(0)
เหรียญสมเด็จพระวันรัต เขมจารี(กิมเฮง) วัดมหาธาตูเนื้อทองแดง ปี ๒๔๘๒ บล็อคหน้าใหญ่ สภาพใช้ รับประกันแท้ตลอดชีพครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญสมเด็จพระวันรัต เขมจารี(กิมเฮง) วัดมหาธาตูเนื้อทองแดง ปี ๒๔๘๒ บล็อคหน้าใหญ่ สภาพใช้ รับประกันแท้ตลอดชีพครับ
รายละเอียดเหรียญสมเด็จพระวันรัต เขมจารี(กิมเฮง) วัดมหาธาตูเนื้อทองแดงรมดำ เหรียญที่โด่งดังมากในอดีตประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันแทบไม่มีของหมุนเวียนและหาคนรู้จักแทบไม่มี"""""""""""""""""""""""""""
สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า เฮง หรือ กิมเฮง นามฉายาว่า เขมจารี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง
จ.ศ.๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๔ ณ บ้านท่าแร่ ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี บิดาเป็นจีนนอก
ชื่อตั้วเก๊าแซ่ฉั่ว เป็นพ่อค้า มารดาชื่อ ทับทิม

มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คน
คนที่ ๑ เป็นหญิง ตายเสียแต่เป็นเด็กก่อน
คนที่ ๒ เป็นชายชื่อกิมฮวด บรรพชาอุปสมบทตลอดมา จนเป็นพระราชาคณะ ที่พระสุนทรมุนี
เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
คนที่ ๓ คือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
คนที่ ๔ เป็นหญิงตายพร้อมกับมารดาในเวลาคลอด

ยายชื่อ แห จึงอุปถัมภ์เลี้ยงดูสมเด็จฯ ต่อมา ครั้นอายุย่างเข้า ๘ ปี ป้าชื่อ เกศร์ ได้พาท่านไปฝากให้เรียนหนังสือ
ไทยอยู่ในสำนักพระอาจารย์ชัง วัดขวิด จนมีความรู้หนังสือไทยเขียนได้อ่านออก ครั้นอายุย่างเข้า ๑๑ ปี ยายและป้า
ได้พาไปฝากอยู่ในสำนักพระปลัดใจ (ซึ่งต่อมาเป็นพระราชาคณะที่พระสุนทรมุนี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี) เจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว
เมื่อไปอยู่วัดทุ่งแก้ว ก็เริ่มศึกษาภาษาบาลี เริ่มอ่านและเขียนอักษรขอม แล้วหัดอ่านหนังสือพระมาลัยตามประเพณีการศึกษา
ในสมัยโบราณ แล้วท่องสูตรมูลกัจจายน์และเรียนสนธิกับพระอาจารย์อ่ำ เรียนนามถึงกิตก์กับพระอาจารย์แป้น เรียนอุณณาท
และการกกับพระปลัดใจ และเรียนพระธรรมบทและมงคลทีปนีกับพระปลัดใจบ้างกับท่านอาจารย์ม่วงบ้าง กับหลวงธรรมปรีชา
(เอก) บ้าง กับพระอาจารย์ฤกษ์บ้าง กับอาจารย์อุ่ม ซึ่งขึ้นไปจากกรุงเทพฯ และไปพักอยู่ที่วัดพิไชยบ้าง เรียนกับพระมหายิ้มวัด
มหาธาตุฯ ในกรุงเทพฯ ซึ่งขึ้นไปเยี่ยมพระอาจารย์ม่วงและพักอยู่ที่วัดทุ่งแก้วบ้าง ได้หัดเรียนลูกคิดกับพระภิกษุวันและเรียนเลข
กับพระภิกษุอ่อน ครั้นอายุย่างเข้า ๑๒ ปี บรรพชาเป็นสามเณร และได้สึกจากสามเณรเสีย ๒ ครั้ง เพราะต้องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
ในเทศกาลตรุษจีนตามธรรมเนียมของจีน


เมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๓ ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรอีก และเรียนภาษาบาลีอยู่ในวัดทุ่งแก้วตลอดมาเรียนมูลกัจจายน์จบ
เรียนพระธรรมบทจบ และเรียนมงคลทีปนี ไปแล้ว ๖ - ๗ ผูก ครั้นอายุย่างเข้า ๑๗ ปี จึงลงมาอยู่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ
เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๐ และอยู่กับพระมหายิ้ม คณะเลข ๒๓
ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีเลขที่ประจำคณะ แต่เรียกกันว่า คณะต้นจันทร์ เพราะมีต้นจันทร์อยู่หลังกุฏิ ๓ ต้น
สมัยนั้นสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) ดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และมีพระราชาคณะผู้ช่วย ๒ องค์
คือ พระราชโมลี (จ่าย) และพระอมรเมธาจารย์ (เข้ม)

เมื่อแรกมาวัดมหาธาตุฯ สมเด็จฯ ได้เข้าเรียนพระปริยัติธรรมกับพระยาธรรมปรีชา (ทิม) ซึ่งขณะนั้นเป็นหลวงอุดมจินดา
เป็นอาจารย์หลวงท่านหนึ่งใน ๔ ท่าน ที่สอนบาลีพระปริยัติธรรมอยู่ ณ ระเบียงพระอุโบสถวัดมหาธาตุฯ ตอนเหนือ
และเรียนกับพระมหายิ้มบ้าง กับพระอมรเมธาจารย์บ้าง ครั้น พ.ศ.๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้สอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง ณ วัดสุทัศนเทพวราราม และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพ-
วราราม เป็นอธิบดีในการสอบ หลวงอุดมจินดาผู้เป็นอาจารย์สอน จึงสนับสนุนให้สมเด็จฯ เข้าสอบด้วย และได้เป็นเปรียญ ๓
ประโยค ในปีนั้น เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี แล้วไปเรียนต่อกับสมเด็จ พระวันรัต (แดง) อยู่พรรษาหนึ่ง และเรียนกับสมเด็จพระวัน
รัต (ฑิต) แต่ยังเป็นพระพิมลธรรมด้วย ครั้นรุ่งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๒ มีการประชุมสอบกันที่วัดสุทัศนเทพวราราม โดยสมเด็จพระ
วันรัต (แดง) เป็นอธิบดีเช่นเคย แต่เมื่อประชุมสอบไปได้ ๓ วัน สมเด็จพระวันรัต (แดง) เริ่มอาพาธ จึงยุติการสอบไล่ในปีนั้น


ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร เป็นอธิบดีในการ
สอบพระปริยัติธรรม และประชุมสอบที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ เข้าสอบได้อีกประโยคหนึ่งในปีนี้ จึงเป็นเปรียญ ๔
ประโยค เมื่ออายุย่างเข้า ๒๐ ปี ครั้นรุ่งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๔๔ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรสิ้นพระชนม์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นแม่กองกลาง ให้สมเด็จพระพุทธโฆษา
จารย์ (แสง) เป็นแม่กองเหนือ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) เป็นแม่กองใต้ ประชุมสอบ ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ เข้า
สอบประโยค ๕ ได้ แต่สอบประโยค ๖ ตก จึงเป็นเปรียญ ๕ ประโยค เมื่ออายุย่าง ๒๑ ปี ต่อมาเมื่ออายุย่างเข้า ๒๒ โดยปี
ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุฯ เมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๕
โดยสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) เป็นพระอุปัชฌายะ และพระธรรมวโรดม (จ่าย) วัดเบญจมบพิตรกับพระเทพเมธี (เข้ม) วัดพระเชตุ
พนฯ เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และในปีนั้น เข้าสอบพระปริยัติธรรม ได้อีก ๒ ประโยค จึงเป็นเปรียญ ๗ ประโยค

ครั้นปีรุ่งขึ้น คือ พ.ศ.๒๔๔๖ ได้เข้าสอบได้อีก ๑ ประโยค จึงเป็นเปรียญ ๘ ประโยค สมเด็จพระวันรัต (ฑิต)
พระอุปัชฌายะได้ถวายตัวฝากเรียนฎีกาสังคหะ (อภิธมฺมตฺถวิภาวินี) กับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นพระอาจารย์แต่นั้นมา ครั้นรุ่งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๗ สมเด็จฯ ก็เข้าสอบได้อีก ๑ ประโยค จึงเป็นเปรียญ ๙ ประโยค
เมื่ออายุย่างเข้า ๒๔ ปี


สมเด็จฯ เป็นนักการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ประจำที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงและยืดยาวนานของท่าน คือ นายกมหาธาตุ
วิทยาลัย ซึ่งท่านได้รับช่วงสืบต่อมาจากสมเด็จ พระวันรัต (ฑิต) พระอุปัชฌายะของท่าน และท่านก็สามารถทำนุบำรุง
และจัดการศึกษาของสถานศึกษาฝ่ายพระมหานิกายแห่งนี้ให้เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง สมดังพระราชปณิธานของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏในประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆิกเสนาสนราชวิทยาลัย
ท้าวความเดิมถึงพระราชปณิธานที่ตรงตั้งมหาธาตุวิทยาลัยไว้ว่า “อีกสถานหนึ่ง เป็นที่เล่าเรียนของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุฯ ได้เปิดการเล่าเรียนมาตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน รัตน โกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ.๒๔๓๒) สืบมา”

สมเด็จฯ ทุ่มเทชีวิตจิตใจและสติปัญญาลงไปในการจัดการศึกษาของมหาธาตุวิทยาลัยอย่างจริงจัง
นอกจากจัดการศึกษาโดยตรงแล้ว เพื่อสนับสนุนการศึกษาให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น สมเด็จฯ ได้ขวนขวายจัดตั้งมูลนิธิ
บำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมของมหาธาตุวิทยาลัยขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ เรียกชื่อตามตราสารตั้งมูลนิธิว่า “นิธิ โรงเรียนบาลี
มหาธาตุวิทยาลัย” มีคณะกรรมการทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ร่วมจัดการ และมีระเบียบดำเนินการอย่างรัดกุมเป็นอย่างดี
ยิ่ง สำนักงานของมูลนิธิ ตั้งอยู่ที่สำนักงานพระคลังข้างที่ในพระบรมราชวัง การจัดตั้งมูลนิธิของสมเด็จฯ ทำให้มหาธาตุ
วิทยาลัยสมัยนั้นมีฐานะมั่นคงเข้มแข็ง และสามารถขยายการศึกษาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในการศึกษาพระปริยัติธรรม
แม้เมื่อสมเด็จฯ บำเพ็ญกุศลในคราวมีอายุครบ ๕ รอบ หรือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ ใน พ.ศ.๒๔๘๕ ยังได้สร้างหนังสือแปลบาลีแบบ
สนามหลวง ตั้งแต่ประโยค ๓ ถึงประโยค ๙ ซึ่งสมเด็จฯ แปลขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวอย่าง แจกจ่ายไปตามสำนักเรียนต่าง ๆ
ทั้งในกรุงและหัวเมือง ตลอดถึงนักเรียนผู้ต้องการทั้งในสำนักวัดมหาธาตุฯ และต่างสำนัก
วันพุธที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ เป็น พระศรีวิสุทธิวงศ์ อายุ ๒๙ ปี ๘ พรรษา
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็น พระราชสุธี อายุ ๓๒ ปี ๑๑ พรรษา
วันศุกร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็น พระเทพโมลี อายุ ๓๖ ปี ๑๕ พรรษา
วันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์ อายุ ๔๑ ปี ๒๐ พรรษา
วันอังคารที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็น พระพิมลธรรม อายุ ๔๘ ปี ๒๗ พรรษา
วันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็น สมเด็จพระวันรัต อายุ ๕๙ ปี ๓๘ พรรษา

ท่านอาพาธด้วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังกับขั้วปอดโตขึ้น มีอาการไอกำเริบ มรณภาพวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ณ หอเย็นคณะเลข ๑ วัดมหาธาตุฯ อายุได้ ๖๓ ปี พรรษาได้ ๔๒ พรรษา

https://sites.google.com/site/prauthai/smdecheng

เหรียญนี้สภาพตรงตามรูปครับ ถ่ายจากมือถือ เหรียญเก่า แต่พุทธคุณเปี่ยมล้นเท่าเดิม รับประกันแท้ตลอดชีพครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 08 พ.ค. 2563 - 20:34:20 น.
วันปิดประมูล - 09 พ.ค. 2563 - 21:01:49 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลronnakorn2516 (4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 08 พ.ค. 2563 - 20:35:58 น.



หูเชื่อมหักนะครับ แต่รอยเชื่อมตะกั่วในสมัยก่อนมีให้เห็นชัดเจนครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 08 พ.ค. 2563 - 20:36:34 น.



ขอบเหรียญเป็นกระบอก


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 08 พ.ค. 2563 - 20:37:33 น.



สมเด็จพระวันรัต เขมจารี(กิมเฮง) วัดมหาธาตุ


 
ราคาปัจจุบัน :     300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    อนุรักษ์ศิลป (236)(5)

 

Copyright ©G-PRA.COM