(0)
..หัวใจสิงห์ หลวงพ่อเดิม. วัดหนองโพ ศิลป์แบบนี้หายากมากๆ ใช้แบบนี้ได้พร้อมบัตรรับรองพระแท้...








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง..หัวใจสิงห์ หลวงพ่อเดิม. วัดหนองโพ ศิลป์แบบนี้หายากมากๆ ใช้แบบนี้ได้พร้อมบัตรรับรองพระแท้...
รายละเอียด..หัวใจสิงห์ หลวงพ่อเดิม. วัดหนองโพ พร้อมบัตร เวป u..

..(ตรวจสอบพระที่ออกบัตรกับเวป ยู ) forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=184&qid=52965

..สิงห์หัวใจ หลวงพ่อเดิม. วัดหนองโพ..

...สิงห์รูปหัวใจที่นิยมสุด และมีราคาแพงอย่างน่าตกใจ เพราะหายาก และศิลป์สวย ....

ราชสีห์หรือสิงห์งาแกะ หลวงพ่อเดิม เป็นเครื่องรางของขลังยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งที่หาเล่นกันแพร่หลายเป็นอย่างมาก ราชสีห์เป็นสัตว์ในวรรณคดีชาดก เป็นสัตว์ที่มีอำนาจเหนือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีถิ่นกำเนิดและพำนักอยู่บนฟากฟ้าป่าหิมพานต์ นับว่าเป็นสุดยอดเครื่องรางของท่านที่โด่นเด่นเป็นเอกลักษณ์ ควบคู่มากับ มีดหมอ และผ้ารอยเท้าของท่าน

สิงห์ เป็นเครื่องรางที่เหมาะแก่ข้าราชการ โดยเฉพาะท่านที่เป็นข้าราชการสังกัดมหาดไทย หากคุณบูชาตามสายอาชีพแล้ว ย่อมจะทำให้การงานราบรื่นเรียบร้อย ไม่สะดุด อีกทั้งยังเป็นการเกื้อกูลหนุนดวงชะตาด้วย เพราะข้าราชการโดยมากจะมีพื้นฐานดาวอาทิตย์เด่น ซึ่งหมายถึง ยศศักดิ์หลักฐานแห่งอำนาจ คำว่าข้าราชการในที่นี้หมายถึงทุกอาชีพที่รับราชการ เช่น ทหาร, ตำรวจ, ข้าราชการพลเรือน, ข้าราชการการเมือง



สิงห์หลวงพ่อเดิมสามารถแบ่งตามศิลปะการแกะ ได้สองพิมพ์ คือ พิมพ์ปากเจาะ (เซาะปากด้านข้างเข้าไป ถ้ามองจากด้านหน้าจะเห็นฟันสี่ซี่) และพิมพ์ปากนกแก้ว (มองจากด้านหน้าปากจะแหลม และแกะมีลิ้น) และสามารถแบ่งตามรูปทรงการแกะ ได้อีกถึง 7 พิมพ์ คือ

1) สิงห์ลอยองค์ยืนธรรมดา

2) สิงห์ลอยองค์ยืนยกขาตะปบเหยื่อ

3) สิงห์ในกรอบฉลุ (รูปทรงหัวใจ)

4) สิงห์ในกรอบฉลุ (รูปทรงกรอบกระจก)

5) สิงห์ในกรอบฉลุ (รูปทรงข้าวหลามตัด)

6) สิงห์ในกรอบฉลุ (รูปทรงกลม-รูปทรงลี-ทรงใบหอก)

7) สิงห์พิมพ์พิเศษ แกะอยู่ในพิมพ์พระประจำวัน มีปีนักษัตร

นอกเหนือจากนี้ อาจจะมีพิมพ์อื่น ๆ อีก แต่พบในจำนวนน้อยไม่แพร่หลาย

รอยแกะรอบตัวสิงห์นั้น แกะเป็นขวัญ มีลักษณะคล้ายเลขหนึ่งไทย (๑) บนตัวสิงห์ มีการแกะทั้งแกะเป็น 2 ขวัญ (๑๑) และแกะเป็น 3 ขวัญ (๑๑๑ ตองหนึ่ง) หรือบางตัวไม่แกะขวัญเลยก็มีเช่นกัน นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งนิมิตหมายอันดี คือ ความเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร อาจเป็นความหมายที่ซ่อนไว้ตามคติธรรมของคณาจารย์ผู้ทรงปัญญาอันแยบคาย เพื่อหวังผลอันเป็นเลิศสำหรับผู้นำไปบูชา

ศิลปะกนกปลายหางที่พบส่วนมาก จะเป็นหางลายกนกธรรมดา เจาะรูสำหรับคล้องใช้ , ศิลป์หางกนกเปลวเพลิง , ศิลป์หางใบโพธิ์ , ศิลป์หางใบพาย , ศิลป์หางกงจักร ฯลฯ



งาช้างที่นำมาแกะเป็นรูปราชสีห์นั้นท่านกำหนดให้เอา งาอาถรรพณ์อันได้แก่ งากำจัดและ งากำจาย ซึ่งถือกันว่าเป็น งาเป็นซึ่งจะมีวรรณเหลืองฉ่ำ ผิดกับงาตาย คืองาที่ได้จากช้างที่ตายแล้วนั่นเอง งาจำกัด คือ งาช้างที่ตกมันแทงหักอยู่กับต้นไม้ ส่วนงากำจาย นั่นได้แก่งาช้างที่แตกหักตกอยู่ในป่า อาจเป็นด้วยการแทงกันเองแล้วงาเกิดแตกหักขึ้นอย่างนี้เป็นต้น



<< อุปเท่ห์การใช้สิงห์ ของหลวงพ่อเดิม มีดังนี้ครับ >>



1) คงกระพันชาตรี กันเขี้ยวงาศาสตราวุธ



2) เป็นมหาอำนาจ ใครเห็นก็คร้ามเกรงหวั่นไหว ไม่กล้าประทุษร้ายทำอันตรายใดๆ



3) เป็นเมตตามหานิยมอย่างสูงส่ง



4) ทำงานอาสาเจ้านาย หรือรับราชการจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว



<<คาถาอาราธนา สิงห์ หลวงพ่อเดิม (ตั้งนะโม 3 จบ)>>



“ตะโตโพธิสัตโต ราชสิงโห จะมหิทธิโกติ ตะมัตถังปะกาเสนโต สัตถาอาหะ”



..สิงห์งาแกะตัวนี้ อยู่ในกรอบรูปหัวใจ และอยู่ใน กรอบนาคเก่า สภาพสวย รอยแกะรอบตัวสิงห์แกะด้วยมีด เนื้องาแห้ง เก่า และเนื้อฉ่ำ..

.***อ่านก่อนเคาะน่ะครับ***

.. พี่ๆท่านใดดูเป็น และชอบจริงๆ สนใจเชิญครับ ทางเวปจีไม่รับออกบัตร เครื่องรางที่ทำจากงาช้างครับ หากต้องการบัตรสถาบันอื่นขอผ่าน ก่อนได้น่ะครับ ผมส่งออกบัตรเวป u เวปใหญ่มีมาตรฐานให้แล้ว ขอบคุณครับ...

..ดูง่ายๆ สบายใจ...ดูให้ชอบก่อน ค่อยแบ่งไปครับ.....
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน45,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 26 เม.ย. 2561 - 17:26:02 น.
วันปิดประมูล - 01 พ.ค. 2561 - 17:26:32 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเด่นเจริญตลับพระ (876)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 26 เม.ย. 2561 - 17:26:37 น.



1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 26 เม.ย. 2561 - 17:28:38 น.



..ส่งให้พร้อมเลี่ยม นาคเก่า เดิมๆ เอาไปประกอบเองน่ะครับ...


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 29 เม.ย. 2561 - 17:26:33 น.



2


 
ราคาปัจจุบัน :     45,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Thachathorn (100)

 

Copyright ©G-PRA.COM