(0)
วัดใจ ///พระกรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก ธนบุรี เนื้อดินเผา 2473 พิมพ์สมเด็จ ข้างยันต์ ฐาน พศ ๒๔๗๓








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ ///พระกรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก ธนบุรี เนื้อดินเผา 2473 พิมพ์สมเด็จ ข้างยันต์ ฐาน พศ ๒๔๗๓
รายละเอียดพระกรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก ธนบุรี เนื้อดินเผา 2473 พิมพ์สมเด็จ ข้างยันต์ ฐาน พศ ๒๔๗๓(พิมพ์นิยม อันดับต้นๆ รองจากสะดุ้งกลับ)

ประวัติ ปาฎิหาริย์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก "บางขุนเทียน" (กรุงเทพฯ)
หลวงพ่อพ่วง วัดกก
ท่านเกิดเมื่อปีราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ที่ตำบลแสมดำ เขตบางขุนเทียน โยมบิดาชื่อนาย "พุ่ม" โยมมารดาชื่อนาง "พุ่ม" นามสกุล "พุ่มพยุง" และมีน้องชายชื่อ รอด หลังจากอุปสมบทแล้วก็ได้รับแต่งตั้งเป็น “เจ้าอาวาสวัดแสมดำ”
ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อรอด"
ในสมัยวัยเยาว์ ด.ช.พ่วง เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย ไม่เคยเกเร ให้พ่อแม่ได้รำคาญใจเลยแม้แต่นิดเดียว โดยนิสัยส่วนตัวนั้นเป็นเด็ก ชอบคิดชอบสังเกต มีจิตใจโอบอ้อมอารีย์ มีจิตใจที่เมตตาสูงมาก ไม่ว่าจะกับคนหรือแม้แต่กับสัตว์ต่างๆ ในชีวิตวัยเด็กก็ต่างกับเด็กๆทั่วๆไปเพราะชอบช่วยเหลืองานบิดามารดามาตลอด ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอด ด้วยจิตใจที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ท่านจึงขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ8ขวบเพื่อบวชเรียนเขียนอ่าน ด.ช.พ่วง เป็นเด็กฉลาดหัวไว ความจำดีเป็นเลิศ จึงสามารถร่ำเรียนเขียนอ่านได้อย่างแตกฉาน เป็นที่ยกย่องของครูบาอาจารย์มาตลอด
เมื่อท่านอายุครบบวช สามเณรพ่วง ท่านก็ได้อุปสมบทพระที่วัดกก ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆ บ้านของท่าน โดยมี “หลวงพ่อวัดหัวกระบือ” เป็นพระอุปัชฌาย์ “หลวงพ่อคง วัดกก” เป็นคู่สวดได้รับฉายาว่า “ธมฺโชติ” อ่านว่า “ธรรมโชติ” หรือธรรมะโชติกหมายถึงผู้ “มีธรรมอันสว่างไสวเข้าใจธรรมได้กระจ่างแจ้ง” หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาทาง “วิปัสสนา” กับ “หลวงพ่อคง” และพระอุปัชฌาย์ของท่านที่ “วัดหัวกระบือ” อยู่หลายพรรษา
"หลวงพ่อคง วัดกก" ท่านนี้เป็นพระที่เก่งกล้าในทางวิทยาคมสูงมาก ในแถบย่านบางขุนเทียน ในสมัยนั้น และท่านก็ได้ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพ่วงจนหมดสิ้น นอกจากนี้ หลวงพ่อพ่วงท่านยังได้ออกธุดงค์ ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และยังได้ศึกษาสรรพวิชาต่างๆ จากพระอาจารย์อีกหลายองค์ เนื่องจากไม่ได้บันทึกไว้ จึงทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่าท่านได้เดินทางไปศึกษากับ พระอาจารย์ท่านใดบ้าง
หลวงพ่อพ่วง ท่านออกธุดงค์แต่ละครั้ง มักไปในสถานที่ไกลๆ เป็นเวลานานๆ เมื่อท่านได้ทราบข่าวว่าหลวงพ่อคงท่านมรณภาพลง จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดกก ซึ่งในตอนนั้น (หลวงพ่อดิษ) เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ ต่อมาอีกไม่นานนักหลวงพ่อดิษ ท่านก็ลาสิกขาบทออกไป ชาวบ้านและกรรมการวัด ได้เห็นพ้องต้องกันว่า หลวงพ่อพ่วงท่านเป็นพระที่ชาวบ้านเคารพเลื่อมใส และศรัทธาในตัวท่านมาก จึงได้พร้อมใจกันอาราธนาท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกกสืบแทน หลังจากท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้พัฒนาวัดกกให้มีความเจริญ รุ่งเรืองสืบมา
และจากที่ “หลวงพ่อ” เป็นพระเถระที่สงบเงียบไม่ค่อยพูด จึงไม่มีใครกล้าคุยกับท่านมากนัก เพราะคิดว่าท่านดุแต่โดยแท้จริงท่านเป็นพระที่มี “เมตตามาก” คนใกล้ชิดจะทราบดี
"หลวงพ่อพ่วง วัดกก" ท่านนี้ยังเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของ (หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง) และหลวงพ่อไปล่ยังได้ไปเรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อพ่วงอีกหลายแขนงทั้งคงกะพันชาตรีและเมตตามหานิยม หลวงพ่อพ่วงท่านเป็นพระอาจารย์ที่หลวงพ่อไปล่ ให้ความเคารพนับถือมาก ขนาด (หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง) ยังยกย่องว่า "พระอุปัชฌาย์พ่วง วัดกก องค์นี้แหละท่านเก่งจริงๆ"
ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้พิจารณาเห็นว่า “หลวงพ่อพ่วง” เป็นพระเถระที่มีความรอบรู้ในทุกๆด้าน เป็นพระที่ชาวบ้านเคารพนับถือมีพุทธาคมเก่งเกล้ามีศีลาจารวัตรดียิ่ง สามารถปกครองพระให้มีระเบียบเรียบร้อย จึงแต่งตั้งให้เป็น “พระอุปัชฌาย์พ่วง” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่ง ขณะนั้นท่านมีพรรษาได้เพียง ๒๐ พรรษาเท่านั้น เพราะสมัยนั้นพระอุปัชฌาย์ มิใช่จะตั้งกันได้ง่าย ๆ เพราะช่วงนั้นบางขุนเทียน มีเพียงรูปเดียวคือ “หลวงปู่เอี่ยม” หรือ “เจ้าคุณเฒ่าวัดหนัง” ต่อมาจึงมี “หลวงพ่อพ่วง” เพิ่มอีกเป็น ๒ รูป ดังนั้นสมัยที่ “หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง” ทำการบวชก็มี “หลวงพ่อพ่วง” เป็นพระกรรมวาจาจารย์และหลังบวชแล้ว ก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาและพุทธาคมจาก “หลวงพ่อพ่วง วัดกก” อีกด้วย
วัตถุมงคลหลวงพ่อพ่วง วัดกก ท่านได้สร้างไว้มีหลายอย่าง เช่นในสมัยแรกๆ ท่านได้สร้างตะกรุด ลูกอม ผ้ายันต์แจกให้แก่ศิษย์ไว้คุ้มครองตัว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๐ ท่านได้สร้างพระเนื้อผงใบลานเป็นพระพิมพ์สมาธินั่งบัว ปัจจุบันไม่ค่อยมีใหัพบเห็น พระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผงมวลสาร สร้างในปี พ.ศ.๒๔๗๓ ซึ่งมีทั้งหมด ๒๔ พิมพ์ทรง และในปี พ.ศ.๒๔๗๘ ท่านได้สร้างพระเหรียญหล่อเนื้อเมฆพัด เป็นรูปท่านนั่ง มีทั้งแบบรูปไข่และทรงกลม ปัจจุบันหาชมได้ยากมาก สนนราคาสูงมากเช่นกัน
วัตถุมงคลหลวงพ่อพ่วง ท่านมีหลายอย่าง พระเครื่องหลวงพ่อพ่วง เป็นที่กล่าวขานกันมากในสมัยนั้นถึงเรื่องมหาอุดคงกระพันและเมตตาแคล้วคราดเป็นเลิศ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 25 เม.ย. 2563 - 09:33:52 น.
วันปิดประมูล - 26 เม.ย. 2563 - 09:47:09 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลlordcoffee (3.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 25 เม.ย. 2563 - 09:34:51 น.



**


 
ราคาปัจจุบัน :     1,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ราชภัฏ (671)

 

Copyright ©G-PRA.COM