(0)
สมเด็จปิลันท์ พิมพ์ปรกโพธิ์ลึก ไม่มีคราบกรุหายากมากๆ พร้อมบัตรสมาคม







ชื่อพระเครื่องสมเด็จปิลันท์ พิมพ์ปรกโพธิ์ลึก ไม่มีคราบกรุหายากมากๆ พร้อมบัตรสมาคม
รายละเอียดสมเด็จปิลันท์ พิมพ์ปรกโพธิ์ลึก สภาพมีซ่อมเก่ามาครับ ถ้าไม่บอกก็ไม่รู้ แต่ด้วยความซื่อสัตย์ มีฟิลม์ X-Ray ถ้าไม่มีซ่อมต้องมี 6-7 หมื่นครับ ซ่อมดี ซ่อมเยี่ยม พุทธคุณเท่าเดิม
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องเต็มความก็คือ พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์ สร้างโดย หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ในสมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ณ วัดระฆัง ท่านทรงเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จ เป็นต้นมา

หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ทรงสร้างพระเครื่องของท่านขึ้นมาบ้าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ ภายหลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จมาแล้ว ๒ ปี แต่มิได้ทรงสร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษห้าประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร

การสร้างพระเครื่องสมเด็จพระปิลันทน์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.๒๔๐๗ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพุทธบาทปิลันทน์" ในช่วงปีดังกล่าว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังมีชีวิตอยู่จึงสันนิษฐานว่า เจ้าพระคุณสมเด็จโต จะแผ่เมตตาประกอบพิธีปลุกเสกให้ด้วย คนรุ่นเก่าๆ ที่ทราบประวัติการสร้างจึงนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักนิยมพระเครื่องทั่วๆ ไปนิยมเรียกว่า "พระสมเด็จปิลันทน์"

เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้เป็นพระอาจารย์

พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง พุทธลักษณะเป็นพระที่มีทั้ง พิมพ์นั่งสมาธิบนฐานต่างๆ และพิมพ์ยืน พิมพ์ที่ถือว่าสุดยอดของ พระปิลันทน์ ก็คือ พิมพ์ซุ้มประตู เนื้อพระจะออกไปในทางเทาอมดำ บางท่านก็ว่าเป็นเขียวอมดำและมีคราบไขขาวเกาะแน่นหนา ในส่วนของพระที่บรรจุกรุได้มีการขุดพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทางเมตตามหานิยม ส่วนค่านิยมนั้น สภาพสวยอยู่ในหลักแสนทุกองค์ ทุกพิมพ์
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน26,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ส.ค. 2561 - 17:04:49 น.
วันปิดประมูล - 30 ส.ค. 2561 - 18:55:37 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลไอซ์_วายุบุตร (742)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 29 ส.ค. 2561 - 17:05:23 น.



พิมพ์สวยชัดเจน กดลึกแน่นๆๆ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 29 ส.ค. 2561 - 17:05:46 น.



มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ มีซ่อมนะครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 29 ส.ค. 2561 - 17:06:46 น.



วัดระฆังถือว่าเป็นวัดอารามหลวงที่มีอายุเก่าแก่มาก สร้างมานานตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่เดิมชื่อว่า วัดบางหว้าใหญ่ ครั้นต่อมาเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทางวัดทำการขุดสระน้ำภายในบริเวณวัดเพื่อสร้างหอเก็บพระไตร ได้ขุดพ
และต่อมาภายหลังได้นำไปเก็บไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ซึ่งต่อมาทำให้ชาวบ้านทั่วไปหันกลับมาเรียกวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดระฆังเรื่อยๆ มาจนติดปาก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดระฆังในที่สุด จวบจนถึงปัจจุบันนี้ นี่แหละเป็นที่ไปที่มาของชื่อวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พอสังเขป

พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง สันนิษฐานว่ามีการสร้างขึ้นไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๑๘ โดยผู้สร้างคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (หม่อมเจ้าทัด เสนีวงศ์) ท่านเป็นพระโอรสในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ (พระองค์เจ้าแดง) ในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๔ สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

หม่อมเจ้าทัด ทรงออกผนวช ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ประมาณ พ.ศ.๒๓๘๕ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นนาคหลวง โดยมีสมเด็จพระสังฆราชด่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรังสี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในครั้งสมัยนั้นยังเรียกกันว่า พระมหาโต เปรียญหก หลังจากผนวชแล้วได้มาประทับอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ทรงศึกษาด้านพระธรรมวินัย สมถกรรมฐาน และวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์มหาโตแต่ผู้เดียว จนสอบไล่ได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค ใน พ.ศ.๒๔๐๔

ต่อมา เมื่อเจริญด้วยพระชนมายุ จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระพุทธบาทปิลันทน์” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ราวปี พ.ศ.๒๔๐๗ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (หม่อมเจ้าทัด เสนีวงศ์) มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ รวมสิริอายุได้ ๗๙ ปี ๕๘ พรรษา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ราวปี พ.ศ.๒๔๐๗

อันนามสัญญาบัตรที่ “พระพุทธุปบาทปิลันทน์” นี้ เป็นสมณศักดิ์สงวนเฉพาะแต่พระราชวงศ์ ตั้งแต่หม่อมราชวงศ์ขึ้นไป ซึ่งสมณศักดิ์ที่สงวนไว้สำหรับราชวงศ์มีดังนี้คือ

๑. พระราชานุพัทธมุนี
๒. พระศรีวราลังการ
๓. พระสังวรประสาท
๔. พระพุทธุปบาทปิลันทน์

การเรียกชื่อพระปิลันทน์นำหน้าชื่อพระว่า สมเด็จ ก็เพราะว่าผู้สร้างมียศศักดิ์สูงถึงชั้นสมเด็จ และคำว่า "ปิลันทน์" ก็หมายถึง ชื่อเดิมของท่านที่ชื่อว่า “พระพุทธบาทปิลันทน์” ครั้งเมื่อท่านได้สร้างพระเครื่องขึ้นมาทำให้ชาวบ้านทั่วไปเรียกและขนานนามพระที่ท่านสร้างนั้นว่า พระสมเด็จปิลันทน์ ตามชื่อเดิมท่าน และเรียกกันเรื่อยๆ มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งที่จริงแล้วพระพุทธบาทปิลันทน์นั้นท่านก็เป็นศิษย์เอกองค์หนึ่งของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เช่นกัน

พระสมเด็จปิลันทน์มีการสร้างไว้มากมายหลายพิมพ์ทรง สีของเนื้อพระจะออกสีเขียวอมดำ อมเทา หรือเนื้อผง สีออกขาวเหลืองก็มี มีทั้งที่บรรจุกรุ และไม่ลงกรุ องค์พระที่ลงกรุส่วนใหญ่จะมีคราบไขปกคลุมอยู่ทั่วองค์พระ จับอยู่เป็นชั้นๆ บางจุดก็มีไขเกาะหนาเป็นก้อนนูนเด่น ลักษณะแข็ง มัน เหนียวเหนอะ คล้ายกับไขวัว ดูแล้วมีเสน่ห์เข้มแข็งน่าใช้

ส่วนพระสมเด็จปิลันทน์เนื้อผงสีขาวนั้น มาแตกกรุขึ้นภายหลังที่กรุเจดีย์ในวัดระฆังเช่นกันเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ และพบอีกหลายๆ ครั้งต่อมาทั้งที่วัดระฆังเอง และที่กรุวัดอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดระฆัง ซึ่งสมเด็จปิลันทน์เนื้อขาวนั้นจะพบคราบไขเกาะองค์พระน้อยกว่ามากกับพระสมเด็จปิลันทน์ที่เป็นสีอื่นๆ

พระสมเด็จปิลันทน์เท่าที่พบมีด้วยกันประมาณ ๒๐ พิมพ์ มีลักษณะแบ่งเป็น ๒ แบบ คือแบบที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม และรูปทรงที่มีลักษณะโค้งคล้ายพระซุ้มกอ กำแพงเพชร

พระสมเด็จปิลันทน์ได้รับการนิยมด้วยกันทุกแบบ ทุกพิมพ์ทรง มาด้วยกันช้านาน แต่พิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือ พิมพ์ซุ้มประตู ยิ่งพระองค์ไหนเป็นพิมพ์ลึก และมีทองปิดเดิมมาจากกรุด้วยแล้วราคาก็ยิ่งสูงเป็นทวีคูณ

ในปัจจุบัน พระสมเด็จปิลันทน์ถือว่าเป็นพระเนื้อผงยอดนิยมที่หาชมองค์จริงแท้ สภาพเดิมที่สวยสมบูรณ์นั้นได้ค่อนข้างยากมาก บางพิมพ์แทบจะไม่เคยเห็นมีเข้ามาวนเวียนอยู่ในตลาดพระเลย เช่น พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่ พิมพ์ปฐมเทศนา พิมพ์หยดแป้ง พิมพ์ปิดตา หรือพิมพ์สมเด็จจิ๋ว เป็นต้น

พระสมเด็จปิลันทน์ทุกพิมพ์ทรงได้ทำการเลียนแบบทำของเก๊มากมาย หลายฝีมือมาช้านาน เพราะว่าเป็นพระเล่นง่าย ขายก็คล่องเป็นที่ต้องการของตลาดพระเครื่องมาก เป็นพระเครื่องประเภทหนึ่งซึ่งมีจำนวนน้อยที่ครองใจค่าความนิยมของนักสะสมพระเครื่องในตลาดพระได้ยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พระสมเด็จปิลันทน์นอกจากจะได้รับความนิยมสูงสุดแล้ว ยังได้รับการจัดให้อยู่ในประเภทพระเนื้อผงยอดนิยมชุดที่ ๑ และได้รับคำนิยมยกย่องจากบุคคลทั่วไปว่าเป็น "พระหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์” เป็นพระมีตระกูล “ที่ไปที่มาดี” ซึ่งหมายถึงว่า พระที่มีผู้สร้างดี พิธีกรรมปลุกเสกดี และวัดที่ออกพระนั้นก็ดี แค่นี้ก็ถือว่าเป็นพระที่มีองค์ประกอบครบถ้วนที่สุดแล้ว

ข้อควรระวังในการเก็บพระสมเด็จปิลันทน์ คือ เป็นพระที่มีอายุการสร้างนานเก่าแก่ร้อยกว่าปีและเป็นพระเนื้อผงจึงมีความแห้ง แข็ง เปราะ และกรอบ ตกแตกหักง่าย

ราคาค่างวด อย่างที่พูดไว้ข้างต้นว่าพระสมเด็จปิลันทน์ได้รับความนิยมสูงทุกพิมพ์ วงการพระนิยม จึงเล่นกันที่หลักหมื่นต้นขึ้นไป จนถึงหลักแสนในบางพิมพ์ ส่วนองค์ที่ไม่ได้บรรจุกรุ ส่วนมากจะได้รับความนิยมน้อยกว่า หรือต่ำกว่าองค์ที่ลงกรุ อาจเพราะว่าองค์พระขาดความขลัง ความอลังการที่ไม่ค่อยมีไขเกาะที่องค์พระซึ่งทำให้พิจารณาความแท้ได้ยากอีกต่างหาก

ด้านพุทธคุณเชื่อว่า พระสมเด็จปิลันทน์เฉกเช่นเดียวกันกับพระสมเด็จวัดระฆังของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ซึ่งมีพุทธคุณดีครบทุกด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และโภคทรัพย์ดีเยี่ยมที่สุด


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 30 ส.ค. 2561 - 17:25:53 น.

ขอยกเลิกรายการนี้นะครับ เนื่องจากสมาชิกใส่ราคาผิด

ผู้เขียน : Jenjira
วันที่เขียน : 2018-08-29 18:58:07
ข้อความ : ขอยกเลิกก่อนนะคะ


 
ราคาปัจจุบัน :     26,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Jenjira (528)

 

Copyright ©G-PRA.COM