(0)
พระอู่ทอง(พระสามสมัย) พิธีจตุรพิธพรชัย ปี18 พระดี พิธีเยี่ยม หลวงปู่ดู่, หลวงปู่สี, หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย, หลวงพ่อนอ, หลวงพ่อหน่าย, หลวงพ่อพริ้งฯลฯ สุดยอดพระเกจิร่วมกันปลุกเสก






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระอู่ทอง(พระสามสมัย) พิธีจตุรพิธพรชัย ปี18 พระดี พิธีเยี่ยม หลวงปู่ดู่, หลวงปู่สี, หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย, หลวงพ่อนอ, หลวงพ่อหน่าย, หลวงพ่อพริ้งฯลฯ สุดยอดพระเกจิร่วมกันปลุกเสก
รายละเอียดพระอู่ทอง(พระสามสมัย) พิธีจตุรพิธพรชัย ปี 18 พระดี พิธีเยี่ยม สุดยอดพระเกจิร่วมกันปลุกเสก สภาพพระแท้ ดูง่ายจริงๆครับ ปัจจุบัน หายากแล้วครับ

ประวัติ...
อดีตผู้บัญชาการเรือนจำกลาง จ.อยุธยา นายเรียน นุ่มดี มีจิตศรัทธาที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดเขาใหญ่ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี จึงได้นำความมากราบ ปรึกษากับหลวงปู่ดู่ วัดสะแก เพื่อจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น เพื่อแจกให้แก่ผู้ที่บริจาคเงินบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดเขาใหญ่

วัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้มีอยู่ 4 ประเภท (ไม่นับรวมของฝากในพิธีนี้) คือ

1. เหรียญ 9 พระอาจารย์ - จัดสร้าง 5,599 เหรียญ แบ่งออกเป็นอีกสองเนื้อคือ เนื้อเงิน (มีเพียงบางพระอาจารย์เท่านั้น) และเนื้อทองแดง มีทั้งแบบที่บรรจุในกล่องกำมะหยี่และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ที่นิยมเรียกว่า "เหรียญ 9 พระอาจารย์" นั้นเพราะว่าทางคณะกรรมการจัดทำเป็นเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่ด้าน หน้า และประทับยันต์ครูของท่านที่ด้านหลัง รวม 9 แบบ คือ หลวงพ่อนอ วัดกลาง หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม โดยเมื่อปั๊มเหรียญเสร็จจากโรงงาน คณะกรรมการได้นำเหรียญของแต่ละพระอาจารย์ไปมอบให้ที่วัดเพื่อให้ท่านปลุกเสก เหรียญของท่านล่วงหน้า 1 เดือนก่อนพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
2. พระสมเด็จ 9 ชั้น - จัดสร้างเป็นเนื้อผงแก่น้ำมัน จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ ตามประวัติกล่าวว่าพระชุดนี้หลวงปู่ดู่ท่านตั้งใจออกแบบพิมพ์และมวลสาร เพื่อถวายให้หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคเป็นกรณีพิเศษ โดยด้านหน้าจะล้อพิมพ์พระสมเด็จวัดไชโย ด้านหลังเป็นยันต์ครูของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค และมีคำว่า "วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี" ประทับอยู่ใต้ยันต์ครู โดยหลวงปู่ดู่ท่านได้มอบผงมหาจักรพรรดิ์จำนวนหนึ่งไปผสมเป็นมวลสาร จากนั้นนายเรียนจึงนำเรื่องนี้ได้กราบเรียนหลวงปู่สีทราบ ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและอนุญาตตามนั้นและได้มอบผงวิเศษของท่านมาอีกจำนวนหนึ่ง สุดท้ายหลังจากได้มวลสารและกดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ดู่ท่านได้บอกให้นายเรียนนำพระสมเด็จชุดนี้กลับไปให้หลวงปุ่สีท่าน ปลุกเสกเป็นปฐม ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ 1 เดือน (เป็นพระอีกชุดหนึ่งของสายนี้ที่ปลุกเสกนานมาก) เสร็จแล้วจึงให้นายเรียนมารับกลับไปเพื่อรอเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
3. พระแก้ว 3 ฤดู - จัดสร้างเป็นเนื้อผงและมีการลงสีเขียวที่พระวรกาย ปิดทองที่เครื่องทรง เฉกเช่นเดียวกับพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ มีทั้งแบบบรรจุกล่อง (ครบ 3 ฤดู) และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องตามฤดู (ร้อน / ฝน / หนาว) ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า "วัดรัตนชัย (จีน) อยุธยา"
4. พระสามสมัย - จัดสร้างเป็นเนื้อผงโดยแบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ คือ เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปและที่ใต้พระพุทธรูปจะมีคำอธิบายศิลปะของพระพุทธ รูปไว้ด้วย คือ เชียงแสน หรือ สุโขทัย หรือ อู่ทอง ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า "วัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี"

พระชุดนี้หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เมตตาปลุกเสกเดี่ยว 1 เดือนเต็ม หลังจากนั้นได้นิมนต์พระเกจิอีกมากมายร่วมปลุกเสกอีกครั้ง ที่ วัดรัตนชัย (วัดสามจีน) จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพ.ศ.2518

รายนาม พระคณาจารย์ ที่ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต ใน วันที่ 1 มิถุนายน 2518 มีดังนี้

1. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
3. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
4. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
5. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
6. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
7. พระราชสุวรรณโสภณ (หลวงพ่อโกย) วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
8. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
9. หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค จ.นครสวรรค์ (อายุ 125 ปี )
10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
11. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
12. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
13. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
15. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

คำว่า จตุรพิธพรชัย คือ พรที่จะทำให้เกิดความสวัสดีมีชัย 4 ประการ เป็นพรที่พระสงฆ์ให้แก่ชาวบ้านเป็นปกติหลังจากทำบุญแล้ว พร 4 ประการนี้ คือ
1. อายุ คือ ให้มีอายุยืน มีชีวิตที่ดี
2. วรรณะ คือ ให้มีความสวยงาม มีชื่อเสียงเกียรติยศ
3. สุขะ คือ ให้มีความสุขกายสบายใจมีความสะดวก
4. พละ คือ ให้มีกำลังกายกำลังใจกำลังทรัพย์ มีพวกพ้องบริวาร
พร 4 ประการนี้เป็นพรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จึงถือว่าศักดิ์สิทธิ์ แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง..

หลังจากพุทธาภิเษกเสร็จ มีนักเลงพื้นที่พูดคุยกันว่า "จะขลังแค่ไหน.." ปรากฎว่าคำพูดนี้ได้ยินไปถึงนายเรียน นุ่มดี ทำให้นายเรียนนำความนี้เข้าปรึกษาครูบาอาจารย์ในพระอุโบสถว่า "จะทำอย่างไรดี.." เพราะเป็นที่ทราบกันว่าสมัยนั้นการลองของประเภทจะ ๆ นิยมกันมาก เช่น เอาปืนลองยิง เพราะต้องการทดสอบพุทธคุณในวัตถุมงคลนั้น ๆ ว่าดีจริงเพียงใด ถ้าสมมติว่า "ยิงออกหรือเหรียญโดนยิงทะลุ" ทุกอย่างที่ทำมาเป็นอันจบกัน ซึ่งในเวลานั้นครูบาอาจารย์ที่พรรษาน้อยไม่กล้าออกความเห็นจึงสงบนิ่ง เพื่อให้ท่านที่พรรษาสูงกว่าปรึกษาและตัดสินใจกัน ระหว่างนั้นหลวงพ่อกวย ท่านได้ขออนุญาตครูบาอาจารย์ทุกรูปว่า "กระผมอาสา.." หลังจากนั้นท่านจึงนำเหรียญรูปเหมือนของท่านที่สร้างและปลุกเสกในพิธีนี้ติดตัวไปด้วยหนึ่งเหรียญ ออกไปนอกพระอุโบสถ แล้วพูดขึ้นว่า "ใครจะเอาไปลองบ้าง" ปรากฎว่านักเลงคนหนึ่งขออาสาเป็นผู้ทดสอบ และได้นำเหรียญดังกล่าวไปยิงที่หลังพระอุโบสถ ปรากฎว่า "แชะ ๆ ๆ.." และได้นำเหรียญมาคืนหลวงพ่อกวยท่าน พร้อมขอขมาท่าน พอชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ประจักษ์ในพุทธคุณและเริ่มบอกปากต่อปากไปในวงกว้าง ส่วนหลวงพ่อกวยท่านจึงกลับเข้าไปในพระอุโบสถพร้อมกับ
กล่าวว่า "เรียบร้อย.."
และท่านได้กล่าวว่า พิธีนี้เป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ซึ่งเป็นการยืนยันถึงพุทธคุณของพระชุดนี้ เป็นอย่างดี
พระชุดนี้ เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ พิธีจัดถูกต้องตามโบราณประเพณีทุกประการ นับเป็นพระดีที่น่าใช้มากๆครับ
ก่อนพระเกจิอาจารย์ทั้งหมดจะเดินทางกลับวัด ทางคณะกรรมการได้มอบวัตถุมงคลในพิธีนี้จำนวนหนึ่งให้แก่พระเกจิอาจารย์ทุกรูป เพื่อให้ท่านนำกลับไปแจกลูกศิษย์ลูกหาที่วัด ทำให้วัตถุมงคลในพิธีนี้กระจายในหลายพื้นที่
ดังนั้นในหลายจังหวัด จึงนิยมพระที่ปลุกเสกในพิธีนี้กันมาก ปัจจุบันเลยหายากแล้วครับ สมัยก่อนราคาไม่แพงเท่าไร แต่ปัจจุบันเริ่มแพงแล้วครับ
ราคาเปิดประมูล480 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ก.ค. 2562 - 18:10:07 น.
วันปิดประมูล - 24 ก.ค. 2562 - 09:54:05 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสารัช (985)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Fung-nana (2.1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM