(0)
100บาท สมเด็จพุทธภูมิ วัดบ้านกล้วย 2503 หลวงพ่อจงปลุกเสก






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง100บาท สมเด็จพุทธภูมิ วัดบ้านกล้วย 2503 หลวงพ่อจงปลุกเสก
รายละเอียดสมเด็จพิมพ์กำแพงแก้ว วัดบ้านกล้วย ปี 2504หลวงพ่อ จง วัดหน้าต่างนอก ปลุกเสกเป็นพระสมเด็จที่สร้างขึ้นในสมัยพระครูโสภิตธรรมสาส์น อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ( พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๕๑๘ ) ท่านพระครูโสภิตธรรมสาส์นได้จัดสร้างพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้วขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นของสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ตั้งมูลนิธิเลี้ยงพระ เณร และนักศึกษาในวัด ด้วยเหตุนี้ จึงนับได้ว่าทั้งพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้วนี้ ต่างก็เป็นพระเครื่องที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างที่ดีพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว นับเป็นพระเครื่องที่มีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องมานานจวบถึงถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ มิใช่เป็นเพียงเพราะการเป็นพระพิมพ์สมเด็จที่มีการประยุกต์ให้ดีขึ้นจากต้นแบบเดิมเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเพราะว่าได้มีนำรูปพระแก้วมรกตมาจำลองแบบไว้ภายในครอบแก้วด้วยนั่นเอง ซึ่งเดิมทีแล้ว ทางวัดได้ทำการแจกจ่ายออกไปโดยที่มิได้มุ่งหวังความโด่งดังอะไรเลย แต่ผลปรากฎที่ออกมากลับเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง กล่าวคือใครก็ตามที่ได้พบเห็นพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้วไม่ว่าจะ ณ ที่ใดก็ตาม จะรู้สึกเหมือนมีอะไรดึงดูดใจให้ต้องเข้าไปชะโงกดูใกล้ ๆ แล้วก็พากันยอมรับในฝีมือช่างโดยปราศจากข้อกังขา แม้ว่าจะมีผู้สร้างพระสมเด็จออกมาเป็นล้าน ๆ องค์ แต่ก็หาใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีพระพิมพ์สมเด็จของใครสร้างออกมาได้อย่างเป็นที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะเช่นนี้ และที่สำคัญมวลสารที่นำมาจัดสร้างทั้งพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความขลังได้ไม่น้อยเลยที่เดียว
มวลสารที่นำมาจัดสร้าง :
- ดินเก่าในกรุวัดราชบูรณะ จ.อยุธยา
- ดินเก่าวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
- ดินเก่าวัดมหาธาตุ จ.ลพบุรี
- ดินกรุวัดหินตั้ง จ.สุโขทัย
- ดินกรุวัดอรัญญิก จ.พิษณุโลก
- ดินกรุวัดนครชุม จ.พิจิตร
- ดินกรุวัดบรมธาตุทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร
- ไคลสีมาวัดโพธิ์แก้วนพคุณ จ.สิงห์บุรี
- ไคลสีมาวัดเกาะแก้ว จ.ลพบุรี
- ไคลสีมาวัดเขาแก้ว จ.ลพบุรี
- ไคลสีมาวัดป่าแก้ว จ.อยุธยา
- ไคลสีมาวัดชุมแก้ว จ.ปทุมธานี
- ไคลสีมาวัดอ่างแก้ว จ.สมุทรสาคร
- ไคลสีมาวัดแก้ว จ.ลพบุรี
- ดินสังเวชนียสถานจากอินเดีย ๗ ตำบล
- ทรายจากกระถางธูปในสถานที่ที่มีผู้คนสักการะบูชา ๗ แห่ง
- เกสรดอกไม้บูชาพระ ๗ แห่ง
- ใบโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่นำมาปลูกในประเทศไทย ๗ ต้น
- คัมภีร์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ตัวขอมผูกอาราธนาหลวงพ่อผู้ทรงคุณพิเศษ ๗ รูป
- ดินจอมปลวก ๗ จอม
- น้ำมนต์ ๗ วัดเป็นตัวประสานมวลสาร
...................พิธีพุทธาภิเษก .......................... ได้มีการจัดพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำโดยได้มีการอัญเชิญองค์พระแก้วมรกตจำลองสู่โรงพิธี จากนั้นพระสงฆ์ ๗ รูปเจริญพระพุทธมนต์เย็น พอตะวันตกดิน พระสงฆ์เริ่มสวดพุทธาภิเษก คณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษนั่งปรกปลุกเสกตลอด ๗ คืน หลังจากนั้น พอขึ้น ๑๔ ค่ำก็สวดเดินธาตุและสวดญัตติตามคัมภีร์โบราณก่อนจะนำออกให้ชาวบ้านญาติโยมบูชาต่อไป ก่อนหน้านั้น ทางวัดได้อาราธนาหลวงพ่อผู้เป็นที่ยอมรับนับถือของคนไทยทั้งประเทศในสมัยนั้น ๗ องค์มาร่วมทำการปลุกเสกอันได้แก่ :-
๑.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา
๒.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
๓.หลวงพ่อชม วัดตลุก จ.ชัยนาท
๔.หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
๕.หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี
๖.หลวงพ่อโสภิตธรรมสาส์น วัดรัมภาราม จ.ลพบุรี
๗.หลวงพ่อสมดี จ.สิงห์บุรี...............เมื่อสร้างและทำพิธีปลุกเสกเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางวัดก็ได้มอบพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำ แพงแก้วให้แก่พระเกจิอาจารย์ทั้ง ๗ รูปไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่ามากน้อยเท่าใด แต่โดยเฉพาะหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกนั้น น่าจะได้มากกว่าเกจิอาจารย์รูปอื่น ๆ เนื่องจากปรากฎภายหลังว่าหลวงพ่อจงท่านได้นำเอาพระสมเด็จกำแพงแก้วแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาไปจำนวนหนึ่งไม่น้อยเลยทีเดียว และภายหลังปรากฎว่าพระสมเด็จทีแจกไปนั้น เป็นที่นิยมศรัทธาอย่างสูง โดยผู้ที่ได้รับแจกต่างพากันเข้าใจไปว่าเป็นพระสมเด็จสร้างโดยหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
ราคาเปิดประมูล80 บาท
ราคาปัจจุบัน380 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 03 มี.ค. 2563 - 19:38:18 น.
วันปิดประมูล - 04 มี.ค. 2563 - 19:56:35 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkaidaao (1.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     380 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    เหน่งบางคู้ (4.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM