(0)
พระปิดตา เนื้อผงขาว บรรจุกรุ วัดประสาท ปี2506 #4








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระปิดตา เนื้อผงขาว บรรจุกรุ วัดประสาท ปี2506 #4
รายละเอียดพระปิดตา เนื้อผงขาว บรรจุกรุ วัดประสาท ปี2506 #3

พระชุดวัดประสาทบุญญาวาส สมเสน กรุงเทพฯ ปี ๒๕๐๖ มวลสารผสมผงวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหม จัดสร้างโดย "พระสมุห์อำพล" อดีตเจ้าอาวาสวัดประสาทฯ ในช่วงปี ๒๕๐๕ - ๒๕๐๙ มวลสารผสมผงวัดระฆังฯ โดยท่านพยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายๆพระอาจารย์รวมทั้งชิ้นส่วนพระเครื่องแตกหักเก่าๆทั้งพระกรุและพระเกจิอาจารย์นับไม่ถ้วน โดยเฉพาะชิ้นส่วนแตกหักของ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่" ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีจำนวนหลายลังทีเดียว ว่ากันว่า พระผงวัดประสาทฯ มีชิ้นส่วนแตกหักของพระสมเด็จบางขุนพรหมมีผสมอยู่มากกว่าสมเด็จบางขุนพรหม ๐๙ เสียอีก พระเกจิที่มาร่วมพิธีวัดประสาทฯ นั้นก็มีมากถึง ๒๐๐ กว่ารูป จนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมา พิธีในครั้งนั้นจัดว่าเป็นพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนับแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นต้นมา

วัตถุมงคลของวัดประสาทบุญญาวาสซึ่งจัดสร้างในช่วงปี พ.ศ. 2505 - 2506 นับเป็นวัตถุคลอีกสายหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากนักสะสมพระโดยถ้วนหน้า เนื่องด้วยสุดยอดในเรื่องมวลสาร มีเจตนาการสร้างอันบริสุทธิ์ และพิธีกรรมการปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่มากๆเลยครับ

ประวัติความเป็นมาของวัดประสาทบุญญาวาสนั้น สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2376 ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2379 มีชื่อวัดว่า วัดคลองสามแสน เพราะอยู่ใกล้คลองสามแสน (ปัจจุบันเรียกคลองสามเสน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดขวิด เพราะมีต้นมะขวิดอยู่ด้านข้างอุโบสถขนาดใหญ่ 2 ต้น เมื่อประมาณ พ.ศ. 2498 ก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ เสนาสนะหลายหลังพร้อมทั้งอุโบสถหลังเดิมก็ถูกไฟไหม้เสียหายไปส่วนหนึ่ง เจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน จึงมีความคิดที่จะสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมาแทนที่หลังเดิมซึ่งความคิดนี้ได้สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดกล่าวคือในคืนหนึ่งพระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นิมิตถึงหลวงปู่ทวด โดยท่านบอกให้พระอาจารย์ทิมไปช่วยบูรณะวัดที่ กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกไฟไหม้ พระอาจารย์ทิมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อสืบข่าวว่านิมิตดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ โดยเข้าพักที่วัดเอี่ยมวรนุช และได้รับการยืนยันว่ามีวัดหนึ่งชื่อวัดประสาทบุญญาวาสถูกไฟไหม้จริง ต่อมาวันรุ่งขึ้นท่านจึงเดินทางไปที่วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อปรึกษาหารือกับพระครูสมุห์อำพลในการบูรณะพระอุโบสถวัดประสาทบุญญาวาสขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยต่อมาพระอาจารย์ทิมเจ้าอาวาส

