(0)
หนึ่งในตำนาน พระพิมพ์ฝักไม้ขาว กรุบางระกำ จ.พิษณุโลก สวยมีหน้าตา ผิวเดิม สวยแชมป์ฟอร์มประกวด หายากสุดๆ ครับ + บัตรรับรอง G-Pra







ชื่อพระเครื่องหนึ่งในตำนาน พระพิมพ์ฝักไม้ขาว กรุบางระกำ จ.พิษณุโลก สวยมีหน้าตา ผิวเดิม สวยแชมป์ฟอร์มประกวด หายากสุดๆ ครับ + บัตรรับรอง G-Pra
รายละเอียดหนึ่งในตำนาน พระพิมพ์ฝักไม้ขาว กรุบางระกำ จ.พิษณุโลก สวยมีหน้าตา ผิวเดิม สวยแชมป์ฟอร์มประกวด หายากสุดๆ ครับ + บัตรรับรอง G-Pra
สมเด็จฝักไม้ขาวพิษณุโลก..พระกรุเก่าอายุนับร้อยปี..เป็นพระที่น่าเสาะแสวงหามาขึ้นคอมีประสบการณ์มาแต่อดีตสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม..มีน้อยและหายากยิ่ง ..เนื่องจากเป็นพระแตกหักง่าย..ฝักไม้ขาวองค์นี้เป็นพระเนื้อจัดซึ่งมีน้อยถ้าท่านชอบพระหายากไม่ควรพลาดนะครับ

ประวัติ พระฝักไม้ขาว กรุบางระกำ
กำเนิดของพระกรุบางระกำ ในยุคสมัยที่ พระครูพุทธิสุนทร (หรุ่น ติสฺสโร) เป็นเจ้าอาวาส วัดสุนทรประดิษฐ์ พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ พระอาจารย์ถีร์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดลครทำ ฝั่งธนบุรี ได้ล่องเรือตามลำคลองมายังตลาด บางระกำ พร้อมกับพระพิมพ์บรรจุในไห จุดมุ่งหมายเพื่อนำไปมอบให้หลวงพ่อขำ วัดฝักไม้ดำ (โพธิ์เตี้ย) อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร แต่แล้วด้วยมีอุปสรรคในการคมนาคม จึงแวะที่ตลาดบางระกำ แล้วฝากพระในไหไว้ที่บ้าน นายอู่ใช้ แซ่ลิ้ม คหบดีในตลาดบางระกำ
เมื่อวันเวลาได้ผ่านไปแรมปี ต่อมานายอู่ใช้ได้ขายบ้านหลังดังกล่าวนั้นให้กับนายละม่อม และนางกิมเอ็ง เนตรแก้ว โดยไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายพระในไหแต่อย่างใด คงไว้ดังเดิม เจ้าของบ้านคนใหม่พบเห็นเข้า จึงนำพระไปไว้ในโบสถ์วัดบางระกำ โดยวางไว้ด้านหลัง หลวงพ่อนฤมิต พระประธานในอุโบสถ อีกทางหนึ่งก็ว่า นายอู่ใช้ เป็นผู้เคลื่อนย้ายพระในไหจากบ้านมายังโบสถ์ดังกล่าวด้วยตนเอง
ต่อมาในปี พ.ศ.2485 อันเป็นปีที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามที่เรียกว่า มหาเอเชียบูรพา ในช่วงระยะเวลาปีดังกล่าวนี้ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัด รวมทั้งจังหวัดพิษณุโลกด้วย วัดสุนทรประดิษฐ์ ซึ่งอยู่ในที่ลุ่มและริมฝั่งแม่น้ำยม ก็ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าวนี้ด้วย น้ำได้ไหลบ่าเข้าไปในโบสถ์ พระพิมพ์ที่ซุกซ่อนอยู่หลังพระประธานจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน เมื่อน้ำลดจึงมีคราบตะกอนดินติดอยู่ที่ผิวพระ จนบางท่านเข้าใจว่าเป็นพระกรุ หรือบางท่านเข้าใจถูกแล้วแต่ด้วยธรรมชาติขององค์พระเฉกเช่นเดียวกับพระกรุจึงเรียกเช่นนั้นต่อ ๆ กันมา
สมัยนั้น ทางวัดมิได้สนใจกับพระพิมพ์ดังกล่าวนี้เลย ใครจะหยิบฉวยไปอย่างไร จำนวนเท่าไหร่ ก็ไม่ว่า โดยเฉพาะเด็กวัดหยิบเอามาเล่นทอยกองกันอย่างสนุกสนาน จนในที่สุดพระก็ไม่มีเหลืออยู่เลย
พระพิมพ์จากวัดบางระกำ หรือวัดสุนทรประดิษฐ์ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ และพิมพ์สมเด็จฝักไม้ดำ – ฝักไม้ขาว
พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ ขนาดกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 4.5 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นพระปางลีลาหันพระพักตร์ไปทางซ้าย ด้านข้างมีอักขระยันต์นูน ด้านหลังเป็นพระ 3 องค์ ประทับนั่งปางสมาธิ ปางมารวิชัย และพนมมือ ใต้องค์พระและเหนือองค์พระมีอักขระยันต์นูน ด้านล่างสุดมีตัวราชสีห์กับเสือ ส่วน พระพิมพ์สมเด็จฝักไม้ดำ – ฝักไม้ขาว ขนาดกว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูงประมาณ 3 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นพระปางสมาธิประทับเหนืออาสนะ 3 ชั้น อยู่ภายในซุ้มเส้นลวด ด้านหลังเป็นอักขระยันต์นูน ปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่งและมีของเก๊ระบาดแพร่หลาย เนื่องจากสมัยก่อนโด่งดังมาก

ด้านพุทธคุณนั้น เด่นทางมหาอุด และคงกระพันชาตรี เคยมีเรื่องทีเกิดขึ้นและเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวบ้าน ชายคนหนึ่งโดนแทงในงานบวชนาคแต่ไม่เข้าเพราะห้อยพระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่ออยู่ในคอ ลือกันว่าสมัยก่อนบรรดาจอมพลต่างแขวนห้อยคอกันแทบทั้งนั้น รวมทั้งสั่งให้ลูกน้องเสาะหามาใช้เช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน และน่าจะด้วยเหตุผลนี้นี่เองจึงทำให้พระพิมพ์กรุบางระกำหลุดรอดเข้าสู่สนามน้อยเต็มทีจนแทบจะกลายเป็นตำนานหนึ่งของพระเครื่องเมืองไทยไปแล้วในขณะนี้
ราคาเปิดประมูล950 บาท
ราคาปัจจุบัน8,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 18 ต.ค. 2561 - 21:59:09 น.
วันปิดประมูล - 28 ต.ค. 2561 - 21:59:09 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmidori (5.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 18 ต.ค. 2561 - 22:00:14 น.

ประวัติชัดเจน มีลงในหนังสือพิมพ์ตามลิงค์เลยครับ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakExTURnMU5BPT0=

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOekE0TURnMU5BPT0=
น่าบูชาและสะสมสำหรับผู้ชื่นชอบพระกรุครับ ขอบคุณครับผม


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 18 ต.ค. 2561 - 22:00:21 น.



ประวัติชัดเจน มีลงในหนังสือพิมพ์ตามลิงค์เลยครับ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakExTURnMU5BPT0=

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOekE0TURnMU5BPT0=
น่าบูชาและสะสมสำหรับผู้ชื่นชอบพระกรุครับ ขอบคุณครับผม


 
ราคาปัจจุบัน :     8,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM