(0)
พระสรรค์นั่ง ไหล่ตรง ข้างเม็ด กรุเมืองสรรค์ องค์นี้แม้ไม่สวย แต่มี ใบการันตรี 2 ใบ







ชื่อพระเครื่องพระสรรค์นั่ง ไหล่ตรง ข้างเม็ด กรุเมืองสรรค์ องค์นี้แม้ไม่สวย แต่มี ใบการันตรี 2 ใบ
รายละเอียดเมืองชัยนาท ณ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากคลองแพรก ศรีราชาใต้ปากน้ำเก่ามีเมืองโบราณอยู่เมืองหนึ่ง สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยพญาเลอไทครองกรุงสุโขทัย เพราะเดิมที่เดียวเมืองนี้มีชื่อว่า “เมืองแพรก” หรือ “เมืองสรรค์”

แต่ต่อมาได้มีชุมชนใหม่เกิดขึ้นไม่ไกลจากเมืองสรรค์เท่าใดนัก เมืองนี้มีชื่อว่า “เมืองชัยนาท” ซึ่งต่อมาได้มีคนอพยพเข้ามาอยู่กันมากขึ้น จึงทำให้เมืองสรรค์กลายเป็นเมืองเก่าไป

เมืองชัยนาทเป็นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยาเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญสามารถตั้งรับศึกพม่ามาหลายครั้งและมีชัยทุกครั้ง จึงได้ชื่อว่า “เมืองชัยนาท” ซึ่งหมายถึงชัยชนะที่มีชื่อเสียงโด่งดังกัมปนาท

เดิมทีเดียวนั้น สมเด็จพระอินทราราชา กษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยามีพระราชประสงค์ ที่จะให้พระโอรสทั้ง 3 พระองค์ไปครอบครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเพื่อจะได้คุ้นเคยกับการปกครองบ้านเมืองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ ซึ่งทรงพระนามว่า“เจ้าอ้ายพระยา” ไปครองเมืองสุพรรณบุรี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสองค์กลาง ซึ่งทรงพระนามว่า “เจ้ายี่พระยา” ไปครองเมืองสรรค์บุรีและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสองค์สุดท้อง ซึ่งทรงพระนามว่า “เจ้าสามพระยา” ไปครองเมืองชัยนาท

ซึ่งต่อมาสมเด็จพระอินทราราชาธิราชเสด็จสวรรคตลง ความได้ทราบถึงเจ้ายี่พระยาผู้ครองเมืองสรรค์บุรีก่อน จึงได้เตรียมจัดรี้พลทหารและอาวุธ เพื่อจะเข้ามายึดครองกรุงศรีอยุธยาแทนสืบต่อจากพระราชบิดา

ฝ่ายเจ้าอ้ายพระยาซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ทราบข่าวว่า พระราชอนุชาได้ยกกำลังรี้พลไปกรุงศรีอยุธยา เพื่อมุ่งหวังจะครอบครองราชสมบัติแทนพระราชบิดาโดยมิได้ปรึกษาหารือ จึงได้รีบจัดกองทัพเตรียมไพร่พลมุ่งสู่กรุงศรีอยุธยาบ้าง เพื่อประสงค์จะขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาในฐานะพระโอรสองค์ใหญ่

ในที่สุดกองทัพของทั้งสองพี่น้อง นั้นคือกองทัพของเจ้าอ้ายพระยากับกองทัพของเจ้ายี่พระยาเผอิญได้มาบรรจบทันกันที่ ตำบลป่าถ่าน พระนครศรีอยุธยา จึงเกิดรบกันขึ้น เจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา 2 พี่น้องไสข้างเข้าหากันเพื่อทำยุทธหัตถี ผลสุดท้ายทั้ง 2 พระองค์ ได้สู้รบกันจนสิ้นพระชนม์ที่นั้น

ฝ่ายเจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์สุดท้องที่ครองเมืองชัยนาท เมื่อทราบเหตุว่าสมเด็จพระเชษฐา ได้กระทำการสู้รบจนสิ้นพระชนม์ทั้ง 2 พระองค์ ก็รู้สึกเสียพระทัย และได้เสด็จเสวยราชย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบแทนพระราชบิดา ซึ่งทรงพระนามว่า “สมเด็จบรมราชาธิราชที่ 2” นับเป็นรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2319 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ เดือน 9 ขึ้น 12 ค่ำ ( วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2319 ) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ได้ข่าวว่า กองทัพพม่ายกกำลังเข้ามาตีไทย และกำลังจะเข้ายึดนครสวรรค์แล้ว พระองค์จึงทรงกรีฑาทัพหลวงขึ้นมาเพื่อขับไล่พม่าข้าศึกในทันที

ครั้งฝ่ายกองทัพของพม่าข้าศึกได้ข่าวว่า ทัพหลวงของไทยได้เดินทางเร็วมาถึงชัยนาทแล้ว ก็พากันตกใจกลัวละทิ้งค่ายที่นครสวรรค์หลบหนีออกไปทางอุทัยธานี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพออกติดตามและไล่ข้าศึกทันที่ตำบลเดิมบางนางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรี กองทัพไทยได้บดขยี้กองทัพพม่าจนแตกพ่ายยับเยิน หนีไปทางด่านเจดีย์สามองค์เมืองกาญจนบุรี

จากชัยชนะข้าศึกในครั้งนี้ ทางจังหวัดชัยนาทจึงถือเอา วันที่ 28 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันสำคัญของจังหวัด คือ วันสถาปนาของจังหวัดชัยนาทตลอดทุกปี โดยเริ่มต้นจัดงานตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2498 เป็นต้นมา

จังหวัดชัยนาท แม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆที่เงียบสงบแต่ก็มีแหล่งที่น่าศึกษาและน่าสนใจไม่น้อยเลย

วัดธรรมามูลฯ เป็นที่ประดิษฐานของ “หลวงพ่อธรรมจักร” พระพุทธรูปปางห้ามญาติที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยมีประวัติว่าได้แสดงปาฏิหาริย์มาประทับพิงอยู่ในพระวิหารเองโดยที่พระบาทมีจอกแหนติดอยู่เต็ม ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้เสด็จมาตามน้ำเองและที่กลางฝ่าพระหัตถ์ขวามีรูปธรรมจักรติดอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงมีนามเรียกว่า “หลวงพ่อธรรมจักร”

วัดธรรมามูลฯนี้เป็นวัดที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมานานนับเป็นเวลาร้อยๆปี โดยสร้างอยู่บนไหล่เขาลูกหนึ่งเรียกว่า “เขาธรรมามูล” ดังนั้น วัดนี้จึงมีชื่อตามเขาลูกนี้และที่พระวิหารของวัดซึ่งตั้งอยู่บนไหล่เขานี้ ก็เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ หรือหลวงพ่อธรรมจักรนั่นเอง

วัดพระบรมธาตุฯ ในสมัยโบราณ เรียกว่า วัดพระธาตุ หรือ วัดหัวเมือง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโบราณสถานที่มีมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ เนื่องจากองค์พระเจดีย์หรือพระธาตุแต่เดิมสร้างขึ้นด้วยศิลาแลง และพบพระพุทธรูปศิลานาคปรกใต้ฐานพระประธานในพระวิหารพร้อมกับฐานแท่นเป็นอ่างน้ำมนต์ ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายฐานศิวลึงค์

ที่อำเภอสรรคบุรี มีวัดอยู่ทั้งหมด 183 วัด จึงนับว่าเป็นแหล่งรวมบรรดาพระพุทธรูป พระเครื่อง และโบราณวัตถุต่างๆมากมาย จนชาวบ้านเรียกกันว่า “เมืองพระ”

วัดมหาธาตุก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่เก่าแก่มานาน สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีพระปรางค์สูงเด่นประมาณ 20 วา นอกจากนี้ภายในวัดยังมี พระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ และโบราณวัตถุอีกมากมาย
ราคาเปิดประมูล3,000 บาท
ราคาปัจจุบัน3,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 07 พ.ค. 2561 - 14:48:32 น.
วันปิดประมูล - 12 พ.ค. 2561 - 01:47:37 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmooyojung (502)(3)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 11 พ.ค. 2561 - 09:11:45 น.



บัตรการันตรีครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 11 พ.ค. 2561 - 09:12:17 น.



บัตรเพื่อนบ้านครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 11 พ.ค. 2561 - 09:12:42 น.



01


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 11 พ.ค. 2561 - 09:13:14 น.



02


 
ราคาปัจจุบัน :     3,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    rachoyu (83)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM