(0)
เหรียญชุมนุมเทวดา วัดสุทัศน์ ปี2461 พิธีใหญ่หายาก







ชื่อพระเครื่องเหรียญชุมนุมเทวดา วัดสุทัศน์ ปี2461 พิธีใหญ่หายาก
รายละเอียดเหรียญเก่าปี2461 แตกในพิธีโล้ชิงช้า
สมเด็จพระสังฆราช แพ สร้างในสมัยนั้น
ราคาเปิดประมูล200 บาท
ราคาปัจจุบัน5,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ต.ค. 2561 - 15:46:48 น.
วันปิดประมูล - 29 ต.ค. 2561 - 23:11:05 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสยามเมืองยิ้ม (6.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 ต.ค. 2561 - 16:08:55 น.

พิธีโล้เสาชิงช้า
(ขอขอบคุณ : ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

ขณะทำพิธีโล้ชิงช้า ตึกทางซ้ายมือเป็นตึกตลาดเสาชิงช้าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 รื้อหมดแล้ว กลายเป็นลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

เสาชิงช้าใช้ในพิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวรซึ่งเป็นหนึ่งในสามเทพเจ้า ของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูเชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงสู่โลกในวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนยี่ วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อพระเป็นเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ก็ได้เชิญเทวดาองค์อื่น ๆ มาเฝ้าและมาร่วมพิธีด้วย ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระคงคา และพระธรณี พราหมณ์จะแกะรูปสัญลักษณ์ของเทวดาแต่ละองค์เป็นเทวรูปลงในไม้กระดานสามแผ่น เพื่อทำการบูชาในเทวสถานแล้วจากนั้นจะนำไปปักในหลุมหน้าโรงพิธีนั่งดูโล้ชิงช้า หันหน้ากระดานเข้าหาตำแหน่งที่มีพระยายืนชิงช้านั่ง เรียกว่ากระดานลงหลุม ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่

พระราชพิธีตรียัมปวายนี้จะกระทำในเทวสถานสำหรับพระนคร 3 เทวสถาน คือ เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระมหาวิฆเนศวร และเทวสถานพระนารายณ์ โลกบาลทั้งสี่ (พระยายืนชิงช้า และนาลิวัน) จึงต้องโล้ชิงช้าถวายและรับน้ำเทพมนตร์

แต่เดิมนั้นพระราชพิธีตรียัมปวายจะจัดในเดือนอ้าย(ธันวาคม) ครั้นล่วงเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาจัดในเดือนยี่ (มกราคม) พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ซึ่งในหนึ่งปีพระอิศวรจะเสด็จมาเยี่ยมโลก 10 วัน พราหมณ์จะประชุมที่เทวสถานพระอิศวร แล้วผูกพรตชำระกายสระเกล้าเตรียมรับเสด็จพระอิศวร

ตำนานพิธีตรียัมปวาย

พิธีโล้ชิงช้ามีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวไว้ว่าพระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทราที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน

ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น'ต้นพุทรา' ช่วงระหว่างเสาคือ'แม่น้ำ' นาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ'พญานาค' โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ

พิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ปัจจุบันการประกอบพระราชพิธีนี้จะกระทำเป็นการภายในเทวสถานเท่านั้น

เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์
นับว่าเป็น เทวสถาน วัด หรือ โบสถ์ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาวัดฮินดูทั้งหมดในประเทศไทย เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ
แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้า
และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ภายในประกอบด้วย โบสถ์สามหลังดังนี้
1) สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลังเทวาลัยพระพรหม) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทำชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูน รูปพระอิศวร (พระศิวะ) พระแม่อุมา และเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูปวิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเมฆและโคนันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลาย

2) สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง)
สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ ไม่มีรูปเทวรูปปูนปั้นเหมือนสถานพระอิศวร

ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเนศวร 5 องค์ ล้วนทำด้วยหิน คือ หินเกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ ทำด้วยสำริด 1 องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์ องค์หนึ่งมีขนาดสูง 1.06 เมตร เป็นประธาน ประดิษฐานอยู่ข้างหน้า องค์บริวารอีก 4 องค์ ขนาดสูง 0.95 เมตร

3) สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม)
สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างทำเช่นเดียวกับสถานพระพิฆเนศวร ภายในทำชั้นยกตั้งบุษบก 3 หลัง

หลังกลางจะประดิษฐาน พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ ทำด้วยปูน ประทับยืน ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ สูง 2.50 เมตร เรียกว่า "เสาหงส์"
...................................................
ข้อสังเกตุโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า กับวัดสุทัศน์ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
1.ความเข้าใจอันดับแรกก่อนเลย คือ สถานที่อยุ่ใกล้กัน เดินยังเหงื่อไม่ออกดี
2.พิธีกรรมทางพราหมณ์ ทางโบสถ์พราหมณ์ อันเชิญทวยเทพ มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมพุทธาภิเศก กับวัดสุทัศน์ตลอด ทั้งพิธีในพระบรมมหาราชวัง
3.พิธีกรรมหลักการโล้ชิงช้า สมัยนี้ไม่มีให้เห็นแล้วในปัจจุบัน
****คำถามถามว่า เหรียญนี้สร้างจากโบสถ์พราหมณ์แล้ว ปลุกเสกจากวัดสุทัศน์โดยสมเด็จ พระสังฆราช แพ และพิธีทางสงฆ์จริงหรือ คำตอบ มีอยู่ในข้อมูลอยู่แล้ว เสาชิงช้าและพิธีโล้ชิงช้าอยู่หน้าวัดสุทัศน์ ทางวัดไม่มีส่วนร่วมงานในพิธี คงเป็นไปไม่ได้ และอีกอย่างหนึ่งเหรียญชุมนุมเทวดานี้ เป็นเหรียญศิลปะ นูนต่ำ ลวดลายของเหรียญนั้น ออกแบบมาได้วิจิตร คลาสสิค มาก แสดงถึงช่าง บรมครู ในการแกะแม่พิมพ์ ที่มีชีวิต ชีวา บนเหรียญที่เล็กกว่าเกจิอาจารย์โดยทั่วไปมีความตั้งใจสูง
การอัญเชิญพิธีกรรม ทวยเทพทั้งหลาย พระอิศวรทรงโคนนธิ พระนารายณ์ ทรงพญาครุฆและพระพรหม ทรงหงส์ .. เรียกว่า บูชาทั้งสามทวยเทพ คือตรีมูรติ ทีเดียวอยู่บนเหรียญ พราหมณ์ และคณะสงฆ์ที่เชี่ยวชาญเท่านั้นอีกหลายพระคณาจารย์ในสมัยนั้น ที่จะอัญเชิญได้ เพราะถือว่า เทพสูงสุด ส่วนอีกด้านของเหรียญเป็นพระบรมศาสดา โมคคัลลา สารีบุตร ซ้ายขวา ....เหรียญประเภทนี้ พุทธคุณ ตามความเข้าใจของผู้เขียน ............น่าจะใช้ในทางเสริมดวงชะตา .....ประทานความสำเร็จให้ชีวิต....ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง.......
...........เหรียญชุมนุมเทวดา โบสถ์พราหมณ์ วัดสุทัศน์ พิมพ์ใหญ่ สร้างในปี ๒๔๖๑ แจกในพิธี โล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ ๖ .......สมเด็จพระสังฆราช แพ ผู้สร้างพระกริ่งอันลือลั่น ของประเทศไทย ร่วมปลุกเสก ในตำแหน่งสถานะสงฆ์ตอนนั้น เลือ่นจากพระเทพโมลี เป็นพระธรรมโกศาจารย์ ตำแหน่งทางสงฆ์ในสมัยนั้น แห่ง วัดสุทัศน์เทพวราราม พระอารามหลวง เป็นเหรียญเก่าแก่ที่หาชมยาก


 
ราคาปัจจุบัน :     5,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    nutran (149)

 

Copyright ©G-PRA.COM