้จากการที่เอากระดาษฟาง หรือกระดาษสา มาแช่น้ำ ข้ามวันข้ามคืนจนกระดาษละลายกลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบทลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้ เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เนื้อ พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม มีความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหมมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน พระสมเด็จทุกพิมพ์ทุกวัด ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ที่ท่านสร้างถือว่าเป็น จักรพรรดิ ของพระเครื่อง พระเครื่องของท่านทรงอิทธิฤทธิ์ มีพุทธคุณดีครบทุกประการ สามารถป้องกันอันตรายทั้งหลายทั้งปวง ป้องกันภัยพิบัตินานาชนิด มีพุทธคุณครบเครื่องทุกด้าน อาทิเช่น อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ ไม่ว่าจะมาทางตรงทางอ้อม ภัยจากมนุษย์ ภัยจากมนุษย์ และมีเมตตามหานิยมแก่ผู้พบผู้เห็น ดลบันดาลให้ประสบพบแต่โชคลาภ อยู่เย็นเป็นสุข พระเครื่องของท่านถือว่ามีราคาเช่า หาบูชากันหลักหลายๆ ล้าน จึงเป็นที่ปรารถนาของบุคคลทั่วไปพระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นย้อนยุค พ.ศ 2547 จึงได้รวบรวมมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และผงวิเศษจากพระเกจิอาจารย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่านมหามงคลที่เป็นสีขาว ดินโป่งที่เป็นสีขาว ไม้กาฝากที่เป็นสีขาว พระธาตุต่าง ๆ และที่สำคัญได้ผสมผงก้อนเนื้อบางขุนพรหมที่ได้จากเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ 2500 ซึ่งมีพระครูบริหารคุณวัตร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และจอมพลประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น เป็นประธานเปิดกรุอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2500 ได้รับความสนใจจากสาธุชน พระสมเด็จบางขุนพรหมในเวลารวดเร็ว ปัจจุบันเป็นที่ต้องการและปรารถนาของบุคคลทั่วไป
การจัดสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมรุ่นย้อนยุคพ.ศ 2547 จัดพิธีพุทธาภิเษก และอาราธนาพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ณ พระอุโบสถวัดใหม่อมตรส แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 เวลา 18.19 น** พระเทพวิสุทธิเมธี (เที่ยง) เจ้าคณะภาค 11 วัดระฆังฯ เมตตามาเป็นประธานพิธีจุดเทียนชัย โดยพระเกจิชื่อดัง 9 รูปอาทิเช่น
๑. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา
๒. หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
๓. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง จ.เพชรบุรี
๔. หลวงพ่อทอง วัดจักรวรรดิ์ กทม.
๕. หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ จ.ราชบุรี
๖. พระอาจารย์ไพโรจน์ วัดห้วยมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์
๗. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.อยุธยา
๘. พระ ดร.ปรีดา ธัมญาโณ วัดใหม่อมตรส กทม.
๙. หลวงพ่อเทียม วัดใหม่อมตรส กทม.
10.ภายหลังได้นำไปกราบนมัสการขอเมตตา หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมาปลุกเสกเดี่ยว สมเด็จบางขุนพรหม ย้อนยุค ปี๔๗ อีกวาระหนึ่งด้วย"
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 16 มิ.ย. 2563 - 22:17:16 น.
วันปิดประมูล - 18 มิ.ย. 2563 - 01:07:29 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsiri5665 (1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 มิ.ย. 2563 - 22:34:28 น.



พระสมเด็จบางขุนพรหม ย้อนยุค 2547 ที่ "สมเด็จโต" เสก พิธี ณ.วัดบางขุนพรหม(พระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นย้อนยุค 2547 พิมพ์ใหญ่เกศเอียงเแช่น้ำมนต์)


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 16 มิ.ย. 2563 - 22:38:10 น.



พร้อมกล่องผ้าไหมสุดหรูเดิมๆจากวัด รับประกันแท้ 100 % พระดี พิธีใหญ่ เก่าเก็บนานกว่า 15 ปี


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 16 มิ.ย. 2563 - 22:40:40 น.



รับประกันแท้100 %พระแท้ พระดี พิธีใหญ่ เก่าเก็บนานกว่า 15 ปี พระสมเด็จบางขุนพรหม ย้อนยุค 2547 ที่ "สมเด็จโต" เสก พิธี ณ.วัดบางขุนพรหม(พระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นย้อนยุค 2547 พิมพ์ใหญ่เกศเอียงเแช่น้ำมนต์)


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 16 มิ.ย. 2563 - 22:45:51 น.



* จัดสร้าง 1,999 ชุด เท่านั้น **
พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 2547 ที่สร้างครั้งนี้มีส่วนผสมของมวลสารศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะก้อนผงพระสมเด็จกรุใหม่ที่ขุดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นมวลสารหลักและก้อนผงวิเศษ 5 ประการของวัดระฆังฯที่ท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิเมธี เจ้าคณะภาค 11 เก็บรวบรวมไว้ โดยผสมกับผงอิฐฐานรองพระประธานในพระอุโบสถวัดระฆัง ฯ อายุกว่า 200 ปี ซึ่งเชื่อกันว่าพระเถระผู้ใหญ่ของวัดระฆังฯ โดยเฉพาะสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ประกอบพิธีอธิษฐานจิตในโบสถ์ อิฐฐานรองพระประธานย่อมได้รับการลงพลังจิตไปด้วย ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หาค่ามิได้ นอกจากนี้ยังมี พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุต่างๆ และวัตถุอาถรรพณ์ ผสมมากมาย ทั้งไม้มงคล ไม้กาฝาก ดินโป่ง และน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากวัดทั่วประเทศ


 
ราคาปัจจุบัน :     200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    KRUMSANTHIEA (577)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM