(0)
เหรียญ หลวงพ่อโตวัดมหาพุทธาราม(วัดพระโต)อ.เมืองศรีสะเกษ รุ่นแรก ปี 08








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญ หลวงพ่อโตวัดมหาพุทธาราม(วัดพระโต)อ.เมืองศรีสะเกษ รุ่นแรก ปี 08
รายละเอียดประวัติหลวงพ่อโต (พระพุทธมหามุนี) หลวงพ่อโต (พระพุทธมหามุนี) บทนมัสการหลวงพ่อโต โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นมามิหัง ฯ หลวงพ่อโต (พระพุทธมหามุนี) เป็นพระนามของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ชาวบ้านชาวเมืองศรีสะเกษ และพุทธบริษัททั่วไปเรียกขานจนติดปากมาถึงทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ปางมารวิชัย ศิลปะแบบนครจำปาศักดิ์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดมหาพุทธาราม หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการเคารพสักการบูชาและยกย่องเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษ มาตั้งแต่สมัยเมืองศรีนครเขต คู่กับ หลวงพ่อโต วัดเขียน เมืองศรีนครลำดวน ดังมีคำโบราณอยู่ตอนหนึ่งว่า “ ทิศเหนือ ที่ตั้งเมืองศรีนครเขต มีหลวงพ่อโต วัดพระโต เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษ ด้านทิศใต้ ที่ตั้งเมืองศรีนครลำดวน มีหลวงพ่อโต วัดเขียน เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์ ” และอีกคำของคนโบราณว่า ตากจะ หัวหน้าหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ลูกเขยจารย์แก้ว และเชียงขันเป็นผู้สร้างหลวงพ่อโต วัดเขียน ส่วน พระยาวิเศษภักดี (ชม) และ จารย์ศรีธรรมา สามีนางวันนา ลูกเขยตากจะ และพี่เขยพระยารัตนวงศา (อุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกษคนแรก เป็นผู้สร้าง หลวงพ่อโต วัดพระโต ” ดังนี้ มีตำนานและหลักฐานคำบอกเล่าจากคนรุ่นก่อนสืบ ๆกันมาว่า หลวงพ่อโตองค์ปัจจุบัน เดิมทีเดียวเป็นพระพุทธรูปประธานภายในสิมวัดป่าแดง มีลักษณะเป็นพระพุทธรูป หินดำเกลี้ยง บ้างก็ว่า หินเขียว หรือ หยก บ้างก็ว่า หินทรายแดง ปางมารวิชัย (ปางชนะมาร/ปางปราบมาร) มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๕๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร เมื่อวัดป่าแดง กลายสภาพไปเป็นวัดร้าง เพราะขาดการดูแล ทะนุบำรุง เป็นเหตุให้ถาวรวัตถุ เช่น สิม (โบสถ์) และเสนาสนะ เช่น กุฎีสงฆ์ (สร้างแบบง่ายๆ) ชำรุดทรุดโทรม และปรักหักพังลงทับถมพระพุทธรูปประธานจมอยู่ใต้ดิน เหลือเพียงครึ่งองค์อยู่กลางป่าไม้แดงนั่นเองเป็นเวลาเกือบ ๗๐ ปี พระเดชพระคุณพระธรรมปริยัติโสภณ เจ้าคณะภาค ๑๐ เขียนเล่าไว้ในหนังสือประวัติเมืองในเขตภาค ๑๐ ตอนประวัติศรีสะเกษ หน้า ๒๖๙ ในสมัยที่ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชเมธี (วรวิทย์) ว่า หลวงพ่อโตวัดมหาพุทธาราม ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดมหาพุทธาราม อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยก่ออิฐฉาบปูน หรือหล่อด้วยปูน หรือแกะสลักหิน ยังสันนิษฐานไม่ถนัดนัก มีขนาดตั้งแต่รากฐานถึงยอดพระเมาลีสูง ๖.๘๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๓.๕๐ เมตร เฉพาะพระพาหา (แขน) ไม่สามารถจะโอบรอบได้ พุทธลักษณะงดงามตามยุคสมัย สันนิษฐานไม่ได้ว่า จะสร้างขึ้นแต่เมื่อเป็นเมืองอินทเกษ หรือจะสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๙ โดยพระยาวิเศษภักดี (ชม) เจ้าเมืองศรีสะเกษคนที่ ๒ พร้อมด้วยกรมการเมืองนำราษฎรสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระเจ้าใหญ่ประจำเมือง เนื่องจากอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสมัยนั้น บริเวณรอบ ๆองค์พระได้สร้างเป็นวัดป่า หรือวัดกรรมฐาน (วัดป่าแดง) แต่เมื่อเจ้าเมืองคนที่ ๓ (พระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) ได้เปลี่ยนนโยบายบ้านเมืองและสร้างวัดใหม่เสีย วัดป่าจึงร้าง และบริเวณองค์พระมีไม้ใหญ่ปกคลุม ครั้งเจ้าเมืองคนที่ ๔ คือพระยาวิเศษภักดี (โท) ครองเมืองประมาณ พ.ศ.๒๔๒๔ ได้พบพระเจ้าใหญ่องค์นี้ ปรากฏว่า มีปาฏิหาริย์ให้เห็น ผู้คนได้แตกตื่นไปเคารพบูชามาก เจ้าเมืองจึงเกิดศรัทธาตามแล้ว ได้ปรับปรุงบริเวณพระเจ้าใหญ่และยกวัดแห่งนี้ขึ้นเป็นวัดตามเดิม ด้วยความที่ผู้คนศรัทธาในพระเจ้าใหญ่นั้น จึงปรากฏว่า บูรณะวัดได้สะดวกไม่มีอุปสรรค ทุกวันนี้ชาวศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงยังเชื่อมั่นในปาฏิหาริย์ของพระเจ้าใหญ่องค์นี้ทวีมากขึ้นตามลำดับ.... เมื่อก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นเมืองหลวง นามว่า กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ ทางเมืองนครศรีลำดวน (เมืองขุขันธ์) ได้เกิดเหตุบาดหมางกันระหว่างพระยาขุขันธ์ภักดี (พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน - เชียงขัน) ผู้เป็นพ่อเลี้ยง กับพระไกร (ท้าวบุญจันทร์) ผู้เป็นลูกเลี้ยงติดมากับภรรยาม่ายชาวลาว ว่ากันว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี เจ้าสิริบุญสาร กษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ แค้นเจ้าพระตา เจ้าพระวอ สองพ่อลูกไม่หาย เนื่องจากขอธิดาของเจ้าพระตาไปเป็นสนมไม่ได้ จึงยกทัพพร้อมด้วยกำลังฝ่ายพม่าไปตีเมือง เขื่อนขันธ์กาบแก้ว บัวบาน จนแตก เจ้าพระตาสิ้นชีพในสนามรบ เจ้าพระวอบุตรชายคนโต จึงนำกองกำลังที่เหลือตีฝ่าวงล้อมหนีไปจนถึง “ ดอนมดแดง ” แต่กองทัพของเจ้าสิริบุญสาร ก็ยังตามราวีโจมตีกองกำลังของเจ้าพระวอ ๆ สู้ศึกเต็มสามารถและสิ้นชีพในสนามรบ ทำให้กำลังแตกกระจัดกระจายกันไป บางพวกอพยพหลบภัยสงคราม ไปตั้งบ้านเมืองอยู่ที่ บ้านเป๊าะ (อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ) บางพวกอพยพผู้คนไปตั้ง บ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่า (จังหวัดยโสธร) ส่วน เจ้าคำผง น้องชายเจ้าพระวอ ได้เป็นหัวหน้ากองกำลังเห็นว่า คงสู้กำลังของเจ้าสิริบุญสารไม่ได้ จึงมีใบบอกไปยังเมืองนครราชสีมา ขอกำลังจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ไปช่วยรบกับกองกำลังของเจ้าสิริบุญสาร ซึ่ง มีอัคฮาดหำทอง และพญาสุโพ เป็นทัพหน้า ที่ยกมาตีค่ายของพระวอ ณ บ้านดู่ บ้านแก (ตั้งอยู่บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี) ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบเรื่อง ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) กับ เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพไปช่วยเจ้าคำผง พญาสุโพ เห็นว่า คงต้านทานกองทัพกรุงธนบุรีไม่ได้ จึงถอยทัพกลับกรุงเวียงจันทน์ เจ้าพระยาทั้งสองยกทัพติดตามไปตามลำน้ำโขง เข้าตีกรุงเวียงจันทน์ รบอยู่ประมาณ ๔ เดือนเศษ ก็ยึดกรุงเวียงจันทน์ได้ และควบคุมตัวเจ้าเมืองเวียงจันทน์ลงไปกรุงธนบุรี พร้อมได้อัญเชิญ พระแก้วมรกต และพระบางลงไปกรุ งธนบุรีในครั้งนั้นด้วย ส่วนเจ้าคำผง ได้ยกกำลังกลับไปตั้งอยู่ที่ดอนมดแดงเหมือนเดิม.. ฯลฯ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน หรือ พระยาขุขันธ์ภักดี หรือ หลวงปราบ หรือชื่อเดิมเชียงขัน ได้เข้าร่วมสมทบกับกองทัพของเจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ซึ่งยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ในครั้งนั้นด้วย ครั้นกองทัพเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์รบชนะยึดกรุงเวียงจันทน์ได้เรียบร้อยแล้ว หลวงปราบ (เชียงขัน) ได้หญิงหม้ายชาวลาวเป็นภรรยา มีลูกชายติดมาด้วยคือท้าวบุญจันทร์ ความบาดหมางระหว่างพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง มีสาเหตุมาจากการที่พระยาขุขันธ์ภักดี พูดสัพยอกท้าวบุญจันทร์ว่า “ลูกเชลย” ในที่สุดก็กลายเป็นชนวนเหตุลุกลามใหญ่โต จนถึงขั้นปลดเจ้าเมืองขุขันธ์ในเวลาต่อมา ส่วน (ท้าวอุ่น) บุตรพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากจะ) เกิดความไม่สบายใจในกรณีที่เกิดขึ้นระหว่างพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง จึงได้มีใบบอกกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขอแยกจากเมืองขุขันธ์เพื่อหาที่ตั้งเมืองใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มาตั้งเมืองที่ บ้านโนนสามขา (คุ้มวัดเจียงอี-บ้านพานทาในปัจจุบัน) ต่อมาได้ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ท้าวอุ่นเป็น พระยารัตนวงศา และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองศรีสะเกษคนแรก เป็นธรรมดาของการสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ ต้องมีการสำรวจชัยภูมิ สถานที่ตั้ง สภาพทางธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น พระยารัตนวงศา ก็เช่นเดียวกัน ได้มอบหมายให้เจ้าพนักงาน (กองช่าง) ออกสำรวจบริเวณรอบ ๆ บ้านโนนสามขาที่ตั้งเมืองศรีสะเกษ จนกระทั่งมีผู้ไปพบวัดร้างกลางป่าไม้แดง ที่น่าพิศวงคือ ที่กลางเนินดินมีพระพุทธรูปจมอยู่ใต้ดินเหลือเพียงครึ่งองค์ เจ้าเมืองศรีสะเกษ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานเมืองสำรวจตรวจสอบความเป็นมาของวัดร้าง จนในที่สุดก็ทราบว่า วัดร้างดังกล่าว คือ วัดป่าแดง ซึ่งเป็นวัดที่บรรพบุรุษ คือ จารย์เชียง และ จารย์แก้ว (ตาของพระยารัตนวงศา)ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างขึ้น ในสมัยที่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ผู้เป็นอาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าเมืองศรีสะเกษได้มีคำสั่งให้บริวารแผ้วถางบริเวณนั้น เพื่อเตรียมการสร้างวัดขึ้นใหม่ แต่ยังไม่ทันดำเนินการ พระยารัตนวงศา (อุ่น) ได้ถึงแก่กรรมไปเสียก่อน ลุ พ.ศ.๒๓๒๘ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเศษภักดี (ชม) บุตรพระยารัตนวงศา (อุ่น) เป็นเจ้าเมืองศรีสะ เกษ คนที่ ๒ หลังจากพระยาวิเศษภักดี (ชม) ได้จัดการศพของบิดา และจัดระเบียบการปกครองเมืองเรียบร้อยแล้ว จึงได้สืบสานงานของบิดาที่ยังค้างอยู่ คือการสร้างวัดป่าแดงขึ้นใหม่ ดังได้กล่าวไว้แล้วในต้นนั้นว่า ตามข้อสันนิษฐาน ผู้ที่สร้างวัดป่าแดง น่าจะเป็นทายาทของจารย์แก้ว หรือไม่ก็คนที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับจารย์เชียง โดยเฉพาะทายาทจารย์แก้ว มีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะบรรดาศักดิ์ของพระยารัตนวงศา (อุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกษ คนแรก บ่งบอกความหมายว่า เป็นเชื้อสายของจารย์แก้วอยู่ในตัวอยู่แล้ว อันว่าจารย์แก้ว เจ้าเมืองท่ง (กุลา) หรือเมืองสุวรรณภูมิ มีบุตรีคนหนึ่งซึ่งต่อมาเป็นภรรยาของตากจะๆ (หลวงแก้วสุวรรณ/พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน) มีบุตรธิดา ๒ คน คือ นางวันนา ซึ่งต่อมาเป็นภรรยาของจารย์ศรีธรรมาตำแหน่งช่างหลวง นครจำปาศักดิ์ และท้าวอุ่น ต่อมาก็คือ พระยารัตนวงศา เจ้าเมืองศรีสะเกษ คนแรกนั่นเอง พระยาวิเศษภักดี (ชม) เป็นหลานตากจะได้ดำเนินการสร้างวัดใหม่ในสถานที่เดิมคือวัดป่าแดง พร้อมกันนั้น ได้สร้างสิมหรืออุโบสถครอบองค์พระพุทธรูปประธาน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดาคือพระยารัตนวงศา (อุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกษคนก่อน ต่อมาพระยาวิเศษภักดี เกรงว่า พระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในสิม (อุโบสถ) อาจจะไม่ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย หรืออาจถูกเดียรถีย์ชนทำลายก็เป็นได้ จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกับ จารย์ศรีธรรมา ผู้เป็นลุง (สามีนางวันนา) ซึ่งเป็นช่างปั้นพระ หรือช่างหล่อพระ แห่งนครจำปาศักดิ์ หรือที่เรียกกันว่า ช่างจำปาสัก เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ครอบพระพุทธรูปองค์เดิมไว้ อาจารย์ศรีธรรมา จึงปั้นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หน้าตักกว้าง ๓.๕๐ เมตร สูง ๖.๘๕ เมตร พุทธลักษณะเป็นปางมารวิชัย พุทธศิลปะแบบจำปาศักดิ์ ครอบพระพุทธรูปป ระธานองค์เดิมไว้ ทำให้มีพระพุทธรูป ๒ องค์ซ้อนกันอยู่ในภายใน คือ พระพุทธรูปประธานในสิมวัดป่าแดงเดิม และองค์ใหม่ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะแบบนครจำปาสัก ตั้งแต่บัดนั้น พระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดมหาพุทธาราม จึงมีพระนามเรียกขานว่า “ หลวงพ่อโต ” มาตราบเท่าทุกวันนี้ สรุปว่า หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธมหามุนี พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบนครจำปาสักสร้างเพิ่มเติมครอบองค์เดิมไว้ในสมัยพระยาวิเศษภักดี (ชม) เป็นปูชนียวัตถุโบราณอันล้ำค่า ศักดิ์สิทธิ์ ทรงคุณค่าทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ของผู้คนในแถบถิ่นลุ่มน้ำโขง ชี มูล และอีสานตอนใต้ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้าง (ศรีสัตนาคนหุต) ผ่านยุค อาณาจักรจำป าสัก ศรีนครลำดวน ศรีนครเขต และศรีสะเกษ ตามลำดับจนถึงกาลปัจจุบัน ย่อมเป็นหลักพิสูจน์ให้เห็นอย่างประจักษ์ว่า หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษ และเป็นที่กราบไหว้ สักการบูชาของพุทธบริษัททั้งหลาย โดยมิได้เสื่อมคลายไปตามกาลเวลาแต่ประการใด
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,250 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ต.ค. 2561 - 23:25:45 น.
วันปิดประมูล - 14 ต.ค. 2561 - 05:50:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลansoccer (682)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,250 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    JAKKAPHUN (252)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM