(0)
พระหลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส เป็นพระที่มีมวลสารพระสมเด็จโตกรุบางขุนพรหมและพระเนื้อว่านหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ หลวงพ่อกวย หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ หลวงพ่อพรหม อีกมากมาย






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระหลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส เป็นพระที่มีมวลสารพระสมเด็จโตกรุบางขุนพรหมและพระเนื้อว่านหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ หลวงพ่อกวย หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ หลวงพ่อพรหม อีกมากมาย
รายละเอียดป็นพระที่มีมวลสารพระสมเด็จโตกรุบางขุนพรหมและพระเนื้อว่านหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ พระหลักร้อยแต่พุทธคุณหลักล้าน

มวลสารดี
มวลสารที่นำมาผสมพระหลวงปู่ทวดรุ่นบูรณะโบสถ์ คือพระหลวงปู่ทวดเนื้อลังเม้ง (เนื้อแก่ว่าน) จำนวนหนึ่งปี๊บ ซึ่งเป็นเนื้อที่หายากที่สุด

เจ้าอาวาสวัดประสาทบุญญาวาสท่านมาเปิดเผยเมื่อปี2555ในหนังสือรวมพระหลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญาวาส หลังจากพระถูกบูชาหมดจากวัดไปแล้ว 19 ปี

พระหลวงปู่ทวดเนื้อลังเม้งมีราคาแพง เพราะมีส่วนผสมของพระสมเด็จบางขุนพรหมที่เปิดกรุเมื่อปี พ.ศ. 2500 และผสมมวลสารของหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี พ.ศ. 2497
ส่วนพระอาจารย์ที่มาปลุกเสกพระหลวงปู่ทวดเนื้อลังเม้งที่ถูกนำมาใช้ผสมสร้างพระหลวงพ่อทวดรุ่นนี้ ก็เป็นพระเกจิระดับประเทศ ดังนี้ครับ

อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
ลพ.คล้าย วัดสวนขัน
ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น
ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
ลพ.พรหม วัดช่องแค
ลพ.ทบ วัดชนแดน
ลป.ทิม วัดละหารไร่
ลป.เขียว วัดหรงมล
ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
ลป.ดู่ วัดสะแก
ลป.สี วัดสะแก
ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
ลป.นาค วัดระฆังฯ
ลป.หิน วัดระฆังฯ
ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
พระอ.นำ วัดดอนศาลา
ลพ.เส่ง วัดกัลยา
ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
ลพ.เหรียญ วัดบางระโหง
ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ
ลพ.ผล วัดเทียนดัด
ลพ.โด่ วัดนามะตูม
ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
ลพ.สุด วัดกาหลง
ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
ลพ.แก้ว วัดช่องลม
ลพ.กัน วัดเขาแก้ว
ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
ลพ.ดี วัดเหนือ
ลพ.แขก วัดหัวเขา
ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
ลพ.มิ่ง วัดกก
ลพ.เฮี้ยง วัดป่าฯ
ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
ลพ.อั้น วัดพระญาติ
ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช
ลพ.สอน วัดเสิงสาง
ลพ.แทน วัดธรรมเสน
ลพ.เทียน วัดโบสถ์
ลพ.นิล วัดครบุรี
ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี
ฯลฯ........................

ท่านเหล่านี้ได้ปลุกเสกพระหลวงปู่ทวดเนื้อลังเม้ง และได้ถูกนำมาเป็นมวลสารสร้างพระหลวงปู่ทวดรุ่นบูรโบสถ์ ปึ2536

ครั้งนั้นมีการจัพิธีพุทธาภิเษก 6-7-8-9 มีนาคม พ.ศ. 2506 มีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกถึง 234 รูปจนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมาซึ่งพระอาจารย์ท่านใดเก่งๆในสมัยนั้นก็จะนิมนต์มาหมด พิธีในครั้งนั้นจึงจัดว่าเป็นพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนับตั้งแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษเป็นต้นมาครับ


เจตนาการสร้างดี
ปี 2536 ท่านพระครูได้เดินทางลงปัตตานี เพื่อกราบไหว้สถูป ณ วัดช้างให้ และได้บอกกล่าวดวงพระวิญญาณของหลวงปู่ทวดขออนุญาตสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวด เพื่อหาปัจจัยสร้างโบสถ์ให้เสร็จ โดยจะให้ชื่อพระที่สร้างว่า " รุ่นบูรณะโบสถ์ "
พอตกดึกขณะนอนหลับ ได้นิมิตฝันไปว่า หลวงปู่ทวดมาหา เอาพระเครื่องใส่ถุงปูนมายื่นส่งให้ มีพระภิกษุสงฆ์หลายรูปเดินตามหลวงปู่ทวดมาเป็นสักขีพยาน เมื่อเปิดถุงดูเห็นเป็นพระเครื่องหลวงปู่ทวดทั้งนั้น ในฝันท่านพระครูได้กราบหลวงปู่ทวดขออนุญาตสร้าง หลวงปู่ทวดอนุญาตให้สร้างได้ แล้วพาคณะสงฆ์กลับไป
เมื่อกลับถึงวัดประสาทบุญญาวาส ท่านพระครูได้ให้ช่างทำบล็อกพิมพ์ตามรูปแบบในนิมิตฝัน เมื่อสร้างบล็อกเสร็จ ปรากฏว่าหลวงปู่ทวดได้มาเข้าฝันอีกว่า บล็อกแม่แบบ ทำไม่เหมือน ใช้ไม่ได้ ให้ทำใหม่
เมื่อท่านพระครูได้แก้ไข หลวงปู่ทวดได้มาเข้าฝันอีกว่า " บล็อกพิมพ์ใช้ได้ แต่ห้ามไปจ้างให้ชาวบ้านทำอย่างเด็ดขาด ให้พระเณรในวัดช่วยกันทำเอง "

ตลอดเวลาที่พระเณร ช่วยกันทำพระ หลวงป่ทวดได้มาเข้าฝันท่านพระครูอยู่เสมอ เป็นการเตือนให้ดูแลการทำพระให้ดี

ที่มา ว่าด้วยเรื่องหลวงปู่ทวด .. อ้างอิงจากหนังสือตามรอยเท้าหลวงปู่ทวด


จะเห็นได้ว่าพระรุ่นบูรณะโบสถ์ไม่ได้จ้างโรงงานผลิตแต่พระเณรที่วัดกดพิมพ์กันเอง และมีการควบคุมจำนวนพระไม่ให้ขาดเกินจึงไม่มีพระเสริม

พิธีดี
พระหลวงปู่ทวดรุ่นบูรณะโบสถ์ปี พ.ศ. 2536 มีอาจารย์นอง วัดทรายขาว ซึ่งร่วมสร้างพระหลวงปู่ทวดกับอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ และมีพระเกจิกว่า 200 รูปรวมทั้งพระเกจิสายเขาอ้อ มาร่วมพิธีปลุกเสกในวันที่ 25-26-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน110 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 08 พ.ค. 2562 - 15:50:50 น.
วันปิดประมูล - 09 พ.ค. 2562 - 16:26:43 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลphongpan (4.3K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     110 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sikarase_n (220)

 

Copyright ©G-PRA.COM