วัดช้างให้ ได้นำพระหลวงปู่ทวดรุ่นหลังตัวหนังสือปี พ.ศ.2505 มามอบให้เพื่อถอดเป็นแม่พิมพ์และมอบมวลสารพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกปี 2497 พร้อมว่านแร่ดินกากยายักษ์มาให้วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดอีกด้วย การสร้างพระผงของสำนักนี้ท่านเจ้าอาวาสได้พยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายๆพระอาจารย์รวมทั้งชิ้นส่วนพระเครื่องแตกหักเก่าๆทั้งพระกรุและพระเกจิอาจารย์นับไม่ถ้วน โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดคือ ชิ้นส่วนแตกหักของ"สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่"ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ.2500 โดยพระครูบริหารคุณวัตร เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรสในขณะนั้น ได้มอบพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักชำรุดซึ่งมีจำนวนมากหลายลังทีเดียวเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดด้วย โดยว่ากันว่า พระผงวัดประสาทบุญญาวาสนี้ มีชิ้นส่วนแตกหักของพระสมเด็จบางขุนพรหมผสมอยู่มากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมปี 2509 มากมายทีเดียว

จุดประสงค์ในการสร้างพระหลวงปู่ทวดในปลายปี 2505 นั้น ทางวัดได้จัดสร้างพระขึ้นเพื่อนำมาบรรจุในพระเจดีย์จำนวน 84,000 องค์และเพื่อเป็นของสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาในการบริจาคทรัพย์ด้วย และก็ยังได้สร้างพระเพิ่มขึ้นอีกครั้งในต้นปี พ.ศ. 2506 เพื่อจุดประสงค์เดิมและเพื่อแจกเป็นของสมนาคุณให้แก่ผู้ที่ไปปิดทองพระที่หล่อขึ้นใหม่และรวมฝ่าพระพุทธบาทจำลองอีกด้วย
ในด้านพิธีกรรมและการปลุกเสกพระของวัดประสาทบุญญาวาสนั้นมีการจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่มากๆโดยพระคณาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกตามใบฝอยที่แจ้งไว้ในซองบรรจุวัตถุมงคลเพื่อเป็นของสมนาคุณของวัดประสาทบุญญาวาส กล่าวว่าพิธีพุทธาภิเษก 6-7-8-9 มีนาคม พ.ศ.2506 มีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกถึง 234 รูปจนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมาซึ่งพระอาจารย์ท่านใดเก่งๆในสมัยนั้นก็จะนิมนต์มาหมด พิธีในครั้งนั้นจึงจัดว่าเป็นพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนับตั้งแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษเป็นต้นมาครับ

รายนามพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกและรวบรวมมาได้ส่วนหนึ่งมีดังนี้
อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
ลพ.คล้าย วัดสวนขัน
ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น
ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
ลพ.พรหม วัดช่องแค
ลพ.ทบ วัดชนแดน
ลป.ทิม วัดละหารไร่
ลป.เขียว วัดหรงมล
ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
ลป.ดู่ วัดสะแก
ลป.สี วัดสะแก
ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
ลป.นาค วัดระฆังฯ
ลป.หิน วัดระฆังฯ
ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
พระอ.นำ วัดดอนศาลา
ลพ.เส่ง วัดกัลยา
ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
ลพ.เหรียญ วัดบางระโหง
ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ
ลพ.ผล วัดเทียนดัด
ลพ.โด่ วัดนามะตูม
ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
ลพ.สุด วัดกาหลง
ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
ลพ.แก้ว วัดช่องลม
ลพ.กัน วัดเขาแก้ว
ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
ลพ.ดี วัดเหนือ
ลพ.แขก วัดหัวเขา
ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
ลพ.มิ่ง วัดกก
ลพ.ยิ้มง วัดป่าฯ
ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
ลพ.อั้น วัดพระญาติ
ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช
ลพ.สอน วัดเสิงสาง
ลพ.แทน วัดธรรมเสน
ลพ.เทียน วัดโบสถ์
ลพ.นิล วัดครบุรี
ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี
ฯลฯ
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน800 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 05 มิ.ย. 2563 - 07:21:45 น.
วันปิดประมูล - 15 มิ.ย. 2563 - 07:21:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลจวบเมืองชล (1.1K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM